φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



หลักการเขียนทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น
เขียนเมื่อ 2023/03/29 21:49
แก้ไขล่าสุด 2023/03/31 09:08
 

ในบทความนี้จะอธิบายหลักการทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่นเขียนด้วยอักษรไทย โดยอธิบายแยกเป็นส่วนๆอย่างละเอียด บอกถึงเสียงอ่านที่แท้จริงและเหตุผลในการเลือกใช้วิธีเขียน และมีการยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดด้วย เหมาะสำหรับผู้ศึกษาภาษาญี่ปุ่น หรือต้องการนำระบบทับศัพท์ไปใช้เพื่อเขียนในชีวิตประจำวัน




ที่มาที่ไป

ระบบทับศัพท์นี้เป็นระบบที่เรียบเรียงขึ้นมาเองเพื่อใช้ในการเขียนในชีวิตประจำวันและบทความต่างๆภายในบล็อกหรือเว็บต่างๆ ยินดีแบ่งปันหากใครต้องการนำไปใช้

ที่จริงแล้วนอกจากระบบนี้แล้วยังมีระบบของราชบัณฑิตยสถาน >> https://th.wikipedia.org/wiki/การทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น

แต่ระบบนั้นมีส่วนต่างจากการเขียนตามความนิยมของคนทั่วไปในหลายๆส่วน จึงอาจดูขัดใจหากนำมาใช้งานจริง คนทั่วไปก็ไม่ได้ใช้ตามนี้

สำหรับหลักที่เราเรียบเรียงขึ้นมาใช้ในนี้ ตั้งขึ้นมาโดยเน้นว่า
  • เขียนให้ใกล้เคียงเสียงจริงๆที่สุดเท่าที่ระบบการเขียนจะเอื้ออำนวย
  • ทำให้แยกความแตกต่างระหว่างเสียงคนละเสียงกันให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • ไม่ให้ต่างจากที่คนทั่วไปนิยมเขียนกันมากจนดูแล้วขัด
  • ทำให้ความเป็นสองมาตรฐานมีน้อยที่สุด คือคำที่มีลักษณะเดียวกันก็ควรจะเขียนด้วยหลักแบบเดียวกัน
  • ไม่ทำลายหลักการเขียนภาษาไทยโดยทั่วไป


ระบบนี้ยังใช้เขียนชื่อภาษาญี่ปุ่นต่างๆที่ใช้ในบล็อกนี้ รวมถึงเพจรวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น และเว็บ https://hinaboshi.com/

ตัวอย่างชื่ออาหารญี่ปุ่นที่เขียนด้วยระบบทับศัพท์นี้






ระบบการเขียน

ภาษาญี่ปุ่นนั้นโดยทั่วไปแล้วจะเขียนด้วยอักษร ๓ ชนิดปนกัน คือ คันจิ, ฮิรางานะ, คาตากานะ นอกจากนี้ยังมีการใช้อักษรโรมาจิ (อักษรละติน) เช่นเวลาใช้กับคนต่างชาติด้วย

ตัวอย่างการเขียนด้วยตัวอักษรชนิดต่างๆ

คันจิ 都道府県 東西南北 上植野
ฮิรางานะ とどうふけん とうざいなんぼく かみうえの
คาตากานะ トドウフケン トウザイナンボク カミウエノ
โรมาจิ todoufuken touzainanboku kamiueno
ทับศัพท์ โทโดวฟุเกง โทวไซนัมโบกุ คามิอุเอโนะ

ในบทความนี้จะอธิบายโดยใช้การเขียนเป็นอักษรฮิรางานะทั้งหมด นอกจากนี้ก็จะกำกับอักษรโรมาจิไว้ข้างบนด้วย เพื่อให้คนที่ไม่รู้ภาษาญี่ปุ่นเลยสามารถอ่านได้

เพียงแต่ว่าบางกรณีนั้นตัวคันจิที่เขียนจะมีผลต่อการทับศัพท์ด้วย กรณีนั้นก็จะกำกับคันจิไว้ด้วย

นอกจากนี้ก็จะมีกำกับอักษร IPA (สัทอักษรสากล) ไว้ด้วย เผื่อสำหรับคนที่มีความรู้ด้านภาษาศาสตร์




การทับศัพท์สระ

ภาษาญี่ปุ่นนั้นโดยพื้นฐานแล้วประกอบด้วย ๕ สระ คือ a, i, u, e, o ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเขียนแทนเป็นภาษาไทยได้เป็น "อะ", "อิ", "อุ", "เอะ", "โอะ" ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม กรณีของ a, e, o นั้นเมื่อไม่ได้อยู่ในพยางค์สุดท้ายของคำเวลาเขียนเป็นภาษาไทยมักจะเขียนเป็นเสียงยาวเป็น "อา", "เอ", "โอ" ดังนั้นในหลักทับศัพท์นี้ก็จะยึดตามความนิยมตามนี้ด้วย

ในขณะที่ i กับ u จะไม่มีข้อยกเว้นตรงนี้ ให้เขียนแทนเป็นภาษาไทยด้วยสระเสียงสั้นในทุกกรณี ไม่ต้องสนว่าอยู่พยางค์ท้ายหรือไม่

นอกจากนี้ เสียง u นั้นจริงๆแล้วต่างไปสระอุในภาษาไทย โดยออกเสียงได้ ๒ แบบ ขึ้นอยู่กับพยัญชนะต้น โดยทั่วไปแล้วจะอ่านเป็นเสียงกึ่งๆระหว่างสระอุกับสระอึ (IPA เขียนเป็น /ɯ/) ในที่นี้ให้ทับศัพท์เป็นสระอุ ตามความนิยม

แต่กรณี su, zu, tsu นั้นจะอ่านออกเสียงค่อนไปทางสระอึอย่างชัดเจน (IPA เขียนเป็น /ɨ/) และการทับศัพท์ในภาษาไทยก็นิยมแทนเสียงนี้เป็นสระอึด้วย ดังนั้นหลักการทับศัพท์ในที่นี้ก็จะให้เขียนเป็นสระอึในกรณีของพยัญชนะ ๓ เสียงนี้เช่นกัน

สรุปเสียงสระพื้นฐานพร้อมตัวอย่างเป็นตารางได้ดังนี้

  IPA ทับศัพท์ หมายเหตุ ตัวอย่าง
a /a/ อะ เขียนเป็น "อะ" เฉพาะเมื่ออยู่พยางค์ท้าย นอกนั้นเป็น "อา" mita = มิตะ
อา tami = ทามิ
i /i/ อิ   ひじりhijiri = ฮิจิริ
u /ɯ/ อุ เป็นสระอุ ยกเว้น su, zu, tsu くるkuruma = คุรุมะ
/ɨ/ อึ เป็นสระอึ สำหรับ su, zu, tsu すずisuzu = อิสึซึ
e /e/ เอะ เขียนเป็น "เอะ" เฉพาะเมื่ออยู่พยางค์ท้าย นอกนั้นเป็น "เอ" kise = คิเสะ
เอ seki = เซกิ
o /o/ โอะ เขียนเป็น "โอะ" เฉพาะเมื่ออยู่พยางค์ท้าย นอกนั้นเป็น "โอ" mako = มาโกะ
โอ こどkodomo = โคโดโมะ




 สระเสียงยาว

ในภาษาญี่ปุ่นมีการแยกเสียงสั้นกับเสียงยาวอย่างชัดเจน โดยพื้นฐานแล้วเสียงยาวจะมาจากการเอา a, i, u, e, o มาวางต่อจากอักษรที่มีสระเดียวกัน เสียงจะยาวขึ้น ๒ เท่า ให้เขียนรวมสระเสียงยาวไป

