φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



หลักการเขียนทับศัพท์ภาษาจีนแต้จิ๋ว
เขียนเมื่อ 2019/04/04 10:01
แก้ไขล่าสุด 2024/10/26 16:01
สำหรับบทความนี้จะขอเสนอหลักการทับศัพท์ภาษาจีนแต้จิ๋วเป็นภาษาไทย

ก่อนหน้านี้ได้เขียนหลักการทับศัพท์ภาษาจีนกลางและกวางตุ้งไปแล้ว

- สำหรับจีนกลาง https://phyblas.hinaboshi.com/20181019
- สำหรับกวางตุ้ง https://phyblas.hinaboshi.com/20190208

เช่นเดียวกับภาษาจีนกลางและกวางตุ้ง ภาษาจีนแต้จิ๋วเองก็ใช้อักษรจีนในการเขียนเป็นหลัก และอักษรจีนก็เป็นอักษรแทนความหมายซึ่งไม่สามารถบอกเสียงอ่านได้ในตัว จึงต้องอาศัยอักษรอื่นในการแสดงเสียงอ่าน

และเช่นเดียวกับที่จีนกลางมีพินอิน แต้จิ๋วก็มีระบบทับศัพท์ด้วยอักษรโรมันแบบคล้ายๆกัน เรียกว่า 潮州話拼音 แปลว่า "พินอินภาษาแต้จิ๋ว" หรือนิยมเรียกว่า "เพ็งอิม" ซึ่งเป็นเสียงอ่านในสำเนียงแต้จิ๋วของคำว่า 拼音 (คำว่า "พินอิน" ในจีนกลาง)

หลักการทับศัพท์เป็นภาษาไทยที่จะเขียนถึงต่อไปนี้จะเป็นการแปลงเสียงอ่านจากเพ็งอิมอีกที

เพ็งอิมเป็นระบบที่ใช้ทั่วไปในพจนานุกรมภาษาแต้จิ๋วและหนังสือเรียนแต้จิ๋วเพื่อใช้แสดงเสียง

เพื่อที่จะรู้เสียงอ่านแต้จิ๋วอาจเปิดพจนานุกรม หรือดูแบบออนไลน์ผ่านเว็บ มีที่แนะนำอยู่ ๒ เว็บ ทั้งหมดแสดงเสียงด้วยเพ็งอิม และสามารถเปิดฟังเพื่อเป็นตัวอย่างได้ด้วย
- https://www.mogher.com
- http://www.czyzd.com

นอกจากนี้เว็บ wiktionary เองก็มีบางส่วนที่แสดงเสียงอ่านแต้จิ๋วด้วย ซึ่งก็แสดงด้วยเพ็งอิมด้วยเช่นกัน

เมื่อเห็นเสียงอ่านที่แทนด้วยเพ็งอิมแล้ว ก็ค่อยแปลงเป็นภาษาไทยอีกที

ภาษาแต้จิ๋วเองยังแบ่งย่อยเป็นสำเนียงย่อยมากมาย แต่สำเนียงมาตรฐานจะยืดเอาที่ใช้ในเมืองซัวเถาเป็นหลัก หลักการถอดเสียงอ่านที่จะแนะนำนี้ก็จะยึดตามสำเนียงซัวเถาโดยจะเขียนเสริมถึงสำเนียงอื่นเพิ่มเติมแค่เล็กน้อยแต่ไม่เน้น



สำหรับหลักการเขียนสำหรับในบางเสียงที่ไม่ค่อยตรงกับภาษาไทยอาจมีการแยกวิธีการเขียนออกเป็น ๒ แบบ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้งาน คือ

- ทับศัพท์เพื่อใช้ในงานเขียนทั่วไป จะดูแล้วอ่านง่ายเป็นธรรมชาติในภาษาไทย แต่อาจจะให้เสียงอ่านที่ไม่ตรงมาก เนื่องจากข้อจำกัดของภาษาไทยซึ่งแต่ไหนแต่ไรไม่มีเสียงบางอย่างที่ภาษาจีนแต้จิ๋วมี

- เขียนเพื่อให้เรียนรู้แยกแยะเสียงอ่าน จะมีการใช้สัญลักษณ์เช่น ^ * ' มาเติมเพื่อแสดงเสียงอ่านที่ไม่มีในภาษาไทย คนจะอ่านได้จำเป็นต้องรู้ว่าใช้เพื่อแทนเสียงอะไร จึงไม่เหมาะจะใช้ในงานเขียนทั่วไป แต่เหมาะใช้เวลาเรียนเพื่อให้อ่านออกเสียงได้ตรง แยกแยะเสียงที่ไม่มีในภาษาไทยได้ ในกรณีนี้จะใช้ * แทนเสียงออกจมูก ใช้ 'ง แทนเสียง gh (ง แบบไม่ออกจมูก) และใช้ ^ สำหรับเชื่อมเสียงเพื่อแสดงสระประสมที่ไม่มีในภาษาไทย

ในบทความนี้จะแสดงการทับศัพท์ทั่วไปเป็นหลัก ส่วนการเขียนแบบแยกแยะเสียงจะใส่ไว้ในวงเล็บต่อท้ายด้านหลังในกรณีที่มีความต่าง



วรรณยุกต์

สำหรับภาษาแต้จิ๋วแล้ววรรณยุกต์ถือเป็นเรื่องซับซ้อน เนื่องจากโดยพื้นฐานแล้วมีเสียงวรรณยุกต์มากถึง ๘ เสียง และคำแต่ละคำส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์เมื่อไปนำหน้าคำอื่นเพื่อขยาย หรือคำกริยาที่มีกรรม

แต่ละวรรณยุกต์มีตัวเลขเพื่อแทนวรรณยุกต์นั้นๆ การแสดงเสียงวรรณยุกต์ในเพ็งอิมทำโดยการเขียนตัวเลขต่อท้าย

แต่ตัวเลขจะไม่ได้แทนวรรณยุกต์เดิมเสมอไป เพราะคำมีการเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์เมื่อไปนำหน้าคำอื่นเพื่อขยาย หรือคำกริยาที่มีกรรม เรียกว่าการแปรเสียงวรรณยุกต์ (变调/變調) เป็นลักษณะเด่นของภาษาจีนในตระกูลหมิ่น (闽语/閩語)

