φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



หลักการเขียนทับศัพท์ภาษามองโกล
เขียนเมื่อ 2022/03/24 11:08
แก้ไขล่าสุด 2022/04/13 15:35
ในบทความนี้จะอธิบายหลักการเขียนทับศัพท์ภาษามองโกลเป็นภาษาไทย

ภาษามองโกลมีทั้งที่เขียนด้วยอักษรซีริลลิกและอักษรมองโกล แต่ในที่นี้จะแสดงการทับศัพท์โดยแปลงจากอักษรซีริลลิกเท่านั้น เนื่องจากอักษรมองโกลมีความซับซ้อนและมักไม่

โดยจะมีการกำกับอักษรโรมันที่เทียบเคียงไว้ด้วย เพียงแต่ระบบการถอดภาษามองโกลเป็นอักษรโรมันก็มีอยู่หลายรูปแบบ พวกที่ใช้เป็นชื่อทั่วไปก็อาจไม่ได้ใช้ระบบนี้ทั้งหมด ดังนั้นยังไงก็ให้ยึดถือรูปอักษรซีริลลิกเป็นหลัก

อนึ่ง สำหรับผู้ที่ต้องการรู้รายละเอียดเพิ่มเติมเชิงลึกให้อ่านบทความ ภาษามองโกลพื้นฐาน

หรือดูภาพรวมของภาษามองโกลได้ที่ ทำความรู้จักกับภาษามองโกล



เสียงพยัญชนะ

เสียงพยัญชนะในภาษามองโกลทั้งหมดแทนด้วยอักษรแยกกันชัดเจน อักษรหนึ่งตัวแทนเสียงพยัญชนะหนึ่งเสียง ซึ่งอาจจะเป็นพยัญชนะต้นหรือตัวสะกดก็ได้ โดยทั่วไปจะเป็นพยัญชนะต้นหรือตัวสะกดก็ออกเสียงไม่ต่างกัน แต่เวลาเขียนทับศัพท์เป็นภาษาไทยอาจมีการเขียนที่แตกต่างไป

ในตารางต่อไปนี้แสดงการทับศัพท์อักษรแต่ละตัว บางตัวแทนด้วยพยัญชนะในภาษาไทยมากกว่า ๑ ตัว ซึ่งเดี๋ยวจะไปอธิบายเพิ่มเติมหลังตารางอีกที

อักษร IPA ทับศัพท์โรมัน ทับศัพท์ไทย ตัวอย่าง
б /b/~/p/ b буудал (buudal) = โดัล
араб (arab) = อารั
п /pʰ/ p пиво (piwo) = ิว
аппарат (apparat) = อัพพารัท
м /m/ m мод (mod) = ็อด
орчим (orchim) = ออร์ชิ
ф /f/ f франц (frants) = รันช์
кофе (kofe) = คอเ
д /d/~/t/ d дарга (darga) = าร์ก
од (od) = อ็อ
т /tʰ/ t тив (tiw) = ิว
салат (salat) = ซาลั
н /ŋ/
/n/
/m/
n

ногоо (nogoo) = อกอ
ингээд (ingeed) = อิเกด
өндөг (öndög) = อดก
улаанбаатар (ulaanbaatar) = โอลาบาทาร์
р /r/ r эсрэг (esreg) = เอ็สเ็ก
украин (ukrain) = โอไคง์
төр (tör) = โทร์
эрт (ert) = เอร์
л /ɮ/ l ล* лаа (laa) =
уул (uul) = โอ
г /g/~/k/ g газар (gazar) = าซาร์
зураг (zorag) = โซรั
к /kʰ/ k кино (kino) = ินอ
такси (taksi) = ทัซี
х /x/ h ฮ* хажуу (hajuu) = าโจ
бөх (böh) = โบฮ์
ж /ʤ/~/ʧ/ j жижиг (jijig) = ิก
мэдээж (medeej) = เมเด
болж (bolj) = บ็อลจ์
ч /ʧʰ/ ch чинээ (chinee) = ิเน
жолооч (jolooch) = จอลอ
гэвч (gewch) = เกวช์
ш /ʃ/ sh ช* машин (mashin) = มาิง
цааш (tsash) = ชา
багш (bagsh) = บักช์
з /ʣ/~/ʦ/ z ซ* зам (zam) = ัม
бууз (buuz) = โบ
ц /ʦʰ/ ts ช* цагаан (tsagaan) = ากาง
онгоц (ongots) = อ็องก็อ
ганц (gants) = กันช์
с /s/ s
сул (sul) =
үндэс (ündes) = อุนเด็
улс (uls) = อลส์
в /w̜/ w вино (wino) = ินอ
зовлон (zowlon) = ซอล็อง
давс (daws) = ส์
й /j/ y могой (mogoy) = มอกอ
үнэтэй (ünetey) = อุนเทย์

