φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



หลักการเขียนทับศัพท์ภาษาจีนฮกเกี้ยน (หมิ่นหนาน)
เขียนเมื่อ 2019/11/25 00:56
แก้ไขล่าสุด 2022/03/23 20:05
สำหรับบทความนี้จะขอเสนอหลักการทับศัพท์ภาษาจีนฮกเกี้ยน (ภาษาหมิ่นหนาน) เป็นภาษาไทย

ฮกเกี้ยนมีแบ่งย่อยเป็นหลายสำเนียง สำเนียงที่มักยึดเป็นมาตรฐานกันมากคือสำเนียงเซี่ยเหมิน และสำเนียงมาตรฐานไต้หวันก็ใช้มาตรฐานใกล้เคียงกับสำเนียงเซี่ยเหมิน แม้จะแตกต่างกันเล็กน้อย

ในที่นี้ข้อมูลอ้างอิงตามพจนานุกรมของทางไต้หวันเป็นหลัก ซึ่งใช้สำเนียงไทเปเป็นมาตรฐาน
https://www.moedict.tw/'閩
https://twblg.dict.edu.tw/holodict_new/default.jsp

ภาษาฮกเกี้ยนมีระบบการเขียนบอกเสียงอ่านอยู่หลากหลายแบบ แต่ที่นิยมใช้คือเป่อ่วยยี (白话字/白話字) และ ไถหลัวพินอิน (台罗拼音、台羅拼音) หรือเรียกย่อๆว่า "ไถหลัว"

เป่อ่วยยีเป็นระบบที่ใช้มานานโดยเริ่มมีที่มาจากทางจีนแผ่นดินใหญ่ ส่วนไถหลัวเป็นระบบที่คิดขึ้นใหม่โดยทางไต้หวัน ใช้เป็นมาตรฐานในพจนานุกรมของทางไต้หวัน แต่โดยภาพรวมยังใช้ไม่แพร่หลายเท่า

ใน wikipedia มีหน้าภาษาจีนฮกเกี้ยน เขียนด้วยเป่อ่วยยี https://zh-min-nan.wikipedia.org

ใน wiktionary ก็มีแสดงเสียงอ่านจีนฮกเกี้ยน โดยจะใช้เป่อ่วยยีเป็นหลัก

เป่อ่วยยีกับไถหลัวมีความใกล้เคียงกันมาก ไม่ค่อยต่างกันนัก ในที่นี้จะแสดงทั้ง ๒ แบบควบคู่กันไปโดยถ้าคำไหนต่างจะคั่นด้วย / ส่วนที่เขียนแบบเดียวคือทั้งสองแบบเขียนไม่ต่างกัน



วรรณยุกต์

ภาษาฮกเกี้ยนเดิมทีมีวรรณยุกต์ทั้งหมด ๘ เสียง แต่ในฮกเกี้ยนมาตรฐานปัจจุบันเหลือเพียง ๗ เสียง

คำในภาษาจีนฮกเกี้ยนจะมีการแปรเสียงวรรณยุกต์ (变调/變調) เกิดขึ้นเมื่อไปนำหน้าคำอื่นเพื่อขยาย หรือคำกริยาที่มีกรรม ดังนั้นคำเดิมหากอยู่คนละตำแหน่งของคำอาจออกเสียงวรรณยุกต์ต่างกัน

ทั้งในเป่อ่วยยีและไถหลัวจะใช้สัญลักษณ์วางบนตัวสระแทนเสียงวรรณยุกต์ ทั้ง ๒ ระบบนี้ใช้สัญลักษณ์แบบเดียวกันจึงไม่ชวนสับสน นอกจากนี้ก็ยังมีการใช้ตัวเลขเพื่อแทนเสียงวรรณยุกต์ด้วย ซึ่งจะสะดวกใช้แทนในกรณีที่ไม่สามารถพิมพ์สัญลักษณ์บนวรรณยุกต์ได้