ตารางแสดงวรรณยุกต์ทั้ง ๘ เทียบเคียงกับภาษาไทย และแสดงด้วยว่าเสียงไหนจะเปลี่ยนเป็นเสียงไหนเมื่อไปนำหน้าคำอื่น

เลข ระดับเสียง เทียบ
วรรณยุกต์ไทย
แปรเสียงเป็น ตัวอย่าง
1 กลางเรียบ ˧ (3) สามัญ 1 (ไม่เปลี่ยน) 分 = hung1 = ฮุง 刀 = do1 = ตอ
2 สูงไปต่ำ ˥˨ (52) โท 6 粉 = hung2 = ฮุ่ง 短 = do2 = ต้อ
3 ต่ำไม่เรียบ ˨˩˧ (213) เอก 5 หรือ 2 训/訓 = hung3 = หุ่ง 倒 = do3 = ต่อ
4 ต่ำกัก ˨̚ (2) เอก 8 忽 = hug4 = หุก 桌 = doh4 = เตาะ
5 สูงเรียบ ˥ (5) ตรี 7 云/雲 = hung5 = ฮุ้ง 逃 = do5 = ต้อ
6 กลางไปสูง ˧˥ (35) จัตวา 7 混 = hung6 = หุง 在 = do6 = ต๋อ
7 ต่ำเรียบ ˩ (1) เอก 7 (ไม่เปลี่ยน) 份 = hung7 = หุ่ง 袋 = do7 = ต่อ
8 สูงกัก ˦̚ (4) ตรี 4 佛 = hug8 = ฮุก 择/擇 = doh8 = เต๊าะ

ในที่นี้ 4 กับ 8 เป็นเสียงกัก หรือก็หมายถึงคำตายในภาษาไทยนั่นเอง สำหรับภาษาแต้จิ๋วนั้นคำตายจะเกิดในกรณีที่เป็นตัวสะกดแม่กก และ แม่กบ ซึ่งคือตัวสะกด g และ b ในเพ็งอิม หรือกรณีเสียงสั้นไร้ตัวสะกด ซึ่งในทางภาษาศาสตร์เรียกว่า "เสียงกักเส้นเสียง" ในเพ็งอิมจะลงท้ายด้วย h

ส่วนเสียงวรรณยุกต์ที่เหลือคือ 1, 2, 3, 5, 6, 7 จะเกิดขึ้นกับคำเป็นเท่านั้น จึงแยกต่างหากจากเสียง 4 และ 8 ชัดเจน

เสียง 1 เป็นเสียงกลางๆไม่สูงไม่ต่ำ ใกล้เคียงเสียงสามัญในภาษาไทย

เสียง 2 เป็นเสียงที่เริ่มจากสูงแล้วลงต่ำ ใกล้เคียงเสียงโทในภาษาไทย หรือเสียง 4 ในจีนกลาง

เสียง 5 เป็นเสียงสูง ใกล้เคียงกับเสียงตรีในภาษาไทย

เสียง 6 เป็นเสียงที่เริ่มจากต่ำแล้วค่อยๆขึ้นสูง ใกล้เคียงกับเสียงจัตวาในภาษาไทย หรือเสียง 2 ในจีนกลาง

เสียง 4 กับ 8 เป็นเสียงกักทั้งคู่แต่ต่างกันตรงที่เสียง 4 ต่ำกว่าเสียง 8 เสียง 4 จึงใกล้เคียงกับเสียงเอกในภาษาไทย ส่วนเสียง 8 ใกล้เคียงกับเสียงตรี

เสียง 3 กับ 7 โดยพื้นฐานแล้วเป็นต่ำ คล้ายเสียงวรรณยุกต์เอกในภาษาไทย แต่เสียง 7 เป็นต่ำแบบเรียบๆ ส่วน 3 เสียงจะมีกดลงต่ำตรงกลางและยกสูงขึ้นอีกทีตอนท้าย แต่ความแตกต่างค่อนข้างน้อย คนไทยจะฟังแล้วได้ยินเป็นเสียงเอกเหมือนกัน

แต่ข้อแตกต่างระหว่างเสียง 3 และ 7 จะชัดเจนเมื่อนำหน้าคำอื่น โดยเสียง 3 จะเปลี่ยนเป็นเสียง 5 (เสียงตรี) หรือเสียง 2 (เสียงโท) แต่เสียง 7 จะไม่เปลี่ยนเสียง ยังคงเป็นเสียงเอก

เสียง 3 จะเปลี่ยนไปเป็นเสียง 5 หรือ 2 ขึ้นอยู่กับสำเนียง แต่สำเนียงมาตรฐานซัวเถาจะใช้เสียง 5

เสียง 2 จะเปลี่ยนเป็นเสียง 5 ส่วนเสียง 5 และ 6 จะเปลี่ยนเป็นเสียง 7

เสียง 1 และเสียง 7 จะไม่มีการเปลี่ยนเสียงไม่ว่าอยู่ตรงไหนของคำ

การเปลี่ยนไปมาของเสียงอาจสรุปได้ดังนี้



อาจจำในแบบไทยๆว่า
- เสียงสามัญจะไม่มีการเปลี่ยนเสียง
- เสียงโทจะเปลี่ยนเป็นเสียงจัตวา
- เสียงตรี (ทั้งเสียง 5 และ 8) และจัตวาจะเปลี่ยนเป็นเสียงเอก
- เสียงเอกจะยุ่งยากที่สุด เพราะมีอยู่สามเสียงคือ 3, 4, 7 ถ้าหากเป็น 3 หรือ 4 ให้เปลี่ยนเป็นเสียงตรี (ยกเว้นบางสำเนียง 3 เปลี่ยนเป็น 2 เสียงโท) แต่ถ้าเป็น 7 ให้คงเสียงเอกไว้



ขอยกตัวอย่างการเปลี่ยนเสียงด้วยคำว่า 牛肉丸粿条 "ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นเนื้อวัว"

อักษร 牛 "วัว" เพ็งอิมเป็น ghu5 อ่านว่า "งู้"

แต่รวมกับ 肉 กลายเป็น 牛肉 "เนื้อวัว" เพ็งอิมเป็น ghu5 nêg8 แต่เสียงที่อ่านจริงจะเป็น ghu7 nêg8 "หงู่เน็ก"

พอรวมกับ 丸 กลายเป็น 牛肉丸 "ลูกชิ้นเนื้อวัว" เพ็งอิมเป็น ghu5 nêg8 in5 แต่เสียงที่อ่านจริงเป็น ghu7 nêg4 in5 "หงู่เหน็กอี๊"