ตัวที่ใส่ * อยู่นั้นคือที่เสียงไม่ตรงกับภาษาไทยแต่ก็ให้ใช้แทนด้วยตัวนั้นไป

л (l) เป็นเสียงคล้าย "ล" แต่มีการเสียดแทรกข้างลิ้น ให้แทนด้วย "ล" ไปเพราะเป็นเสียงที่ใกล้เคียงที่สุด

х (h) จะเป็นเสียงที่อยู่ระหว่าง "ค" กับ "ฮ" แต่ใกล้เคียง "ฮ" มากกว่า ในที่นี้ให้แทนด้วย "ฮ" ไป

ш (sh) นั้นคล้าย sh ในภาษาอังกฤษ เสียงนี้ไม่มีในภาษาไทยแต่ใกล้เคียง "ช" จึงให้แทนด้วย "ช"

з (z) เสียงคล้ายตัว z ในภาษาเยอรมันหรืออิตาลี ซึ่งก็ไม่มีในภาษาไทย แต่ใกล้เคียง "ซ" จึงให้แทนด้วย "ซ"

ц (ts) คล้ายเสียง c ในภาษาจีน ซึ่งไม่มีในภาษาไทยแต่จะใกล้เคียงเสียง "ช" จึงให้แทนด้วย "ช"

จากระบบทับศัพท์ดังนี้จะทำให้ "ช" แทนถึง ๓ เสียงคือ ч ш ц ซึ่งจริงๆแล้วเป็นคนละเสียงกันแต่ในภาษาไทยไม่สามารถแยกได้

ส่วน "ซ" จะแทน з หรือ с แต่กรณีที่เป็นตัวสะกด с จะให้เขียนแทนด้วย "ส" ส่วน з จะใช้ "ซ" ทุกกรณี

б (b) เป็นเสียงกึ่งๆระหว่าง "บ" กับ "ป" แต่ในที่นี้จะให้ทับศัพท์เป็น "บ" ไป

д (d) เป็นเสียงกึ่งๆระหว่าง "ด" กับ "ต" แต่ในที่นี้จะให้ทับศัพท์เป็น "ด" ไป

р (r) หากตามพยัญชนะตัวอื่น จะออกเสียงเป็นควบกล้ำ

франц (frants) = ฟันช์
сандрах (sandrah) = ซันดาฮ์

สำหรับ х (h) กับ р (r) นั้นหากเป็นตัวสะกดจะใช้เป็นตัวการันต์คือเขียนเป็น "ฮ์" และ "ร์" เนื่องจากในภาษาไทยไม่นิยมใช้ "ฮ" และ "ร" เป็นตัวสะกด

авах (awah) = อาวาฮ์
бүр (bür) = บุร์

หากเป็น өв (öw) หรือ ув (uw) ให้เขียนเป็น "โอว" เนื่องจากในภาษาไทยจะไม่เขียนสระโอะแม่เกอว (อว)

хувцас (huwtsas) = โฮวชัส
өвдөх (öwdöw) = โอวโดฮ์

หากเป็น ав ให้ใช้เป็นสระ "เอา"

шавж (shauj) = เชาจ์

นอกจากนี้แล้วคำที่เป็นตัวสะกดซ้อนให้เขียนตัวสะกดตัวหลังในรูปการันต์

эгч (egch) = เอ็กช์
амтлагч (amtlagch) = อัมท์ลักช์
бөгж (bögj) = บกจ์
талх (talh) = ทัลฮ์

เพียงแต่หากตัวหน้าเป็น р (r) จะเป็นการันต์ "ร์" อยู่แล้ว ตัวที่ตามมาจึงไม่ต้องเป็นการันต์

өөрчлөх (öörchlöh) = โอร์โลฮ์
марк (mark) = มาร์

н (n) หากเป็นตัวสะกดจะออกเสียงต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าอยู่ตรงไหน ถ้าอยู่ท้ายคำหรือตามด้วย г (g) к (k) х (h) จะเป็นแม่กง ถ้าหากตามด้วย б (b) п (p) м (m) ф (f) จะกลายเป็นแม่กม ส่วนกรณีอื่นๆจะเป็นแม่กน

