φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



manim บทที่ ๑๓: การใส่วงกลมและส่วนของวงกลม
เขียนเมื่อ 2021/03/12 00:13
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42

ต่อจาก บทที่ ๑๒

บทนี้จะเป็นเรื่องของการวาดรูปวงกลมและส่วนประกอบต่างๆของวงกลม




การวาดวงกลม (Circle)

คลาส Circle ใช้สร้างวัตถุวงกลม

รัศมีกำหนด้วยคีย์เวิร์ด radius จุดกึ่งกลางวงกลมกำหนดที่คีย์เวิร์ด arc_center

สีของเส้นขอบกำหนดโดยคีย์เวิร์ด stroke_color หรือ color ความหนาของเส้นขอบกำหนดได้โดยคีย์เวิร์ด stroke_width

ตัวอย่าง
import manimlib as mnm
import numpy as np

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        p = np.array([3,0,0])
        wongklom = mnm.Circle(arc_center=p,
                              radius=3,
                              stroke_width=12,
                              color='#aaffaa')
        self.play(
            mnm.Write(wongklom),
            run_time=1
        )
        self.wait(0.5)






การกำหนดสีและความทึบแสงของพื้นและขอบ

หากต้องการระบายสีพื้นวงกลมให้ใส่คีย์เวิร์ด fill_opacity เพื่อปรับความทึบแสงของสีพื้น โดยที่ค่าตั้งต้นคือ 0 คือเท่ากับไม่ใส่พื้น

หากใส่แค่ค่า color หรือ stroke_color แล้ว สีพื้นจะตรงกับสีขอบ แต่หากต้องการสีพื้นที่ต่างไปก็กำหนดได้โดยคีย์เวิร์ด fill_color

สีและความทึบแสงของพื้นสามารถปรับได้ด้วยเมธอด .set_fill() ซึ่งใช้กับ .animation เพื่อทำภาพเคลื่อนไหวได้

หากต้องการปรับคุณสมบัติของขอบก็ทำได้โดยเมธอด .set_stroke() เช่นเดียวกับกรณีของเส้นตรง

แต่หากต้องการปรับทั้งเส้นขอบและพื้นอาจใช้เมธอด .set_style()

ตัวอย่าง สร้างวงกลมที่มีสีพื้นแล้วใช้เมธอดต่างๆเพื่อปรับขอบและพื้นไปเรื่อยๆ
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        wongklom = mnm.Circle(radius=3,
                              stroke_width=14,
                              color='#fffb99',
                              fill_opacity=0.5,
                              fill_color='#b64a9b')
        self.play(
            wongklom.animate.set_fill(color='#2eab75',
                                      opacity=1),
            run_time=1
        )
        self.play(
            wongklom.animate.set_style(stroke_color='#7ccbd4',
                                       stroke_width=30,
                                       fill_color='#ab7b2e',
                                       fill_opacity=0.7),
            run_time=1
        )
        self.play(
            wongklom.animate.set_stroke(color='#be7cd4',
                                        width=1),
            run_time=1
        )






การสร้างวงรี (Ellipse)

คลาส Ellipse ใช้สร้างวงรี ซึ่งส่วนประกอบและคุณสมบัติต่างๆจะคล้ายกับวงกลม (คลาส Ellipse เป็นคลาสย่อยของ Circle) แต่จะต่างตรงที่กำหนดความกว้าง width และความสูง height แทนที่จะเป็นรัศมี radius

ตัวอย่าง ลองสร้างวงรีขึ้นมาแล้วทำภาพเคลื่อนไหวปรับความกว้างกับความสูง
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        wongri = mnm.Ellipse(width=7,
                             height=4,
                             color='#c1d9ad',
                             fill_opacity=1,
                             fill_color='#937cd4')
        self.play(
            wongri.animate.set_width(12,stretch=True),
            run_time=1
        )
        self.play(
            wongri.animate.set_height(6,stretch=True),
            run_time=1
        )






การสร้างจุด (Dot)

คลาส Dot เอาไว้วาดจุดลงบนตำแหน่งที่กำหนด โดยจริงๆแล้ว Dot เป็นคลาสย่อยของ Circle แต่จะได้เป็นวงกลมที่มีพื้นแต่ไม่มีเส้นขอบ

ตัวอย่าง ลองสร้างจุดขึ้นมา ๑๑ ตัวโดยไล่ขนาด แล้วให้ค่อยๆโผล่ขึ้นมาทีละตัว
import manimlib as mnm
import numpy as np

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        list_chut = []
        for i in range(11):
            xy = np.array([i-6,(i-9)/3,0]) # ตำแหน่งจุด
            r = 0.2+0.02*i**2 # รัศมี เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
            chut = mnm.Dot(xy,radius=r,color='#c1d9ad')
            list_chut.append(chut)
        # นำมาจัดรวมกลุ่ม
        vg = mnm.VGroup(*list_chut)
        self.play(
            mnm.Write(vg),
            run_time=1.5
        )