ตัวเลขที่ใช้แทนวรรณยุกต์จะตรงกับ ๘ เสียงที่ใช้ในเพ็งอิมของภาษาจีนแต้จิ๋ว โดยของฮกเกี้ยนจะไม่มีเสียงวรรณยุกต์ที่ 6 แต่ตัวเลขก็ไม่ได้เลื่อนขึ้น ปล่อยเลข 6 ว่างไว้

ไม่ว่าจะแสดงด้วยตัวเลขหรือสัญลักษณ์ เสียงวรรณยุกต์ที่แสดงในเป่อ่วยยีล้วนเป็นเสียงวรรณยุกต์ก่อนแปรเสียง แต่ในการเขียนทับศัพท์เป็นภาษาไทยจะเขียนตามเสียงที่ออกจริง คือเป็นเสียงที่แปรแล้วทั้งหมด

ต่อไปนี้เป็นตารางแสดงวรรณยุกต์ต่างๆ พร้อมทั้งแสดงเสียงที่จะแปรไปเมื่อนำหน้าคำอื่น และตัวอย่าง

เลข สัญลักษณ์ ระดับเสียง เทียบ
วรรณยุกต์ไทย
แปรเสียงเป็น ตัวอย่าง
1 a สูงเรียบ ˦ (4) ตรี  7 东/東 = tong = ต๊อง 番 = huan = ฮ้วน
2 á สูงไปกลาง ˥˧ (53) โท 董 = tóng = ต้อง 反 = huán = ฮ่วน
3 à ต่ำเรียบ ˩ (1) เอก 2 冻/凍 = tòng = ต่อง 贩/販 = huàn = ห่วน
4 ah ต่ำกัก ˨̚ (2) เอก 8 (p,t,k) ,2 (h) 督 = tok = ต็อก 法 = huat = หวด
5 â ต่ำไปสูง  ˨˦ (24) จัตวา  7 同 = tông = ต๋อง 烦/煩 = huân = หวน
6 ǎ -
7 ā กลางเรียบ ˧ (3) สามัญ 2 洞 = tōng = ต็อง 范/範 = huān = ฮวน
8 a̍h สูงกัก ˦̚ (4) ตรี 4 (p,t,k) ,3 (h) 毒 = to̍k = ต๊อก 罰 = hua̍t = ฮ้วด

ในจำนวนนั้นแยกเป็นวรรณยุกต์เสียงเปิด (คำเป็น) ๕ คือ 1,2,3,5,7 และเสียงกัก (คำตาย) ๒ เสียง คือ 4 และ 8

เสียงกักในภาษาฮกเกี้ยนหมายถึงคำที่สะกดด้วยแม่กก แม่กด แม่กบ หรือเสียงกักเส้นเสียง ซึ่งในเป่อ่วยยีและไถหลัวจะแทนด้วย h ตรงกับคำตายไร้ตัวสะกดในภาษาไทย

หลักการแปรสำหรับคำที่เป็นเสียงกักเส้นเสียงจะต่างจากที่เป็นแม่กด กก กด กบ ดังที่แสดงในตาราง จึงต้องแยกกรณี

สรุปหลักการแปรเสียงโดยรวมได้ดังนี้



กรณีเสียงกักเส้นเสียงนั้นเมื่อแปรเสียงแล้วจะกลายเป็นเสียงเปิด โดยถ้าดูที่เป่อ่วยยีหรือไถหลัวก็คือ h หายไป ส่วนในภาษาไทยคือเปลี่ยนจากสระเสียงสั้นเป็นเสียงยาว

ตัวอย่าง 白話字 pe̍h-ōe-jī เมื่ออ่านแยกคำก็คือ pe̍h "เป๊ะ" + ōe "อวย" + jī "ยี" แต่เมื่อรวมกันจะกลายเป็น pè-òe-jī "เป่อ่วยยี" โดยที่เสียง pe̍h กลายเป็น pè

肉粽 bah-chàng "บะ"+"จั่ง" ในที่นี้ bah เป็นเสียง 4 แปรเป็นเสียง 2 คือเสียงโท อ่านเป็น bá-chàng "บ้าจั่ง"

