φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



manim บทที่ ๘: การทำให้วัตถุปรากฏและหายไป
เขียนเมื่อ 2021/03/12 00:08
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42

ต่อจาก บทที่ ๗

บทนี้จะยกตัวอย่างคลาสต่างๆที่ทำให้วัตถุในภาพค่อยๆปรากฏตัวขึ้นหรือถูกลบหายไป




FadeIn

วิธีการที่เข้าใจง่ายที่สุดในการทำให้วัตถุปรากฏขึ้นมานั่นคือค่อยๆปรับความทึบแสงโผล่ให้ขึ้นมาจากสภาพล่องหนจนมองเห็นชัดทั้งหมด ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้คลาส FadeIn

ตัวอย่างการใช้
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text = mnm.Text('มาแล้ว',size=6.2,color='#93b8d4')
        self.play(
            mnm.FadeIn(text),
            run_time=1.5
        )






FadeOut

ในทางตรงกันข้ามกับเวลาปรากฏตัว เวลาที่ต้องการให้หายไปก็ทำได้โดยให้ค่อยๆจางหายไปจนล่องหน ซึ่งทำได้โดยใช้คลาส FadeOut

ตัวอย่างการใช้
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text = mnm.Text('ไปละนะ',size=4.7,color='#93d4c4')
        self.play(
            mnm.FadeOut(text),
            run_time=1.5
        )



คราวนี้ลองทำให้ปรากฏตัวเสร็จแล้วก็หายไป
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text = mnm.Text('มาแล้วก็ไป',size=3.9,color='#eca7d4')
        self.play(
            mnm.FadeIn(text),
            run_time=1
        )
        self.play(
            mnm.FadeOut(text),
            run_time=1.5
        )






Write

หากต้องการให้มันปรากฏขึ้นมาทีละตัวตามลำดับเหมือนค่อยๆถูกเขียนขึ้นมาก็สามารถทำได้โดยใช้คลาส Write วิธีการใช้จะเหมือนกับ FadeIn แต่ต่างกันที่ลักษณะการปรากฏตัว

ตัวอย่าง
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text = mnm.Text('เขียน',size=5.2,color='#cba7ec')
        self.play(
            mnm.Write(text),
            run_time=1.5
        )






DrawBorderThenFill

ที่จริงแล้ว Write เป็นคลาสย่อยของ DrawBorderThenFill อีกที คือการเริ่มจากการเขียนขอบแล้วจึงเติมด้านใน

โดยข้อแตกต่างคือ Write จะไล่ทำทีละตัวตามลำดับ แต่ DrawBorderThenFill จะทำพร้อมกันทั้งหมด

ตัวอย่าง
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text = mnm.Text('วาดขอบ\n\nแล้วเติม',size=3.2,color='#f4c1b4')
        self.play(
            mnm.DrawBorderThenFill(text),
            run_time=1.5
        )






ShowCreation

อีกวิธีในการให้ปรากฏตัวขึ้นทีละตัวคือ ShowCreation ซึ่งจะคล้ายๆกับ Write แต่จะไม่ได้เริ่มจากวาดขอบก่อน

ลองดูตัวอย่างการใช้ เทียบความแตกต่าง
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text = mnm.Text('แสดงการสร้าง',size=3.2,color='#969ec9')
        self.play(
            mnm.ShowCreation(text),
            run_time=1.5
        )






Uncreate

ในทางตรงกันข้ามกับ ShowCreation ก็คือเวลาต้องการให้วัตถุค่อยๆหายไปตามลำดับก็อาจทำได้โดยใช้คลาส Uncreate ซึ่งจะคล้ายกับ FadeOut แต่ต่างกันที่วิธีการหายไปของวัตถุ

ลองดูตัวอย่างเทียบกันดูได้
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text = mnm.Text('แตกสลาย\n\nแหลกไป',color='#77aacc',size=3)
        self.play(
            mnm.Uncreate(text),
            run_time=1.5
        )







FadeInFromPoint

หากต้องการให้วัตถุค่อยๆถูกปรับความทึบแสงให้เห็นชัดขึ้นเรื่อยๆไปพร้อมกับให้ปรากฏมาจากจุดก็อาจใช้คลาส FadeInFromPoint โดยใช้ใส่ตำแหน่งจุดที่ต้องการให้เป็นจุดเริ่มต้น

ตัวอย่าง
import manimlib as mnm
import numpy as np

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text = mnm.Text('เข้ามา',size=4.8,color='#dea7f3')
        point = np.array([-4,1,0])
        self.play(
            mnm.FadeInFromPoint(text,point),
            run_time=1.5
        )






FadeOutToPoint

ในทางตรงกันข้ามกับ FadeInFromPoint หากต้องการให้วัตถุจางหายเข้าไปในจุดจุดหนึ่งก็อาจใช้คลาส FadeOutToPoint
import manimlib as mnm
import numpy as np

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text = mnm.Text('ออกไป',size=5.1,color='#ddf3a7')
        point = np.array([5,-2,0])
        self.play(
            mnm.FadeOutToPoint(text,point),
            run_time=1.5
        )






GrowFromPoint

คลาส GrowFromPoint จะคล้ายกับ FadeInFromPoint แต่จะแค่ขยายขึ้นมาจากจุด ไม่ได้เปลี่ยนแปลงความทึบแสง

ตัวอย่าง
import manimlib as mnm
import numpy as np

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text = mnm.Text('โตมา',size=5.3,color='#a7def3')
        point = np.array([-4.5,-1.5,0])
        self.play(
            mnm.GrowFromPoint(text,point),
            run_time=1.5
        )






GrowFromCenter

GrowFromCenter คือ GrowFromPoint ในกรณีที่ให้โผล่มาจากจุดกึ่งกลางภาพ
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text = mnm.Text('โตจากกลาง',size=3.3,color='#9f8fd1')
        self.play(
            mnm.GrowFromCenter(text),
            run_time=1.5
            )






GrowFromEdge

GrowFromEdge คือ GrowFromPoint ในกรณีที่ต้องการให้โผล่มาจากส่วนขอบของวัตถุ ในการใช้ให้ใส่ค่าทิศเพื่อระบุว่าจะให้ปรากฏจากมุมหรือขอบไหน

ตัวอย่าง
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text = mnm.Text('โตจากซ้ายบน',size=2.9,color='#d1a88f')
        self.play(
            mnm.GrowFromEdge(text,mnm.UL),
            run_time=1.5
        )






ShrinkToCenter

ในทางตรงกันข้ามกับ GrowFromCenter เวลาต้องการให้ภาพค่อยๆย่อเล็กลงจนหายไปตรงกลางก็อาจใช้ ShrinkToCenter

ตัวอย่าง
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text = mnm.Text('หดหายไป',size=3.3,color='#bbeeff')
        self.play(
            mnm.ShrinkToCenter(text),
            run_time=1.5
        )





อ่านบทถัดไป >> บทที่ ๙





-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> manim

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文