φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



pyqt เบื้องต้น บทที่ ๑๐: การสร้างและใช้งานช่องติ๊ก
เขียนเมื่อ 2021/08/12 09:33
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42

ต่อจาก บทที่ ๙

ในบทที่แล้วได้พูดถึงกล่องป้อนข้อความไปแล้ว สำหรับบทนี้จะพูดถึง widget อีกตัวที่มักใช้งานบ่อยใน GUI นั่นคือ QCheckBox ซึ่งเป็นช่องติ๊กที่เอาไว้ติ๊กเลือกว่าจะเอาหรือไม่เอา




การสร้างช่องติ๊ก {QCheckBox}

การสร้าง QCheckBox นั้นคล้ายกับ QLabel คือจะมีข้อความตัวหนังสืออยู่ด้วย แค่จะมีช่องสี่เหลี่ยมให้ติ๊กโผล่ขึ้นมาทางซ้ายให้ติ๊กได้

ลองสร้างช่องติ๊กเปล่าๆขึ้นมาดูเป็นตัวอย่าง
import sys
from PyQt5.QtWidgets import QApplication,QWidget,QCheckBox

qAp = QApplication(sys.argv)
natang = QWidget()
chongtick = QCheckBox('เอา',natang) # สร้างช่องติ๊ก
chongtick.move(20,20)
natang.show()
qAp.exec_()

ก็จะได้ช่องแบบนี้ที่กดติ๊กได้






การตั้งสถานะติ๊ก {.setChecked}

ปกติช่องที่เริ่มสร้างขึ้นมาจะเป็นสี่เหลี่ยมเปล่าที่ไม่ได้ติ๊ก ถ้าจะตั้งสถานะติ๊กสามารถทำได้โดยเมธอด .setChecked โดยถ้าใส่ True จะทำให้อยู่ในสถานะถูกติ๊ก ถ้า False ก็จะไม่ถูกติ๊ก

ตัวอย่าง
import sys
from PyQt5.QtWidgets import QApplication,QWidget,QCheckBox

qAp = QApplication(sys.argv)
natang = QWidget()

chongtick1 = QCheckBox('ooo',natang)
chongtick1.setChecked(True) # ตั้งให้ติ๊ก
chongtick1.move(10,10)

chongtick2 = QCheckBox('oxo',natang)
chongtick2.setChecked(False) # ตั้งให้ไม่ติ๊ก
chongtick2.move(10,40)

natang.show()
qAp.exec_()

จะได้กล่องบนถูกติ๊กอยู่ และกล่องล่างไม่ถูกติ๊กอยู่



ลองดูอีกตัวอย่าง เช่นสร้างปุ่มที่กดแล้วทำให้เกิดการเลือกติ๊กทั้งหมดได้
import sys
from PyQt5.QtWidgets import QApplication,QWidget,QCheckBox,QPushButton

qAp = QApplication(sys.argv)
natang = QWidget()

chongtick1 = QCheckBox('soba',natang)
chongtick1.move(10,10)

chongtick2 = QCheckBox('ramen',natang)
chongtick2.move(70,10)

chongtick3 = QCheckBox('udon',natang)
chongtick3.move(130,10)

def tickmot():
    chongtick1.setChecked(True)
    chongtick2.setChecked(True)
    chongtick3.setChecked(True)

pumkot = QPushButton('zenbu',natang)
pumkot.move(10,40)
pumkot.clicked.connect(tickmot)

natang.show()
qAp.exec_()

พอกดปุ่มด้านล่าง ช่องติ๊กทั้ง ๓​ ด้านบนก็จะถูกติ๊กทั้งหมด






การเปลี่ยนสลับสถานะติ๊ก {.toggle}

ในขณะที่ถ้าใช้เมธอด .setChecked จะเป็นการกำหนดชัดว่าให้เปลี่ยนสถานะเป็นติ๊กหรือไม่ติ๊ก แต่หากต้องการให้สลับจากติ๊กเป็นไม่ติ๊ก สลับจากไม่ติ๊กเป็นติ๊ก เหมือนเวลาที่เราไปกดช่องติ๊กโดยทั่วไป แบบนี้ให้ใช้เมธอด .toggle

