φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ชมใบไม้เปลี่ยนสีขณะปีนเขาคุริโกมะสูง ๑๖๒๖ เมตรที่อยู่ระหว่างจังหวัดมิยางิและอิวาเตะ
เขียนเมื่อ 2023/10/09 19:27
แก้ไขล่าสุด 2023/10/11 21:24
# อาทิตย์ 8 ต.ค. 2023

เล่าเรื่องการมาปีนเขาคุริโกมะ (栗駒山くりこまやま) ต่อจากตอนที่แล้วที่นั่งรถบัสจนเดินทางมาถึงปากทางขึ้นเขาอิวากางามิไดระ (いわかがみだいら) https://phyblas.hinaboshi.com/20231008



ป้ายซึ่งบอกความสูงของตรงนี้คือ ๑๑๑๓ เมตร แต่จากนี้ไปเราจะปีนขึ้นไปยังยอดเขาที่ความสูง ๑๖๒๖ เมตร



ก่อนอื่นเข้าห้องน้ำก่อน เพราะบนเขาไม่มีห้องน้ำอยู่เลย โดยต้องรอแถวคิวยาวกว่าจะได้เข้าเพราะคนอื่นก็เพิ่งลงจากรถบัสกันมา



จากนั้นก็เดินขึ้นไปตรงอาคารที่อยู่ด้านบนนั้นคือคุริโกมะเรสต์เฮาส์ (栗駒くりこまレストハウス)




ตรงนี้มีป้ายบอกว่าเส้นทางส่วนหนึ่งทางฝั่งจังหวัดอิวาเตะถูกปิดอยู่ แต่ก็ไม่ได้เกี่ยวกับเรา เพราะไม่ได้กะจะเดินข้ามไปทางโน้นอยู่แล้ว



ที่ตรงอาคารเรสต์เฮาส์นี้มีพวกร้านขายของและร้านอาหาร



ด้านหน้านี้ขายทนจิรุ



จากตรงนี้มีทางเลือก ๒ ทางในการปีน โดยแบ่งเป็นเส้นทางหลักจูโอวคอร์ส (中央ちゅうおうコース) ซึ่งปีนง่าย ระยะทางรวม ๒.๙ กม. เส้นทางถูกทำไว้เป็นอย่างดี เหมาะกับนักท่องเที่ยวทั่วไปที่แค่อยากเดินเล่นไม่อยากลุยลำบากมาก และอีกเส้นทางคือฮิงาชิคุริโกมะยามะคอร์ส (東栗駒山ひがしくりこまやまコース) ซึ่งปีนลำบากและค่อนข้างอ้อม ระยะทางรวม ๓.๗ กม. ต้องผ่านยอดเขาฮิงาชิคุริโกมะซึ่งเป็นยอดทางตะวันออก สูง ๑๔๓๔ เมตร เส้นทางผ่านน้ำตกและพื้นที่เปียกชื้น

เราเองก็ถือว่ามีประสบการณ์ในการปีนเขามาหลายที่แล้ว แม้จะยังไม่ได้เก่งมาก ดังนั้นในการปีนครั้งนี้เราตัดสินใจขึ้นโดยเส้นทางผ่านเขาฮิงาชิคุริโกมะ แล้วขาลงจึงค่อยลงผ่านเส้นทางหลัก

ปากทางขึ้นเขาอยู่ตรงนี้ เราเริ่มปีนเขาตอนเวลา 11:00 พอดี และรถขากลับนั้นออกจากที่นี่ 15:05 จึงมีเวลาประมาณ ๔ ชั่วโมงในการปีน



เข้ามาถึงก็เจอพื้นที่ซึ่งเต็มไปด้วยโคลนและพื้นเป็นหินเดินลำบาก เราเผลอเหยียบโดนเปียกแฉะตั้งแต่ต้นทางเลย แค่เริ่มก็แย่ซะแล้วทำเอาอยากย้อนกลับเปลี่ยนไปเส้นทางที่ง่ายแทน แต่ก็ตัดสินใจเดินต่อ



เนื่องจากคนเยอะ ไม่ว่าจะเดินไปถึงไหนก็มีคนเดินอยู่ด้วยตลอด ซึ่งก็ทำให้ล่าช้าไปบ้างและถ่ายรูปธรรมชาติได้ลำบาก แต่ก็ช่วยให้อุ่นใจ เพราะเดินเขาแบบนี้อาจมีอันตรายได้ พอมีคนเยอะแล้วก็สบายใจในความปลอดภัยได้มากกว่า