การสร้างเส้นโค้งส่วนของวงกลม (Arc)

คลาส Arc ใช้สร้างเส้นโค้งส่วนของวงกลม โดยใส่ค่ามุมกวาดเริ่มต้น ตามด้วยมุมกวาดรวม (มุมกวาดสุดท้าย-มุมกวาดเริ่มต้น)

ส่วนรัศมีกำหนดโดยคีย์เวิร์ด radius เช่นเดียวกับวงกลม จุดกึ่งกลางก็กำหนดโดยคีย์เวิร์ด arc_center

ตัวอย่าง
import manimlib as mnm
import numpy as np

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        p = np.array([2,-2,0])
        arc = mnm.Arc(np.radians(30),
                      np.radians(160),
                      radius=4,
                      arc_center=p,
                      color='#eeaaaa',
                      stroke_width=20)
        self.play(
            mnm.Write(arc),
            run_time=1.5
        )






ArcBetweenPoints

อีกคลาสที่ใช้สร้างเส้นโค้งส่วนของวงกลมได้คือ ArcBetweenPoints ผลที่ได้จะเหมือน Arc เพียงแต่สร้างโดยกำหนดจุดต้นจุดปลายและมุมกวาด ซึ่งจะคล้ายกับการสร้างเส้นโค้งด้วยคลาส Line แต่ผลที่ได้จะเป็นวัตถุต่างชนิดกัน

ตัวอย่าง
import manimlib as mnm
import numpy as np

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        p1 = np.array([-5,0,0]) # จุดเริ่ม
        p2 = np.array([5,-1,0]) # จุดปลาย
        # วาดหลายเส้นให้มีจุดต้นจุดปลายที่เดียวกันแต่มุมกวาดต่างกัน
        lis_arc = []
        for i in range(12):
            a = np.radians(120-i*25)
            arc = mnm.ArcBetweenPoints(p1,p2,
                                       angle=a,
                                       color='#bbeeaa',
                                       stroke_width=15)
            lis_arc.append(arc)
        # รวมเส้นทั้งหมดเข้าไว้ในกลุ่ม
        vg = mnm.VGroup(*lis_arc)
        # ใส่จุดเริ่มกับจุดปลายไว้ก่อน
        self.add(mnm.Dot(p1),mnm.Dot(p2))
        # ทำการวาดเส้นโค้ง
        self.play(
            mnm.Write(vg),
            run_time=1.5
        )






การสร้างวงแหวน (Annulus)

คลาส Annulus ใช้สร้างรูปวงแหวน โดยกำหนดค่ารัศมีด้านใน inner_radius และรัศมีด้านนอก outer_radius

ตัวอย่าง ลองสร้างขึ้นมาดูสัก ๓​ วง
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        self.play(
            mnm.Write(
                mnm.VGroup(
                    mnm.Annulus(inner_radius=0.1,outer_radius=0.5,color='#5c2496'),
                    mnm.Annulus(inner_radius=1.1,outer_radius=1.8,color='#884cc6'),
                    mnm.Annulus(inner_radius=2.1,outer_radius=3.1,color='#b081e1')
                )
            ),
            run_time=1.5
        )






การสร้างส่วนตัดของวงแหวน (AnnularSector)

คลาส AnnularSector ไว้ใช้สร้างรูปส่วนตัดของวงแหวน การสร้างคล้ายคลาส Annulus แต่จะกำหนดมุมกวาดเริ่มต้น start_angle และมุมกวาด angle ของวงแหวนด้วย

ตัวอย่าง ใช้ AnnularSector สร้างส่วนตัดของวงแหวนขึ้นมาทีละส่วน
import manimlib as mnm
import numpy as np

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        lis_suan = []
        for i in range(12):
            suan = mnm.AnnularSector(inner_radius=3,
                                     outer_radius=2,
                                     angle=np.radians(25),
                                     start_angle=np.radians(i*30),
                                     color='#81c9e1')
            lis_suan.append(suan)
        vg = mnm.VGroup(*lis_suan)
        self.play(
            mnm.Write(vg),
            run_time=1.5
        )






การสร้างส่วนตัดของวงกลม (Sector)

คลาส Sector ใช้สร้างส่วนตัดของวงกลม (เหมือนชิ้นพิซซ่า) การใช้คล้ายกับ AnnularSector แต่ใส่แค่ outter_radius คือรัศมีของวงกลม

ตัวอย่าง ลองใช้ Sector สร้างส่วนตัดของวงกลมขึ้นมาทีละอัน
import manimlib as mnm
import numpy as np

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        lis_suan = []
        for i in range(24):
            suan = mnm.Sector(outer_radius=3.7,
                              angle=np.radians(12),
                              start_angle=np.radians(i*15),
                              color='#ef9ddf')
            lis_suan.append(suan)
        vg = mnm.VGroup(*lis_suan)
        self.play(
            mnm.Write(vg),
            run_time=1.5
        )





อ่านบทถัดไป >> บทที่ ๑๔




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> manim

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文