คำว่า 粿条 ที่หมายถึง "ก๋วยเตี๋ยว" เขียนเพ็งอิมว่า guê2 diao5 แต่อ่านจริงเป็นเสียง guê6 diao5 "ก๋วยเตี๊ยว"

ดังนั้นรวมแล้วคำว่า 牛肉丸粿条 "ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นเนื้อวัว" เขียนเพ็งอิมเป็น ghu5 nêg8 in5 guê2 diao5 แต่อ่านจริงๆเป็น ghu7 nêg4 in7 guê6 diao5 "หงู่เหน็กอี่ก๋วยเตี๊ยว"

จะเห็นว่าทุกตัวนอกจากตัวแรกเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ไปหมด เพราะแต่ละตัวขยายตัวที่อยู่ข้างหลัง

ในการทับศัพท์ภาษาไทยเราจะเขียนเสียงวรรณยุกต์ตามที่ออกจริง แต่เพ็งอิมที่แสดงในพจนานุกรมจะใช้เลขที่เป็นเสียงเดิมก่อนเปลี่ยนเสียงเสมอ ดังนั้นจะต้องรู้เองว่าเสียงจะเปลี่ยนไปเป็นยังไง และเมื่อใดจำเป็นต้องเปลี่ยนเสียงบ้าง

หลักโดยทั่วไปคือจะเปลี่ยนเสียงเมื่อเป็นคำที่นำหน้าคำอื่นเพื่อขยายคำนั้น หรือเป็นคำกริยาที่มีกรรม แต่ก็มีรายละเอียดให้พิจารณามากกว่านั้น ในที่นี้ขอละไว้ในรายละเอียดเนื่องจากค่อนข้างซับซ้อน



พยัญชนะต้น

ในภาษาแต้จิ๋วมีเสียงพยัญชนะต้นทั้งหมด ๑๗ ตัว แทนด้วยเพ็งอิมเป็น b, p, bh, m, d, t, n, l, g, k, gh, ng, h, z, c, r, s

เพ็งอิม IPA ทับศัพท์ไทย ตัวอย่าง
- - 丫 = a1 = อา
b /p/ 吧 = ba1 = ปา
p /pʰ/ พ, ผ 帕 = pê3 = แผ่
bh /b/ 武 = bhu2 = บู้
m /m/ 墓 = mo6 = หมอ
d /t/ 灱 = da1 = ตา
t /tʰ/ ท, ถ 他 = ta1 = ทา
n /n/ 年 = ni5 = นี้
l /l/ 牢 = lo5 = ล้อ
g /k/ 咬 = ga6 = ก๋า
k /kʰ/ ค, ข 卡 = ka2 = ค่า
gh /g/ ง ('ง) 牙 = ghê5 = แง้ (แ'ง้)
ng /ŋ/ 宜 = ngi5 = งี้
h /h/ ฮ, ห 夏 = hê7 = แห่
z /ʦ/ 早 = za2 = จ้า
c /ʦʰ/ ช, ฉ 市 = ci6 = ฉี
r /ʣ/ 字 = ri7 = หยี่
s /s/ ซ, ส 傻 = sa6 = สา

เสียง ng ตรงกับเสียง "ง" ในภาษาไทย แต่เสียง gh จะเหมือนกับเสียง g ในภาษาอังกฤษ คืออยู่ระหว่าง "ก" กับ "ง" เวลาทับศัพท์มักจะใช้ "ง" เช่นเดียวกับ ng เพราะไม่มีเสียงนี้จริงๆในภาษาไทย แต่เมื่อต้องการเขียนให้แยกความแตกต่างชัดอาจจะเติม ' ลงไปเป็น " 'ง " แบบนี้

เสียง z กับ c จะเหมือนกับ z และ c ในจีนกลาง คือจะต่างจากเสียง "จ" และ "ช" ในภาษาไทยเล็กน้อย เวลาทับศัพท์ก็ใช้ "จ" และ "ช" ได้

r เป็นเสียงที่อยู่ระหว่าง "จ" และ "ย" แต่ค่อนข้างใกล้เคียงกับ "ย" จึงทับศัพท์ด้วย "ย"

ส่วนเสียงที่เหลือล้วนตรงกับภาษาไทยตามที่เทียบในตาราง



สระและตัวสะกด

ภาษาแต้จิ๋วมีสระหลากหลายมาก มีทั้งสระเดี่ยว สระควบสอง สระควบสาม แต่ละสระอาจมีตัวสะกดแม่กง แม่กม แม่กก แม่กบ หรือเป็นเสียงกักเส้นเสียง (ลงท้าย h) นอกจากนี้ยังมีเสียงนาสิก (เสียงออกจมูก) ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของภาษาแต้จิ๋วและฮกเกี้ยน

ตัวสะกดแต่ละตัวอาจปรากฏกับสระบางตัวเท่านั้น มีการเข้าคู่กันค่อนข้างจะจำเพาะ

ตารางสรุปคู่สระและตัวสะกดที่มีทั้งหมด (ไม่รวมเสียงนาสิก)

สระ ตัวสะกด
- แม่กม
[m]
แม่กบ
[p̚]
แม่กง
[ŋ]
แม่กก
[k̚]
กักเส้นเสียง
[ʔ]
อา
[a]
a
อา
am
อัม
ab
อับ
ang
อัง
ag
อัก
ah
อะ
อือ
[ɯ]
e
อือ
    eng
อึง
eg
อึก
 
แอ / เอ
[e]
ê
แอ
    êng
เอ็ง
êg
เอ็ก
êh
แอะ
อี
[i]
i
อี
im
อิม
ib
อิบ
ing
อิง
ig
อิก
ih
อิ
ออ / โอ
[o]
o
ออ
    ong
อง
og
อก
oh
เอาะ
อู
[u]
u
อู
    ung
อุง
ug
อุก
uh
อุ
ไอ
[ai]
ai
ไอ
         
เอา
[au]
au
เอา
        auh
เอา (เอา^)
เอีย (อี^อา)
[ia]
ia
เอีย (อี^อา)
iam
เอียม
iab
เอียบ
iang
เอียง
iag
เอียก
iah
เอียะ (อี^อะ)
เอีย (อี^ออ)
[io]
io
เอีย (อี^ออ)
    iong
ยง
iog
ยก
ioh
เอียะ (อี^เอาะ)
อิว
[iu]
iu
อิว
         