เรื่องวรรณยุกต์มีรายละเอียดยิบย่อยมากมาย สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องวรรณยุกต์อ่านได้ในบทความนี้ https://phyblas.hinaboshi.com/20170825



พยัญชนะต้น

ในภาษาจีนฮกเกี้ยนมีเสียงพยัญชนะต้นทั้งหมด ๑๗ ตัว ดังนี้

เปะอ่วยยี/ไถหลัว IPA ทับศัพท์ไทย ตัวอย่าง
- - 丫 = a = อ๊า
p /p/ 巴 = pa = ป๊า
ph /pʰ/ พ, ผ 怕 = phà = ผ่า
b /b/ 麻 = bâ = บ๋า
m /m/ 马/馬 = má = ม่า
t /t/ 打 = tá = ต้า
th /tʰ/ ท, ถ 剃 = thì = ถี่
n /n/ 但 = nā = นา
l /l/ 拉 = la = ล้า
k /k/ 嘉 = ka = ก๊า
kh /kʰ/ ค, ข 尻 = kha = ค้า
g /g/ ง ('ง) 牙 = gâ = หงา ('หงา)
ng /ŋ/ 雅 = ngá = ง่า
h /h/ ฮ, ห 夏 = hā = ฮา
ch/ts /ʦ/
/ʨ/
早 = chá/tsá = จ้า
之 = chi/tsi = จี๊
chh/tsh /ʦʰ/
/ʨʰ/
ช, ฉ 查 = chhâ/tshâ = ฉา
刺 = chhì/tshì = ฉี่
j /ʣ/
/ʥ/
如 = jû = หยู
字 = jī = ยี
s /s/
/ɕ/
ซ, ส 捎 = sa = ซ้า
示 = sī = ซี

ที่เป่อ่วยยีและไถหลัวเขียนต่างกันมีแค่ ๒ ตัว คือ ch/ts กับ chh/tsh ที่เหลือเหมือนกันทั้งหมด

๔ เสียงด้านล่างสุดของตาราง ได้แก่ ch, chh, j, s ล้วนมีเสียงอ่าน ๒ แบบ ซึ่งแทนด้วย IPA ต่างกัน โดยด้านล่างเป็นเสียงอ่านเมื่อตามด้วยสระ i แต่เป็นความแตกต่างเล็กน้อยไม่มีผลต่อการทับศัพท์ด้วยภาษาไทย

ความเปลี่ยนแปลงแตกต่างของเสียงในส่วนนี้เทียบเคียงได้กับเสียง z/j, c/q, s/x ในจีนกลาง แต่ในระบบเป่อวยยีและไถหลัวจะไม่มีการเปลี่ยนอักษรที่ใช้เหมือนอย่างในพินอินของจีนกลาง

เสียง g ไม่มีในภาษาไทย แต่ใกล้เคียง "ง" จึงแทนด้วย "ง" ซึ่งจะซ้ำกับ ng ไม่อาจแยกแยะได้เมื่อเขียน แต่กรณีที่ต้องการแยกแยะอาจเติม ' นำหน้าเพื่อบอกความต่าง



สระและตัวสะกด

ภาษาฮกเกี้ยนมีสระและตัวสะกดหลากหลาย ตัวสะกดมีทั้งแม่กก กง กด กน กบ กม เหมือนกับในภาษาไทย และยังมีเสียงกักเส้นเสียง นอกจากนี้ยังมีเสียงนาสิก (เสียงออกจมูก แทนด้วย ⁿ ในเป่อ่วยยีหรือ nn ในไถหลัว)

ตารางแจกแจงสระและตัวสะกดทั้งหมด (ไม่รวมเสียงนาสิก)