сан (san) = ซั
монгол (mongol) = ม็อก็อล
улаанбаатар (ulaanbaatar) = โอลาบาทาร์
ундаа (undaa) = อดา
хана (hana) = ฮั




เสียงสระเดี่ยว

ภาษามองโกลประกอบด้วยสระ ๗ ตัวเป็นพื้น ซึ่งแทนด้วยอักษร ๗ ตัวดังนี้

อักษร IPA ทับศัพท์โรมัน ทับศัพท์ไทย ตัวอย่าง
а /a/ a อะ (อั_)
อา
ам (am) = อั
авах (awah) = อาวาฮ์
э /e/ e เอะ (เอ็_)
เอ
эмч (emch) = เอ็มช์
эх (eh) = เอฮ์
и /i/ i อิ их (ih) = อิฮ์
о /ɔ/ o เอาะ (อ็อ)
ออ
огт (ogt) = อ็อกท์
охор (ohor) = ออฮอร์
ө /ɵ/ ö โอะ (อ_)
โอ*
цөл (tsöl) =
өдөр (ödör) = โอโดร์
у /o/ u โอะ (อ_)
โอ
ус (us) =
хурал (horal) = โฮรัล
ү /u/ ü อุ үг (üg) = อุ

สระ ө (ö) นั้นแทนเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย เสียงอยู่ระหว่าง "โอ" กับ "เออ" แต่จะใกล้เคียงสระ "โอ" มากกว่าจึงให้แทนด้วย "โอ" ซึ่งจะไปซ้ำกับเสียง у (u) ซึ่งแทนสระ "โอ" เหมือนในภาษาไทยจริงๆ

โดยทั่วไปแล้วถ้าเขียนด้วยสระตัวเดียวจะอ่านเป็นเสียงสั้น แต่สระ "อะ เอะ เอาะ โอะ" นั้นกรณีที่ไม่มีตัวสะกดจะไม่นิยมเขียนในรูปเสียงสั้นไปทั้งอย่างนั้น จึงเขียนเป็น "อา เอ ออ โอ" เหมือนเป็นเสียงยาวไป ในขณะที่ถ้ามีตัวสะกดค่อยเขียนเป็น "อั_ เอ็_ อ็อ_ อ_" ส่วน "อิ" กับ "อุ" นั้นให้เขียนในรูปเสียงสั้นแบบนี้ตลอดไม่ต้องแยกใช้

อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วสระที่อยู่ท้ายคำมักจะไม่ออกเสียง ดังนั้นพยัญชนะที่อยู่หน้าสระนั้นจะกลายเป็นตัวสะกดไป

бага (baga) = บั
хими (himi) = ฮิ
анги (angi) = อังก์

ตัว н (n) ปกติถ้าอยู่ท้ายคำจะอ่านเป็นแม่กง แต่ในกรณีนี้ซึ่งมีสระที่ถูกละไปถูกวางต่อจะออกเสียงเป็นแม่กน ไม่ใช่แม่กง

үнэ (une) = อุ
чоно (chono) = ช็อ

แต่ก็มีข้อยกเว้น เช่นพวกคำที่มาจากภาษาต่างประเทศบางคำจะออกเสียงสระตัวท้ายชัดเจนและเป็นเสียงยาว

кино (kino) = คินอ
такси (taksi) = ทัคซี

และในการออกเสียงจริงๆ เสียงของบางพยางค์จะมีการออกเสียงแบบคลุมเครือ กลายเป็นเสียงคล้ายสระ "อือ" หรืออาจกลายเป็นสระอื่นขึ้นมาแบบไม่ตายตัว แต่ในระบบการทับศัพท์จะขอมองข้ามรายละเอียดตรงนี้ เน้นถอดตามรูปเป็นหลัก

หากนำสระมาต่อกัน ๒ ตัวจะเกิดเป็นเสียงยาวขึ้น ก็ให้ทับศัพท์ด้วยสระเสียงยาวในภาษาไทยทั้งหมด

อักษร IPA ทับศัพท์โรมัน ทับศัพท์ไทย ตัวอย่าง
аа /aː/ aa อา аав (aaw) = อา
ээ /eː/ ee เอ дээл (deel) = เด
ий /iː/ iy อี дэлхий (delhiy) = เด็ลฮี
оо /ɔː/ oo ออ тооцоо (tootsoo) = ทอชอ
өө /ɵː/ öö โอ өвөөwöö) = โอโว
уу /oː/ uu โอ нуур (nuur) = โนร์
үү /uː/ üü อู нүүр (nüür) = นูร์