ตัวอย่างเช่น
import sys
from PyQt5.QtWidgets import QApplication,QWidget,QCheckBox,QPushButton

qAp = QApplication(sys.argv)
natang = QWidget()

chongtick1 = QCheckBox('ก',natang)
chongtick1.move(10,10)

chongtick2 = QCheckBox('ข',natang)
chongtick2.setChecked(True)
chongtick2.move(70,10)

chongtick3 = QCheckBox('ค',natang)
chongtick3.move(130,10)

def tickmot():
    chongtick1.toggle()
    chongtick2.toggle()
    chongtick3.toggle()

pumkot = QPushButton('@@@',natang)
pumkot.move(50,40)
pumkot.clicked.connect(tickmot)

natang.show()
qAp.exec_()

จะได้หน้าต่างที่มีช่องติ๊ก ๓​ ช่องแบบนี้ ลองกดปุ่มด้านล่างก็จะเป็นการเปลี่ยนสถานะของทั้ง ๓ ปุ่มไปพร้อมกัน





การทำคำสั่งเมื่อถูกติ๊ก {.toggled}

หากมีฟังก์ชันที่ต้องการให้ทำงานเมื่อช่องติ๊กถูกติ๊กก็ให้ใช้เมธอด .toggled

อนึ่ง .toggled กับ .toggle เขียนคล้ายกัน แค่เพิ่มตัว d เข้ามา ระวังสับสน

ตัวอย่าง ลองให้ขึ้น !!! เมื่อมีการติ๊ก
import sys
from PyQt5.QtWidgets import QApplication,QWidget,QCheckBox

qAp = QApplication(sys.argv)
natang = QWidget()

chongtick = QCheckBox('!!!!',natang)
chongtick.move(10,10)
chongtick.toggled.connect(lambda: print('!!!'))

natang.show()
qAp.exec_()





การดูว่าช่องนั้นถูกติ๊กอยู่หรือไม่ {.isChecked}

สามารถใช้เมธอด isChecked เมื่อต้องการจะตรวจดูสถานะว่าช่องติ๊กนั้นถูกติ๊กอยู่หรือไม่

ตัวอย่าง
import sys
from PyQt5.QtWidgets import QApplication,QWidget,QCheckBox

qAp = QApplication(sys.argv)
natang = QWidget()

def tickyumai():
    if(chongtick.isChecked()):
        print('ติ๊กอยู่')
    else:
        print('ไม่ติ๊กแล้ว')

chongtick = QCheckBox('ติ๊กต๊อก',natang)
chonttick.setStyleSheet('background-color: #9fe; font-family: Tahoma')
chongtick.move(10,10)
chongtick.toggled.connect(tickyumai)

natang.show()
qAp.exec_()






การตั้งให้แก้ติ๊กไม่ได้ {.setCheckable}

หากต้องการให้ช่องนั้นติ๊กไม่ได้ก็อาจใช้เมธอด .setCheckable ตั้งเป็น False

เช่นลองสร้างช่องติ๊กขึ้นมา ๒ ช่อง ให้ช่องซ้ายแก้ติ๊กได้เมื่อช่องขวาติ๊กอยู่เท่านั้น
import sys
from PyQt5.QtWidgets import QApplication,QWidget,QCheckBox

qAp = QApplication(sys.argv)
natang = QWidget()

chongtick1 = QCheckBox('T_T',natang)
chongtick1.move(10,10)
chongtick1.setCheckable(False)

def tickla():
    chongtick1.setCheckable(chongtick2.isChecked())

chongtick2 = QCheckBox('^_^',natang)
chongtick2.move(80,10)
chongtick2.toggled.connect(tickla)

natang.show()
qAp.exec_()

ก็จะได้ช่องแบบนี้ ลองติ๊กช่องซ้ายโดยยังไม่ได้ติ๊กช่องขวา จะพบว่าไม่เกิดอะไรขึ้น



นอกจากนี้ยังอาจใช้เมธอด .setEnabled แทนก็ได้เพื่อให้ทำงานไม่ได้ แต่เมธอดนี้จะทำให้กล่องข้อความเปลี่ยนสีไปให้เห็นแยกได้ชัดว่าอยู่ในสถานะที่ใช้งานไม่ได้ ดังนั้นถ้าต้องการให้เห็นสถานะของกล่องชัดเจนก็ใช้ .setEnabled แทน .setCheckable น่าจะดีกว่า




สรุปท้ายบท

ในบทนี้ได้เขียนถึงการสร้างและใช้งานช่องติ๊กไปแล้ว ในบทต่อไปจะถูกถึง widget อีกตัวที่คล้ายๆกัน นั่นคือ QRadioButton



อ่านบทถัดไป >> บทที่ ๑๑





-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> pyqt

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文