φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



javascript เบื้องต้น บทที่ ๓๙: เจเนอเรเตอร์
เขียนเมื่อ 2020/02/07 09:19
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42


ในบทที่แล้วได้แนะนำเรื่องอิเทอร์ไปแล้ว ส่วนในบทนี้จะแนะนำเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่าเจเนอเรเตอร์ (generator) ซึ่งเป็นวิธีการสร้างอิเทอเรเตอร์อย่างง่ายแบบหนึ่ง




การสร้างเจเนอเรเตอร์

เจเนอเรเตอร์ (generator) เป็นอิเทอเรเตอร์ชนิดหนึ่ง สามารถสร้างขึ้นได้อย่างง่ายโดยใช้คำสั่ง function

วิธีการสร้างเจเนอเรเตอร์นั้นทำคล้ายๆกับการสร้างฟังก์ชันธรรมดา แต่จะต่างกันตรงที่หน้าวงเล็บจะเติม * ลงไป และภายใน {} จะมีคำสั่ง yield

ออบเจ็กต์ที่ได้จากฟังก์ชันเจเนอเรเตอร์นี้จะเป็นอิเทอเรเตอร์ที่เมื่อใช้เมธอด .next หรือวนซ้ำด้วย for๛of แล้วก็จะได้ค่าออกมาเรื่อยๆ

โดยค่าที่ได้คือค่าที่อยู่ข้างหลังคำสั่ง yield คล้ายๆกับการใช้ retuen ในฟังก์ชันทั่วไป แต่คำสั่ง yield อาจมีหลายครั้ง ซึ่งแทนการวนซ้ำแต่ละครั้ง การวนซ้ำจะสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นสุดฟังก์ชันไปโดยไม่เจอ yield อีกแล้ว

ตัวอย่างการสร้างและใช้เจเนอเรเตอร์
function *rezerogen(){
  yield "เอมิเลีย";
  yield "เรม";
  yield "รัม";
}

let iter = rezerogen();
alert(iter.next().value); // ได้ เอมิเลีย
alert(iter.next().value); // ได้ เรม
alert(iter.next().value); // ได้ รัม
alert(iter.next().value); // ได้ undefined

let iter2 = rezerogen()
for (let x of iter2){
  alert(x); // วน ๓​ รอบ ได้ เอมิเลีย, เรม, รัม
}

ในที่นี้ฟังก์ชัน rezerogen() เป็นเจเนอเรเตอร์ซึ่งจะสร้างอิเทอเรเตอร์ที่ไล่คืนค่าออกมา ๓ ตัว จะนำมาใช้ .next() เพื่อไล่เอาค่าทีละตัว หรือนำมาวนซ้ำด้วย for๛of ก็ได้

สามารถใช้การวนซ้ำเพื่อให้ฟังก์ชันผ่าน yield หลายครั้งเพื่อจะได้เขียน yield แค่ครั้งเดียวแต่วนซ้ำได้หลายรอบ
function* gen(n) {
  let i = 1;
  while (i <= n) {
    yield i * i
    i++;
  }
}

let iter = gen(4);
alert(iter.next().value); // ได้ 1
alert(iter.next().value); // ได้ 4
alert(iter.next().value); // ได้ 9
alert(iter.next().value); // ได้ 16
alert(iter.next().value); // ได้ undefined

นอกจากนี้ สามารถใช้ * ตามหลัง yield เพื่อรับค่าเป็นแถวลำดับได้ แบบนี้แต่ละรอบก็จะเอาค่าจากในนั้นไปทีละตัว
function* konosubagen() {
  yield "คาซึมะ"
  yield* ["อควา","เมงุมิน","ดักเนส"]
}

let iter = konosubagen();
alert(iter.next().value); // ได้ คาซึมะ
alert(iter.next().value); // ได้ อควา
alert(iter.next().value); // ได้ เมงุมิน
alert(iter.next().value); // ได้ ดักเนส
alert(iter.next().value); // ได้ undefined




สร้างคลาสของอิเทอเรเตอร์โดยใช้เจเนอเรเตอร์

สามารถนำเจเนอเรเตอร์มาสร้างเป็นคลาสของอิเทอเรเตอร์ขึ้นมาได้ โดยอาจสร้าง this[Symbol.iterator] ไว้ใน constructor