ตัวคำที่เทียบเสียงสั้นกับเสียงยาว
shina = ชินะ
しいshiina = ชีนะ (ไม่ใช่ "ชิอินะ")

นอกจากนี้เสียงยาวยังเกิดจากการใส่ขีด ー ต่อได้เช่นกัน มักพบมากในคำที่ทับศัพท์จากภาษาต่างประเทศ

しーshiito (シート) = ชีโตะ
らいだーraidaa (ライダー) = ไรดา

หรือบางครั้งอาจมีการใช้อักษร ぁ, ぃ, ぅ, ぇ, ぉ ตัวเล็กมาใช้เพื่อแสดงเสียงยาว ซึ่งอาจพบได้ในคำภาษาพูดหรือคำเลียนเสียง รวมถึงคำภาษาต่างประเทศ เสียงที่ได้ไม่ต่างอะไรกับเขียน a, i, u, e, o ตัวใหญ่

めぇtemee = めえtemee = てめー = เทเม
まぁzamaa = まあzamaa = ざまー = ซามา


อนึ่ง เวลาที่เขียนเป็นอักษรโรมาจินั้นอาจแสดงเสียงยาวโดยใช้ขีดวางไว้ด้านบน เช่น ああ เขียนเป็น ā ส่วน うう เขียนเป็น ū เป็นต้น แต่สำหรับโรมาจิกำกับในบทความนี้เพื่อให้เห็นชัดจะขอเขียนแยกเป็น aa และ uu แบบนี้ตลอด

ตารางสรุปการเขียนทับศัพท์สระเสียงยาว

  IPA ทับศัพท์ หมายเหตุ ตัวอย่าง
ああaa
あぁ
あー
/aː/ อา   かあokaa = โอกา
いいii
いぃ
いー
/iː/ อิ   にいonii =โอนี
ううuu
うぅ
うー
/ɯː/ อู ยกเว้น すうsuu, ずうzuu, つうtsuu ふうfuuki = ฟูกิ
/ɨː/ อือ เฉพาะ すうsuu, ずうzuu, つうtsuu ゆうずうyuuzuu = ยูซือ
ええee
えぇ
えー
/eː/ เอ   ねえonee = โอเน
おおoo
おぉ
おー
/oː/ โอ   とおtoono = โทโนะ

อย่างไรก็ตาม บางครั้งเสียงก็ถูกอ่านแยก ไม่ได้ต่อกันเป็นเสียงยาว โดยเฉพาะในกรณีที่คำมาจากคันจิคนละตัวกัน หรือเป็นคันจิแค่ส่วนเดียว กรณีแบบนี้ให้เขียนแยกกัน เช่น

真鯵 = 真 (ma) + 鯵 (aji)  = มาอาจิ
石井 = 石 (いしishi) + 井 (i) = อิชิอิ
狂う = 狂 (くるkuru) + u = คุรุอุ
吸う = 吸 (su) + u = สึอุ
ご恩 = go + 恩 (on) = โก




 กรณีสระ ei กับ ou

นอกจากในกรณีที่สระเดียวกันมาต่อกันแล้ว กรณีสระ e ตามด้วย i และสระ o ตามด้วย u ก็ทำให้เกิดเสียงยาวขึ้นได้เช่นกัน

โดยทั่วไปแล้ว えいei จะอ่านออกเสียงเป็นสระเอเสียงยาว เช่นเดียวกับกรณี ええee แทนที่จะอ่านแยกเป็น e+i = "เอ"+"อิ"

อย่างไรก็ตาม มีบางกรณีที่เสียงถูกอ่านออกเป็น e+i แยกกันชัดเจน เช่นเวลาที่พูดช้าๆเน้นๆ หรือเช่นเวลาร้องเพลง หรือขึ้นเสียงสูงท้ายคำในประโยคคำถาม ฯลฯ นอกจากนี้ในภาษาญี่ปุ่นท้องถิ่นบางสำเนียงเช่นแถบคิวชูนั้นจะอ่านแบบนี้กันเป็นปกติ ไม่ได้รวมกันเป็นเสียงยาว

อีกทั้งเวลาเขียนทับศัพท์เป็นภาษาไทยคนนิยมเขียนเป็น "เอย์" กันอยู่แล้ว ดังนั้นระบบทับศัพท์ในที่นี้ก็จะขอยึดตามนี้ โดยเขียนเป็น "เอย์" เช่นกัน แทนที่จะเขียนเป็น "เอ" เฉยๆ

แม้ว่าจริงๆแล้วการเขียนแบบนี้จะไม่ได้สะท้อนเสียงอ่านจริงตามกรณีส่วนใหญ่ก็ตาม แต่ตัวตนของ i ไม่อาจมองข้ามโดยมองแค่ว่ามันเป็นตัวทำให้เสียงยาว อีกทั้งการเขียนแบบนี้มีประโยชน์ในการแยกระหว่างเสียงสั้นกับเสียงยาวด้วย เพราะว่าสระ e เสียงสั้นนั้นเมื่ออยู่กลางคำจะเขียนเป็นสระเอ ถ้าหากเขียน えいei เป็นสระเอเฉยๆไปด้วยก็จะแยกแยะไม่ได้

ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่าง e กับ えいei เช่น
seki = เซกิ
せいseiki = เซย์กิ

ส่วนกรณีของ おうou เองก็เช่นเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วจะออกเสียงเป็นสระโอยาว และอ่านแยกเป็น o+u = "โอ"+"อุ" ในกรณีส่วนน้อย

แต่ในที่นี้ก็ขอเขียนเป็น "โอว" เพื่อแยกให้ต่างจากกรณี o ด้วยเหตุผลเดียวกันกับกรณีของ えいei

เช่น

koji = โคจิ
こうkouji = โควจิ

tome = โทเมะ
とうめいtoumei = โทวเมย์

ตารางสรุปและตัวอย่างเพิ่มเติม

  IPA ทับศัพท์ ตัวอย่าง
えいei /eː/~/ei/ เอย์ けいkeiki = เคย์กิ
れいkirei = คิเรย์
おうou /oː/~/oɯ/ โอว こうkoubo = โควโบะ
とうgotou = โกโตว

เพียงแต่กรณีที่มาจากคันจิคนละตัวกันก็ให้เขียนแยกกัน เช่น
武井 = 武 (たけtake) + 井 (i) = ทาเกอิ
小梅 = 小 (ko) + 梅 (ume) = โคอุเมะ




 กรณีสระ ai, ui, oi

กรณีที่สระ a, u, o ตามด้วย i มักจะได้ยินเหมือนเป็นพยางค์เดียว โดย i ถูกมองเป็นเสียง "ย" ต่อท้ายไปและเวลาเขียนทับศัพท์ก็นิยมเขียนเป็นพยางค์เดียวในภาษาไทย ดังนั้นระบบทับศัพท์ในที่นี้ก็จะเขียนรวมด้วย

อย่างไรก็ตาม ที่จริงแล้วในภาษาญี่ปุ่นโดยทั่วไปถือว่าเป็นพยางค์แยกกัน ดังนั้นการเขียนรวมแบบนี้ในที่นี้จึงมีที่มาจากความเคยชินของคนไทยเพื่อให้อ่านลื่นดูเป็นธรรมชาติขึ้นเท่านั้น

รูปเขียนและการทับศัพท์เสียงคำในกลุ่มนี้อาจสรุปได้ดังนี้

  IPA ทับศัพท์ หมายเหตุ ตัวอย่าง
あいai /ai/ ไอ   さいsaika = ไซกะ
ういui /ɯi/ อุย ยกเว้น すいsui, ずいzui, ついtsui るいruiji = รุยจิ
/ɨi/ อึย สำหรับ すいsui, ずいzui, ついtsui すいsuiri = ซึยริ
おいoi /oi/ โอย   こいするkoisuru = โคยสึรุ