โอย
[oi]
oi
โอย
        oih
โอย (โอย^)
โอว
[ou]
ou
โอว
         
อัว
[ua]
ua
อัว
uam
อวม
uab
อวบ
uang
อวง
uag
อวก
uah
อัวะ
อวย (อู^เอ)
[ue]

อวย
        uêh
เอวะ
อุย
[ui]
ui
อุย
         
เอียว
[iau]
iao
เอียว
         
เอียว
[iou]
iou
เอียว
         
ไอว
[uai]
uai
ไอว
         
ไร้สระ   m
อึม
  ng
อึง
   



ต่อไปจะอธิบายรายละเอียดพร้อมยกตัวอย่าง โดยจะขอแยกเขียนเป็นกลุ่มๆ



สระเดี่ยว

มีทั้งหมด ๖ สระ ซึ่งส่วนใหญ่ใกล้เคียงกับภาษาไทยมาก สามารถแทนแต่ละสระด้วยสระในภาษาไทยดังนี้

a อา 鸦/鴉 = a1 = อา
饱/飽 = ba2 = ป้า
炒 = ca2 = ช่า
e อือ 余 = e2 = อื้อ
你 = le2 = ลื่อ
巨 = ge6 =กื๋อ
ê แอ 些 = sê1 = แซ
帕 = pê3 = แผ่
架 = gê3 = แก่
i อี 意 = i3 = อี่
丕 = pi2 = พี่
义/義 = ngi6 = หงี
o ออ 奥/奧 = o3 = อ่อ
退 = to3 = ถ่อ
所 = so5 = ซ่อ
u อู 污/汙 = u1 = อู
虏/虜= lu2 = ลู่
付 = hu3 = หู่

ที่ควรระวังคือ e กับ ê เป็นคนละสระกัน โดย e เฉยๆจะแทนสระอือ แต่ถ้ามี ˆ อยู่ด้านบนเป็น ê จะแทนสระแอ


สระประสมสองเสียง

สระประสมมีอยู่มากมายในภาษาแต้จิ๋ว ส่วนใหญ่จะมีในภาษาไทย แต่ก็มีบางส่วนที่ไม่มีในภาษาไทยจึงได้แค่แทนด้วยเสียงที่ใกล้เคียง

ai ไอ 哀 = ai1 = ไอ
眉 = bhai5 = ไบ๊
再 = zai3 = ไจ่
ao เอา 呕/嘔 = ao2 = เอ้า
卯 = bhao2 = เบ้า
投 = dao5 = เต๊า
ia เอีย (อี^อา) 也 = ia7 = เอี่ย (อี^อ่า)
雅 = ngia2 = เงี่ย (งี^อ้า)
者 = zia2 = เจี้ย (จี^อ้า)
io เอีย (อี^ออ) 姚 = io5 = เอี๊ย (อี^อ๊อ)
庙/廟 = bhio7 = เบี่ย (บี^อ่อ)
桥/橋 = gio5 = เกี๊ย (กี^อ๊อ)
iu อิว 佑 = iu6 = อิ๋ว
手 = ciu2 = ชิ่ว
球 = giu5 = กิ๊ว
oi โอย 鞋 = oi5 = โอ๊ย
改 = goi2 = โก้ย
蟹 = hoi6 = โหย
ou โอว 湖 = ou5 = โอ๊ว
路 = lou7 = โหล่ว
雨 = hou6 = โหว
ua อัว 我 = ua2 = อั้ว
麻 = mua5 = มั้ว
沙 = sua1 = ซัว
อวย 卫/衛 = uê6 = อ๋วย
尾 = bhuê2 = บ้วย
最 = zuê3 = จ่วย
ui อุย 为/為 = ui5 = อุ๊ย
唯 = rui5 = ยุ้ย
隧 = sui7 = สุ่ย

แต้จิ๋วปกติจะไม่แยกแยะเสียงสั้นและยาว เสียง ai ที่จริงเสียงค่อนข้างยาว อาจเขียนเป็น "อาย" ก็ได้ แต่เนื่องจากส่วนใหญ่คนนิยมเขียนเป็น "ไอ" มากกว่า ในที่นี้จึงเลือกเขียนเป็น "ไอ"

เสียง ia กับ io มักถูกเขียนแทนด้วยสระเอีย แต่ทั้งสองเสียงไม่ได้ตรงกับสระเอียซะทีเดียว

ia คือสระอีต่อด้วยสระอา ใกล้เคียงกับสระเอีย แต่สระอาด้านหลังลากเสียงยาวกว่า

io คือสระอีต่อด้วยสระออ ที่จริงไม่ได้ใกล้เคียงกับสระเอียมาก แต่ไม่มีสระในภาษาไทยที่แทนได้ใกล้เคียงจริงๆอยู่

กรณีทับศัพท์ทั่วไปอาจเขียนเป็นสระเอียทั้งคู่ แต่เมื่อต้องการเขียนให้เห็นความต่างจะเขียนโดยแยกสระ โดยใช้ ^ เป็นตัวคั่น เป็น "อี^อา" กับ "อี^ออ"

กรณีที่เขียนแบบนี้ เสียงวรรณยุกต์จะใส่ไว้ที่ตัวหลัง ส่วนตัวหน้าใส่เสียงสามัญตลอด

ในบางสำเนียงเช่นเตี่ยอังและเถ่งไฮ่เสียง io จะถูกแทนด้วย iê (อี^เอ)

ส่วน oi นั้นที่จริงแล้วเป็นเสียงค่อยข้างสั้น เป็น สระโอะ+ย โดยทั่วไปสระโอะเมื่อมีตัวสะกดจะลดรูปกลายเป็นไม่ใส่รูปสระ จึงมีบางคนเขียนเป็น "อย" เช่นเดียวกับที่ สระโอะ+น = อน แต่ว่าจริงๆ สระโอะ+ย ไม่เคยปรากฏในภาษาไทย การเขียนแบบนี้จึงยากที่คนทั่วไปจะเข้าใจ ดังนั้นในกรณีนี้จึงเขียนในรูปสระโอแทน เพราะความสั้นยาวของเสียงไม่ได้มีผลต่อความหมายของคำในภาษาแต้จิ๋ว

ส่วน uê นั้นจริงๆแล้วเป็นเสียง อู+เอ แต่ฟังดูแล้วจะใกล้เคียงกับเสียง "อวย" ในภาษาไทยจึงมักเขียนแบบนี้


