φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



เกร็ดเล็กน้อยเรื่อง and และ or ในภาษา python
เขียนเมื่อ 2019/06/24 11:50
แก้ไขล่าสุด 2024/02/22 10:47
เวลาใช้ if ในภาษาไพธอน บ่อยครั้งที่เราจะใช้ and และ or เพื่อรวมเงื่อนไข ๒​ ข้อขึ้นไปเข้าด้วยกัน

หลักการโดยพื้นฐานอธิบายไว้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/tsuchinoko06

แต่มีรายละเอียดเพิ่มเติมเล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับการใช้ and และ or ที่ไม่ได้กล่าวถึงในนั้น และหลายคนอาจจะยังไม่รู้ จึงขอเขียนถึงไว้ในหน้านี้



ลำดับก่อนหลังนั้นสำคัญ

ในการใช้งานโดยทั่วไปบางคนอาจไม่ได้ใส่ใจลำดับก่อนหลัง เพราะผลลัพธ์ที่ได้ยังไงก็เหมือนกัน เช่น
a = 3
b = 5
if(a>4 or b>4):
    print('มีตัวที่มากกว่า 4')

แบบนี้จะสลับเป็น b>4 or a>4 ก็ได้ผลไม่ต่างกัน อย่างไรก็ตาม จริงๆแล้วการทำงานที่เกิดขึ้นภายในนั้นต่างกัน

ที่จริงแล้วเมื่อมีการใช้ and หรือ or จะมีการพิจารณาความจริงเท็จไล่จากตัวซ้ายก่อน ถ้าผลจริงเท็จถูกตัดสินไปแล้ว ตัวทางขวาจะไม่ถูกนำมาคิดแล้ว

หมายความว่าถ้าใช้ or แล้วพบว่าตัวซ้ายเป็นจริง ยังไงทั้งหมดก็เป็นจริงแน่นอนแล้วไม่ว่าตัวขวาจะเป็นอะไร จึงไม่มีการคิดทางขวาต่อ ถ้าทางขวาเป็นฟังก์ชันก็จะไม่มีการทำงานเกิดขึ้น

และถ้าเป็น and แล้วตัวซ้ายเป็นเท็จ แบบนี้ต่อให้ตัวขวาเป็นอย่างไรผลก็เป็นเท็จแน่นอนแล้วจึงไม่มีการทำอะไรกับตัวขวาต่อ

เพื่อให้เห็นภาพชัด ลองสมมุติฟังก์ชันง่ายๆที่จะมีการ print อะไรทุกครั้งที่มีการเรียกใช้ ก่อนที่จะคืนค่าออกมา
def f(x):
    if(x%3==0):
        print('x=%d หาร 3 ลงตัว'%x)
    else:
        print('x=%d หาร 3 ไม่ลงตัว'%x)
    return x%3==0

if(f(x=5) or f(x=6)):
    print('มี x ที่หาร 3 ลงตัว')

ได้
x=5 หาร 3 ไม่ลงตัว
x=6 หาร 3 ลงตัว
มี x ที่หาร 3 ลงตัว

แต่หากเปลี่ยนเป็น

if(f(x=6) or f(x=5)):
    print('มี x ที่หาร 3 ลงตัว')

จะได้
x=6 หาร 3 ลงตัว
มี x ที่หาร 3 ลงตัว

นั่นคือเมื่อพบว่าตัวแรกคือ x=6 นั้นหาร 3 ลงตัวดีแล้ว ตัวทางขวาคือ x=5 ก็ไม่ถูกนำมาคิดอีก ซึ่งจะเห็นได้ว่าไม่มีการ print กรณี x=5 ออกมา

จะเรียงกันกี่ตัวก็ได้ ถ้าเจอสักตัวที่เป็นจริงก็จะหยุดทันที
if(f(x=7) or f(x=8) or f(x=9) or f(x=10)):
    print('มี x ที่หาร 3 ลงตัว')


จะได้ว่าหยุดหลังเจอ x=9
x=7 หาร 3 ไม่ลงตัว
x=8 หาร 3 ไม่ลงตัว
x=9 หาร 3 ลงตัว
มี x ที่หาร 3 ลงตัว

ในทางกลับกัน ถ้าใช้ and แล้วเจอตัวที่เป็นเท็จเมื่อไหร่ก็จะหยุดทันที
if(f(x=6) and f(x=5) and f(x=4)):
    print('ทุกตัวหาร 3 ลงตัว')
else:
    print('มีตัวที่หาร 3 ไม่ลงตัว')

ได้
x=6 หาร 3 ลงตัว
x=5 หาร 3 ไม่ลงตัว
มีตัวที่หาร 3 ไม่ลงตัว

หากเราใส่ใจแค่ผลลัพธ์สุดท้าย ก็อาจจะไม่ต้องใส่ใจเรื่องลำดับว่าจะวางอะไรไว้ซ้ายหรือขวาก็ได้

แต่หากสิ่งที่อยู่ในนั้นเป็นฟังก์ชันที่มีการทำอะไรบางอย่างข้างในไปด้วยนอกเหนือจากแค่คืนค่า อาจส่งผลอะไรบางอย่างที่ต่างกันได้ จึงต้องระวัง