เพียงแต่ว่า กรณีที่มาจากคันจิคนละคำกันให้แยกคำกัน ไม่ต้องรวมกัน

赤池 = 赤 (あかaka) + 池 (ike) = อากาอิเกะ
福井 = 福 (ふくfuku) + 井 (i) = ฟุกุอิ
保育 = 保 (ho) + 育 (iku) = โฮอิกุ




 สระควบ "ゃゅょ"

ในภาษาญี่ปุ่นนั้นมีสระที่เป็นเสียงควบ "ย" ซึ่งเกิดจาก ki, gi, ni, hi, bi, pi, mi, ri ประกอบเข้ากับอักษร ゃ, ゅ, ょ (คืออักษร ya, yu, yo ตัวเล็ก) เสียงอ่านจะถือเป็นพยางค์เดียว และบ่อยครั้งจะตามหลังด้วย ー หรือ u กลายเป็นเสียงยาว

การเขียนทับศัพท์เป็นภาษาไทยนั้น จริงๆถ้าเขียนเป็นเสียงควบ "ย" จริงๆแล้ว きゅkyu ควรเป็น "คยุ" และ きょkyo ควรเป็น "คโยะ" แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากความนิยมในการเขียน และเพื่อความอ่านง่ายด้วย โดยทั่วไปแล้วมักเขียนในรูป "คิว" และ "เคียว" ดังนั้นระบบทับศัพท์นี้ก็จะยึดตามความนิยมเช่นกัน

ตารางต่อไปนี้แสดงโดยใช้ ki เป็นฐาน โดยจะแสดงทั้งกรณีเสียงสั้นและเสียงยาวไปพร้อมกัน เพียงแต่ว่าในระบบทับศัพท์เป็นภาษาไทยนี้จะให้เขียนเหมือนกันไม่แยกเสียงสั้นเสียงยาว

  IPA ทับศัพท์ ตัวอย่าง
きゃkya /kʲa/ เคีย りゃryaku = เรียกุ
びゃっこbyakko = เบียกโกะ
きゃあkyaa
きゃー
/kʲaː/ ぎゃーugyaa = อุเกีย
きゅkyu /kʲɯː/ คิว きゅばすsakyubasu = ซากิวบาสึ
きゅうkyuu
きゅー
/kʲɯː/ かいにゅうkainyuu = ไคนิว
びゅうgobyuu = โกบิว
きょkyo /kʲo/ เคียว りょかんryokan = เรียวกัง
いんきょinkyo = อิงเกียว
きょうkyou
きょー
/kʲoː/~/kʲoɯ/ みょうmyouji = เมียวจิ
ぎょうkigyou = คิเงียว

ในที่นี้แม้ว่าจะไม่แยกรูปเขียนเสียงสั้นเสียงยาว แต่โอกาสที่จะสับสนมีน้อย เพราะอย่าง きゃあkyaa กับ きゅkyu นั้นโดยทั่วไปแล้วจะไม่พบในคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นโดยทั่วไป แต่อาจเจอในพวกคำเลียนเสียง หรือคำทับศัพท์จากภาษาต่างประเทศ ดังนั้นถ้าเจอ "เคีย" หรือ "คิว" โดยทั่วไปแล้วก็จะหมายถึง きゃkya กับ きゅうkyuu แทบทั้งหมด

เพียงแต่กรณ๊ของ きょkyo กับ きょうkyou นั้น แม้ว่าส่วนใหญ่จะเป็น きょうkyou ซะมากกว่า แต่ きょkyo ก็เจออยู่บ้าง ทำให้อาจเจอรูปเขียนที่ซ้ำกันอย่างช่วยไม่ได้ ถือเป็นข้อจำกัดของระบบการเขียน
きょだいkyodai = เคียวได
きょうだいkyoudai = เคียวได

นอกจากนี้ กรณี shi, ji, chi ตามด้วย ゃ, ゅ, ょ นั้นจะไม่ได้เกิดเป็นเสียงควบ แต่จะเป็นสระ "อะ", "อุ", "โอะ" ธรรมดา ดังนั้นให้ยึดหลักการทับศัพท์ตามกรณีเสียง a, u, o ดังที่กล่าวไปข้างต้น

ตารางแสดงเสียง ในที่นี้ใช้ shi เป็นตัวอย่าง แต่กรณ๊ใช้กับ ji, chi ก็เช่นเดียวกัน

  IPA ทับศัพท์ หมายเหตุ ตัวอย่าง
しゃsha /ɕa/ ชะ เขียนเป็น "อะ" เฉพาะเมื่ออยู่พยางค์ท้าย นอกนั้นเป็น "อา" かんじゃkanja = คันจะ
ชา しゃかいshakai = ชาไก
しゃあshaa
しゃー
/ɕaː/ มักพบในศัพท์ภาษาต่างประเทศเท่านั้น ちゃーはんchaahan = จาฮัง
しゅshu /ɕɯ/ ชุ   しんじゅshinju = ชินจุ
しゅうshuu
しゅー
/ɕɯː/ ชู   じゅうしんjuushin = จูชิง
しょsho /ɕo/ โชะ เขียนเป็น "โอะ" เฉพาะเมื่ออยู่พยางค์ท้าย นอกนั้นเป็น "โอ" きんじょkinjo = คินโจะ
โช じょjoshi = โจชิ
しょうshou
しょー
/ɕoː/~/ɕoɯ/ โชว   ちょうchoushi = โจวชิ




การทับศัพท์พยัญชนะ

ต่อไปนี้เป็นตารางแสดงเสียงพยัญชนะในภาษาญี่ปุ่นและเทียบพยัญชนะไทยที่ใช้ในการทับศัพท์ รวมทั้งตัวอย่างคร่าวๆ สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมจะอธิบายไว้ด้านล่างของตาราง

  IPA ทับศัพท์ ตัวอย่าง
a i u e o o - mie = มิเอะ
ka ki ku ke ko /k/ なめkaname = คานาเมะ
sakana = ซากานะ
ga gi gu ge go /g/ goma = โกมะ
/ŋ/ shigoto =ชิโงโตะ
sa su se so /s/ しんshinsa = ชินสะ
sama = ซามะ
shi /ɕ/ shiro = ชิโระ
za zu ze zo zu /ʣ/~/z/ kaze =คาเซะ
ji ji /ʥ/~/ʑ/ しんjishin = จิชิง
ta te to /t/ taki = ทากิ
kataki = คาตากิ
chi /ʨ/ chizu =จิซึ
tsu /ʦ/ (ท)ส tsuki = (ท)สึกิ
ตส matsu = มัตสึ
(ท)ซ つうtsuuji = (ท)ซือจิ
ตซ つうfutsuu = ฟุตซือ
da de do /d/ kido = คิโดะ
na nu ne no /n/ neko = เนโกะ
ni /ɲ/ kani =คานิ
ha he ho /h/ hata = าตะ
hi /ç/ hito = ฮิโตะ
fu /ɸ/ fuji =ฟุจิ
ba bi bu be bo vu /b/ buri = บุริ
pa pi pu pe po /p/ しんshinpi = ชิมปิ
ma mi mu me mo /m/ machi = มาจิ
ya yu yo /j/ yaki = ยากิ
ra ri ru re ro /ɾ/ riku = ริกุ
wa /ɰ/ wara = วาระ