สระประสมสามเสียง

สำหรับสระประสมสามเสียงมีอยู่แค่ ๒ แบบ ได้แก่

iao เอียว (อี^เอา) 夭 = iao1/iou1 = เอียว
表 = biao2/biou2 = เปี้ยว
了 = liao2/liou2 = เลี่ยว
iou เอียว (อี^โอว)
uai ไอว 挖 = uai1 = ไอว
拐 = guai2 = ไกว้
甩 = suai1 = ไซว

iao กับ iou เป็นคำเดียวกันในต่างสำเนียง ในสำเนียงมาตรฐานซัวเถาเองก็มีการใช้ทั้ง iao และ iou ในที่นี้จึงแสดงไว้ทั้งคู่ ความแตกต่างอยู่ที่เสียงสระตัวกลาง หากเขียนแยกจะเป็น อี^เอา กับ อี^โอว แต่ไม่ว่าจะเสียงไหนก็ใกล้เคียงกับ "เอียว" ในภาษาไทย จึงเขียนแบบนี้เหมือนกัน

สำหรับ uai นั้นจะคล้ายกับ uai ในจีนกลาง คือออกเสียงควบ ว


สระเดี่ยว+นาสิก

สระในกลุ่มนี้จะมีตัว n ต่อท้าย ซึ่ง n ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงตัวสะกดแม่กน เพราะในแต้จิ๋วไม่มีแม่กน แต่หมายถึงเสียงนาสิก (เสียงออกจมูก)

คนไทยทั่วไปจะไม่รู้จักเสียงนี้และแยกแยะไม่ออกว่ามีเสียงออกจมูกหรือไม่ ในการทับศัพท์เสียงออกจมูกนี้มักถูกละเลย เขียนเหมือนไม่มีตัว n อยู่ท้าย แต่ในการเขียนเพื่อแสดงเสียงอ่านโดยละเอียดบางคนก็เติม * หรือ น์ เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีเสียงออกจมูกอยู่

ในที่นี้ก็จะขอละ n ไปเลยในการทับศัพท์ทั่วไป ส่วนเวลาที่ต้องการแยกแยะเสียงจะเติม * เพื่อบอกให้รู้ว่าคำนี้มีเสียงออกจมูก

การมีเสียงออกจมูกไม่ได้ทำให้สระเปลี่ยนไป ดังนั้นเวลาทับศัพท์ให้ทำเหมือนกับตัด n ออกแล้วอ่านสระแบบเหมือนไม่มี n

an อา (อา*) 馅/餡 = an7 = อ่า (อ่า*)
怕 = pan3 = ผ่า (ผ่า*)
敢 = gan2 = ก้า (ก้า*)
ên แอ (แอ*) 楹 = ên5 = แอ๊ (แอ๊*)
梗 = gên2 = แก้ (แก้*)
青 = cên1 = แช (แช*)
in อี (อี*) 圆/圓 = in5= อี๊ (อี๊*)
鼻 = pin7 = ผี่ (ผี่*)
面/麵 = min7 = หมี่ (หมี่*)


สระประสมสองเสียง+นาสิก

ain ไอ (ไอ*) 爱/愛 = ain3 = ไอ่ (ไอ่*)
aon เอา (เอา*) 好 = haon3 = เห่า (เห่า*)
ian เอีย (เอีย*) 影 = ian2 = เอี้ย (เอี้ย*)
兄 = hian1 = เฮีย (เฮีย*)
声/聲 = sian1 = เซีย (เซีย*)
ion เอีย (อี^ออ*) 羊 = ion5 = เอี๊ย (อี^อ๊อ*)
帐/帳 = dion3 = เตี่ย (ตี^อ่อ*)
伤/傷 = sion1 = เซีย (ซี^ออ*)
iun อิว (อิว*) 幼 = iun3= อิ่ว (อิ่ว*)
oin โอย (โอย*) 闲/閑 = oin5 = โอ๊ย (โอ๊ย*)
肩 = goin1 = โกย (โกย*)
睇 = toin2 = โท่ย (โท่ย*)
oun โอว (โอว*) 虎 = houn2 = โฮ่ว (โฮ่ว*)
uan อัว (อัว*) 旱 = uan6 = อั๋ว (อั๋ว*)
半 = buan3 = ปั่ว (ปั่ว*)
欢/歡 = huan1 = ฮัว (ฮัว*)
uên อวย (อวย*) 横/橫 = huên5 = ฮ้วย (ฮ้วย*)
uin อุย (อุย*) 畏 = uin3 = อุ่ย (อุ่ย*)

ในบางสำเนียงเช่นเตี่ยอังและเถ่งไฮ่ ion จะออกเสียงเป็น iên


สระเดี่ยว+ตัวสะกด

แต้จิ๋วมีตัวสะกดอยู่ ๔ เสียง คือ แม่กม แม่กง แม่กบ แม่กก

เมื่อมีตัวสะกดเสียงสระจะกลายเป็นเสียงสั้นทั้งหมด a เป็นสระอะ i เป็นสระอิ u เป็นสระอุ

ส่วนเสียง ê นั้นจะซับซ้อนขึ้นหน่อย คือเมื่ออยู่เดี่ยวๆจะค่อนไปทางสระแอ แต่เมื่อมีตัวสะกดจะค่อนไปทางสระเอะ จึงอ่านเป็น "เอ็ง" "เอ็ก"

เสียง o ก็มีการเปลี่ยนเสียงเช่นกัน เมื่ออยู่เดี่ยวๆจะค่อนไปทางสระออ แต่เมื่อมีตัวสะกดจะค่อนไปทางสระโอะ เป็น "อง" "อก"

