# ศุกร์ 8 พ.ย. 2024บันทึกต่อจากตอนที่แล้วที่แวะไปเดินในสวนสาธารณะโอโฮริมา
https://phyblas.hinaboshi.com/20241109ตอนนี้เดินต่อไปทางตะวันออกเพื่อชม
ปราสาทฟุกุโอกะ (
福岡城) ซึ่งตั้งอยู่ภายใน ซึ่งเป็นปราสาทแห่งหนึ่งที่เหลือแต่ซากแล้วก็ไม่ได้มีการสร้างตัวหอหลักเก่าขึ้นมาใหม่ทำให้อาจไม่ได้เป็นที่รู้จักมากนัก แต่ว่าที่นี่ก็มีส่วนที่เป็นซากของเก่าที่หลงเหลือจากสมัยก่อนแม้ว่าจะไม่ใช่ส่วนอาคารหลักก็ตาม และส่วนฐานหินของตัวปราสาทรวมถึงหอหลักก็ยังเหลือเป็นรูปเป็นร่างมีอะไรให้ชมอยู่
ปราสาทฟุกุโอกะถูกสร้างในปี 1601 เป็นศูนย์กลางการปกครองฟุกุโอกะฮัง (
福岡藩) โดยตระกูลคุโรดะ (
黒田) ตั้งอยู่บนที่ราบใจกลางเมือง แต่พอเข้ายุคเมย์จิตัวอาคารส่วนใหญ่ก็ถูกรื้อทิ้งเช่นเดียวกับปราสาทอื่นๆหลายแห่ง ยังเหลืออยู่แค่บางส่วน แต่ว่าส่วนหอหลักไม่ได้เหลืออยู่แล้ว
ปัจจุบันซากปราสาทฟุกุโอกะถูกทำเป็นสวนสาธารณะ เรียกว่าเป็น
สวนสาธารณะไมซึรุ (
舞鶴公園) ตั้งอยู่ทางตะวันออกของสวนสาธารณะโอโฮริ ที่จริงก็อยู่ติดกันเลยแต่ก็ถือว่าเป็นคนละสวนกัน
จากสวนสาธารณะโอโฮริ เดินมาจนถึงทางเข้าสวนสาธารณะไมซึรุ
ตรงทางเข้านั้นเป็นป้อมประตูที่เรียกว่า
นาจิมะมง (
名島門) ซึ่งเป็นของเก่าที่เดิมใช้ที่ปราสาทนาจิมะซึ่งเคยตั้งอยู่ทางตะวันออกของเมืองฟุกุโอกะ แต่ว่าถูกย้ายมาตั้งแต่ปี 1961
เดินผ่านประตูเข้ามา
แล้วก็เจอกับส่วนที่เรียกว่าเป็น
สวนโบตั๋นแปะเจียก (
牡丹芍薬園) ซึ่งจะมีดอกโบตั๋นบานสวยอยู่ถ้ามาถูกฤดู
แต่ตอนที่ไปก็ไม่ค่อยเห็นอะไรเพราะไม่ใช่ฤดู
จากนั้นก็เดินต่อเข้าไป
จากตรงนี้ต้องข้ามถนนก่อนเพราะมีถนนตัดผ่านคั่นระหว่างส่วนนี้กับส่วนอื่นของสวนสาธารณะไมซึรุ
เมื่อข้ามมาก็เจอกับสนามกีฬา เดินเลียบสนามไปทางขวาต่อ
เดินมาถึงตรงนี้เห็นฐานหินของปราสาทแล้ว
ตรงนี้เห็นมีรถสำหรับถ่ายทำอะไรด้วย
จากตรงนี้มีทางขึ้นไปยังส่วนซากหอหลักของตัวปราสาท
จากตรงนี้ขึ้นไปอีกหน่อย
ในที่สุดก็เห็นส่วนยอด
จากตรงนี้เป็นจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงาม พื้นที่สีเขียวที่ล้อมด้วยตึกในย่านเมือง
ตอนนี้ใบไม้เริ่มเปลี่ยนสีบางส่วนแล้ว เลยดูสวยดี แต่ถ้ามาช้ากว่านี้ก็อาจยิ่งได้เห็นชัดเจนกว่านี้ ฤดูชมใบไม้เปลี่ยนสีคือต่อจากนี้ไป
มองทางที่ขึ้นมา
ป้ายอธิบายเกี่ยวกับส่วนหอหลักตรงนี้
ดูเสร็จแล้วก็ลงมา เดินไปชมส่วนที่น่าสนใจต่อไป
ตรงนี้คือส่วนอาคาร
ทามงยางุระ (
多聞櫓)
ซึ่งเป็นอาคารหนึ่งภายในบริเวณปราสาท เป็นของเก่าจริงที่หลงเหลืออยู่ ไม่ได้เหลือแต่ซากเหมือนอย่างส่วนหอหลัก