สระ ตัวสะกด
- แม่กม
[m]
แม่กบ
[p̚]
แม่กน
[n]
แม่กด
[t̚]
แม่กง
[ŋ]
แม่กก
[k̚]
กักเส้นเสียง
[ʔ]
อา
[a]
a
อา
am
อัม
ap
อับ
an
อัน
at
อัด
ang
อัง
ak
อัก
ah
อะ
เอ
[e]
e
เอ
            eh
เอะ
อี
[i]
i
อี
im
อิม
ip
อิบ
in
อิน
it
อิด
eng/ing
อิง
ek/ik
อิก
ih
อิ
เออ
[ə]
o
เออ
            oh
เออะ
ออ
[ɔ]
o͘/oo
ออ
om
อ็อม
op
อ็อบ
    ong
อ็อง
ok
อ็อก
o͘h/ooh
เอาะ
อู
[u]
u
อู
    un
อุน
ut
อุด
    uh
อุ
ไอ
[aɪ]
ai
ไอ
             
เอา
[aʊ]
au
เอา
            auh
เอา (เอา^)
เอีย
[ɪa]
ia
เอีย
iam
เอียม
iap
เอียบ
ian
เอียน
iat
เอียด
iang
เอียง
iak
เอียก
iah
เอียะ
เอีย (อี^เออ)
[ɪə]
io
เอีย (อี^เออ)
            ioh
เอียะ (อี^เออะ)
ยอ (อี^ออ)
[ɪɔ]
          iong
อย็อง
iok
อย็อก
 
อิว
[iu]
iu
อิว
            iuh
อยุ
อัว
[ua]
oa/ua
อัว
    oan/uan
อวน
oat/uat
อวด
    oah/uah
อัวะ
อวย (อู^เอ)
[ue]
oe/ue
อวย
            oeh/ueh
เอวะ
อุย
[ui]
ui
อุย
             
เอียว
[ɪaʊ]
iau
เอียว
            iauh
เอียว (เอียว^)
ไอว (อู^ไอ)
[uai]
oai/uai
ไอว
             
ไร้สระ   m
อึม
      ng
อึง
   

อันที่มีขีด / คั่นคือในเป่อ่วยยีกับไถหลัวเขียนต่างกัน โดยทางซ้ายคือเป่อ่วยยี ทางขวาคือไถหลัว

เสียงนาสิกคือเสียงออกจมูก ซึ่งไม่มีในภาษาไทย และคนไทยทั่วไปจะแยกเสียงนี้ไม่ได้ จึงมักไม่มีผลต่อการเขียนทับศัพท์เป็นภาษาไทย จึงไม่ได้แสดงในตารางนี้ การเขียนจะเหมือนกับแบบไม่มีนาสิก เช่น aⁿ/ann จะเขียน "อา" เหมือนกับ a

แต่หากต้องการเขียนให้แยกความแตกต่างอาจเขียนเป็น "อา*" โดยใช้ * ต่อท้ายแทนการออกเสียงนาสิก



ต่อไปจะแจกแจงแต่ละเสียงและยกตัวอย่าง

สระเดี่ยว

มีอยู่ ๖ เสียง โดยใช้อักษร a (อา), e (เอ) i (อี) o (เออ/โอ) u (อู) และมีอีกเสียงซึ่งแทนสระออ ซึ่งในเป่อ่วยยีใช้ o͘ คือเป็นตัว o แล้วเติมจุดด้านบน ส่วนในไถหลัวจะใช้ oo

เสียง o อาจออกเสียง "เออ" หรือ "โอ" ก็ได้ แต่ในไต้หวันจะใช้ "เออ" เป็นมาตรฐานเป็นหลัก ในที่นี้ก็จะยึด "เออ" เป็นหลัก

a อา 仔 = á = อ้า
马/馬 = ma = ม้า
麻 = bâ = บ๋า
e เอ 鞋 = ê = เอ๋
计/計 = kè = เก่
奶 = ne = เน้
i อี 以 = í = อี้
米 = bí = บี้
饥/飢 = ki = คี้
o เออ 蚵 = ô = เอ๋อ
保 = pó = เป้อ
岛/島 = tó = เต้อ
o͘/oo ออ 湖 = ô͘/ôo = อ๋อ
晡 = po͘/poo = ป๊อ
毛 = môo/mô͘ = หมอ
u อู 与/與 = ú = อู้
舞 = bú = บู้
需 = su = ซู้


