ต่อจาก
บทที่ ๒๙ในบทนี้จะว่าด้วยเรื่องการผันคำนามอีกรูปหนึ่ง นั่นคือรูปที่เอาไว้บอกทิศทางที่มุ่งหน้าไป
ในที่นี้จะขอเรียกสั้นๆว่าเป็น "รูปทิศทาง"
วิธีการผันคำนามเป็นรูปทิศทางหลักการผันนั้นโดยทั่วไปแล้วจะแค่เติม руу/рүү หรือ луу/лүү โดยคำส่วนใหญ่จะเติม руу แต่ถ้าลงท้ายด้วย р ก็จะเติม лүү
|
รูปประธาน |
รูปทิศทาง |
เมือง |
хот |
хот руу |
บ้าน |
гэр |
гэр лүү |
โอลามบาทาร์ |
улаанбаатар |
улаанбаатар луу |
กรุงเทพฯ |
бангкок |
бангкок руу |
ซออุล (กรุงโซล) |
сөүл |
сөүл рүү |
เนื่องจากปกติแล้วจะวางแยกออกไป ไม่ได้เติมติดกันเหมือนอย่างการผันรูปอื่น ดังนั้นบางทีอาจมองว่าเป็นการเติมคำตามหลังมากกว่าจะเป็นการผัน แต่โดยทั่วไปแล้วมักถือว่าเป็นการผันรูปหนึ่ง
การใช้คำนามที่ผันเป็นรูปทิศทาง⇨ ใช้บอกทิศทางที่มุ่งหน้าไป
токио руу нисэх = บินไปโตเกียว |
гэр лүү харих = กลับไปบ้าน |
манай аав удахгүй солонгос руу ажлаар явна. = พ่อฉันในไม่ช้าจะไปเกาหลีด้วยเรื่องงาน |
ปกติการผันรูปทิศทางก็อาจถูกละ เช่นเมื่อใช้กับเมืองหรือคำนามที่ปกติมีความหมายเป็นสถานที่อยู่แล้ว
та хэзээ хот явах вэ? = คุณจะเข้าเมืองเมื่อไหร่? (แทนที่จะเป็น хот руу явах) |
⇨ บอกเป้าหมายของกริยา
найз руу утасдах = โทรศัพท์ไปหาเพื่อน |
эрх баригч руу урвах = แปรพักตร์ไปอยู่พรรครัฐบาล |
ꡐ утасдах = โทรศัพท์ไป |
ꡐ урвах = ทรยศ |
маргааш чам руу утасдана. = พรุ่งนี้จะโทรศัพท์ไปหาคุณ |
ข้อแตกต่างระหว่างรูปทิศทางกับรูปเป้าหมายการใช้คำนามรูปทิศทางนั้นโดยทั่วไปแล้วค่อนข้างจะคล้ายกันกับรูปเป้าหมาย (
บทที่ ๑๕)
แต่ความแตกต่างก็อยู่ตรงที่รูปเป้าหมายจะเน้นว่าการกระทำนั้นมีเป้าหมายอยู่ที่ตรงนั้น ในขณะที่รูปทิศทางจะเน้นที่กระบวนการกระทำว่ากำลังมุ่งหน้าไปทางนั้น
สำหรับกริยา явах ปกติจะเน้นการกระทำ ดังนั้นจะใช้กับรูปทิศทาง ไม่ใช่รูปเป้าหมาย
та бээжин рүү хэзээ явах вэ? = คุณจะไปที่ปักกิ่งเมื่อไหร่?
(ไม่ใช่ та бээжинд хэзээ явах вэ?) |
อ่านต่อ
บทที่ ๓๑