φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



manim บทที่ ๖: การย่อขยายยืดหดวัตถุ
เขียนเมื่อ 2021/03/12 00:06
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42

ต่อจาก บทที่ ๕

ในบทที่แล้วได้แสดงถึงวิธีการทำภาพเคลื่อนไหวเบื้องต้นไปแล้ว สำหรับในบทนี้จะว่าด้วยเรื่องของการปรับขนาดวัตถุ




การย่อขยายวัตถุด้วยเมธอด .scale()

การย่อหรือขยายขนาดวัตถุทำได้โดยใช้เมธอด .scale() โดยใส่ค่าจำนวนเท่าของขนาดเดิมที่ต้องการขยาย

และเช่นเดียวกับเมธอด .shift() หรือเมธอดที่แนะนำไปก่อนหน้านี้ คือสามารถเติม .animate นำหน้าไปเป็น .animate.scale() แล้วใช้ใน self.play() ได้ ซึ่งก็จะเป็นการทำภาพเคลื่อนไหวซึ่งแสดงขั้นตอนการย่อขยาย

ตัวอย่าง ลองทำภาพเคลื่อนไหวแสดงการขยายขนาดวัตถุ ๗ เท่า
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text = mnm.Text('ขยาย',color='#EE7733')
        self.play(
            text.animate.scale(7),
            run_time=1.5
        )



สำหรับการย่อขนาดให้ใส่ค่าน้อยกว่า 1 ลงไป เช่น
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text = mnm.Text('ย่อส่วน',color='#bbff33')
        text.scale(8) # ขยายออกไปก่อน
        self.play(
            text.animate.scale(0.2),
            run_time=1.5
        )






การยืดเฉพาะแนวตั้งหรือนอนโดยใช้ .stretch

กรณีที่ต้องการยืดหรือหดแค่แนวตั้งหรือแนวนอนให้ใช้เมธอด .stretch() วิธีใช้ก็คล้ายกับ .scale แต่นอกจากใส่จำนวนเท่าที่จะยืดขยายแล้ว ให้ใส่เลขระบุแนวไปด้วย ถ้าแนวนอนเป็น 0 แนวตั้งเป็น 1

ตัวอย่าง ยืดขยาย
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text1 = mnm.Text('สูงขึ้น',color='#bb33dd')
        text2 = mnm.Text('กว้างขึ้น',color='#77bbdd')
        self.play(
            text1.animate.stretch(6,1),
            text2.animate.stretch(5,0),
            run_time=1.5
        )



บีบหด
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text1 = mnm.Text('แคบลง',color='#efa3b7')
        text2 = mnm.Text('เตี้ยลง',color='#daefa3',size=5)
        text1.stretch(6,0)
        self.play(
            text1.animate.stretch(0.1,0),
            text2.animate.stretch(0.2,1),
            run_time=1.5
        )






การกำหนดจุดใจกลางในการย่อขยายยืดหด

ปกติถ้าใช้ .scale หรือ .stretch() จะทำให้เกิดการย่อขยายหรือยืดหดจากจุดกึ่งกลางของภาพ แต่หากต้องการเปลี่ยนเป็นกำหนดจุดกึ่งกลางเอาเองก็ทำได้โดยใช้ใส่คีย์เวิร์ด about_point

ตัวอย่าง
import manimlib as mnm
import numpy as np

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text1 = mnm.Text('ขยายไปทางขวาล่าง',color='#d3a3ef')
        text2 = mnm.Text('ยืดไปทางซ้าย',color='#efd3a3')
        point1 = np.array([-3,1.5,0])
        point2 = np.array([2,0,0])
        self.play(
            text1.animate.scale(2,about_point=point1),
            text2.animate.stretch(3,0,about_point=point2),
            run_time=1.5
        )






การเปลี่ยนขนาดภาพโดยกำหนดขนาดความกว้างหรือความสูงด้วย .set_width() หรือ .set_height()

หากต้องการเปลี่ยนขนาดภาพให้กว้างหรือยาวตามที่ต้องการก็ทำได้โดยใช้เมธอด .set_width() หรือ .set_height()

หากใช้ .set_width() จะเป็นการกำหนดความกว้างที่ต้องการ ส่วนความสูงก็จะถูกปรับให้ได้สัดส่วนตามนั้น

หากใช้ .set_height() จะเป็นการกำหนดความสูงที่ต้องการ ส่วนความกว้างก็จะถูกปรับให้ได้สัดส่วนตามนั้น

ตัวอย่างการใช้
import manimlib as mnm
import numpy as np

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text = mnm.Text('ขยายแล้วก็ย่อ',color='#ddffaa')
        point = np.array([0,-4,0])
        self.play(
            text.animate.set_width(12),
            run_time=1
        )
        self.play(
            text.animate.set_height(1,about_point=point),
            run_time=1.5
        )



กรณีที่ต้องการปรับขนาดเฉพาะแค่ความกว้างหรือความสูงอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่เกี่ยวข้องกันให้ใส่ stretch=True
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text1 = mnm.Text('ปรับความกว้าง',color='#d3e3fa')
        text2 = mnm.Text('ปรับความสูง',color='#bffaa3')
        self.play(
            text1.animate.set_width(10,stretch=True),
            text2.animate.set_height(7,stretch=True),
            run_time=1.5
        )



หรืออาจเขียนอีกแบบ คือโดยใช้ .stretch_to_fit_width() และ .stretch_to_fit_height() เช่น ตัวอย่างที่แล้วอาจเขียนใหม่ได้เป็น
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text1 = mnm.Text('ปรับความกว้าง',color='#d3e3fa')
        text2 = mnm.Text('ปรับความสูง',color='#bffaa3')
        self.play(
            text1.animate.stretch_to_fit_width(10),
            text2.animate.stretch_to_fit_height(7),
            run_time=1.5
        )

ซึ่งก็จะได้ผลเหมือนเดิม




การพลิกภาพ

หากใช้ .stretch() แล้วใส่ค่าสัดส่วนเป็น -1 ก็จะเท่ากับเป็นการกลับภาพ เช่น
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text1 = mnm.Text('พลิกแนวนอน',color='#d3e3fa',size=3)
        text2 = mnm.Text('พลิกแนวตั้ง',color='#bffaa3',size=3)
        self.play(
            text1.animate.stretch(-1,0),
            text2.animate.stretch(-1,1),
            run_time=1.5
        )



ถ้าจะพลิกทั้งแนวตั้งและแนวนอนก็อาจใช้ .scale()
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text = mnm.Text('พลิกไม่ใช่พริก',color='#efa3eb',size=3)
        self.play(
            text.animate.scale(-1),
            run_time=2
        )





อ่านบทถัดไป >> บทที่ ๗





-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> manim

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文