ในภาษาญี่ปุ่นนั้นเสียงแถว ka นั้นอาจออกเสียงเป็น "ก" หรือ "ค" ในภาษาไทย แล้วแต่ตำแหน่งในคำหรือจังหวะในการพูดหรือแล้วแต่บุคคล แต่โดยทั่วไปแล้วเมื่อยู่พยางค์ต้นคำจะออกเสียงค่อนไปทาง "ค" นอกนั้นจะค่อนไปทาง "ก" ดังนั้นหลักการทับศัพท์นี้จึงให้เขียนเป็น "ค" เมื่ออยู่พยางค์แรก นอกนั้นเขียนเป็น "ค"

สำหรับเสียงแถว ga นั้นจะออกเสียงแตกต่างกันอย่างชัดเจนเมื่ออยู่พยางค์แรกกับกรณีอื่นๆ โดยเมื่ออยู่พยางค์แรกเป็นเสียง /g/ ซึ่งไม่มีในภาษาไทย แต่ฟังดูใกล้เคียงกับ "ก" ดังนั้นให้ทับศัพท์ด้วย "ก" แต่ในกรณีอื่นจะออกเสียงเป็น "ง" ชัดเจน ดังนั้นให้แทนด้วย "ง"

เกี่ยวกับเรื่องนี้มีรายละเอียดมากมาย อ่านคำอธิบายได้ที่บทความนี้ >> g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่

สำหรับแถว sa นั้นออกเสียงเหมือน "ส" หรือ "ซ" ในภาษาไทย ยกเว้น shi จะออกเสียงเป็นเหมือน "ช" ที่ปล่อยลมแรงผ่านฟัน (IPA เขียนเป็น /ɕ/) ให้เขียนทับศัพท์เป็น "ช"

สำหรับการทับศัพท์เสียงแถว sa (ยกเว้น shi) นั้นอาจใช้เป็น "ซ" หรือ "ส" โดยหลักการแยกแยะนั้นมีรายละเอียดยุ่งยากเล็กน้อย จึงขอแยกไปอธิบายเป็นอีกหัวข้อ เขียนไว้ด้านล่าง

เสียงแถว za (ยกเว้น ji) นั้นจะเป็นเสียงเหมือนตัว z ในภาษาอังกฤษ เป็นเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย แต่โดยทั่วไปจะทับศัพท์ด้วย "ซ" ซึ่งใกล้เคียงที่สุด การเขียนแบบนี้จะทำให้ซ้ำกับแถว sa ในหลายกรณี แต่ข้อแตกต่างคือเสียงแถว za จะใช้เป็น "ซ" ทุกกรณี จะไม่มีการใช้ "ส"

ส่วนเสียง ji นั้นเป็นเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย แต่จะอยู่ระหว่างเสียง "จ" กับ "ย" ในภาษาไทย ในที่นี้ให้ทับศัพท์เป็น "จ" ทั้งหมด

สำหรับ ぢ นั้นเป็นอักษรที่ปรากฏอยู่น้อย และในภาษาญี่ปุ่นปัจจุบันสำเนียงมาตรฐานเสียงของ ぢ ก็อ่านเหมือน ji ดังนั้นหลักทับศัพท์ก็ให้ยึหลักดตาม ji

สำหรับแถว ta (ยกเว้น chi กับ tsu) ตรงกับเสียง "ต" หรือ "ท" ในภาษาไทย ให้ทับศัพท์โดยใช้ "ท" เมื่ออยู่พยางก์แรกของคำ นอกนั้นใช้ "ต" เหตุผลและหลักการเช่นเกียวกับกรณีเสียง "ก" และ "ค"

สำหรับ chi นั้นจะตรงกับเสียง "จ" ในภาษาไทย แต่ก็อาจออกเสียง "ช" ได้ด้วย แต่จะพบน้อยกว่า ส่วนใหญ่แล้วการทับศัพท์เป็นภาษาไทยก็จะใช้ "จ" เป็นหลัก มีน้อยกรณีที่จะใช้ "ช" อีกทั้งถ้าหากใช้ "ช" ก็จะไปซ้ำกับเสียง shi ดังนั้นให้ทับศัพท์ chi เป็น "จ" ในทุกกรณี

เสียง chi กับ ji นั้นจะเขียนเป็น "จ" เหมือนกันในทุกกรณี ไม่สามารถแยกแยะได้ ซึงก็เป็นเรื่องช่วยไม่ได้เนื่องจากในภาษาไทยไม่มีเสียงพยัญชนะที่มาแทน ji จริงๆได้

สำหรับเสียง tsu นั้นมีรายละเอียดมาก ขอแยกไปอธิบายเพิ่มเติมในหัวข้อด้านล่าง

ส่วน づ นั้นเป็นอักษรที่ปรากฏอยู่น้อย และในภาษาญี่ปุ่นปัจจุบันสำเนียงมาตรฐานเสียงของ づ ก็อ่านเหมือน zu ดังนั้นหลักทับศัพท์ก็ให้ยดตาม zu

สำหรับเสียง ni นั้นจริงๆแล้วจะคล้าย "ญ" ในภาษาลาว (IPA เขียนเป็น /ɲ/) ซึ่งต่างจาก na nu ne no ที่เป็น "น" จริงๆ แต่ในการเขียนโรมาจิก็เขียนเป็น n เหมือนกันหมด ในการทับศัพท์เป็นไทยก็ให้เขียนเป็น "น" ทั้งหมด ไม่จำเป็นต้องแยก

เสียงแถว ha นั้นตรงกับเสียง "ฮ" ภาษาไทย ยกเว้น hi กับ fu จึงให้ทับศัพท์เป็น "ฮ"

สำหรับเสียงพยัญชนะของ hi นั้นเป็นเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย (IPA เขียนเป็น /ç/) เสียงอยู่ระหว่าง "ฮ" กับ "ช" แต่ในการเขียนโรมาจิมักเขียนเป็น h อีกทั้งคนญี่ปุ่นบางคนก็ออกเสียง hi เป็นเสียง "ฮ" ธรรมดาด้วย ดังนั้นในการเขียนเป็นภาษาไทยก็ให้เขียนเป็น "ฮ" เช่นเดียวกับ ha he ho

ส่วน fu นั้นเป็นเสียงที่อยู่ระหว่าง "ฮ" กับ "ฟ" แต่ในการเขียนเป็นโรมาจินั้นใช้ตัว f ซึ่งแยกต่างจากตัวอื่นในแถว ha อย่างชัดเจน ดังนั้นในภาษาไทยก็จะเขียนเป็น "ฟ"

สำหรับแถว ba นั้นออกเสียงเป็น "บ" เหมือนกันไม่ว่าจะเป็นสระไหน ดังนั้นไม่มีปัญหาอะไรในการเขียนทับศัพท์ แต่นอกจากนี้แล้วยังมี vu ด้วย ซึ่งเป็นอักษรที่เพิ่มเข้ามาในภาษาญี่ปุ่นเพื่อแทนเสียง /v/ ในคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ แต่เนื่องจากคนญี่ปุ่นก็ออกเสียง v ไม่ได้ โดยทั่วไปก็จะออกเป็นเสียง "บ" ดังนั้นจึงให้ทับศัพท์ vu เป็น "บ" ไปด้วย




 การแยกใช้ "ส" กับ "ซ" สำหรับพยัญชนะแถว さ (s)

ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่าเสียงแถว さ อาจเขียนเป็น "ซ" หรือ "ซ" ก็ได้ แล้วแต่กรณี จึงขอนำมาสรุปหลักการแยกเป็นตารางดังนี้