ตัวอย่างเช่น ลองสร้างคลาสที่เอาค่าในในแถวลำดับ ๒ อันมาต่อกันแล้วไล่ออกมาทีละตัว
class Itor {
  constructor(ar1, ar2) {
    this.ar1 = ar1;
    this.ar2 = ar2;
    this[Symbol.iterator] = function* () {
      let i = 0, n = this.ar1.length;
      while (i < n) {
        yield "~" + this.ar1[i] + " " + this.ar2[i] + "~";
        i++;
      }
    }
  }
}

let myouji = ["โคโนะฮาตะ", "มานากะ", "โมริโนะ", "อิโนเสะ", "ซากุราอิ"];
let namae = ["มิระ", "อาโอะ", "มาริ", "ไม", "มิกาเงะ"];
let koias = new Itor(myouji, namae);

let s = "";
for (let k of koias) {
  s += k;
}
alert(s); // ได้ ~โคโนะฮาตะ มิระ~~มานากะ อาโอะ~~โมริโนะ มาริ~~อิโนเสะ ไม~~ซากุราอิ มิกาเงะ~




ลองสร้างฟังก์ชัน range

เพื่อเป็นตัวอย่างการใช้งานจริง ลองใช้เจเนอเรเตอร์เพื่อสร้างเจเนอเรเตอร์เหมือนอย่าง range ในภาษาไพธอนขึ้นมาดู

range คือฟังก์ชันที่สร้างค่าที่วนซ้ำโดยไล่จากค่าต่ำสุด a ไปจนก่อนถึงค่าสูงสุด b โดยเว้นห่างทีละ c

แต่กรณีที่ใส่แค่ a กับ b ให้ถือว่าค่า c เป็น 1 คือข้ามทีละ 1

หรือถ้าใส่แค่ตัวเดียว จะถือว่าไล่จากค่า a=0 ไปยังก่อนถึงค่านั้น

ตัวอย่างการสร้าง
function* range(a, b, c = 1) {
  if (!b) [a, b] = [0, a];
  while (a < b) {
    yield a;
    a += c;
  }
}

for (let x of range(4)) { alert(x); } // ได้ 0, 1, 2, 3
for (let x of range(5, 10)) { alert(x); } // ได้ 5, 6, 7, 8, 9
for (let x of range(2, 7, 2)) { alert(x); } // ได้ 2, 4, 6




ลองสร้างจำนวนฟีโบนัชชี

อีกตัวอย่างที่นิยมเขียนเพื่อฝึกคือจำนวนฟีโบนัชชี อาจลองเขียนโค้ดได้ดังนี้
function* fibo() {
  let a = 0, b = 1, c
  while (1) {
    c = a + b;
    a = b;
    b = c;
    yield a;
  }
}

let s = "";
let i = 0;
for (let x of fibo()) {
  if(x > 2000) break;
  s += x + "; ";
  i++;
}
alert(s) // ได้ 1; 1; 2; 3; 5; 8; 13; 21; 34; 55; 89; 144; 233; 377; 610; 987; 1597;




ลองสร้างฟังก์ชันไล่จำนวนเฉพาะ

อีกตัวอย่างหนึ่งที่อาจลองใช้เจเนอเรเตอร์สร้างได้คือฟังก์ชันที่ไล่จำนวนเฉพาะออกมา โดยใช้วิธีการแบบตะแกรงของเอราโตสเทเนส (Ερατοσθένης) อาจสร้างได้ดังนี้
function* chamnuanchapho() {
  let a = 1
  while (1) {
    let pen = true;
    a++;
    let i = 2;
    while (i <= Math.floor(Math.sqrt(a))) {
      if (a % i == 0) {
        pen = false
        break;
      }
      i++;
    }
    if (pen) yield a;
  }
}

let s = "";
let i = 0;
for (let x of chamnuanchapho()) {
  if (x > 100) break
  s += x + "' ";
  i++;
}
alert(s) // ได้ 2' 3' 5' 7' 11' 13' 17' 19' 23' 29' 31' 37' 41' 43' 47' 53' 59' 61' 67' 71' 73' 79' 83' 89' 97' 






-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> javascript

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文