am อัม 暗 = am3 = อั่ม
惨/慘 = cam2 = ชั่ม
憾 = ham6 = หัม
ab อับ 盒 = ab8 = อั๊บ
答 = dab4 = ตับ
峡/峽 = hab8 = ฮับ
ang อัง 宴 = ang3 = อั่ง
朗 = lang6 = หลัง
刊 = kang5 = คั้ง
ag อัก 抑 = ag4 = อัก
北 = bag4 = ปัก
贼/賊 = cag8 = ชัก
eng อึง 隐/隱 = eng2 = อึ้ง
女 = neng2 = นึ่ง
床 = ceng5 = ชึ้ง
eg อึก 乞 = keg4 = ขึก
吃 = ngeg4 = หงึก
êng เอ็ง 用 = êng7 = เอ่ง
胸 = hêng1 = เฮ็ง
令 = lêng6 = เหล็ง
êg เอ็ก 亿/億 = êg8 = เอ๊ก
击/撃 = kêg4 = เข็ก
碧 = pêg4 = เป็ก
im อิม 淫/滛 = im5 = อิ๊ม
凛/凜 = lim2= ลิ่ม
吟 = ngim5 = งิ้ม
ib อิบ 邑 = ib4 = อิบ
急 = gib4 = กิบ
入 = rib8 = ยิบ
ing อิง 引 = ing2 = อิ้ง
镇/鎮 = ding3= ติ่ง
臣 = cing5 = ชิ้ง
ig อิก 逸 = ig8 = อิ๊ก
匹 = pig4 = ผิก
乜 = mig4 = หมิก
ong อง 鹟/鶲 = ong1 = อง
鹏/鵬 = pong5 = พ้ง
孔 = kong2 = ค่ง
og อก 握 = og4 = อก
禄/祿 = log8 = ลก
福 = hog4 = หก
ung อุง 运/運 = ung7 = อุ่ง
文 = bhung5 = บุ๊ง
允 = rung2 = ยุ่ง
ug อุก 夗 = ug8 = อุ๊ก
吻 = bhug4= บุก
卒 = zug4 = จุก

สำหรับ êng กับ êg นั้นถ้าไม่ต้องใส่รูปวรรณยุกต์ให้ใส่ไม้ไต่คู่ แต่ถ้าต้องใส่รูปวรรณยุกต์ค่อยตัดไม้ไต่คู่ทิ้งไป


สระประสมสองเสียง+ตัวสะกด

iam เอียม 盐/鹽 = iam5 = เอี๊ยม
点/點 = diam2 = เตี้ยม
染 = riam2 = เยี่ยม
iab เอียบ 叶/葉 = iab8 = เอี๊ยบ
协/協 = hiab8 = เฮี้ยบ
业/業= ngiab8 = เงี้ยบ
iang เอียง 映 = iang3 = เอี่ยง
良 = liang5 = เลี้ยง
仰 = ngiang2 = เงี่ยง
iag เอียก 跃/躍= iag4 = เอียก
却/卻 = kiag4 = เขียก
弱 = riag8 = เรี้ยก
iong ยง 永 = iong2 = ย่ง
恐 = kiong2 = คย่ง
雄 = hiong5 = ฮย้ง
iog ยก 育 = iog8 = ยก
畜 = tiog4 = ถยก
克 = iog4 = ขยก
uam อวม 泛 = huam3 = ห่วม
uab อวบ 法 = huab4 = หวบ
uang อวง 旺 = uang6 = อ๋วง
忘 = bhuang5 = บ๊วง
元 = nguang5 = ง้วง
uag อวก 获/獲 = uag8 = อ๊วก
扩/擴 = kuag4 = ขวก
浊/濁 = zuag8 = จ๊วก

ในบางสำเนียงเช่นสำเนียงเตี่ยเอี๊ยมีเสียง iêng, iêg, uêng, uêg ด้วย แต่ในสำเนียงมาตรฐานซัวเถายุบรวม iêng เป็น iang, iêg เป็น iag, uêng เป็น uang, uêg เป็น uag ทั้งหมด

iong และ iog นั้นจริงเป็นเสีย อี+ยง แต่เพื่อความง่ายให้เขียนเป็น "ยง" และ "ยก" เฉยๆ พอมีพยัญชนะต้นนำหน้าก็เขียนในรูปควบ ย เช่นเป็น "คยง" และ "คยก"


สระเดี่ยว+กักเส้นเสียง

เสียงกักเส้นเสียงคือเสียงที่ในเพ็งอิมลงท้ายด้วย h จะตรงกับสระเสียงสั้นไร้ตัวสะกดในภาษาไทย คือเป็นคำตาย เสียงจะหยุดที่ท้ายพยางค์

สำหรับสระเดี่ยวที่ลงท้ายด้วย h นี้ก็จะออกเสียงคล้ายกับสระเดี่ยวที่ไม่มี h ต่อท้าย แค่เปลี่ยนเป็นสระเสียงสั้นเท่านั้น

ah อะ 鸭/鴨 = ah4 = อะ
甲 = gah4 = กะ
闸/閘 = zah8 = จ๊ะ
êh แอะ 扼 êh4 = แอะ
白 = bêh8 = แป๊ะ
册/冊 = cêh4 = แฉะ
ih อิ 浥 = ih4 = อิ
裂 = lih8 = ลิ
舌 = zih8 = จิ๊
oh เอาะ 呃 = oh4 = เอาะ
桌 = doh4 = เตาะ
绝/絶 = zoh8 = เจ๊าะ


สระประสมสองเสียง+กักเส้นเสียง

สำหรับสระประสมสองเสียงที่ลงท้ายด้วย h นั้นส่วนใหญ่จะแทนด้วยภาษาไทยยากเพราะที่มีในภาษาไทยมีแค่สระเอียะ (iah) และสระอัวะ (uah) เท่านั้น ส่วนที่เหลือนั้นยากที่จะเขียนในภาษาไทยให้ตรง ได้แต่เขียนให้ใกล้เคียงที่สุด

เสียงกลุ่มนี้มีดังนี้

aoh เอา (เอา^) 落 = laoh8 = เล้า (เล้า^)
乐/樂 = ghaoh8 = เง้า (เง้า^)
oih โอย (โอย^) 狭/狹 = oih8 = โอ๊ย (โอ๊ย^)
八 = boih4 = โป่ย (โป่ย^)
夹/夾 = goih8 = โก๊ย (โก๊ย^)
iah เอียะ (อี^อะ) 溢 = iah4 = เอียะ (อี^อะ)
壁 = biah4 = เปียะ (ปี^อะ)
食 = ziah8 = เจี๊ยะ (จี^อ๊ะ)
ioh เอียะ (อี^เอาะ) 药/藥 = ioh8 = เอี๊ยะ (อี^เอ๊าะ)
挈 = kioh8 = เคียะ (คี^เอ๊าะ)
惜 = sioh4 = เสียะ (ซี^เอาะ)
uah อัวะ 活 = uah8 = อั๊วะ
割 = guah4 = กัวะ
杀/殺 = suah4 = สัวะ
uêh เอวะ 画/畫 = uêh8 = เอว๊ะ
月 = ghuêh8 = เงวะ (เ'งวะ)
刷 = suêh4 = เสวะ

