φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



pyqt เบื้องต้น บทที่ ๓: การปรับแต่งหน้าต่าง
เขียนเมื่อ 2021/08/05 11:38
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42

ต่อจาก บทที่ ๒

ในบทที่แล้วได้พูดถึงเรื่องการจัดวาง widget ต่างๆรวมถึง widget หลักที่ใช้เป็นหน้าต่างไปแล้ว สำหรับในบทนี้จะพูดถึงการปรับแต่งหน้าต่างเพิ่มเติมขึ้นไปอีก เช่นการตั้งชื่อ, การใส่รูปไอคอน, การทำให้โปร่งใส, การตั้งแฟล็กหรือสถานะ, ฯลฯ

เมธอดต่างๆที่จะแนะนำในบทนี้มีคำว่า .setWindow นำหน้า ซึ่งหมายความว่าเป็นเมธอดที่ใช้กับ widget ที่เป็นหน้าต่างเป็นหลัก เพียงแต่เมธอดเหล่านี้มีอยู่ใน widget ทั้งหมด ไม่ว่าจะถูกใช้เป็นหน้าต่างหรือไม่ก็ตาม เพียงแต่ถ้าใช้กับ widget ที่ไม่ใช่หน้าต่าง ถึงใช้ไปก็ไม่มีผลใดๆ




การตั้งชื่อหน้าต่าง {.setWindowTitle}

โดยปกติหน้าต่าง GUI โปรแกรมอะไรต่างๆนั้นควรจะมีเขียนชื่ออยู่ด้านบนส่วนหัว แต่จากบทที่แล้วจะเห็นว่าส่วนหัวของหน้าต่างว่างเปล่า นั่นเพราะไม่ได้ทำการกำหนดชื่อให้หน้าต่างนั่นเอง

การกำหนดชื่อให้หน้าต่างทำได้โดยใช้เมธอด .setWindowTitle เช่น
import sys
from PyQt5.QtWidgets import QApplication,QWidget

qAp = QApplication(sys.argv)
natang = QWidget()
natang.setWindowTitle('ก็แค่หน้าต่างเล็กๆใบหนึ่ง')
natang.setGeometry(110,110,260,120)
natang.show()
qAp.exec_()

ก็จะได้หน้าต่างแบบนี้ ซึ่งมีชื่อตามที่เราตั้งไว้






การตั้งรูปไอคอนหน้าต่าง {.setWindowIcon}

นอกจากตั้งชื่อให้หน้าต่างแล้วก็ยังสามารถตั้งรูปไอคอนของหน้าต่างได้ด้วย โดยใช้เมธอด .setWindowIcon

เริ่มจากให้เตรียมรูปที่จะใช้เป็นไอคอนของหน้าต่างเอาไว้ ในที่นี้ขอใช้ภาพนี้เป็นตัวอย่าง เช่นเดียวกับในบทที่แล้ว

qbicon.png


ตัวอย่าง
import sys
from PyQt5.QtWidgets import QApplication,QWidget
from PyQt5.QtGui import QIcon

qAp = QApplication(sys.argv)
natang = QWidget()
natang.setWindowTitle('หน้าต่างนี้มีภาพ')
natang.resize(210,155)
qAp.setWindowIcon(QIcon('qbicon.png')) # ตั้งรูปไอคอน
natang.show()
qAp.exec_()

ก็จะได้ภาพไอคอนนี้มาอยู่ที่หัวหน้าต่าง นอกจากนี้แล้วสำหรับใน mac ภาพไอคอนนี้จะปรากฏในแถบที่ด้านล่างด้วย






การทำให้หน้าต่างโปร่งใส {.setWindowOpacity}

หน้าต่างสามารถปรับให้โปร่งใสมองทะลุเห็นด้านหลังได้โดยใช้เมธอด .setWindowOpacity โดยใส่ค่าความทึบแสง (ค่าตั้งแต่ 0 ถึง 1)

ตัวอย่าง
import sys
from PyQt5.QtWidgets import QApplication,QWidget

qAp = QApplication(sys.argv)
natang = QWidget()
natang.setWindowTitle('หน้าต่างนี้ช่างเลือนราง')
natang.resize(220,145)
natang.setWindowOpacity(0.6)
natang.show()
qAp.exec_()

ก็จะได้หน้าต่างที่มองทะลุเห็นด้านหลังได้






การตั้งแฟล็กปรับชนิดหน้าต่าง {.setWindowFlag}

เมธอด .setWindowFlag นั้นเอาไว้ตั้งแฟล็กซึ่งกำหนดชนิดรูปแบบลักษณะการทำงานต่างๆของหน้าต่าง

