φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ภาษา python เบื้องต้น บทที่ ๑๒: การจัดการกับลิสต์
เขียนเมื่อ 2016/03/05 17:24
แก้ไขล่าสุด 2024/02/22 11:02
 

ในบทที่ ๘ ได้แนะนำเกี่ยวกับข้อมูลประเภทลำดับของข้อมูลไปแล้ว ซึ่งได้แก่ลิสต์ (list), ทูเพิล (tuple), เรนจ์ (range)

ในบทนี้จะมาขยายความถึงลิสต์ ซึ่งเป็นข้อมูลชนิดลำดับที่ใช้มากที่สุดเนื่องจากสามารถเพิ่มและแก้ไขข้อมูลได้ตลอด ต่างกับทูเพิลซึ่งแก้อะไรไม่ได้

สิ่งที่จะแนะนำในบทนี้เป็นคำสั่งที่ใช้กับลิสต์เป็นหลัก แต่บางอย่างก็สามารถนำมาใช้กับทูเพิลได้ด้วยเช่นกัน



การกลับลำดับลิสต์

สามารถกลับลำดับของสมาชิกในลิสต์จากหัวมาท้ายได้โดยใช้ for สร้างลิสต์ใหม่ที่ดึงข้อมูลลิสต์เดิมที่ไล่ตำแหน่งจากท้ายมาหัว เช่น
a = ['ก','ข','ค','ง','จ']
b = [a[4-i] for i in range(len(a))]
print(b) # ['จ', 'ง', 'ค', 'ข', 'ก']

อย่างไรก็ตาม มีวิธีที่สามารถสลับลำดับของสมาชิกได้ในทันที นั่นคือใช้เมธอด .reverse
a = ['ก','ข','ค','ง','จ']
a.reverse()
print(a) # ได้['จ', 'ง', 'ค', 'ข', 'ก']

วิธีนี้ยังมีข้อดีตรงที่เป็นการเปลี่ยนสลับลำดับของสมาชิกในลิสต์เดิมไปเลยทันที ไม่ต้องสร้างลิสต์ขึ้นมาใหม่ ข้อเสียคือลิสต์แบบเดิมหายไป

นอกจากนี้ยังอาจใช้ฟังก์ชัน .reversed อย่างไรก็ตามฟังก์ชันนี้ไม่ได้ให้ผลเป็นลิสต์
a = ['ก','ข','ค','ง','จ']
print(reversed(a)) # ได้ 

จะเห็นว่าผลที่ได้ไม่ใช่ลิสต์ที่ถูกสลับตำแหน่งข้อมูล แต่เป็นออบเจ็กต์อีกชนิดหนึ่งชื่อชนิด list_reverseiterator ซึ่งเป็นอิเทอเรเตอร์ (iterator) ชนิดหนึ่ง เวลาสั่งให้แสดงผลจะไม่สามารถเห็นผลได้ทันที

อย่างไรก็ตามสามารถนำมาใช้ใน for ได้เหมือนกับลิสต์ ละจะเห็นว่าตำแหน่งถูกสลับจากหลังมาหน้าจริงๆ
for i in reversed(['ก','ข','ค','ง','จ']):
    print(i,end=' ')
# ได้ จ ง ค ข ก

หรืออาจเปลี่ยนให้เป็นลิสต์ธรรมดาได้โดย
list(reversed(('ก','ข','ค','ง','จ'))) #ได้ ['จ', 'ง', 'ค', 'ข', 'ก']

วิธีนี้ใช้กับทูเพิลได้เช่นกัน
tuple(reversed(('ก','ข','ค','ง','จ'))) # ได้ ('จ', 'ง', 'ค', 'ข', 'ก')



การหาค่าสูงสุดและต่ำสุดของลิสต์

หลักการหาค่าสูงสุดหรือต่ำสุดของสมาชิกที่อยู่ภายในลิสต์นั้น ให้นึกถึงนายพรานที่ไปล่าหมูป่าเพื่อทำเป็นอาหาร

นายพรานสามารถขนหมูป่ากลับได้แค่ตัวเดียว สมมุติว่าเข้าไปถึงเขาเจอหมูป่าตัวหนึ่งก็ฆ่าแล้วขนมา แต่ต่อมาก็เจอตัวใหม่ซึ่งใหญ่กว่า จึงตัดสินใจทิ้งตัวเก่าไป

พอเดินไปต่อก็ฆ่าหมูป่าได้อีกตัว แต่ตัวนี้ตัวเล็กกว่าเขาจึงเดินผ่านไปโดยเก็บตัวเดิมไว้ หลังจากนั้นก็เดินเจอหมูป่าอีกหลายตัวแล้วก็ทำเหมือนเดิมคือถ้าเจอตัวใหญ่ กว่าก็ฆ่าแล้วเปลี่ยนไปถือตัวนั้น