และอีกเรื่องหนึ่งคือ มันอาจส่งผลถึงเวลาที่ถูกใช้ในการคำนวณของโปรแกรม

อย่าง สมมุติเรามีเงื่อนไขหลายอย่าง แล้วต้องการให้ถ้าเป็นจริงแค่เงื่อนไขใดหนึ่งก็พอแล้ว แบบนี้ควรเอาเงื่อนไขที่คำนวณได้เร็วไว้ก่อน ส่วนเงื่อนไขที่คำนวณช้าเอาไว้ทีหลัง

เช่น สมมุติว่า x เป็นเลขตัวนึง และ lis เป็นลิสต์อะไรสักอย่างที่บรรจุตัวเลขไว้มากมาย
if(x==0 or x in lis):

การดูว่า x เท่ากับ 0 หรือไม่นั้นใช้เวลาน้อยกว่าการดูว่า x เป็นสมาชิกในลิสต์หรือเปล่ามาก ดังนั้นให้ x==0 ไว้ทางซ้ายน่าจะดีกว่า

หรือลองยกตัวอย่างที่เทียบกับชีวิตจริง เช่นเรากำลังสงสัยว่าคอมเสียหรือไม่ ถ้าเสียจะส่งไปให้ช่างคอมซ่อม

สมมุติว่าการตรวจว่า cpu เสียหรือเปล่าใช้เวลาน้อยกว่า ram และการตรวจ gpu ใช้เวลานานที่สุด งั้นเราก็ควรจะตรวจ cpu ก่อน แล้วตามด้วย ram
if(cpu_เสียหรือ(คอม) or ram_เสียหรือ(คอม) or gpu_เสียหรือ(คอม)):
    ส่งไปให้ช่างซ่อม(คอม)
else:
    เปิดคอมเล่นเกม(คอม)



and และ or ไม่ต้องใช้แค่กับ if

แม้กรณีส่วนใหญ่จะใช้กับ if แต่บางครั้งก็เจอในสถานการณ์อื่น

เช่นถ้าจะแค่ใช้ให้หาค่าเก็บไว้ในตัวแปร หรือว่าจะ print ออกมาเลยก็ได้
a = 2
x = (a>3 or a<1)
print(x) # ได้ False
print(a<3 and a>1) # ได้ True

กรณีแบบนี้ or อาจคล้ายกับการใช้ | ส่วน and คล้ายกับการใช้ & เพียงแต่ and และ or มีลำดับความสำคัญสูงกว่า จึงไม่ต้องใส่วงเล็บ แต่ | และ & ต้องใส่
x = ((a>3) | (a<1))
print(x) # ได้ False
print((a<3) & (a>1)) # ได้ True


ผลของ and และ or ไม่ได้มีแต่ True และ False

ถ้าใช้ and จะได้ค่าตัวซ้ายสุดที่มีค่าความจริงเป็นเท็จ (เช่น False, None, 0 หรือลิสต์ว่าง) แต่หากไม่มีที่เป็นเท็จเลยจะให้ค่าตัวขวาสุด

ตัวอย่าง
print(0 and False and None) # ได้ 0
print(1 and 0 and False and None) # ได้ 0
print(False and [] and 0) # ได้ False
print(1 and None and 0) # ได้ None
print(1 and 2 and 3 and 0) # ได้ 0
print(1 and 2 and 3) # ได้ 3
print(1 and 3 and 2) # ได้ 2

ถ้าเป็น or จะได้ค่าตัวซ้ายสุดที่มีค่าความจริงเป็นจริง แต่ถ้าไม่มีที่เป็นจริงเลยจะได้ตัวขวาสุด

print(0 or 1 or 2) # ได้ 1
print(0 or 2 or 1) # ได้ 2
print([] or None or 0) # ได้ 0
print([] or 0 or None) # ได้ None

นี่เป็นหลักการทำงานโดยละเอียดจริงๆของ and และ or



ใช้ and หรือ or แทน if ได้

จากคุณสมบัติที่ว่ามา บางครั้งก็อาจนำมาใช้แทน if ได้ เช่น

เนื่องจาก and จะทำตัวทางขวาต่อเมื่อตัวทางซ้ายเป็นจริง ดังนั้นหากเขียนแบบนี้
x>1 and print("x มากกว่า 1")

แบบนี้มีค่าเท่ากับ
if(x>1): print("x มากกว่า 1")

ส่วน or จะทำตัวทางขวาต่อเมื่อทางซ้ายเป็นเท็จ ดังนั้นหากเขียนแบบนี้
x>3 or print("x ไม่มากกว่า 3")

จะเท่ากับเขียนว่า
if(not x>3): print("x ไม่มากกว่า 3")

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาเรื่องความง่ายในการเข้าใจแล้ว โอกาสที่จะเขียนแบบนี้อาจมีไม่มากนัก เพราะเข้าใจยากกว่าการใช้ if ธรรมดา แม้อาจทำให้การเขียนดูสั้นลงก็ตาม


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文