รูปแบบและลักษณะการทำงานของหน้าต่างที่กำหนดขึ้นโดยแฟล็กนั้นมีหลายอย่าง ขอยกตัวอย่างเช่นการปรับให้หน้าต่างนี้เป็นหน้าต่างแบบ dialog
import sys
from PyQt5.QtWidgets import QApplication,QWidget
from PyQt5.QtCore import Qt

qAp = QApplication(sys.argv)
natang = QWidget()
natang.resize(280,130)
natang.setWindowTitle('หน้าต่างนี้ซ่อนไม่ได้')
natang.setWindowFlag(Qt.Dialog) # ตั้งแฟล็ก
natang.show()
qAp.exec_()

ในตัวอย่างนี้ใช้เมธอด .setWindowFlag โดยใส่แฟล็ก Qt.Dialog ซึ่งเรียกใช้จาก PyQt5.QtCore แฟล็กนี้มีความหมายว่าทำให้เป็นหน้าต่างแบบ dialog

ซึ่งจะได้หน้าต่างลักษณะนี้ออกมา ข้อแตกต่างจากหน้าต่างแบบเดิมก็คือ หน้าต่างนี้จะไม่มีปุ่มสีเหลืองซึ่งใช้สำหรับย่อซ่อนหน้าต่าง



นอกจากนี้ก็ยังมีแฟล็กสำหรับตั้งเป็นชนิดหน้าต่างอื่นๆอีกเช่น Qt.Popup, Qt.Tool, Qt.ToolTip, Qt.QSplashScreen, ฯลฯ อาจลองเปลี่ยนแฟล็กดูเพื่อปรับเป็นแบบต่างๆได้




การตั้งให้หน้าต่างอยู่บนสุดเสมอ {Qt.WindowStaysOnTopHint}

เรื่องสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่สามารถทำได้โดยการปรับแฟล็กก็คือ การกำหนดให้หน้าต่างลอยอยู่บนสุดเสมอ ไม่โดนหน้าต่างอื่นบัง ซึ่งทำได้โดยตั้งแฟล็ก Qt.WindowStaysOnTopHint
import sys
from PyQt5.QtWidgets import QApplication,QWidget
from PyQt5.QtCore import Qt

qAp = QApplication(sys.argv)
natang = QWidget()
natang.setWindowTitle('หน้าต่างนี้อยู่บนสุดเสมอ')
natang.resize(220,115)
natang.setWindowFlag(Qt.WindowStaysOnTopHint) # ตั้งแฟล็ก
natang.show()
qAp.exec_()

เมื่อรันแล้วจะเห็นหน้าต่างนี้เด้งขึ้นมาอยู่บนสุดทันที แม้ว่าเราจะยังไม่ได้ไปกดคลิกมัน ถึงไปกดคลิกหน้าต่างอื่นก็จะยังเห็นหน้าต่างนี้ลอยอยู่






การดูว่าแฟล็กได้ถูกตั้งไว้ที่หน้าต่างนั้นหรือไม่ {.windowFlags}

เมธอด .windowFlags นี้เอาไว้ดูแฟล็กที่ติดอยู่กับหน้าต่างในขณะนั้นได้

เมื่อเรียกใช้เมธอด .windowFlags ก็จะได้ตัวออบเจ็กต์ที่เก็บแฟล็กของหน้าต่างนั้นๆ สามารถเอามาใช้ดูว่าแฟล็กตัวนั้นๆถูกตั้งอยู่หรือเปล่าได้โดย
bool(หน้าต่าง.windowFlags() & แฟล็ก)

เช่นปกติเมื่อสร้าง QWidget ขึ้นมา แฟล็ก Qt.WindowStaysOnTopHint จะไม่ได้ถูกตั้งเอาไว้ ถ้าตรวจดูจะได้ False แต่เมื่อตั้งแฟล็กให้แล้วก็จะตรวจได้ True
natang = QWidget()
print(natang.windowFlags()) # ได้ <PyQt5.QtCore.Qt.WindowFlags object at 0x7fa063a5b6d0>
print(bool(natang.windowFlags() & Qt.WindowStaysOnTopHint)) # ได้ False
natang.setWindowFlag(Qt.WindowStaysOnTopHint) # ตั้งแฟล็ก
print(bool(natang.windowFlags() & Qt.WindowStaysOnTopHint)) # ได้ True