เขียน ทับศัพท์ ตัวอย่าง
เสียงสั้นพยางค์ท้าย ไม่มีตัวสะกด tosa = โทสะ
hasu = ฮาสึ
chise = จิเสะ
miso = มิโสะ
su เสียงสั้น ไม่มีตัวสะกด suki = สึกิ
sa, se, so เมื่อไม่ได้อยู่พยางค์ท้าย sato = ซาโตะ
semi = เซมิ
soba = โซบะ
มีตัวสะกด san = ซั
んだsunda = ซึนดะ
っちsetchi = เซจจิ
sotsu = ตสึ
เสียงยาว すうsuuji = ซือจิ
せいseito = เซย์โตะ
そうsouki = โซวกิ

สาเหตุที่แยกเป็นกรณีแบบนี้ก็เนื่องจากความเคยชินในการเขียนของคนไทย ซึ่ง "ส" นั้นเป็นอักษรสูงตัวเดียวที่นิยมถูกใช้ในการเขียนทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ แต่พอต้องเขียนเป็นคำเป็นมักจะไม่ใช้ "ส" แต่เขียนเป็น "ซ" แทน

ส่วนกรณีของแถว za นั้นให้ใช้เป็น "ซ" ทั้งหมด ไม่จำเป็นต้องมาแบ่งแยกกรณียุ่งยากเหมือนอย่างแถว sa




 การเขียนเมื่อมี "つ" (ts)

เสียง tsu นั้นจะค่อนข้างพิเศษเนื่องจากแทนด้วยพยัญชนะ ๒ ตัวเขียนต่อกัน

อนึ่ง ที่จริงแล้วในทางภาษาศาสตร์เสียง tsu นั้นก็คือเสียงหน่วยเสียงพยัญชนะเดียวในภาษาญี่ปุ่น แต่เสียงที่ออกนั้นจะเหมือนเสียง "ท/ต" ต่อด้วย "ซ/ส" อีกทั้งเวลาเขียนเป็นโรมาจิจะเขียนแทนด้วย tsu และในภาษาไทยก็เลยมักเขียนเป็นพยัญชนะ ๒ ตัวต่อกันด้วย ดังนั้นในระบบทับศัพท์นี้ก็จะเขียนแบบนี้ไปด้วย

เพียงแต่กรณีที่ที่ つ เป็นพยัญชนะแรกของพยางค์อาจเขียนเป็น "ซ/ส" เฉยๆไม่ต้องมี "ท" นำก็ได้ ในที่นี้จะกำหนดให้เขียนได้ ๒ แบบ ขึ้นอยู่ความเหมาะสมตามสถานการณ์

ตัวอย่างการเขียนทั้ง ๒ แบบ

  เติม "ท" ไม่เติม "ท"
くだにtsukudani ทสึกุดานิ สึกุดานิ
つうやくtsuuyaku ทซือยากุ ซือยากุ
いたちtsuitachi ทซึยตาจิ ซึยตาจิ
づくtsuzuku ทสึซึกุ สึซึกุ
つじtsutsuji ทซึตสึจิ ซึตสึจิ

ส่วนกรณีที่ไม่ได้อยู่พยางค์แรก ให้เขียนเป็นตัวสะกด "ต" ของพยางค์ที่นำหน้า

สำหรับตัวหลังอาจใช้ "ส" หรือ "ซ" หลักการแยกใช้ให้ยึดตามกรณีแถว sa

ที่จำเป็นต้องอธิบายถึงเป็นพิเศษอีกอย่างก็คือการเขียนเสียงพยางค์ที่นำหน้า tsu ซึ่งจะมีรูปแบบการเขียนที่แตกต่างจากเมื่อเขียนเดี่ยวๆหรือนำหน้าพยัญชนะตัวอื่น เนื่องจากในภาษาไทยเวลามีตัวสะกดมักจะเขียนรูปสระที่ต่างออกไป

หลักการเขียนทับศัพท์ในกรณีนี้อาจสรุปได้ดังนี้

  ทับศัพท์ ตัวอย่าง
あつatsu อัตสึ かつどんkatsudon = คัตสึดง
さつうsatsuu = ซัตซือ
いつitsu อิตสึ きつkitsune = คิตสึเนะ
いつうitsuu = อิตซือ
うつutsu อุตสึ くつしたkutsushita = คุตสึชิตะ
ふつうfutsuu = ฟุตซือ
อึตสึ つつtsutsumi = (ท)ซึตสึมิ
ずつうzutsuu = ซึตซือ
えつetsu เอตสึ けつketsui = เคตสึอิ
おつotsu อตสึ とんこつtonkotsu = ทงกตสึ
いしそつうishisotsuu = อิชิซตซือ

จากตารางนี้จะเห็นว่ากรณีสระ i กับ u นั้นจะเขียนเป็นรูปสระเสียงส้นเหมือนตอนไม่มีตัวสะกด แค่เพิ่มตัวสะกด "ต" เข้ามาเท่านั้น

ส่วนสระ a กับ o ซึ่งเดิมทีเวลาไม่ได้อยู่พยางค์ท้ายจะเขียนเป็นเสียงยาวเป็น "อา" กับ "โอ" นั้น ในกรณีนี้ก็ให้เปลี่ยนมาเขียนเป็นรูปเสียงสั้น เป็น "อั-" กับ "อ-"

สำหรับสระ e นั้นถ้าไม่ได้อยู่ในพยางค์สุดท้ายให้เขียนเป็นรูปเสียงยาวตลอดแม้แต่ในกรณีที่มีตัวสะกด ไม่จำเป็นต้องเติมไม้ไต่คู้

ส่วนกรณีสระเสียงยาวหรือสระประสมนั้นก็แค่ให้ต่อด้วย ตส (หรือ ตซ) เช่น
あいaitsu = ไอตสึ
しーshiitsu = ชีตสึ
りゅうつうryuutsuu = ริวตซือ
ぶーbuutsu = บูตสึ
もうつうmoutsuuji = โมวตซือจิ
きょうkyoutsuu = เคียวตซื




 ตัวสะกด "ん" (ง, น, ม)

เสียง n ในภาษาญี่ปุ่นนั้นเป็นตัวสะกด ซึ่งค่อนข้างพิเศษเนื่องจากเป็นได้หลายเสียง โดยอาจแบ่งได้เป็นกรณีต่างๆ ค่อนข้างซับซ้อน และในแหล่งข้อมูลแต่ละที่ก็ระบุกลไกเสียงอ่านของ n ไม่เหมือนกัน

ดังนั้นในที่นี้จะแค่พิจารณาหลักโดยรวมง่ายๆ โดยรวมแล้วเมื่อเขียนในภาษาไทยก็จะแทนด้วย ๓ แบบคือ แม่กง แม่กน แม่กม

กล่าวโดยทั่วไปแล้วก็คือ ถ้า n อยู่พยางค์ท้ายหรือตามด้วยแถว ka หรือ ga ให้เขียนเป็นแม่กง แต่ถ้าตามด้วยแถว ba, pa, ma ให้เขียนเป็นแม่กม ส่วนกรณีอื่นๆให้ใช้แม่กนทั้งหมด หลักการแยกใช้สรุปสั้นๆได้แบบนี้เลย

ตัวอย่างเช่น
tenshinranman = เทชิรัมั
shinkansen = ชิกัเซ

แต่ว่าถ้าต้องการอธิบายแยกละเอียดแล้วละก็ เสียงอ่านของ n และการทับศัพท์ในกรณีต่างๆอาจเขียนสรุปได้ดังนี้