สระประสม

สระประสมเกิดจากสระ ๒ ตัวหรือ ๓ ตัวมารวมกัน ในภาษาจีนฮกเกี้ยนมีสระประสมอยู่หลากหลาย ซึ่งส่วนใหญ่มีในภาษาไทยจึงเทียบเคียงได้ง่าย

เสียงที่ไม่มีในภาษาไทยคือเสียง io คือสระอีตามด้วยสระเออ (หรือโอ) ในที่นี้จะเขียนแทนด้วยสระเอียเพื่อความง่าย แต่หากต้องการเขียนให้แยกชัดอาจเขียนเป็น "อี^เออ"

ai ไอ 哀 = ai = ไอ๊
敗 = pāi = ไป
皆 = kai = ไก๊
ao เอา 拗 = áu = เอ้า
吼 = háu = เฮ่า
豆 = tāu = เตา
ia เอีย (อี^อา) 野 = iá = เอี้ย
靴 = hia = เฮี้ย
邪 = siâ = เสีย
io เอีย (อี^เออ) 窑/窯 = iô = เอี๋ย (อี^เอ๋อ)
庙/廟 = biō = เบีย (บี^เออ)
尿 = jiō = เยีย (ยี^เออ)
iu อิว 由 = iû = อิ๋ว
休 = hiu = ฮิ้ว
收 = siu = ซิ้ว
oa/ua อัว 娃 = oa/ua = อั๊ว
撋 = nóa/núa = นั่ว
赖/賴 = lōa/lūa = ลัว
oe/ue อวย 穢 = òe/ùe = อ่วย
粿 = kóe/kúe = ก้วย
挼 = jôe/jûe = หยวย
ui อุย 畏 = ùi = อุ่ย
肥 = pûi = ปุ๋ย
腿 = thúi = ทุ่ย
iau เอียว 姚 = iâu = เอี๋ยว
了 = liáu = เลี่ยว
翘/翹 = khiàu = เขี่ยว
oai/uai ไอว 歪 = oai/uai = ไอว๊
乖 = koai/kuai = ไกว๊


สระเดี่ยว+นาสิก

เมื่อตามด้วยเสียงนาสิกก็เขียนเหมือนกับแบบที่ไม่มีเสียงนาสิกอยู่ คือตัด ⁿ หรือ nn ทิ้งไป แต่หากต้องการเขียนให้แยกก็เติม *


aⁿ/ann อา (อา*) 衫 = saⁿ/sann = ซ้า (ซ้า*)
eⁿ/enn เอ (เอ*) 更 = keⁿ/kenn = เก๊ (เก๊*)
iⁿ/inn อี (อี*) 扇 = sìⁿ/sìnn = สี่ (สี่*)
oⁿ/onn เออ (เออ*) 否 = hóⁿ/hónn = เฮ่อ (เฮ่อ*)


สระประสมสองเสียง+นาสิก

aiⁿ/ainn ไอ (ไอ*) 歹 = pháiⁿ/pháinn = ไพ่ (ไพ่*)
iaⁿ/iann เอีย (เอีย*) 兄 = hiaⁿ/hiann = เฮี้ย (เฮี้ย*)
iuⁿ/iunn อิว (อิว*) 香 = hiuⁿ/hiunn = ฮิ้ว (ฮิ้ว*)
oaⁿ/uann อัว (อัว*) 晃 = hoáⁿ/huánn = ฮั่ว (ฮั่ว*)
oaiⁿ/uainn ไอว (ไอว*) 拐/枴 = koáiⁿ/kuáinn = ไกว้ (ไกว้*)


สระเดี่ยว+ตัวสะกด

เมื่อมีตัวสะกดต่อท้ายโดยส่วนใหญ่แล้วจะออกเสียงเหมือนตอนไม่มีตัวสะกด แค่เพิ่มเสียงตัวสะกดเข้ามาตอนท้าย แต่ก็มีบางเสียงที่รูปแบบการเขียนต่างออกไปเมื่อมีตัวสะกดตามมา

