φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



เดินทางจากสนามบินนานาชาติฮ่องกงมาเดินเล่นแถวสถานีเกาลูนและสถานีออสติน
เขียนเมื่อ 2020/01/12 14:49
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
# ศุกร์ 10 ม.ค. 2020

มีโอกาสได้เดินทางมาเที่ยวฮ่องกงอีกครั้ง หลังจากที่เพิ่งเว้นไปแค่ ๒ เดือนเท่านั้นเอง

ครั้งนี้ก็มาแวะเพราะเป็นทางผ่านกลับบ้านอีกเช่นเคย

การชุมนุมประท้วงในฮ่องกงยังคงดำเนินต่อเนื่องมาเรื่อยๆ จนถึงตอนนี้ก็ยาวเกินครึ่งปีแล้ว ทำให้ต้องรู้สึกเป็นห่วงอยู่พอสมควร



เป้าหมายของการเที่ยวครั้งนี้คือเดินเที่ยวในย่านเมือง แล้วก็แวะปีนเขาด้วย โดยได้ชวนเพื่อนมาด้วยกัน

เขาที่ตั้งใจจะไปปีนคราวนี้คือเขาปั๊ดกาซ้าน (筆架山bat1 gaa3 saan1) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสวนสาธารณะริมเมืองเขาสิงโต (獅子山郊野公園si1 zi2 saan1 gaau1 je5 gung1 jyun2) แต่พอไปเดินจริงๆก็กลับเดินไปผิดทางทำให้ไม่ได้ไปถึงยอดตรงที่ตั้งใจจะไป แต่ก็ได้เดินเส้นทางอื่นแทน ซึ่งก็ถือว่าดีเหมือนกัน

เพื่อที่จะไปปีนปั๊ดกาซ้าน ตอนแรกนัดเพื่อนไว้ที่สถานีเฉิ่งซ้าว้าน (長沙灣站coeng4 saa1 waan1 zaam6) ซึ่งอยู่ค่อนไปทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาลูน

โดยตามเวลาเครื่องบินจะลงที่สนามบินฮ่องกง 9:55 จึงนัดเพื่อนเอาไว้เจอกัน 11 โมง น่าจะกำลังดี ใช้เวลาประมาณชั่วโมงจากสนามบินไปถึงแถวนั้น

แต่พอถึงเวลา เครื่องบินกลับมาถึงก่อนเวลาไป ๑๕ นาที แล้วพอลองติดต่อเพื่อน เขากลับบอกว่าตื่นสาย ขอเลื่อนเป็น 11 โมงครึ่งแทน ทำให้ต้องปรับแผนการกะทันหัน เพราะมีเวลาเหลือเพิ่มขึ้นมาก

จากประสบการณ์เที่ยวโน่นนี่มาหลายครั้ง เราจึงรู้จักวางแผนเที่ยวให้ยืดหยุ่นตามสถานการณ์อยู่แล้ว จึงตัดสินใจเปลี่ยนแผนได้ทัน

สถานที่ที่เลือกจะแวะไประหว่างรอเพื่อนก็คือมหาวิทยาลัยโพลีเทคนิคฮ่องกง (香港理工大學hoeng1 gong2 lei5 gung1 daai6 hok6) ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งที่เกี่ยวพันกับการประท้วงฮ่องกงในช่วงก่อนหน้านี้ อยู่ในย่านห่งฮัม (紅磡hung4 ham3)

เดิมทีถ้าจะไปหาเพื่อนตามเวลาเดิมเราควรจะนั่งรถไฟฟ้าสายด่วนจากสนามบินไปลงที่สถานีเช้งยี้ (青衣站cing1 ji1 zaam6) แล้วต่อรถไฟฟ้ามาถึงสถานีเฉิ่งซ้าว้าน

แต่พอเปลี่ยนแผนก็เลยเปลี่ยนเป็นนั่งมาลงที่สถานีเกาลูน หรือเรียกในภาษากวางตุ้งว่า สถานีเก๋าหล่ง (九龍站gau2 lung6 zaam6) แทน และจากตรงนี้เดินไปยังมหาวิทยาลัยที่เป็นเป้าหมายได้ไม่ไกล



ต่อไปจะเริ่มเล่าเรื่องในฮ่องกง โดยเล่าต่อจากตอนที่ออกเดินทางจากไต้หวัน ซึ่งเขียนถึงไว้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20200111