อนึ่ง สระ и (i) เท่านั้นที่รูปเสียงยาวจะเขียนเป็น ий (iy) แทนที่จะเป็น и (i) ซ้อนกัน ๒ ตัว



นอกจากสระพื้นฐานที่ว่ามาข้างต้นแล้ว ยังมีอักษรแทนสระที่ใช้น้อยกว่าแต่ค่อนข้างซับซ้อน และแต่ละตัวมีวิธีการอ่านอยู่หลายแบบ ทำให้ต้องจำแยกคำเอา

อักษร IPA ทับศัพท์โรมัน ทับศัพท์ไทย ตัวอย่าง
я /ja/ ya ยะ (ยั_)
ยา
ямар (yamar) = ยามาร์
/iː/ อี ная (naya) = นาอี
е /je/ ye เยะ (เย็_)
เย
ер (yer) = เยร์
/ju/ ยุ ес (yes) = ยุ
/iː/ อี үеye) = อุอี
/e/ เอะ (เอ็_)
เอ
чех (chyeh) = เชฮ์
ё /jɔ/ yo เยาะ (ย็อ_)
ยอ
ёс (yos) = ย็อ
/iː/ อี гоё (goyo) = กออี
ю /jo/ yu โยะ (ย_)
โย
оюутан (oyuutan) = ออโยทัง
/ju/ ยู юм (yum) = ยุ
ы /ʲi/ y อี газрын (gazryn) = กัซรี

อักษรพวกนี้โดยหลักแล้วจะแทนเสียงที่มีพยัญชนะ "ย" อยู่ในตัวเช่น я (ya) е (ye) ё (yo) ю (yu) อ่านว่า "ยา เย ยอ ยู" แต่ก็มีข้อยกเว้น я (ya) е (ye) ё (yo) นั้นอาจอ่านเป็น "อี" ได้ด้วย ส่วน е (ye) นั้นปกติถ้าเจอในคำที่มาจากภาษาต่างประเทศจะแทนสระ "เอ" เลย

ы นั้นจะแทนเสียงสระ "ยี" แต่จะใช้ในกรณีจำกัดและปกติจะตามพยัญชนะเสมอและก็จะได้ยินเป็นสระ "อี" ไป ดังนั้นจึงแทนด้วยสระอีไป เช่นเดียวกับ ий (iy)

นอกจากนี้ยังมีตัว ь ซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงเสียงเบา โดยทั่วไปเวลาทับศัพท์ไม่ต้องเขียนตัวนี้ด้วย แม้ว่าในระบบทับศัพท์เป็นโรมันมักถูกเขียนแทนด้วยตัว i ก็ตาม ให้มองข้ามไปเหมือนกรณีที่สระอยู่ท้ายพยางค์

морь (mori) = มอร์
сургууль (surguuli) = โซร์โก
хонь (honi) = ฮ็อ



เสียงสระประสม

ในภาษามองโกลมีสระประสมอยู่ ๕ เสียง ดังนี้

อักษร IPA ทับศัพท์โรมัน ทับศัพท์ไทย ตัวอย่าง
ай /ai/~/æː/ ay ไอ сайн (sayn) = ไซง์
эй /ei/~/eː/ ey เอย์ хүчтэй (huchtey) = ฮุชเทย์
ой /ɔi/~/œː/ oy ออย хойш (hoysh) = ฮอยช์
уй /oi/~/oe/ uy โอย гаруй (garuy) = กาโรย
үй /ui/~/ue/ üy อุย үгүйgüy) = อุกุย

เพียงแต่ในความเป็นจริงโดยทั่วไปแล้ว ай (ay) จะออกเสียงเป็น /æː/ คือสระ "แอ"

ส่วน ой (oy) จะออกเสียงเป็นสระคล้าย /œː/ ซึ่งจะฟังดูคล้ายสระ "เออ" ในภาษาไทย

และ эй (ey) นั้นจริงๆมักจะแค่ออกเสียงเป็นสระ "เอ" เสียงยาวไป ไม่มีเสียงสระอิตรงท้าย

อย่างไรก็ตาม ในการทับศัพท์จะให้ถอดตามรูปโดยแทน ай (ay) ด้วย "ไอ" แทน эй (ey) ด้วย "เอย์" และ ой (oy) เป็น "ออย" ทั้งหมด