อักษรที่ตามมา IPA ทับศัพท์ ตัวอย่าง
ไม่มี /ɴ/ かのkanon = คาน
แถว ka
แถว ga
/ŋ/ shinka = ชิกะ
sengo = เซโงะ
แถว ba
แถว pa
แถว ma
/m/ sanbi = ซับิ
shinpo = ชิโปะ
ninmu = นิมุ
แถว za (ยกเว้น ji)
แถว ta (ยกเว้น chi)
แถว da
แถว na (ยกเว้น ni)
แถว ra
/n/ ざいsenzai = เซไซ
とうshintou = ชิโตว
kondo = คโดะ
kanna = คันะ
ろうkenrou = เคโรว
ji
chi
ni
/ɲ/ sanji = ซัจิ
ちょkencho = เคโจะ
にんtannin = ทันิง
แถว a
แถว sa
แถว ha
แถว ya
wa
/ɰ̃/ いんzen'in = เซอิง
kensa = เคซะ
はんzenhan = เซฮัง
shin'ya = ชิยะ
denwa = เดวะ

กรณีที่อยู่พยางค์ท้ายสุดไม่มีเสียงพยัญชนะตามหลังเสียงจะออกเป็นกึ่ง "ง" กึ่ง "น" แต่ในที่นี้ให้เขียนเป็น "ง" ทั้งหมด

ส่วนกรณีที่ตามด้วยแถว a, sa, ha, ya, wa นั้นจะเป็นเสียงที่ค่อนข้างซับซ้อนและไม่มีในภาษาไทย (IPA เขียนเป็น /ɰ̃/) โดยเกิดเป็นเสียงออกจมูก ซึ่งยากจะแทนเป็นภาษาไทยได้ แต่โดยรวมแล้วก็จะเหมือนลงท้ายด้วย "น" หรือ "ง" ดังนั้นปกติจะเห็นการทับศัพท์ทั้ง "น" หรือ "ง" แต่ในที่นี้เพื่อความเป็นมาตรฐานขอกำหนดให้แทนด้วย "น" ทั้งหมดไปเลย

กรณีที่ตามด้วย ji, chi, ni ก็เป็นกรณีเฉพาะอีกแบบ โดยเสียงจะออกไปทาง "ญ" (IPA เขียนเป็น /ɲ/) ซึ่งจะต่างจากแม่กนธรรมดาเล็กน้อย แต่ก็ให้แทนเป็น "น" ไปเช่นกัน

จะเห็นว่าถ้าแยกกันโดยละเอียดแล้วค่อนข้างซับซ้อน แต่ในการทับศัพท์เป็นภาษาไทยอาจไม่ต้องพิจารณาขนาดนั้น ให้ยึดหลักสั้นๆว่า ตามหลัง k, g หรืออยู่พยางค์ท้ายแทนด้วย "ง" ถ้าตามหลัง b, p, m แทนด้วย "ม" และกรณีอื่นให้แทนด้วย "น"

กรณีสระควบ きゅ กับ きょ นั้นเนื่องจากว่ารูปเขียนไม่เอื้อให้ใส่ตัวสะกดต่อ แบบนั้นให้ใช้เป็นการันต์แทน
きゅkyun = คิวง์
ひゅだいhyundai = ฮิวน์ได
きょkyon = เคียวง์
ぴょやんpyonyan = เปียวน์ยัง




 ตัวสะกด "っ"

ตัว っ (อักษร つ ตัวเล็ก) นั้นทำหน้าที่เป็นตัวสะกดในภาษาญี่ปุ่น โดยจะสะกดเป็นเสียงเหมือนพยัญชนะที่ตามมาข้างหลัง เวลาเขียนเป็นโรมาจิก็มักจะแทนด้วยอักษรตามพยัญชนะที่ตามหลังมา ในการทับศัพท์เป็นภาษาไทยนั้นโดยพื้นฐานแล้วก็จะแทนด้วยอักษรเหมือนที่ตามมาเช่นกัน

ตัวอย่างเช่น
っけんゆうmakkenyuu = มักเกนยู
っしmasshiro = มัชชิโระ
ったmattaku = มัตตากุ
っだbudda = บุดดะ
っぱmoppara = มปปาระ

อนึ่ง สำหรับ っち นั้นในโรมาจิมักเขียนแทนด้วย tchi แต่นี่ก็ไม่ใช่ปัญหาที่ต้องสนใจ เวลาทับศัพท์เป็นไทยให้ใช้เป็น "จจ" ไปตามปกติ ไม่ใช่ "ตจ"
っちkotchi = คจจิ
っちゃmatcha = มัจจะ

นอกจากนี้มีข้อยกเว้นที่ต้องกล่าวถึงเป็นพิเศษ
เช่น สำหรับกรณีที่ตามด้วยแถว ga นั้นโดยทั่วไปจะพบแต่เฉพาะในกรณีคำศัพท์ต่างประเทศ และกรณีนี้ ga จะไม่ออกเสียงเป็น "ง" แม้ว่าจะไม่ได้อยู่พยางค์แรกก็ตาม ให้แทน っ ด้วย "ก" และแทนเสียง ga ด้วย "ก" ด้วย เช่น
っぐbaggu (バッグ) = บักกุ

ส่วนกรณีแถว sa นั้นแม้ในพยัญชนะต้นเราจะแทนเป็น "ส" หรือ "ซ" ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น แต่เมื่อเป็นตัวสะกดให้เขียนเป็น "ส" เท่านั้น
っそkessou = เคสโซ
っさてんkissaten = คิสซาเตง
っさhossa = ฮสสะ

สำหรับ っつ นั้นเนื่องจากว่า tsu นั้นแต่เดิมก็ทำให้คำที่นำหน้าต้องเขียนในรูปมีตัวสะกด "ต" อยู่แล้ว ดังนั้นแม้จะมี っ เพิ่มเข้ามาก็ให้เขียนเหมือนกรณี tsu เฉยๆ คือเป็น "ตส"
mitsu = มิตสึ
っつmittsu = มิตสึ

อย่างไรก็ตาม จริงๆแล้วในการออกเสียงจริงๆนั้นกรณีที่มี っ จะยาวกว่าเพราะเพิ่มอีกจังหวะหนึ่ง เพียงแต่ในระบบทับศัพท์นี้เราได้ละเลยความแตกต่างเล็กน้อยตรงนี้ไป

ส่วนกรณีที่ っ ตามหลังแถว ha นั้นอาจเจอในคำทับศัพท์ต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะใช้แทนเสียงภาษาเยอรมัน คนญี่ปุ่นเองก็ออกเสียงนี้ไม่ได้ ดังนั้นให้ทับศัพท์เหมือนไม่มี っ อยู่
っはmahha (マッハ) = มาฮะ

ยกเว้นกรณี fu จะเป็นเสียง "ฟ" ชัดเจน ให้แทนด้วย "ฟ" ไป
しゃっふshaffuru (シャッフル) = ชัฟฟุรุ

สำหรับกรณีที่ っ ไปนำหน้าแถว a, n, ma, ra, wa นั้นพบได้น้อยมาก และเป็นคำจากภาษาต่างประเทศเท่านั้น และไม่ค่อยใช้ทั่วไป อาจมองข้ามไปได้ เพราะคงมีโอกาสน้อยที่จะได้ทับศัพท์คำเหล่านั้น อย่างไรก็ตามหากมีโอกาสเจอคำเหล่านี้ก็พิจารณาตามความเหมาะสมไป

และเช่นเดียวกับกรณี ん สำหรับกรณีที่นำหน้าด้วยสระควบ きゅ กับ きょ นั้นให้เขียนในรูปตัวการันต์
ぎゅgyutto = กิวต์โตะ
りゅryukku = ริวก์กุ
きょこうkyokkou = เคียวก์โกว
ひょhyotto = เฮียวต์โตะ




การพิจารณาเรื่องแบ่งคำ

จากหลักการทับศัพท์ที่ยากมาข้างต้นจะเห็นว่าวิธีการเขียนจะเปลี่ยนไปโดยขึ้นกับตำแหน่งของพยางค์นั้นภายในคำ โดยอาจแบ่งเป็น ๓ กรณี
- อยู่พยางค์แรก
- อยู่กลางคำ
- อยู่พยางค์ท้ายสุด