จนสุดท้ายนายพรานก็จะได้หมูป่าตัวใหญ่ที่สุดกลับบ้าน

การหาค่าสูงสุดของลิสต์ก็ใช้หลักการเดียวกันนี้

ลองสร้างลิสต์ของน้ำหนักหมูป่าทั้งหมดในป่าแล้วใช้ for เพื่อไล่หาค่าน้ำหนักของตัวที่มากที่สุดดู
mupa = [50.9,89.3,62.7,101.2,70.4,129.3,94.9] #น้ำหนักหมูป่า 7 ตัว
mmax = mupa[0] # ตั้งค่าสูงสุดเริ่มต้น
i = 0 # ลำดับของค่าสูงสุดเริ่มต้น
for m in mupa: # ทำการวนซ้ำตามจำนวนในลิสต์
    if(m>mmax): # ถ้ามากกว่าค่าสูงสุดเดิม
        mmax = m # ให้เปลี่ยนเป็นค่านั้น
        imax = i # และเปลี่ยนลำดับด้วย
    i += 1
print('ตัวที่ %d หนักสุด หนัก %.1f กก.'%(imax,mmax)) 

ผลลัพธ์
ตัวที่ 5 หนักสุด หนัก 129.3 กก.

อย่างไรก็ตาม มีฟังก์ชันที่ใช้หาค่าสูงสุดได้ทันที นั่นคือ max
print(max(mupa)) # ได้ 129.3

และในทางกลับกันก็สามารถหาค่าต่ำสุดได้ด้วย โดยใช้ฟังก์ชัน min
print(min(mupa)) # ได้ 50.9

แต่ฟังก์ชันนี้ไม่สามารถบอกลำดับของข้อมูลที่ให้ค่าสูงสุดหรือต่ำสุดได้ ต้องใช้คู่กับฟังก์ชัน index เพื่อหาว่าตัวที่ตำแหน่งไหนมีค่าเป็นค่าสูงสุด
print(mupa.index(max(mupa))) # ได้ 5
หรือเขียนแบบนี้ก็ได้
print(max(mupa, key=mupa.index)) # ได้ 5
การใช้เมธอด index นี้เหมือนกับ index ที่ใช้กับสายอักขระซึ่งอธิบายไปในบทที่แล้ว แต่ลิสต์จะไม่มี rindex และไม่มี find กับ rfind ด้วย



ผลรวมและค่าเฉลี่ยของตัวเลขในลิสต์

หากมีลิสต์ที่ประกอบไปด้วยจำนวนตัวเลข สามารถหาค่ารวมของสมาชิกในลิสต์ทั้งหมดได้โดยใช้ for ไล่สมาชิกทีละตัวแล้วให้บวกไปเรื่อยๆ
x = [124.3,45.4,34.5,199.8,444.3,322.2,401.1]
ruam = 0
for s in x:
    ruam +=s
print(ruam) # ได้ 1571.6 

ส่วนค่าเฉลี่ยก็แค่นำความยาวของลิสต์มาหารอีกที
chalia = ruam/len(x)
print('ค่าเฉลี่ยเท่ากับ %.2f'%chalia) # ได้ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 224.51

ในภาษาไพธอนมีฟังก์ชันที่ใช้สำหรับหาค่าผลรวมของลิสต์โดยเฉพาะ คือ sum สามารถใช้เพื่อหาผลรวมและค่าเฉลี่ยได้ดังนี้
print(sum(x)) # ได้ 1571.6
print(sum(x)/len(x)) # ได้ 224.5142857142857



นับจำนวนสิ่งที่ต้องการในลิสต์

หากต้องการหาว่าในลิสต์นั้นมีสมาชิกที่เราต้องการค้นอยู่กี่ตัวอาจทำได้โดยลองกำหนดตัวแปรขึ้นมาตัวหนึ่งใช้เก็บค่าจำนวนที่นับโดยเริ่มจาก 0 จากนั้นใช้ for วนเพื่อตรวจว่าสมาชิกแต่ละตัวตรงกับค่าที่ต้องการหรือไม่ ถ้าตรงก็บวกเพิ่มไปเรื่อยๆ

ตัวอย่าง หาว่ามี 2 กี่ตัวในลิสต์ w
w = [1,2,1,2,2,2,1,2,2,1,1,1,1,2,1,1,2,2]
nap = 0
for b in w:
    if(b==2): nap += 1
print(nap) # ได้ 9

นอกจากนี้ยังอาจทำได้ง่ายๆโดยใช้เมธอด .count เช่นเดียวกับที่ใช้ในสายอักขระ
print(w.count(2)) # ได้ 9