ตัวอย่าง

รายชื่อเขตการปกครองในประเทศมองโกเลีย แบ่งเป็น ๒๒ จังหวัด

ชื่อ ทับศัพท์โรมัน ทับศัพท์ไทย ชื่อเขียนแบบอื่นที่อาจเจอ
Улаанбаатар Ulaanbaatar โอลามบาทาร์ Ulan Bator
Архангай Arhangay อาร์ฮังไก Arkhangai
Баян-Өлгий Bayan-Ölgiy บาอิง-อลกี Bayan-Ölgii
Баянхонгор Bayanhongor บาอีงฮ็องกอร์ Bayankhongor
Булган Bulgan บลกัง  
Говь-Алтай Gowi-Altay ก็อว-อัลไท Govi-Altai
Говьсүмбэр Gowisümber ก็อวซุมเบร์ Govisümber
Дархан-Уул Darhan-Uul ดาร์ฮัง-โอล Darkhan-Uul
Дорноговь Dornogowi ดอร์นอก็อว Dornogovi
Дорнод Dornod ดอร์น็อด  
Дундговь Dundgowi ดนด์ก็อว Dundgovi
Завхан Zawhan เซาฮัง Zavkhan
Орхон Orhon ออร์ฮ็อง Orkhon
Өвөрхангай Öwörhangay โอโวร์ฮังไก Övörkhangai
Өмнөговь Ömnögowi อมน์ก็อว Ömnögovi
Сүхбаатар Sühbaatar ซุฮ์บาทาร์ Sükhbaatar
Сэлэнгэ Selenge เซเล็งก์ Selenga
Төв Töw โทว Töv
Увс Uws โอวส์ Uvs
Ховд Howd ฮ็อวด์ Khovd
Хөвсгөл Höwsgöl โฮวส์กล Khöwsgöl
Хэнтий Hentiy เฮ็นที Khenrii



ชื่อเมืองหลักของมองโกเลีย (เพียงแต่หากซ้ำกับชื่อจังหวัดที่เขียนไปข้างบนจะตัดออก)

ชื่อ ทับศัพท์โรมัน ทับศัพท์ไทย ชื่อเขียนแบบอื่นที่อาจเจอ
Цэцэрлэг Tsetserleg เชเชร์เล็ก Cecerleg
Чойр Choyr ชอยร์ Choir
Сайншанд Saynshand ไซน์ชันด์ Sainshand
Чойбалсан Choibalsan ชอยบัลซัง  
Мандалговь Mandalgowi มันดัลก็อว Mandalgovi
Улиастай Uliastai โอลิอัสไท Uliyasutai, Oulia-Sontai
Эрдэнэт Erdenet เอร์เดเน็ท  
Арвайхээр Arwayheer อาร์ไวเฮร์ Arvaikheer, Arwaiheer
Даланзадгад Dalanzadgad ดาลันซัดกัด  
Баруун-Урт Baruun-Urt บาโร-โนร์ด  
Сүхбаатар Sühbaatar ซุฮ์บาทาร์ Sükhbaatar
Зуунмод Zuunmod โซมม็อด  
Улаангом Ulaangom โอลางก็อม  
Мөрөн Mörön โมรง Murun
Өндөрхаан Öndörhaan อนโดร์ฮาง Öndörkhaan, Undurkhaan



ชื่อเมืองและเขตการปกครองภายในมองโกเลียในของจีน

ชื่อ ทับศัพท์โรมัน ทับศัพท์ไทย ชื่อจีน
Хөх хот Höh hot โฮฮ์ ฮ็อท 呼和浩特 ฮูเหอเฮ่าเท่อ
Бугат Bugat โบกัท 包头 เปาโถว
Үхай Uhai อุไฮ 乌海 อูไห่
Улаанхад Ulaanhad โอลางฮัด 赤峰 ชื่อเฟิง
Тонляо Tonlyao ท็อนลยาออ 通辽 ทงเหลียว
Ордос Ordos ออร์ด็อส 鄂尔多斯 เอ้อเอ่อร์ตัวซือ
Хөлөнбуйр Hölönbuyr โฮลมโบยร์ 呼伦贝 ฮูหลุนเป้ย์
Баяннуур Bayannuur บาอีนโนร์ 巴彦淖尔 ปาย่านเน่าเอ่อร์
Улаанцав Ulaantsaw โอลานเชา 乌兰察布 อูหลานฉาปู้
Хянган Hyangan ฮยังกัง 兴安 ซิงอาน
Шилийн Гол Shiliyn Gol ชิลีง ก็อล 锡林郭勒 ซีหลินกัวเล่อ
Алшаа Alshaa อัลชา 阿拉善 อาลาซ่าน





