φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



manim บทที่ ๙: การแปลงร่างไปมาระหว่างวัตถุ
เขียนเมื่อ 2021/03/12 00:09
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42

ต่อจาก บทที่ ๘

บทนี้จะเป็นเรื่องของการแปลงร่างจากวัตถุหนึ่งไปเป็นอีกวัตถุหนึ่ง




Transform

คลาส Transform ไว้ใช้แปลงจากวัตถุหนึ่งไปเป็นอีกวัตถุหนึ่ง โดยจะมีการพิจารณาส่วนต่างแล้วหาวิธีการแปลงที่เหมาะสมโดยอัตโนมัติ

ตัวอย่างการใช้
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text1 = mnm.Text('พีคาชู',color='#88ffbb',size=3)
        text2 = mnm.Text('ไรชู',color='#bb88ff',size=3)
        self.play(
            mnm.Transform(text1,text2),
            run_time=2
        )



กรณีที่ต้องการให้หลังแปลงแล้ววัตถุเดิมยังคงอยู่ด้วยก็ทำได้โดยใช้คู่กับเมธอด .copy() แบบนี้
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text = mnm.VGroup(
            mnm.Text('อีวุย',color='#f8c991',size=1.8),
            mnm.Text('เชาเวอร์ส',color='#91c6f8',size=2.2),
            mnm.Text('ธันเดอร์ส',color='#f8f491',size=2.2),
            mnm.Text('บูสเตอร์',color='#f8a291',size=2.2),
        )
        text.arrange(mnm.DOWN)
        self.add(text[0])
        self.play(
            mnm.Transform(text[0].copy(),text[1]),
            run_time=1
        )
        self.play(
            mnm.Transform(text[0].copy(),text[2]),
            run_time=1
        )
        self.play(
            mnm.Transform(text[0].copy(),text[3]),
            run_time=1
        )



ลองเทียบกับกรณีที่ไม่ใช้ .copy() แบบนี้ตัวเดิมจะหายไป แล้วกลายไปเป็นตัวใหม่
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text = mnm.VGroup(
            mnm.Text('เมตามอน',color='#e191f8',size=1.8),
            mnm.Text('ฟรีเซอร์',color='#91c6f8',size=2.2),
            mnm.Text('ธันเดอร์',color='#f8f491',size=2.2),
            mnm.Text('ไฟร์',color='#f8a291',size=2.2),
        )
        text.arrange(mnm.DOWN)
        self.add(text[0])
        self.play(
            mnm.Transform(text[0],text[1]),
            run_time=1
        )
        self.play(
            mnm.Transform(text[0],text[2]),
            run_time=1
        )
        self.play(
            mnm.Transform(text[0],text[3]),
            run_time=1
        )






ReplacementTransform

คลาส ReplacementTransform จะคล้ายกับ Transform แต่ต่างกันตรงที่หลังจากแปลงแล้วตัววัตถุเดิมจะไม่ได้ย้ายไปตำแหน่งใหม่จริงๆแต่ยังอยู่ที่เดิม แค่ถูกซ่อนไว้ แล้วแสดงวัตถุอีกตัวที่อยู่ในตำแหน่งใหม่แทน

ลองเขียนให้ได้ผลคล้ายตัวอย่างที่แล้วโดยใช้ ReplacementTransform ได้ดังนี้
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text = mnm.VGroup(
            mnm.Text('๑',color='#f6b3c9',size=4),
            mnm.Text('๒',color='#beb3f6',size=4),
            mnm.Text('๓',color='#b3f6cb',size=4),
            mnm.Text('๔',color='#f6f4b3',size=4),
        )
        text.arrange_in_grid(n_cols=2)
        self.add(text[0])
        self.play(
            mnm.ReplacementTransform(text[0],text[1]),
            run_time=1
        )
        self.play(
            mnm.ReplacementTransform(text[1],text[2]),
            run_time=1
        )
        self.play(
            mnm.ReplacementTransform(text[2],text[3]),
            run_time=1
        )



แต่ถ้าหากใช้คู่กับ .copy() แบบนั้นผลของ ReplacementTransform กับ Transform จะไม่ต่างกัน




FadeTransform

FadeTransform จะคล้ายกับ ReplacementTransform แต่ต่างกันตรงที่ใช้วิธีการปรับความทึบแสงให้ค่อยๆเลือนหายไปแล้วตัวใหม่ค่อยๆปรากฏ

ลองดูตัวอย่าง เปรียบเทียบกับกรณี ReplacementTransform จะเห็นว่าต่างกันที่รูปแบบการแปลง
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text = mnm.VGroup(
            mnm.Text('๑',color='#f6b3c9',size=4),
            mnm.Text('๒',color='#beb3f6',size=4),
            mnm.Text('๓',color='#b3f6cb',size=4),
            mnm.Text('๔',color='#f6f4b3',size=4),
        )
        text.arrange_in_grid(n_cols=2)
        self.add(text[0])
        self.play(
            mnm.FadeTransform(text[0],text[1]),
            run_time=1
        )
        self.play(
            mnm.FadeTransform(text[1],text[2]),
            run_time=1
        )
        self.play(
            mnm.FadeTransform(text[2],text[3]),
            run_time=1
        )






TransformMatchingShapes

TransformMatchingShapes จะคล้ายกับ FadeTransform แต่จะมีการเทียบหาส่วนประกอบที่ตรงกันแล้วทำการย้ายแปลงตามความเหมาะสม