ที่ควรระวังคือเสียงที่สะกดด้วยตัว o ได้แก่ om, op, ong, ok ทั้งหมดนี้เป็นสระออเหมือนกับ o͘/oo ไม่ใช่เสียงสระเออ (หรือโอ) เหมือนอย่าง o เฉยๆ

โดยพื้นฐานแล้วเสียง o ในกรณีนี้จะเป็นเสียงสั้น จึงควรใส่ไม้ไต่คู้ด้วย แต่กรณีที่ต้องเขียนรูปวรรณยุกต์ก็ค่อยตัดไม้ไต่คู้เพื่อใส่รูปวรรณยุกต์แทน

นอกจากนี้มีที่ค่อนข้างพิเศษคือเสียง eng/ing และ ek/ik ซึ่งเสียงนี้จริงๆแล้วเป็นสระประสม เสียง อี^เออะ ซึ่งไม่มีในภาษาไทย ไม่ใช่ทั้งสระอิหรือสระเอะ แต่เพื่อความง่ายจะเขียนเป็นสระอิเฉยๆ และขอใส่รวมอยู่ในส่วนของสระเดี่ยว แม้ว่าในทางปฏิบัติจะเป็นสระประสมก็ตาม

am อัม 暗 = àm = อั่ม
函 = hâm = หัม
糁/糝 = sám = ซั่ม
ap อับ 纳/納 = la̍p = ลับ
霎 = sap = สับ
an อัน 案 = àn = อั่น
版 = pán = ปั้น
籣 = lân = หลัน
at อัด 遏 = at = อัด
乏 = ha̍t = ฮัด
虱 = sat = สัด
ang อัง 翁 = ang = อั๊ง
桶 = tháng = ทั่ง
航 = hâng = หัง
ak อัก 握 = ak = อัก
慄 = la̍k = ลัก
角 = kak = กัก
im อิม 音 = im = อิ๊ม
襟 = khim = คิ้ม
枕 = chím/tsím = จิ้ม
ip อิบ 邑 = ip = อิบ
入 = ji̍p = ยิบ
给/給 = kip = กิบ
in อิน 引 = ín = อิ้น
信 = sìn = สิ่น
眩 = hîn = หิน
it อิด 逸 = i̍t = อิ๊ด
失 = sit = สิด
日 = ji̍t = ยิด
eng/ing อิง 闲/閒 = êng/îng = อิ๋ง
冰 = peng/ping = ปิ๊ง
顶/頂 = tíng/téng = ติ้ง
ek/ik อิก 亦 = e̍k/i̍k = อิ๊ก
激 = kek/kik กิก
惑 = hi̍k/he̍k = หิก
om อ็อม 茂 = ōm = อ็อม
丼 = tôm = ต๋อม
op อ็อบ 橐 = lop = หล็อบ
ong อ็อง 王 = ông = อ๋อง
碰 = pōng = ป็อง
方 = hong = ฮ้อง
ok อ็อก 屋 = ok = อ็อก
毒 = to̍k = ต๊อก
硞 = kho̍k = ค็อก
un อุน 婚 = hun = ฮุ้น
轮/輪 = lûn = หลุน
闰/閏 = jūn = ยุน
ut อุด 遹 = u̍t = อุ๊ด
物 = bu̍t = บุ๊ด
忽 = hut = หุด


สระประสมสองเสียง+ตัวสะกด

สระประสมสองเสียงที่ตามด้วยตัวสะกดนั้นส่วนใหญ่ก็มีในภาษาไทยจึงไม่ยากที่จะเขียน แต่ก็มีเสียงที่ไม่มี คือ iong และ iok ซึ่งเป็นเสียง "อี^อ็อง" และ "อี^อ็อก" ในที่นี้จะเขียนแทนด้วย "อย็อง" และ "อย็อก"