ทางเดินบางส่วนก็ลาดชันจนปีนลำบาก แต่ก็มีบันไดช่วย ทำให้ปีนง่ายขึ้น





แต่ส่วนใหญ่ก็ไม่มีบันไดหรอก ก็ต้องเดินไประวังไป บ่อยครั้งที่ต้องใช้มือช่วย ทำให้มือเปื้อนเลอะโคลน เห็นหลายคนก็เตรียมไม้สำหรับปีนเขามาช่วยได้มาก แต่เรามามือเปล่า





บ้างก็เจอคนที่กำลังเดินลงเขาสวนมา ก็ต้องคอยหลบ เส้นทางแคบจึงทำให้ต้องหยุดรอบ่อยครั้ง



พอยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆก็ยิ่งเริ่มเห็นใบไม้เปลี่ยนสีมากขึ้น ทิวทัศน์สวยงามขึ้นมา





จากตรงนี้เริ่มเป็นที่โล่งและราบขึ้นมาหน่อย



มองหันหลังกลับไปเห็นทิวทัศน์สวยงาม





เดินขึ้นต่อไปเรื่อยๆยิ่งเห็นใบไม้เปลี่ยนสีสวยขึ้นไปอีก



แล้วก็มาถึงตรงส่วนที่เป็นน้ำตก




ตรงนี้มีป้ายบอกทางที่เขียนว่าจุดนี้ห่างจากปากทางปีนเขามา ๑.๐ กม. ซึ่งนั่นก็คือระยะที่เราเดินมาจนถึงนี่ กว่าจะมาถึงนี่ก็เป็นเวลา 11:50 แล้วใช้เวลาไปประมาณ ๕๐ นาที และหลังจากตรงนี้ไปจนถึงยอดเขายังเหลือระยะ ๒.๗ กม. คิดคร่าวๆก็คือเดินมาแล้วประมาณ ๑ ใน ๔ ของระยะทางที่ต้องเดินทั้งหมด กินเวลามากกว่าที่คิด



เส้นทางต่อจากนี้ไปคือเดินขึ้นไปตามน้ำตก ซึ่งลำบากมาก ต้องระวังหกล้มหรือเหยียบโดนน้ำแฉะ บางส่วนก็ต้องใช้มือช่วยไม่งั้นไม่กล้าเดินต่อ ทำให้ไม่สามารถเดินไปถ่ายรูปไปได้บ่อย แต่ก็พอมีรูปสวยๆถ่ายมาได้บ้าง แม้จะลำบากแต่ทิวทัศน์ตรงนี้สวยมากจริงๆจึงคุ้มค่าแล้วที่ได้มา










ทางเดินเลียบริมน้ำตกก็จบลงเท่านี้



เส้นทางต่อจากนี้ไปก็เริ่มเดินง่าย และทิวทัศน์ก็ยิ่งสวยขึ้น





ทางโน้นคือส่วนยอดเขาที่เป็นเป้าหมายของเรา แต่เมฆหน้าปกคลุมเลยทำให้มองเห็นยอดได้ยาก



ส่วนทางนี้ซึ่งต้องมุ่งหน้าไปก่อนคือยอดเขาฮิงาชิคุริโกมะ




ระหว่างทางเจอระฆัง



เดินขึ้นไปเรื่อยๆ








เดินมาจนถึงส่วนยอดของส่วนนี้แล้ว จากตรงนี้เป็นทางเดินบนสันเขา




มองไปยังส่วนยอดคุริโกมะสูงสุด ยังเต็มไปด้วยเมฆปกคลุม



เดินทางมุ่งหน้าต่อไป



เส้นทางตรงนี้เจอทางที่เป็นโคลนอีกแล้ว ทำให้ต้องเดินระวัง แต่ยังไงรองเท้าเปื้อนเละก็เลี่ยงไม่ได้




ทิวทัศน์สวยระหว่างทาง








ตรงนี้ก็ปีนลำบาก



แล้วก็มาเจอพื้นที่เปียกแฉะเกินกว่าที่จะเดินผ่านได้ ไม่มีใครคิดจะเดินลุยผ่านไปโดยตรง ต้องยอมมุดกอไม้ด้านข้างเพื่อให้ได้ก้าวต่อไป ซึ่งก็ลำบากมากเพราะ ๒ ข้างทางเต็มไปด้วยไม้ขึ้นหนา กว่าจะผ่านไปได้ก็ลำบากไม่น้อย