หลังจากออกจากไต้หวัน เวลาก็ผ่าไปชั่วโมงครึ่งอย่างรวดเร็ว แล้วก็ได้เวลาเครื่องลง

เมื่อเครื่องบินเข้ามาใกล้ถึงฮ่องกง มองออกไปนอกหน้าต่างก็ได้เห็นสะพานใหญ่ฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า (港珠澳大橋gong2 zyu1 ou3 daai6 kiu4)



สะพานทอดยาวยิ่งใหญ่โดดเด่น



จุดที่สะพานเริ่มมุดลงไปใต้น้ำ



แล้วเครื่องก็บินมาลงจอดที่สนามบินฮ่องกง




เที่ยวบินนี้คนโหรงเหรงมาก ดูเหมือนคนเดินทางมายังฮ่องกงจะน้อยจริงๆ อีกทั้งเพราะเป็นวันก่อนการเลือกตั้งไต้หวันด้วย คนที่จะออกจากไต้หวันจึงยิ่งน้อย



เดินออกมาขึ้นขบวนรถภายในสนามบินเพื่อไปยังด่านตรวจคนเข้าเมือง



แล้วก็ออกมา แล้วไปหาทางขึ้นรถไฟฟ้าสายสนามบิน



ซื้อตั๋วรถไฟด่วนไปสถานีเกาลูน ราคา ๑๐๕ มั้น ที่แพงเพราะนี่เป็นสายด่วน จากสนามบินไปถึงสถานีเช้งยี้โดยไม่จอดเลย แล้วก็ตรงต่อไปยังสถานีเกาลูนซึ่งอยู่ใจกลางเมือง



มาขึ้นรถไฟฟ้า นั่งข้ามมาลงในเมือง





ถึงสถานีเกาลูน ตัวสถานีดูใหญ่มากทีเดียว ที่นี่ไม่ใช่แค่เป็นสถานีรถไฟฟ้า แต่ยังเป็นจุดเชื่อมต่อการคมนาคมหลายอย่างด้วย




ภายในก็เป็นห้างไปด้วย แต่ดูแล้วหลายร้านปิดอยู่



เดินไปทางนี้ก็จะไปยังสถานีออสติน (Austin) หรือชื่อในภาษากวางตุ้งว่า สถานีอ๊อสี่ติ๊น (柯士甸站o1 si6 din1 zaam6) ซึ่งเป็นสถานีที่อยู่ใกล้กับสถานีเกาลูนในระยะที่เดินไปต่อได้ แต่ก็ไม่ได้ถือเป็นสถานีเดียวกัน ต้องเดินออกแล้วจึงเข้ามาใหม่



เดินมาตามป้ายที่ชี้ว่าไปสถานีออสติน ก็จะออกมานอกอาคารสถานีเกาลูน



แล้วจากตรงนี้ก็จะเป็นทางเดินลอยฟ้าที่เชื่อมระหว่างสถานีเกาลูนกับสถานีออสติน



เดินมาตามทางเรื่อยๆ







ก็ถึงสถานีออสติน





ที่สถานีนี้ นอกจากจะเป็นสถานีรถไฟฟ้าในฮ่องกงแล้วก็ยังเป็นสถานีรถไฟความเร็วสูงที่เชื่อมสู่จีนแผ่นดินใหญ่ด้วย โดยรถไฟจะวิ่งข้ามแดนไปเซินเจิ้น แล้วก็ไปถึงกว่างโจว



จากตรงนี้ออกไปทางประตู D ซึ่งอยู่ฝั่งใต้ก็จะออกไปสู่ถนนออสติน (柯士甸道o1 si6 din1 dou6) ซึ่งเป็นถนนที่ชื่อเดียวกับสถานี ถนนสายนี้ลากจากชายฝั่งตะวันตกของเกาลูนไปยังใจกลางคาบสมุทร



หากเดินไปตามทางนี้ก็จะสามารถไปถึงมหาวิทยาลัยโพลีเทคนิคฮ่องกงได้ เรื่องราวบนถนนสายนี้จะแบ่งไปเขียนในตอนต่อไป https://phyblas.hinaboshi.com/20200113



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> ฮ่องกง
-- ท่องเที่ยว >> ทะเล

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文