iam เอียม 盐/鹽 = iâm = เอี๋ยม
忝 = thiám = เที่ยม
渗/滲 = siàm = เสี่ยม
iap เอียบ 叶/葉 = ia̍p = เอี๊ยบ
碟 = tia̍p = เตี๊ยบ
摄/攝 = liap = เหลียบ
ian เอียน 沿 = iân = เอี๋ยน
免 = bián = เบี้ยน
涎 = siân = เสียน
iat เอียด 揲 = ia̍t = เอี๊ยด
吉 = kiat = เกียด
穴 = hia̍t = เฮี้ยด
iang เอียง 炀/煬 = iāng = เอียง
凉/涼 = liâng = เหลียง
飨/饗 = hiáng = เฮี่ยง
iak เอียก 擉 = tia̍k = เตี๊ยก
铄/鑠 = siak = เสียก
iong อย็อง 仲 = tiōng = ตย็อง
恐 = khióng = คย่อง
iok อย็อก 却/卻 = khiok = ขย็อก
弱 = jio̍k = ย้อก
oan/uan อวน 团/團 = thoân = ถวน
选/選 = soán = ซ่วน
oat/uat อวด 斡 = oat = อวด
劣 = loa̍t = ล้วด
罰 = hoa̍t = ฮ้วด


สระเดี่ยว+กักเส้นเสียง

ตรงกับสระเดี่ยวเสียงสั้นไร้ตัวสะกดในภาษาไทย การเขียนในเป่อ่วยยีและไถหลัวจะเขียนในลักษณะเดียวกับสระเดี่ยวเสียงเปิด แต่เพิ่ม h เข้ามา ส่วนการเขียนในภาษาไทยให้เปลี่ยนเป็นสระเสียงสั้นทั้งหมด

ah อะ 鸭/鴨 = ah = อะ
煠 = sa̍h = ซะ
eh เอะ 厄 = eh = เอะ
挈 = khe̍h = เคะ
ih อิ 撆 = pih = ปิ
昳 = thi̍h = ทิ
oh เออะ 学/學 = o̍h = เอ๊อะ
箔 = po̍h = เป๊อะ
阁/閣 = koh = เกอะ
o͘h/ooh เอาะ 膜 = mo̍͘h/mo̍oh = เมาะ
謼 = ho͘h/hooh = เหาะ
uh อุ 揬 = tu̍h = ตุ๊
托 = thuh = ถุ


สระประสม+กักเส้นเสียง

สระในกลุ่มนี้มีหลายตัวที่ไม่มีในภาษาไทย

ส่วนเสียง auh และ iauh นั้นให้เขียนเหมือนกับกรณี au และ iau แต่อาจเติม ^ เข้ามาตอนท้ายเพื่อแยกให้เห็นว่ามีเสียงกักตอนท้าย

ioh ใช้สระเอียะเหมือนกับ iah แต่ในกรณีที่ต้องการแยะแยะก็อาจเขียนแยกเป็น "อี^เออะ"

auh เอา (เอา^) 雹 = pha̍uh = เพ้า (เพ้า^)
喃 = nauh = เหน่า (เหน่า^)
iah เอียะ (อี^อะ) 搤 = iah = เอียะ
拆 = thiah = เถียะ
夕 = sia̍h = เซียะ
ioh เอียะ (อี^เออะ) 药/藥 = io̍h = เอี๊ยะ (อี^เอ๊อะ)
抾 = khioh = เขียะ (คี^เออะ)
液 = sio̍h = เซียะ (ซี^เอ๊อะ)
iuh อยุ 搐 = tiuh = ตยุ
oah/uah อัวะ 末 = boa̍h = บั๊วะ
撒 = soah = สัวะ
oeh/ueh เอวะ 襪 = boe̍h = เบว๊ะ
缺 = khoeh = เขวะ
iauh เอียว (เอียว^) 蛲/蟯 = ngia̍uh = เงี้ยว (เงี้ยว^)
藃 = hiauh = เหี่ยว (เหี่ยว^)


ไร้สระ

กลุ่มนี้คือเสียงที่เป็นตัวสะกดลอยขึ้นมา มีอยู่แค่ ๒ เสียงคือ m กับ ng และอาจมีพยัญชนะต้น กรณีที่มีพยัญชนะต้นจะออกเสียงเป็นสระอึ