เช่น て อาจเขียนเป็น "เท", "เต", "เตะ" ดังนี้
がきtegaki = เทงากิ
suteki = สึเตกิ
おきokite = โอกิเตะ

ดังนั้นแล้วปัญหาที่จำเป็นต้องพิจารณาก็คือเรื่องของการแบ่งคำ เพราะในภาษาญี่ปุ่นนั้นมีคำประสมจำนวนมาก กรณีไหนควรจะถือว่าเป็นคำเดียวกัน กรณีไหนควรแยก เป็นเรื่องที่คลุมเครือและตัดสินได้ยากพอสมควร

โดยทั่วไปแล้วถ้าเป็นพวกชื่อเฉพาะหรือคำประสมนั้นแม้จะรู้ว่ามาจากคำศัพท์หลายคำแยกกัน แต่เมื่อมารวมกันแล้วก็ให้ถือเป็นคำเดียว หลักการทับศัพท์ก็ถือว่าเป็นคำเดียว พยางค์แรก

ตัวอย่างเช่น
しもきたざわshimokitazawa (下北沢) มาจาก しもshimo+きたkita+ざわzawa

ถ้าเขียนทับศัพท์แยกคำก็จะเป็น
しもshimo = ชิโมะ
きたkita = คิตะ
ざわzawa = ซาวะ

แต่พอเขียนรวมก็จะเป็น
しもきたざわshimokitazawa = ชิโมกิตาซาวะ

สำหรับชื่อคนญี่ปุ่นนั้นแบ่งเป็นนามสกุลกับชื่อต้น กรณีแบบนี้ก็แยกเช่นกัน และเวลาเขียนให้เว้นวรรคระหว่างนามสกุลกับชื่อด้วย
やまだながまさyamada nagamasa (山田長政) = ยามาดะ นางามาสะ

สำหรับเวลาที่จะทับศัพท์พวกคำที่เป็นประโยคนั้นก็ให้แยกเป็นคำๆ เช่น
わたしのゆりはおしごとですwatashi no yuri wa oshigoto desu (私の百合はお仕事です)
= วาตาชิโนะยุริวะโอชิโงโตะเดสึ
そらをみあげるしょうじょのひとみにうつるせかいsore no miageru shoujo no hitomi ni utsuru sekai (空を見上げる少女の瞳に映る世界)
= โซระโอะมิอาเงรุโชวโจะโนะฮิโตมินิอุตสึรุเซไก

คำที่เป็นประโยคพวกนี้ในภาษาญี่ปุ่นจะเขียนติดกันหมด แต่ส่วนใหญ่เวลาเขียนเป็นโรมาจิจะมีการเว้นวรรค จงอาจอ้างอิงจากโรมาจิเพื่อใช้แบ่งคำได้ แต่ในการเขียนทับศัพท์เป็นภาษาไทยนั้นแค่ใช้การแบ่งนี้เพื่อพิจารณาว่าเป็นต้นหรือกลางหรือท้ายคำ แต่ไม่จำเป็นต้องเว้นวรรค (หรืออาจจะเขียนเว้นวรรคก็ได้ แล้วแต่จะพิจารณา)

ในภาษาญี่ปุ่นมีคำช่วย เช่น no, wa*, ga, o, e*, de, to, ni
(*は, へ เมื่อเป็นคำช่วยจะอ่าน "วะ", "เอะ" ไม่ใช่ "ฮะ", "เฮะ" โรมาจิเองก็เขียนเป็น wa, e)

ปกติแล้วพวกคำช่วยนั้นถือว่าแยกออกมาเป็นคำนึง และทำให้เกิดการแบ่งแยกคำชัดเจน ดังนั้นก็พิจารณาแยกคำได้ง่าย เช่น
ふじかわたたかいfujikawa no tatakai (富士川の戦い) = ฟุจิกาวะโนะทาตากาอิ
みらいのとびらmirai e no tobira (未来への扉) = มิไรเอะโนะโทบิระ
あなたありがとうanat ni arigatou = อานาตะนิอาริงาโตว
みかくにんしんこうけいmikakunin de shinkoukei (未確認で進行形) = มิกากุนิงเดะชิงโกวเกย์

และที่ต้องพูดถึงเป็นพิเศษคือกรณีคำช่วย が นั้น แม้ว่าจะแยกคำแต่ก็ให้ถอดเป็น "งะ" ตลอดทุกกรณี ไม่ใช่ "กะ"
つききれいtsuki ga kirei (月がきれい) = (ท)สึกิงะคิเรย์
さいきんsaikinいもうとのようすimouto no yousu gaちょっとchottoおかしいんokashinda ga。 (最近、妹のようすがちょっとおかしいんだが。)
= ไซกิง อิโมวโตะโนะโยวสึงะจตโตะโอกาชีนดะงะ

อย่างไรก็ตาม มีพวกศัพท์หรือชื่อเฉพาะที่เกิดจากการรวมคำโดยใช้คำช่วยเช่น の หรือ が กรณีแบบนี้ก็อาจให้ถือเป็นคำเดียว

เช่น やまのてyamanote (山手) นั้นมาจากคำว่า やまyama (山) = ยามะ (แปลว่าภูเขา) กับ te (手) = เทะ (แปลว่ามือ) โดยใช้คำช่วย no เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ แต่คำนี้กลายเป็นชื่อเฉพาะ ดังนั้นให้เขียนเป็น "ยามาโนเตะ" ไม่ต้องแยกเป็น "ยามะโนะเทะ"

คำอื่นที่คล้ายกัน เช่น
あまがわamanogawa (天の川) = อามาโนงาวะ
うつみやutsunomiya (宇都宮) = อุตสึโนมิยะ

กรณีที่เชื่อมด้วยคำช่วย が ก็เช่นกัน เช่น
あまさきamagasaki (尼崎) = อามางาซากิ
たかまはらtakamagahara (高天原) = ทากามางาฮาระ

คำศัพท์ประสมที่เกิดจากการใช้ の หรือ が เชื่อม คำพวกนี้ค่อนข้างคลุมเครือว่าควรจะแยกหรือรวมดี ยังยากที่จะสรุปเป็นกฎตายตัว

โดยทั่วไปแล้วอาจมองว่าถ้าศัพท์นั้นเขียนเป็นคันจิติดกันก็น่าจะให้ถือว่าเป็นคำเดียวกันไป
たけtakenoko (筍, หน่อไม้) = ทาเกโนโกะ
ひらtenohira (掌, ฝ่ามือ) = เทโนฮิระ
ままwagamama (我儘, เอาแต่ใจ) = วางามามะ

แต่พวกคำศัพท์ที่เขียน の คั่นชัดเจนไม่ได้มีคันจิรวมกันเป็นคำเดียวนั้นก็พิจารณาได้ยาก เช่น
ちゃchanoyu (茶の湯, พิธีชงชา) = จะโนะยุ หรือ จาโนยุ
おんなonnanoko (女の子, เด็กผู้หญิง) = อนนะโนะโคะ หรือ อนนาโนโกะ
つかtsukanoma (束の間, ชั่วพริบตา) = (ท)สึกะโนะมะ หรือ (ท)สึกาโนมะ

ดังนั้นแล้วจะให้รวมเป็นคำเดียวหรืออาจแล้วแต่พิจารณาอีกที ตรงนี้เป็นที่มีความเรื่องซับซ้อน ที่เขียนไว้ตรงนี้แค่พอเป็นแนวทาง ถึงเวลาใช้จริงอาจต้องเลือกใช้ตามความเหมาะสม