การตั้งแฟล็กพร้อมกันทีเดียวหลายตัว {.setWindowFlags}

นอกจากเมธอด setWindowFlag แล้ว หากต้องการตั้งแฟล็กพร้อมกันทีละหลายตัวในทีเดียวก็ทำได้โดยใช้ setWindowFlags โดยใส่แฟล็กต่างๆลงไปโดยคั่นด้วย | โดยให้ใส่ natang.windowFlags() ลงไปด้วยเพื่อให้แฟล็กเดิมทีเคยตั้งอยู่นั้นไม่หายไปไหน

เช่นหากต้องการตั้งแฟล็ก Qt.Dialog พร้อมกับ Qt.WindowStaysOnTopHint ก็อาจเขียนได้แบบนี้
import sys
from PyQt5.QtWidgets import QApplication,QWidget
from PyQt5.QtCore import Qt

qAp = QApplication(sys.argv)
natang = QWidget()
natang.setWindowFlags(natang.windowFlags() | Qt.Dialog | Qt.WindowStaysOnTopHint)
natang.show()
qAp.exec_()

นอกจากนี้แล้วยังสามารถเอาแฟล็กที่มีอยู่ออกได้โดยใช้ & ~ เช่น ถ้าจะเอา Qt.WindowStaysOnTopHint ออกก็อาจเขียนแบบนี้
natang.setWindowFlags(natang.windowFlags() & ~Qt.WindowStaysOnTopHint)

หรือหากต้องการเปลี่ยนสถานะแฟล็กที่ตั้งไว้ให้จากมีเป็นไม่มี จากไม่มีเป็นมี ก็ทำได้โดยใช้ ^
natang.setWindowFlags(natang.windowFlags() ^ Qt.WindowStaysOnTopHint)

ตัวอย่าง
natang = QWidget()
print(bool(natang.windowFlags() & Qt.WindowStaysOnTopHint)) # ได้ False
natang.setWindowFlags(natang.windowFlags() ^ Qt.WindowStaysOnTopHint)
print(bool(natang.windowFlags() & Qt.WindowStaysOnTopHint)) # ได้ True
natang.setWindowFlags(natang.windowFlags() & ~Qt.WindowStaysOnTopHint)
print(bool(natang.windowFlags() & Qt.WindowStaysOnTopHint)) # ได้ False
natang.setWindowFlags(natang.windowFlags() | Qt.WindowStaysOnTopHint)
print(bool(natang.windowFlags() & Qt.WindowStaysOnTopHint)) # ได้ True
natang.setWindowFlags(natang.windowFlags() ^ Qt.WindowStaysOnTopHint)
print(bool(natang.windowFlags() & Qt.WindowStaysOnTopHint)) # ได้ False




การตั้งสถานะหน้าต่าง {.setWindowState .windowState}

เมธอด .setWindowState ใช้สำหรับตั้งสถานะหน้าต่าง เช่น Qt.WindowMinimized คือถูกย่อซ่อน Qt.WindowMaximized ถูกขยายจนสุด Qt.WindowFullScreen คือตั้งเป็นเต็มจออยู่

ส่วนการตรวจดูสถานะทำได้โดยใช้ .windowState ซึ่งก็มีวิธีใช้เช่นเดียวกับ .windowFlags

ตัวอย่างเช่น ลองตั้งให้หน้าต่างย่อซ่อน
import sys
from PyQt5.QtWidgets import QApplication,QWidget
from PyQt5.QtCore import Qt

qAp = QApplication(sys.argv)
natang = QWidget()
print(bool(natang.windowState() & Qt.WindowMinimized)) # ได้ False
natang.setWindowState(Qt.WindowMinimized) # ตั้งให้หน้าต่างย่อซ่อน
print(bool(natang.windowState() & Qt.WindowMinimized)) # ได้ True
natang.show()
qAp.exec_()

พอรันออกมาหน้าต่างก็จะเห็นว่าหน้าต่างกำลังถูกย่อซ่อนอยู่




สรุปท้ายบท

ในบทนี้ได้พูดถึงการปรับแต่งหน้าต่างเพิ่มเติมจากบทที่แล้ว ซึ่งก็สามารถเลือกปรับให้เป็นไปตามที่ต้องการเพื่อให้เหมาะกับการใช้งานได้

ในบทถัดไปจะเริ่มเข้าสู่เรื่องของการตั้งฟังก์ชันให้หน้าต่างและปุ่มต่างๆนั้นสามารถใช้งานจริง



อ่านบทถัดไป >> บทที่ ๔





-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> pyqt

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文