สามารถเข้าไปชมได้ แต่ว่ามีเวลาเปิดแค่จำกัดบางช่วงเวลาเท่านั้น ตอนที่ไปนั้นพอดีว่าเขาเปิด ก็เลยได้เข้าไปชม
แต่ว่าข้างในก็ไม่มีอะไรมาก เข้าไปถึงเขาก็บรรยายเกี่ยวกับอาคารนี้นิดหน่อยแล้วก็ปล่อยให้เดินเข้าประตูนี้แล้วตรงไป
ระหว่างทางเดินไป ทางแค่สั้นนิดเดียว เดินไม่นานก็ไปสุดแล้ว
ที่ห้องสุดท้ายมีวางแสดงส่วนตกแต่งสำหรับตรงยอดปราสาท
เดินแป๊บเดียวเสร็จ ไม่มีอะไรแล้ว ก็ออกมา
แล้วก็เดินไปต่อ
ตรงนี้ออกจากบริเวณสวน เห็นถนนแล้ว
ออกมาเดินริมถนน มองกลับเข้าไปเห็นกำแพงหินและอาคารทามงยางุระ แบบนี้สวยดี
เดินต่อมาอีกหน่อย
ก็เจอฝั่งตรงข้ามทางใต้เห็น
ศาลเจ้าโกโกกุจังหวัดฟุกุโอกะ (
福岡縣護國神社)
ภายในศาลเจ้า โดยรวมแล้วคือไม่มีอะไรมาก แต่มีที่โล่งเยอะกว้างอยู่
เข้ามาลึกหน่อยเจอกับศาลเจ้าอิโนริซึ่งมีจุดเด่นที่เสาโทริอิเรียงราย
ดูเสร็จก็ข้ามถนนย้อนกลับมายังฝั่งปราสาทแล้วก็เดินต่อไปในส่วนที่ยังไม่เคยเข้า
แล้วก็เดินมาถึงส่วนสำคัญอีกอย่างของที่นี่ นั่นคือหอจัดแสดงซาก
โควโระกัง (
鴻臚館) ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างตั้งแต่สมัยเฮย์อังเอาไว้ติดต่อกับต่างแดน เก่าแก่กว่าตัวปราสาทฟุกุโอกะเสียอีก แต่ว่าเดิมทีสถานที่นี้หลงเหลือแต่ในบันทึก ไม่มีใครรู้ตำแหน่งที่ตั้งว่าอยู่ตรงไหน เพิ่งจะมีการขุดพบซากเอาเมื่อปี 1987 จึงได้รู้ว่าในบริเวณปราสาทฟุกุโอกะเคยมีสิ่งก่อสร้างเก่าแก่นี้ตั้งอยู่ด้วย เขาก็เลยสร้างอาคารปิดทับเพื่อรักษาและจัดแสดงซากอาคารให้คนเข้าชมได้
ทางเข้าไปชมเข้าจากตรงนี้ เห็นมีคนเฝ้าอยู่แต่ว่าไม่ได้เก็บค่าเข้า แค่ต้องเขียนว่าเราเป็นคนมาจากที่ไหน สำหรับคนต่างชาติเขาจะแค่ให้เขียนว่ามาจากประเทศไหน เสร็จแล้วก็เข้าไปได้
ภายในเป็นแบบนี้
โครงสร้างและแบบจำลองของตัวอาคาร
แผนผังบอกว่าตรงไหนในนี้คืออะไร
ชมตรงนี้เสร็จที่เหลือก็น่าจะไม่มีอะไรแล้ว เราก็เดินต่อไปทางตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อหาทางออกไปขึ้นรถไฟใต้ดิน
ทางออกที่ออกนั้นมีสระบัวอยู่ด้วย ถ้าฤดูร้อนมาน่าจะยิ่งสวยงาม
เดินมาขึ้นรถไฟใต้ดินที่สถานีอากาซากะ (
赤坂駅) ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสวนสาธารณะไมซึรุ คนละสถานีกับที่ขึ้นมาตอนแรกซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือ เห็นชื่ออากาซากะแล้วนึกถึงที่โตเกียว แต่ว่าไม่เกี่ยวอะไรกัน แค่ชื่อเหมือนกัน
เที่ยวตรงนี้เสร็จก็ยังเหลือเวลาก่อนที่จะไปขึ้นรถไฟไปยุฟุอิง ดังนั้นจากตรงนี้เราก็นั่งรถไฟใต้ดินไปเที่ยวที่ต่อไปก่อน
https://phyblas.hinaboshi.com/20241111