การเขียนให้แทนด้วยสระอึทั้งหมด

m อึม 姆 = ḿ = อึ้ม
茅 = hm̂ = หึม
ng อึง 黄/黃 = n̂g = อึ๋ง
问/問 = mn̄g = มึง
园/園 = hn̂g = หึง



ตัวอย่าง

นับเลข

0 〇/零 lêng/lîng หลิง
1 chi̍t/tsi̍t จิ๊ด
2 nn̄g นึง
3 saⁿ ซ้า (ซ้า*)
4 สี่
5 gō͘/gōo งอ ('งอ)
6 la̍k ลัก
7 chhit/tshit ฉิด
8 peh เปะ
9 káu เก้า
10 cha̍p/tsa̍p จั๊บ
100 pah ปะ
1,000 chheng/tshing ชิ้ง
10,000 万/萬 bān บัน
100,000,000 亿/億 ek/ik อิก
1,000,000,000,000 tiāu เตียว


ชื่อสถานที่ในสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)

อักษรจีน เป่อ่วยยี/ไถหลัว ทับศัพท์ จีนกลาง
รูปเดิม แปรเสียง
台湾/臺灣 tâi-oân/tâi-uân tāi-oân/tāi-uân ไตอ๋วน ไถวาน (ไต้หวัน)
台北/臺北 tâi-pak tāi-pak ไตปัก ไถเป่ย์ (ไทเป)
基隆 ke-lâng kē-lâng เกหลัง จีหลง
桃园/桃園 thô-hn̂g thō-hn̂g เทอหึง เถาหยวน
新竹 sin-tek/sin-tik sīn-tek/sīn-tik ซินติก ซินจู๋
苗栗 biâu-le̍k/biâu-li̍k biāu-le̍k/biāu-li̍k เบียวลิก เหมียวลี่
台中/臺中 tâi-tiong tāi-tiong ไตตย๊อง ไถจง
彰化 chiong-hoà/tsiong-hoà chiōng-hoà/tsiōng-hoà จย็องหั่ว จางฮว่า
南投 lâm-tâu lām-tâu ลัมเต๋า หนานโถว
云林/雲林 hûn-lîm hūn-lîm ฮุนหลิม หยวินหลิน
嘉义/嘉義 ka-gī kā-gī คางี ('งี) เจียอี้
台南/臺南 tâi-lâm tāi-lâm ไตหลัม ไถหนาน
高雄 ko-hiông kō-hiông เกอฮหย็อง เกาสยง
宜兰/宜蘭 gî-lân gī-lân งีหลัน ('งี) อี๋หลาน
花莲/花蓮 hoa-liân/hua-liân hoā-liân/huā-liân ฮัวเหลียน ฮวาเหลียน
台东/臺東 tâi-tang tāi-tang ไตตั๊ง ไถตง
屏东/屏東 pîn-tong pīn-tong ปินต๊อง ผิงตง
澎湖 phêⁿ-ô͘/phênn-ôo phēⁿ-ô͘/phēnn-ôo เพอ๋อ (เพ*) เผิงหู
金门/金門 kim-mn̂g kīm-mn̂g กิมหมึง จินเหมิน
马祖/馬祖 má-chó͘/má-tsóo ma-chó͘/ma-tsóo ม้าจ้อ หมาจู่
连江/連江 liân-kang liān-kang เลียนกั๊ง เหลียนเจียง
绿岛/綠島 le̍k-tó/li̍k-tó lek-tó/lik-tó หลิกเต้อ ลวี่เต่า
兰屿/蘭嶼 lân-sū lān-sū ลันซู หลานหยวี่
小琉球 sió-liû-khiû sio-liū-khiû เซี้ยลิวขิว (ซี^เอ๊อ) เสี่ยวหลิวฉิว




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ภาษาศาสตร์ >> หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-- ภาษาศาสตร์ >> ภาษาจีน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文