ตัวอย่าง
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text1 = mnm.Text('ยาดอน',color='#ff9ada',size=4)
        text2 = mnm.Text('ยาโดรัน',color='#c09aff',size=4)
        text3 = mnm.Text('ยาโดคิง',color='#ff9ab9',size=4)
        text4 = mnm.Text('คิงดรา',color='#9ac2ff',size=4)
        self.play(
            mnm.TransformMatchingShapes(text1,text2),
            run_time=1
        )
        self.play(
            mnm.TransformMatchingShapes(text2,text3),
            run_time=1
        )
        self.play(
            mnm.TransformMatchingShapes(text3,text4),
            run_time=1
        )
        self.wait(0.5)



สำหรับวัตถุ Tex อาจใช้คลาส TransformMatchingTex ซึ่งจะอธิบายในบทที่ ๑๗




การแปลงไปหมุนไป

คลาส Transform สามารถใส่คีย์เวิร์ด path_arc เพื่อทำให้หมุนไปด้วยเวลาที่ย้ายไปตำแหน่งใหม่

การใส่ให้ใส่ค่ามุมที่จะหมุนเป็นหน่วยเรเดียน ตัวอย่างเช่นลองให้หมุนทำมุม 90 องศา
import manimlib as mnm
import numpy as np

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text = mnm.VGroup(
            mnm.Text('ก',color='#f6b3c9',size=5),
            mnm.Text('ข',color='#beb3f6',size=5),
            mnm.Text('ค',color='#b3f6cb',size=5),
            mnm.Text('ง',color='#f6f4b3',size=5),
        )
        text.arrange_in_grid(n_cols=2)
        self.add(text[0])
        self.play(
            mnm.Transform(text[0],text[1],path_arc=np.radians(90)),
            run_time=1
        )
        self.play(
            mnm.Transform(text[0],text[2],path_arc=np.radians(90)),
            run_time=1
        )
        self.play(
            mnm.Transform(text[0],text[3],path_arc=np.radians(90)),
            run_time=1
        )



อนึ่ง ในที่นี้ใช้ฟังก์ชัน np.radians() ของ numpy ช่วยในการแปลงจากองศาเป็นเรเดียน

กรณีที่ path_arc เป็น -180 องศา (-π) อาจใช้ ClockwiseTransform แทนได้ เช่น
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text = mnm.VGroup(
            mnm.Text('ด',color='#f6b3c9',size=5),
            mnm.Text('ต',color='#beb3f6',size=5),
            mnm.Text('ถ',color='#b3f6cb',size=5),
            mnm.Text('ท',color='#f6f4b3',size=5),
        )
        text.arrange_in_grid(n_cols=2)
        self.add(text[0])
        self.play(
            mnm.ClockwiseTransform(text[0],text[1]),
            run_time=1
        )
        self.play(
            mnm.ClockwiseTransform(text[0],text[2]),
            run_time=1
        )
        self.play(
            mnm.ClockwiseTransform(text[0],text[3]),
            run_time=1
        )



ในทำนองเดียวกัน กรณีที่ path_arc เป็น 180 องศา (-π) อาจใช้ CounterclockwiseTransform แทนได้ ดังนี้
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text = mnm.VGroup(
            mnm.Text('บ',color='#f6b3c9',size=5),
            mnm.Text('ป',color='#beb3f6',size=5),
            mnm.Text('ผ',color='#b3f6cb',size=5),
            mnm.Text('พ',color='#f6f4b3',size=5),
        )
        text.arrange_in_grid(n_cols=2)
        self.add(text[0])
        self.play(
            mnm.CounterclockwiseTransform(text[0],text[1]),
            run_time=1
        )
        self.play(
            mnm.CounterclockwiseTransform(text[0],text[2]),
            run_time=1
        )
        self.play(
            mnm.CounterclockwiseTransform(text[0],text[3]),
            run_time=1
        )






การสลับตำแหน่งหลายตัวด้วย CyclicReplace

คลาส CyclicReplace เอาไว้ย้ายตำแหน่งสลับระหว่างวัตถุ ๒ ตัวขึ้นไป

ตัวอย่างการใช้กับวัตถุ ๓ ตัว
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text1 = mnm.Text('๑',color='#d1afe6',size=7)
        text2 = mnm.Text('๒',color='#afe6d7',size=7)
        text3 = mnm.Text('๓',color='#d3e6af',size=7)
        vg = mnm.VGroup(text1,text2,text3)
        vg.arrange(mnm.RIGHT)
        self.play(
            mnm.CyclicReplace(text1,text2,text3),
            run_time=1.5
        )



สามารถวนกลับไปมาหลายรอบจนกลับมาจุดเดิมได้ เช่นลองใช้วัตถุ ๔ ตัว วน ๔ ครั้งจนกลับมาที่เดิม
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text = mnm.VGroup(
            mnm.Text('หนึ่ง',color='#e6afdc',size=2),
            mnm.Text('สอง',color='#afcde6',size=2),
            mnm.Text('สาม',color='#c9e6af',size=2),
            mnm.Text('สี่',color='#e6c9af',size=2),
        )
        text.arrange_in_grid(n_cols=2)
        for i in range(4):
            self.play(
                mnm.CyclicReplace(*text),
                run_time=1
            )





อ่านบทถัดไป >> บทที่ ๑๐





-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> manim

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文