φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



maya python เบื้องต้น บทที่ ๓๙: แสงแบบต่างๆ
เขียนเมื่อ 2016/03/19 12:37
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
ในบทที่แล้วได้แนะนำแสงไปแบบหนึ่งแล้วคือดีเร็กชันนัลไลต์ ส่วนในบทนี้จะแนะนำอีก ๓ ชนิด

แสงทุกชนิดสามารถสร้างได้โดยฟังก์ชัน shadingNode() แต่ว่าก็มีฟังก์ชันเฉพาะสำหรับสร้างอยู่ ซึ่งในบทนี้จะใช้ฟังก์ชันเหล่านั้น

สำหรับสป็อตไลต์ใช้ฟังก์ชัน spotLight()

สำหรับพอยนต์ไลต์ใช้ฟังก์ชัน pointLight()

สำหรับแอมเบียนต์ไลต์ใช้ฟังก์ชัน ambientLight()

เริ่มจากสป็อตไลต์ ซึ่งเป็นแสงที่ปล่อยออกมาจากจุดจุดหนึ่ง โดยพุ่งไปยังมุมที่จำกัดบริเวณหนึ่ง คล้ายไฟที่ฉายจากไฟฉาย

คล้ายกับดีเร็กชันนัลไลต์ตรงที่ทิศทางที่หันมีผลต่อแสงที่ออกมา แต่มีค่าที่จำเป็นต้องปรับมากกว่า

ตารางแสดงค่าต่างๆของแสงแสงแบบสป็อตไลต์ พร้อมชื่อแฟล็กที่ใช้ในฟังก์ชัน spotLight()

ชื่อในรายการ ชื่อเต็ม ชื่อย่อ ชื่อย่อแฟล็ก คำอธิบาย
減衰率 decayRate de d การลดหลั่นแสงตามระยะทาง
円錐角度 coneAngle ca ca มุมขอบเขตของแสง ต้องกว้างไม่ถึง 180
周縁部の角度 penumbraAngle pa p ขอบเขตแสงสลัวที่ขอบ
ドロップオフ dropoff dro do การลดหลั่นแสงตามระยะห่างจากมุมใจกลาง
カラー color c rgb สีของแสง แบ่งย่อยเป็น cr cg cb
強度 intensity in i ความเข้มแสง
レイ トレース シャドウの使用 useRayTraceShadows urs rs เปิดใช้เงาแบบเรย์เทรซชาโดว
シャドウ カラー shadowColor sc sc สีของเงา  แบ่งย่อยเป็น scr scg scb
深度マップシャドウの使用 useDepthMapShadows dms ไม่มี เปิดใช้เงาเด็ปธ์แม็ปชาโดว
解像度 dmapResolution dr ไม่มี กำลังแยกภาพของเด็ปธ์แม็ปชาโดว

อันไหนที่ไม่มีในแฟล็กจะไม่สามารถกำหนดค่าได้ตั้งแต่ตอนสร้าง ต้องมาปรับในภายหลัง

นอกจากนี้ตำแหน่งที่ตั้งของแสงก็จะมีผล ดังนั้นจังไม่ใช่แค่ปรับมุมการหมุนเหมือนอย่างดีเร็กชันนัลไลต์

เพื่อเป็นตัวอย่างลองเริ่มสร้างดูเลย ตัวอย่างคราวนี้ลองสร้างโต๊ะหินที่มีผิวขรุขระขึ้นมาตัวหนึ่งเป็นวัตถุทดสอบ แล้วสร้างดวงไฟมาส่องสว่างบนนี้อันหนึ่ง
import random
for i in range(4):
    mc.polyCube(w=6,h=100,d=6,sy=20,n='khato%d'%(i+1))
    for j in range(84):
        mc.move(random.uniform(-2,2),0,random.uniform(-2,2),'khato%d.vtx[%d]'%(i+1,j),r=1)
    mc.move(40,50,40)
    mc.rotate(0,90*i,0,p=[0,0,0])
mc.polyCube(w=100,h=5,d=100,sx=20,sy=1,sz=20,n='tohin')
mc.move(0,100,0)
for i in range(881):
    mc.move(random.uniform(-1,1),random.uniform(-2,2),2*random.uniform(-1,1),'tohin.vtx[%d]'%i,r=1)
mc.spotLight(ca=80,i=2,n='duangfai')
mc.move(0,125,50)
mc.rotate(-30,0,0)
mc.setAttr('duangfaiShape.dms',1)
mc.setAttr('duangfaiShape.dr',8192)

จะเห็นว่าแสงไฟกระทบบริเวณส่วนหนึ่งของโต๊ะ และบริเวณที่โดนแสงก็สว่างเท่ากันทั้งหมด (ภาพตัวอย่างนี้ไม่ได้เปิดโหมดให้แสดงเงาด้วย)



แต่ในธรรมชาติจริงๆแล้วจะไม่เป็นแบบนั้น แสงควรจะต่างไปตามตำแหน่ง เพราะยิ่งห่างจากแหล่งกำเนิดแสงก็ยิ่งได้รับพลังงานลดลง

เราสามารถปรับการลดหลั่นของแสงได้ที่ค่า decayRate (de) โดยการลดหลั่นแสงนั้นมีอยู่ ๔ แบบ
0 แสงไม่ลดลงตามระยะทาง (ค่าตั้งต้น)
1 แสงลดลงเป็นสัดส่วนกับระยะทาง (เชิงเส้น)
2 แสงลดลงเป็นสัดส่วนกับระยะทางกำลังสอง
3 แสงลดลงเป็นสัดส่วนกับระยะทางกำลังสาม