ข้อยกเว้น

มีคำภาษาญี่ปุ่นจำนวนนึงที่ถูกใช้ในภาษาไทยมานานจนคุ้นเคยกันดีและเป็นที่นิยมไปแล้ว คำเหล่านี้อาจพิจารณาให้ยึดรูปการเขียนตามเดิมเพื่อไม่ให้ขัดต่อความเคยชินของคนส่วนใหญ่ เช่น

คำ ตามหลักทับศัพท์ ตามความนิยม
東京 (とうきょうtoukyou) โทวเกียว โตเกียว
京都 (きょうとkyouto) เคียวโตะ เกียวโต
寿司 (すしsushi) สึชิ ซูชิ
餃子 (ぎょうざgyouza) เกียวซะ เกี๊ยวซ่า
酒 (さけsake) ซาเกะ สาเก
空手 (からてkarate) คาราเตะ คาราเต้
相撲 (すもうsumou) สึโมว ซูโม่
忍者 (にんじゃninja) นินจะ นินจา
芸者 (げいしゃgeisha) เกย์ชะ เกอิชา
円 (えんen) เอง เยน

เพียงแต่ว่าคำไหนถึงจะถือว่าเป็นคำที่นิยมแล้ว ขอบเขตนั้นคลุมเครือ ต่างกันไปขึ้นอยู่กับความเคยชินของแต่ละคน ดังนั้นให้พิจารณามองเป็นแนวทางไปตามความเหมาะสม




ตัวอย่างการใช้

ต่อจากนี้ไปจะยกตัวอย่างเพิ่มเติมโดยใช้คำทั่วไปเพื่อให้เห็นภาพการใช้งาน

รายชื่อจังหวัดในญี่ปุ่น รวมทั้งหมด ๔๓ จังหวัด

คันจิ ฮิรางานะโรมาจิ ทับศัพท์
北海道 ほっかいどうhokkaidou ฮกไกโดว
青森 あおもりaomori อาโอโมริ
岩手 いわてiwate อิวาเตะ
宮城 みやぎmiyagi มิยางิ
秋田 あきたakita อากิตะ
山形 やまがたyamagata ยามางาตะ
福島 ふくしまfukushima ฟุกุชิมะ
茨城 いばらきibaraki อิบารากิ
栃木 とちぎtochigi โทจิงิ
群馬 ぐんまgunma กุมมะ
埼玉 さいたまsaitama ไซตามะ
千葉 ちばchiba จิบะ
東京 とうきょうtoukyou โทวเกียว
(โตเกียว)
神奈川 かながわkanagawa คานางาวะ
新潟 にいがたniigata นีงาตะ
富山 とやまtoyama โทยามะ
石川 いしかわishikawa อิชิกาวะ
福井 ふくいfukui ฟุกุอิ
山梨 やまなしyamanashi ยามานาชิ
長野 ながのnagano นางาโนะ
岐阜 ぎふgifu กิฟุ
静岡 しずおかshizuoka ชิซึโอกะ
愛知 あいちaichi ไอจิ
三重 みえmie มิเอะ
滋賀 しがshiga ชิงะ
京都 きょうとkyouto เคียวโตะ
(เกียวโต)
大阪 おおさかoosaka โอซากะ
兵庫 ひょうごhyougo เฮียวโงะ
奈良 ならnara นาระ
和歌山 わかやまwakayama วากายามะ
鳥取 とっとりtottori ทตโตริ
島根 しまねshimane ชิมาเนะ
岡山 おかやまokayama โอกายามะ
広島 ひろしまhiroshima ฮิโรชิมะ
山口 やまぐちyamaguchi ยามางุจิ
徳島 とくしまtokushima โทกุชิมะ
香川 かがわkagawa คางาวะ
愛媛 えひめehime เอฮิเมะ
高知 こうちkouchi โควจิ
福岡 ふくおかfukuoka ฟุกุโอกะ
佐賀 さがsaga ซางะ
長崎 ながさきnagasaki นางาซากิ
熊本 くまもとkumamoto คุมาโมโตะ
大分 おおいたooita โออิตะ
宮崎 みやざきmiyazaki มิยาซากิ
鹿児島 かごしまkagoshima คาโงชิมะ
沖縄 おきなわokinawa โอกินาวะ


รายชื่อแคว้นในอดีตของญี่ปุ่น ๖๙ แคว้น

คันจิ ฮิรางานะโรมาจิ ทับศัพท์
薩摩 さつまsatsuma ซัตสึมะ
大隅 おおすみoosumi โอสึมิ
日向 ひゅうがhyuuga ฮิวงะ
肥後 ひごhigo ฮิโงะ
豊後 ぶんごbungo บุงโงะ
筑後 ちくごchikugo จิกุโงะ
肥前 ひぜんhizen ฮิเซง
筑前 ちくぜんchikuzen จิกุเซง
豊前 ぶぜんbuzen บุเซง
壱岐 いきiki อิกิ
対馬 つしまtsushima (ท)สึชิมะ
長門 ながとnagato นางาโตะ
周防 すおうsuou สึโอว
安芸 あきaki อากิ
備後 びんごbingo บิงโงะ
備中 びっちゅうbitchuu บิจจู
美作 みまさかmimasaka มิมาซากะ
備前 びぜんbizen บิเซง
播磨 はりまharima ฮาริมะ
石見 いわみiwami อิวามิ
出雲 いずもizumo อิซึโมะ
伯耆 ほうきhouki โฮวกิ
隠岐 おきoki โอกิ
因幡 いなばinaba อินาบะ
但馬 たじまtajima ทาจิมะ
丹後 たんごtango ทังโงะ
丹波 たんばtanba ทัมบะ
伊予 いよiyo อิโยะ
土佐 とさtosa โทสะ
阿波 あわawa อาวะ
讃岐 さぬきsanuki ซานุกิ
淡路 あわじawaji อาวาจิ
紀伊 きいkii คิอิ
大和 やまとyamato ยามาโตะ
河内 かわちkawachi คาวาจิ
山城 やましろyamashiro ยามาชิโระ
和泉 いずみizumi อิซึมิ
摂津 せっつsettsu เซตสึ
若狭 わかさwakasa วากาสะ
越前 えちぜんechizen เอจิเซง
加賀 かがkaga คางะ
越中 えっちゅうetchuu เอจจู
能登 のとnoto โนโตะ
越後 えちごechigo เอจิโงะ
佐渡 さどsado ซาโดะ
志摩 しまshima ชิมะ
伊勢 いせise อิเสะ
伊賀 いがiga อิงะ
尾張 おわりowari โอวาริ
三河 みかわmikawa มิกาวะ
遠江 とおとうみtootoumi โทโตวมิ
駿河 するがsuruga สึรุงะ
伊豆 いずizu อิซึ
甲斐 かいkai คาอิ
相模 さがみsagami ซางามิ
武蔵 むさしmusashi มุซาชิ
下総 しもうさshimousa ชิโมวสะ
上総 かずさkazusa คาซึสะ
安房 あわawa อาวะ
常陸 ひたちhitachi ฮิตาจิ
近江 おうみoumi โอวมิ
美濃 みのmino มิโนะ
飛騨 ひだhida ฮิดะ
信濃 しなのshinano ชินาโนะ
上野 こうずけkouzuke โควซึเกะ
下野 しもつけshimotsuke ชิมตสึเกะ
陸奥 むつmutsu มุตสึ
出羽 でわdewa เดวะ
蝦夷 えぞezo เอโซะ


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ภาษาศาสตร์ >> ภาษาญี่ปุ่น
-- ภาษาศาสตร์ >> หลักเกณฑ์การทับศัพท์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文