หลังจากผ่านมาได้ก็ลุยพื้นแฉะไปอีกสักพัก ที่เหลือก็เริ่มสบายแล้ว



ยอดเขาที่เป็นเป้าหมายก็อยู่ตรงหน้านี้แล้ว เดินต่อไปเรื่อยๆ




ยังคงเจอทางที่ปีนลำบากอยู่ประปราย แต่มาถึงตรงนี้ก็ชินแล้ว



และพอมาถึงตรงนี้ก็สบายแล้ว จากตรงนี้ไปทางเป็นบันไดที่ถูกทำไว้ดี






แล้วในที่สุดก็มาถึงตรงส่วนที่เป็นทางแยกระหว่างเส้นทางฝั่งฮิงาชิคุริโกมะที่เราเดินมากับเส้นทางหลักซึ่งปีนง่าย ภาพนี้หันหลังถ่าย โดยที่เส้นทางที่เราเดินมานั้นอยู่ทางซ้าย ส่วนเส้นทางหลักซึ่งเดี๋ยวจะใช้เพื่อเดินลงนั้นอยู่ทางขวา



จากตรงทางแยกนี้ไปสู่ยอดเขานั้นเป็นระยะแค่ ๒๐๐ เมตรเท่านั้น แค่เดินขึ้นบันไดต่อไปเรื่อยๆ



ระหว่างทางคนแน่นมาก คนที่กำลังเดินลงสวนมาก็มีไม่น้อย



ในที่สุดก็มาถึงยอดเขาแล้ว ขณะนั้นเป็นเวลาบ่ายโมงนิดๆ เท่ากับว่าใช้เวลาในการปีนไปประมาณ ๒ ชั่วโมง



บนส่วนยอดมีศาลเจ้าเล็กๆอยู่



นี่คือป้ายที่ตั้งเด่นตรงส่วนยอด มีคนมาถ่ายรูปกับป้ายนี้ตลอดจนแทบหาจังหวะถ่ายโดยไม่มีคนติดไม่ได้เลย



ป้ายแสดงเส้นทางปีนเขาบริเวณรอบๆนี้



ตรงนี้เป็นทางแยกไปยังเส้นทางส่วนฝั่งจังหวัดอิวาเตะ เดินไป ๓.๗ กม. จะถึงสึงาวะอนเซง (須川温泉すがわおんせん)



บริเวณยอดเขานี้เต็มไปด้วยผู้คน




เราลองเดินไปยังเส้นทางฝั่งจังหวัดอิวาเตะเล็กน้อยเพื่อชมทิวทัศน์ตรงนี้ ซึ่งก็สวยดี



มองไปทางเหนือ จังหวัดอิวาเตะ ทิวทัศน์สวยงามมาก



หลังจากอยู่บนยอดเขาสักพักก็ได้เวลาเดินกลับลงไป ระหว่างที่ยังอยู่ใกล้ยอดเขานั้นเต็มไปด้วยเมฆหนา ทำให้มองไม่เห็นทิวทัศน์อะไรมาก




พอเดินลงมาสักระยะก็เริ่มอยู่ใต้เมฆและเห็นทิวทัศน์สวยงามได้




เส้นทางเดินลงที่เราใช้นี้เป็นเส้นทางหลักซึ่งถูกทำไว้อย่างดี เดินง่าย และทิวทัศน์ก็สวยงาม







ตรงนี้เป็นจุดแวะพัก มีป้ายเขียนแผนที่บริเวณป่าสงวนตรงนี้



ทิวทัศน์ที่มองออกไปเห็นจากตรงนี้



เดินลงต่อไปเรื่อยๆ




ป้ายบอกว่าห่างจากส่วนยอดมา ๑.๙ กม. และเหลืออีกแค่ ๑.๐ กม. ก็ถึงปากทางขึ้นเขา



หลังจากนั้นเราก็เดินลงต่อมาอีก ยิ่งใกล้ถึงปากทางก็ยิ่งเบียดคนเยอะ แต่ละคนก็ลงเขากันช่วงนี้เหมือนกัน เวลานี้เริ่มแทบไม่เห็นใครปีนขึ้นเขาแล้ว



แล้วเราก็เดินจนกลับมาถึงปากทางขึ้นเขาเวลา 14:20 เท่ากับว่าใช้เวลาบนเขาไปทั้งหมด ๓ ชั่วโมง ๒๐ นาที โดยขาขึ้นปีน ๒ ชั่วโมง ขากลับลง ๑ ชั่วโมง

หลังกลับลงมาแล้วก็ยังมีเรื่องเล่าต่ออีกหน่อย เนื่องจากยาวกว่าที่คิด ต่อจากนี้จะแยกไปเล่าอีกตอน https://phyblas.hinaboshi.com/20231010



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> มิยางิ
-- ประเทศญี่ปุ่น >> อิวาเตะ
-- ท่องเที่ยว >> ภูเขา

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文