รายชื่อกษัตริย์มองโกล

ชื่อ ทับศัพท์โรมัน ทับศัพท์ไทย
Чингис Chingis ชิงกิส (เจงกีสข่าน)
Тулуй Tuluy โทโลย
Өгэдэй Ögedey โอเกเดย์
Гүюг Güyüg กุยุก
Мөнх Mönh มงฮ์
Хубилай Hybilay โฮบิไล (กุบไลข่าน)
Төмөр Tömör โทโมร์
Хүлэг Hüleg ฮุเล็ก
Аюурбарбад Ayuurbarbad อาโยร์บาร์บัด
Гэгээн Gegeen เกเกง
Есөнтөмөр Yesöntömör เยซนโทโมร์
Рагибаха Ragibaha รากิบาฮ์
Заяат Zayaat ซายาท
Хутагт Hutagt โฮทักท์
Ринчинбал Rinchinbal รินชิมบัล
Тогоонтөмөр Togoontömör ทอกอนโทโมร์
Аюушридар Ayuushridar อาโยชริดาร์
Төгстөмөр Tögstömör ทกส์โทโมร์
Зоригт Zorigt ซอริกท์
Энх Enh เอ็งฮ์
Элбэг нигүүлсэгч Elbeg nigüülsegch เอ็ลเบ็ก นิกูลเซ็กช์
Гүнтөмөр Güntömör กุนโทโมร์
Үгч хашха Ügch hachha อุกช์ ฮัชฮ์
Өлзийтөмөр Ölziytömör อลซีโทโมร์
Дэлбэг Delbeg เด็ลเบ็ก
Ойрадай Oyraday ออยราได
Адай Aday อาได
Тайсун Taysun ไทซง
Агваржин Agwarshin อักวาร์ชิง
Эсэн тайш Esen taysh เอเซ็ง ไทช์
Махагүргис Mahagürgis มาฮ์กุร์กิส
Молон Molon มอล็อง
Мандуул Manduul มันโดล
Даян Dayan ดายัง
Барсболд Barsbold บาร์สบ็อลด์
Боди Алаг Bodi Alag บอดิ อาลัก
Дарайсүн гүдэн Daraysün Güden ดาไรซุง กุเด็ง
Түмэн засагт Tümen zasagt ทุเม็ง ซาซักท์
Буян цэцэн Buyan tsetsen โบยัน เชเช็ง
Лигдэн Ligden ลิกเด็ง
Эжэй Ejey เอเจย์
Богд Bogd บ็อกด์



รายชื่ออาหารมองโกล

ชื่อ ทับศัพท์โรมัน ทับศัพท์ไทย
чанасан мах chanasan mah ชันซัม มาฮ์
хорхог horhog ฮอร์ฮ็อก
боодог boodog บอด็อก
шорлог shorlog ชอร์ล็อก
бууз buuz โบซ
банш bansh บันช์
шарсан банш sharsan bansh ชาร์ซัม บันช์
хуушуур huushuur โฮโชร์
цуйван tsuywan โชยวัง
банштай цай banshtay tsay ชันช์ไท ไช
бантан bantan บันทัง
будаатай хуурга budaatay huurga โบดาไท โฮร์กา
тефтель tefteli เท็ฟเท็ล
боорцог boortsog บอร์ช็อก
гурилтай шөл guriltay shöl โกริลไท ชล
ногоотой шөл nogootoy shöl นอกอทอย ชล
нийслэл салат niyslel salat นีสเล็ล ซาลัท
Луувангийн салат luuwangiyn salat ลูวังกีน ซาลัท
өрөм öröm โอรม
ааруул aaruul อาโรล
сүүтэй цай süütey tsay ซูเทย์ ไช
айраг ayrag ไอรัก
аарц aarts อาร์ช
шимийн архи shimiyn arhi ชิมี นาร์ฮ

รายละเอียดเกี่ยวกับอาหารแต่ละชนิดพร้อมรูปประกอบอ่านเพิ่มเติมได้ในหน้า แนะนำอาหารมองโกล



นอกจากนี้ ตัวอย่างเพิ่มเติมอาจดูได้ที่ รวมคำศัพท์ภาษามองโกลพร้อมแสดงการเขียนด้วยอักษรมองโกลโดยแยกส่วนประกอบให้เห็นด้วย


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ภาษาศาสตร์ >> หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-- ภาษาศาสตร์ >> ภาษามองโกล

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文