โดยทั่วไปในธรรมชาตินั้นแสงที่แผ่ออกจากแหล่งกำเนิดจะลดลงแบบกำลังสอง นั่นคือ d=2

ลองปรับ
mc.setAttr('duangfaiShape.in',1000)
mc.setAttr('duangfaiShape.de',2)



นอกจากนี้หากปรับดร็อปออฟ dropoff (dro) ก็จะทำให้ได้แสงที่ค่อยๆสลัวลงเมื่อห่างจากใจกลางมุมที่แสงฉาย

ลอง
mc.setAttr('duangfaiShape.dro',20)



ส่วน penumbraAngle (pa) เป็นการเพิ่มบริเวณที่ได้รับแสงเป็นบางส่วนเพิ่มเข้ามารอบๆ

ลอง
mc.setAttr('duangfaiShape.dro',0) # เอาดร็อปออฟออกก่อน
mc.setAttr('duangfaiShape.pa',30)





ต่อไปลองลบแสงไฟเดิมออกแล้วลองใช้ไฟเป็นสีดู สร้างดวงไฟคล้ายอันเดิมส่องบนโต๊ะอันเดิมแต่ตั้งสีให้เป็นแดง, เขียว และ น้ำเงิน แยกกันอย่างละดวงแล้วส่องมาจากคนละทิศ
for i in range(3):
    mc.spotLight(rgb=[i==0,i==1,i==2],n='fai%d'%(i+1))
    mc.move(0,125,50)
    mc.rotate(-30,i*120,0,p=[0,125,0])

แบบนี้ก็ออกมากลายเป็นไฟเจ็ดสีคล้ายกับสัญลักษณ์ของช่องเจ็ดสีทีวีเพื่อคุณ



ลองลบแล้วสร้างใหม่โดยแต่งเติมใส่แฟล็กอะไรต่างๆก็จะดูสวยไปอีกแบบ
for i in range(3):
    mc.spotLight(rgb=[i==0,i==1,i==2],ca=80,i=10000,d=2,do=15,n='fai%d'%(i+1))
    mc.move(0,125,50)
    mc.rotate(-30,i*120,0,p=[0,125,0])



อีกอย่างหนึ่งที่สป็อตไลต์สามารถทำได้ก็คือเอฟเฟ็กต์หมอกแสง (ライト フォグ, light fog)

ในธรรมชาตินั้นโดยทั่วไปเวลาที่แสงส่องลงมาโดยปกติแล้วเราจะไม่เห็นลำแสงแต่จะเห็นแค่แสงที่กระทบตัววัตถุ

แต่เมื่อมีฝุ่นละอองในอากาศมากก็จะทำให้เราเห็นแสงเป็นลำได้ ปรากฏการณ์แบบนี้สามารถทำได้ในมายา

เพียงแต่เนื่องจากว่าการใช้โค้ดเพื่อสร้างหมอกแสงขึ้นนั้นค่อนข้างยุ่งยาก และจะเห็นหมอกแสงได้ก็ต่อเมื่อเรนเดอร์เท่านั้น ดังนั้นในตอนนี้จะยังไม่พูดถึง



มาดูไฟชนิดต่อไป คือพอยนต์ไลต์

พอยนต์ไลต์จะคล้ายกับสป็อตไลต์ตรงที่เป็นแสงที่พุ่งออกจากจุดกำเนิดหนึ่งไป รอบๆ แต่ต่างกันตรงที่แสงจะพุ่งออกไปทุกทิศทางไม่ใช่แค่มุมใดมุมหนึ่ง

ดังนั้นพอยนต์ไลต์จึงไม่มีค่า coneAngle, penumbraAngle และ dropoff แบบที่สป็อตไลต์มี และการปรับมุมที่หมุนก็จะไม่มีผล แต่มีค่า decayRate และตำแหน่งที่ตั้งของไฟก็มีผลเช่นเดียวกัน

ลองลบสป็อตไลต์เดิมแล้วใส่พอยนต์ไลต์ที่มีความสว่างเท่าเดิมลงไปแทนดู
for i in range(3):
    mc.pointLight(rgb=[i==0,i==1,i==2],i=10000,d=2,n='duangfai%d'%(i+1))
    mc.move(0,125,50)
    mc.rotate(-30,i*120,0,p=[0,125,0])

ก็จะได้แสงคล้ายเดิม เพียงแต่ว่าแสงส่องไปทั่ว ไม่มีขอบเขต





สุดท้าย แสงแอมเบียนต์ไลต์ เป็นแสงที่ง่ายที่สุด คือแค่วางลงในฉากก็ทำให้วัตถุทั้งหมดสว่างขึ้นมา ไม่สำคัญว่าอยู่ตรงไหนหรือหันไปทางไหน ไม่มีขอบเขตจำกัด สิ่งที่ปรับได้มีเพียงแค่ความสว่างและสีเท่านั้น สามารถใช้เป็นแสงเสริมเพื่อให้ทั้งฉากดูสว่างขึ้น

ลองสร้างแสงแอมเบียนต์ขึ้นเติมจากตัวอย่างที่แล้วโดยให้แสงปรับเพิ่มขึ้นตามเวลา
mc.ambientLight(n='saengsoem')
mc.expression(s='saengsoemShape.in = time/2')





จะเห็นว่าแสงมีอยู่หลากหลายแบบและสามารถปรับแต่งได้มากมาย หากเลือกใช้และปรับแต่งดีๆก็จะทำให้ได้ภาพที่สวยงามตามที่ต้องการ



อ้างอิง

<< บทที่แล้ว      บทถัดไป >>
หน้าสารบัญ


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> mayapython
-- คอมพิวเตอร์ >> 3D >> maya

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文