สำหรับ aoh นั้นจริงๆคือสระเอาที่ลงท้ายด้วยการกักเส้นเสียง เนื่องจากไม่มีสระแบบนั้นจริงๆในภาษาไทย ดังนั้นเวลาทับศัพท์ทั่วไปก็ทำได้แค่เขียนเป็น สระเอา ธรรมดา แต่เมื่อต้องการเขียนให้บอกได้ชัดเจนว่าต่างจาก ao อาจเติม ^ ลงไปเป็น "เอา^"

สำหรับ oih ที่จริงคือ "โอย" ที่ลงท้ายด้วยการกักเส้นเสียง ภาษาไทยไม่มีเสียงแบบนี้จึงให้แทนด้วย "โอย" เฉยๆ แต่ถ้าต้องการแยกให้ต่างจาก oi ชัดอาจเขียนเติม ^ ต่อท้ายลงไปเป็น "โอย^"

อนึ่ง oih บางคนอาจเลือกที่จะเติม "ะ" ลงไป กลายเป็ฯ "โอยะ" แบบนี้ แต่การเขียนแบบนี้สร้างความสับสนได้ง่าย อาจถูกอ่านเป็น "โอ-ยะ" อีกทั้งวิธีการเดียวกันนี้ใช้ในกรณี aoh ไม่ได้ เพราะจะกลายเป็น "เอาะ" ยิ่งทำให้เข้าใจผิดง่ายขึ้นไปอีก

ดังนั้นแล้วจึงเลือกใช้ ^ เติมเพื่อแสดงถึงการกักเส้นเสียง แทนที่จะใช้ "ะ" แต่สำหรับคำอื่นซึ่งเขียนในภาษาไทยได้อยู่แล้วก็ไม่ต้องใช้วิธีนี้

ioh จะหลายเป็น iêh ในบางสำเนียงเช่นเตี่ยอังและเถ่งไฮ่ เช่นเดียวกับที่ io กลายเป็น iê

uêh เป็น uê ที่มีการกักเส้นเสียง แต่เปลี่ยนมาเขียนโดยใช้สระเอะควบ ว เพราะไม่สามารถเขียนเสียง อวย ให้เป็นเสียงกักได้


ไร้สระ

คือเสียงที่เหมือนมีแต่ตัวสะกดลอยมาโดยไม่มีสระ แต่จะฟังดูคล้ายกับเป็นสระอือ จึงใช้สระอือแทน

m อึม 姆 = m2 = อึ้ม
唔 = m6 = อึ๋ม
ng อึง 黄/黃 = ng5 = อึ๊ง
园/園 = hng5 = ฮึ้ง



ตัวอย่าง

สุดท้ายนี้ขอยกตัวอย่างมาประกอบเพื่อความเข้าใจมากขึ้น

เริ่มจากการนับเลข

0 〇/零 lêng5 เล้ง
1 zêg8 / ig4 เจ๊ก / อิก
2 no6 / ri6 หนอ / หยี
3 san1 ซา (ซา*)
4 si3 สี่
5 ngou6 โหงว
6 lag8 ลัก
7 cig4 ฉิก
8 boih4 โป่ย (โป่ย^)
9 gao2 เก้า
10 zab8 จั๊บ
100 bêh4 แปะ
1,000 coin1 โชย (โชย*)
10,000 万/萬 bhuang7 บ่วง
100,000,000 亿/億 êg8 เอ๊ก
1,000,000,000,000 diao6 เตี๋ยว


ชื่อสถานที่ในภูมิภาคแต้จิ๋วในมณฑลกวางตุ้ง หลายชื่อในนี้คนไทยคุ้นเคยเป็นอย่างดี แต่อาจจะเรียกแตกต่างกันผิดเพี้ยนไปบ้าง ในที่นี้จะเป็นการเขียนชื่อโดยใช้หลักที่ยกมาข้างต้น

อักษรจีน เพ็งอิม ทับศัพท์ จีนกลาง
รูปเดิม แปรเสียง
潮州 dio5 ziu1 dio7 ziu1 เตี่ยจิว (ตี^อ่อ) เฉาโจว
汕头/汕頭 suan1 tao5   ซัวเท้า (ซัว*) ซ่านโถว
揭阳/揭陽 gig4 ion5 gig8 ion5 กิ๊กเอี๊ย (อี^อ๊อ*) เจียหยาง
汕尾 suan1 bhuê5   ซัวบ้วย (ซัว*) ซ่านเหว่ย์
湘桥/湘橋 siang1 gio5   เซียงเกี๊ย (กี^อ๊อ) เซียงเฉียว
潮安 dio5 ang1 dio7 ang1 เตี่ยอัง (ตี^อ่อ) เฉาอาน
饶平/饒平 riao5 pêng5 riao7 pêng5 เหยี่ยวเพ้ง เหราผิง
金平 gim1 pêng5   กิมเพ้ง จินผิง
龙湖/龍湖 lêng5 ou5 lêng7 ou5 เหล่งโอ๊ว หลงหู
濠江 hao5 gang1 hao7 gang1 เห่ากัง เหาเจียง
澄海 têng5 hai2 têng7 hai2 เถ่งไฮ่ เฉิงไห่
潮阳/潮陽 dio5 ion5 dio7 ion5 เตี่ยเอี๊ย (ตี^อ่อ อี^อ๊อ*) เฉาหยาง
潮南 dio5 nam5 dio7 nam5 เตี่ยนั้ม (ตี^อ่อ) เฉาหนาน
南澳 nam5 o3 nam7 o3 หนั่มอ่อ หนานเอ้า
榕成 iong5 sian5 iong7 sian5 หย่งเซี้ย (ซี^อ๊า*) หรงเฉิง
揭东/揭東 gig4 dang1 gig8 dang1 กิ๊กตัง เจียตง
揭西 gig4 sai1 gig8 sai1 กิ๊กไซ เจียซี
普宁/普寧 pou2 lêng5 pou6 lêng5 โผวเล้ง ผู่หนิง
惠来/惠來 hui6 lai5 hui7 lai5 หุ่ยไล้ ฮุ่ยไหล
陆丰/陸豐 lêk8 hong1 lêk4 hong1 เหล็กฮง ลู่เฟิง
海丰/海豐 hai2 hong1 hai6 hong1 ไหฮง ไห่เฟิง


ตัวอย่างคำภาษาแต้จิ๋วที่กลายเป็นคำไทย

อักษรจีน เพ็งอิม ทับศัพท์ คำไทย
รูปเดิม แปรเสียง
把戏/把戲 ba2 hi3 ba6 hi3 ป๋าหี่ ปาหี่
白果 bêh8 guain2 bêh4 guain2 แปะไกว้ (แปะไกว้*) แปะก๊วย
畚箕 bung3 gi1 bung5 gi1 ปุ๊งกี ปุ้งกี๋
肉面/肉麵 bhah4 min7 bhah8 min7 บ๊ะหมี่ (หมี่*) บะหมี่
肉粽 bhah4 zang3 bhah8 zang3 บ๊ะจั่ง บ๊ะจ่าง
八角 boih4 gag4 boih8 gag4 โป๊ยกัก โป๊ยกั้ก
八仙 boih4 siang1 boih8 siang1 โป๊ยเซียง โป๊ยเซียน
草粿 cao2 guê2 cao6 guê2 เฉาก้วย เฉาก๊วย
谶诗/讖詩 ciam1 si1   เชียมซี เซียมซี
粗货/粗貨 cou1 huê3   โชวห่วย โชห่วย
豆腐 dao7 hu7   เต่าหู่ เต้าหู้
豆花 dao7 huê1   เต่าฮวย เต้าฮวย
豆酱 dao7 zion3   เต่าเจี่ย (จี^อ่อ*) เต้าเจี้ยว
茼蒿 dang6 o1 dang7 o1 ตั่งออ ตั้งโอ๋
茶花 dê5 huê1 dê7 huê1 แต่ฮวย แต้ฮวย
压腰/壓腰 dêh4 io1 dêh8 io1 แต๊ะเอีย (อี^ออ) แต๊ะเอีย
鼎溜 dian2 liu6 dian6 liu6 เตี๋ยหลิว (เตี๋ย*) ตะหลิว
橄榄/橄欖 gan1 na2   กาน่า (กา*) กาน้า
交椅 gao1 in2   เกาอี้ เก้าอี้
菊花 gêg4 huê1 gêg8 huê1 เก๊กฮวย เก๊กฮวย
咸菜/鹹菜 giam5 cai3 giam7 cai3 เกี่ยมไฉ่ เกี้ยมไฉ่
行成 gian5 sian5 gian7 sian5 เกี่ยเซี้ย (เกี่ย*เซี้ย*) เกี๊ยะเซียะ
膏药/膏藥 go1 ioh8   กอเอี๊ยะ (อี^เอ๊าะ) กอเอี๊ยะ
韭菜 gu2 cai3 gu6 cai3 กู๋ไฉ่ กุยช่าย
灌腸/灌肠 guang3 ciang5 guang5 ciang5 ก๊วงเชี้ยง กุนเชียง
粿条/粿條 guê2 diao5 guê6 diao5 ก๋วยเตี๊ยว ก๋วยเตี๋ยว
粿汁 guê2 zab4 guê6 zab4 ก๋วยจับ ก๋วยจั๊บ
军师/軍師 gung1 se1   กุงซือ กุนซือ
蟹棗/蟹枣 hoi6 zo2 hoi7 zo2 โห่ยจ้อ ฮ่อยจ๊อ
风水/風水 huang1 zui2   ฮวงจุ้ย ฮวงจุ้ย
芥蓝/芥藍 kah4 na5 kah8 na5 คะน้า คะน้า
芹菜 keng5 cai3 keng7 cai3 ขึ่งไฉ่ ขึ้นฉ่าย
连翘 liang5 kiao5 liang7 kiao5 เหลี่ยงเคี้ยว เหลี่ยงเคี้ยว
喽啰/嘍囉 liu5 lo5 liu7 lo5 หลิ่วล้อ ลิ่วล้อ
乌凉/烏涼 ou1 liang5   โอวเลี้ยง โอเลี้ยง
乌热/烏熱 ou1 ruoh8   โอวยัวะ โอยัวะ
拍滷 pah4 lou2 pah8 lou2 พะโล่ว พะโล้
旁批 pang5 poi1 pang7 poi1 ผั่งโพย พังเพย
字号/字號 ri7 ho7   หยี่ห่อ ยี่ห้อ
三辇/三輦 san1 ling2   ซาลิ่ง (ซา*) ซาเล้ง
豉油 si7 iu5   สี่อิ๊ว ซีอิ๊ว
四散 si3 suan2 si5 suoa2 ซี้ซั่ว ซี้ซั้ว
先生 sing1 sên1   ซิงแซ (แซ*) ซินแส
梭罗包/梭羅包 so1 lo1 bao1   ซอลอเปา ซาลาเปา
头家/頭家 tao5 gê1 tao7 gê1 เถ่าแก เถ้าแก่
杂菜/雜菜 zab8 cai3 zab4 cai3 จับไฉ่ จับฉ่าย
杂工/雜工 zab8 gang1 zab4 gang1 จับกัง จับกัง
座山 zo7 suan1   จ่อซัว (ซัว*) เจ้าสัว


สุดท้ายขอยกบทกวี เซียงซือ (相思) โดยหวางเหวย์ (王維) กวีสมัยราชวงศ์ถัง

红豆生南国
春来发几枝
愿君多采撷
此物最相思
紅豆生南國
春來發幾枝
願君多採擷
此物最相思
ang5 dao7 sên1 nam5 gog4
cung1 lai5 huag4 gui2 gi1
nguang6 gung1 do1 cai2 kiag4
ce2 muêh8 zuê3 sio1 si1
เปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์
ang7 dao7 sên1 nam7 gog4
cung1 lai5 huag8 gui6 gi1
nguang7 gung1 do1 cai6 kiag4
ce6 muêh8 zuê5 sio1 si1
อั่ง เต่า แซ หนั่ม กก
ชุง ไล้ ฮ้วก กุ๋ย กี
หง่วง กุง ตอ ไฉ เขียก
ฉือ เมวะ จ๊วย เซีย ซี



อ้างอิง
https://zh.wikipedia.org/wiki/潮州话
https://zh.wikipedia.org/wiki潮州話拼音方案
หนังสือ ลูกหลานคนแต้จิ๋ว โดยเหล่าตั๊ง
พจนานุกรม 潮州音字典 โดย 林伦伦


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ภาษาศาสตร์ >> หลักเกณฑ์การทับศัพท์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文