การจัดเรียงลิสต์

วิธีการจัดเรียงสมาชิกในลิสต์ตามลำดับค่ามากน้อยนั้นมีอยู่หลายวิธี แต่วิธีที่เข้าใจง่ายที่สุดและนิยมสอนกันในเบื้องต้นก็คือการเรียงลำดับแบบฟอง (bubble sort) คือตรวจดูค่าแล้วสลับลำดับทีละคู่ไปเรื่อยๆ โดยไล่จากตัวแรกกับตัวที่สอง ไปตัวที่สองกับตัวที่สาม แล้วไล่ไปเรื่อยๆจนถึงตัวรองสุดท้ายกับตัวสุดท้าย จากนั้นก็วนสลับอย่างนี้ไปอีกเรื่อยๆจนเรียงกันหมด
x = [35,24,30,17,15,6,8,2]
for i in range(len(x)-1): # ทำซ้ำไป len(x)-1 ครั้ง
    for j in range(len(x)-i-1): # ทำซ้ำโดยไล่ตั้งแต่ j เป็น 0 ไปจนถึง j เป็น len(x)-i-2
        if(x[j]>x[j+1]): # ถ้าตัวซ้ายมากกว่าตัวขวาให้สลับ
            x[j],x[j+1] = x[j+1],x[j]
    print(x)

ผลลัพธ์
[24, 30, 17, 15, 6, 8, 2, 35]
[24, 17, 15, 6, 8, 2, 30, 35]
[17, 15, 6, 8, 2, 24, 30, 35]
[15, 6, 8, 2, 17, 24, 30, 35]
[6, 8, 2, 15, 17, 24, 30, 35]
[6, 2, 8, 15, 17, 24, 30, 35]
[2, 6, 8, 15, 17, 24, 30, 35]

อย่างไรก็ตามตามในทางปฏิบัติแล้วมีวิธีอื่นที่เร็วกว่า ตัวอย่างนี้แค่ยกมาเพื่อฝึกกระบวนการคิดเท่านั้น ที่จริงแล้วในไพธอนมีคำสั่งเฉพาะที่ใช้ในการทำให้สมาชิกของลิสต์เรียงกันทันทีโดยง่าย นั่นคือเมธอด .sort
x = [35,24,30,17,15,6,8,2]
x.sort()
print(x) # ได้ [2, 6, 8, 15, 17, 24, 30, 35] 

ซึ่งจะพบว่านอกจากจะเขียนง่ายกว่าแล้วยังทำงานเร็วกว่ามากอย่างเทียบไม่ติด ดังนั้นในทางปฏิบัติแล้วจึงควรใช้วิธีนี้มากกว่า

หากต้องการเรียงกลับด้านก็เพิ่มคีย์เวิร์ด reverse เข้าไปเป็น reverse=True (หรือใช้ 1 แทน True ก็ได้)
x = [35,24,30,17,15,6,8,2]
x.sort(reverse=True)
print(x) # ได้ [35, 30, 24, 17, 15, 8, 6, 2] 

นอกจากนี้ยังอาจใช้ฟังก์ชัน sorted ซึ่งจะคืนค่าลิสต์ที่เรียงแล้ว
x = [35,24,30,17,15,6,8,2]
print(sorted(x)) # ได้ [2, 6, 8, 15, 17, 24, 30, 35]

อนึ่ง ฟังก์ชัน sorted ไม่ได้เป็นการแก้ไขตัวลิสต์แต่เป็นการสร้างลิสต์ใหม่โดยใช้สมาชิกของลิสต์เก่ามาจัดเรียง

ดังนั้นทูเพิลก็สามารถใช้ฟังก์ชัน sorted ได้ แต่ผลที่ไดจะออกมาเป็นลิสต์ ต้องแปลงกลับเป็นทูเพิลอีกที
y = (489,378,112,388,98,14,333)
y = tuple(sorted(y))
print(y) # ได้ (14, 98, 112, 333, 378, 388, 489)



การสร้างคีย์ในการเรียงขึ้นเอง

ในการเรียงนั้นปกติหากเป็นตัวเลขก็จะเรียงตามค่าสูงต่ำ หากเป็นตัวอักษรก็จะเรียงตามลำดับในยูนิโค้ด

แต่ก็สามารถตั้งคีย์ขึ้นมาเองเพื่อใช้เป็นดัชนีในการค้นได้เช่นกัน โดยการเพิ่มคีย์เวิร์ด key ลงไปในฟังก์ชัน sorted

ดัชนีที่ใช้อาจเป็นสายอักขระหรือลิสต์ก็ได้

ตัวอย่าง ลองทำให้อักษรเรียงตามลำดับในแป้นพิมพ์เกษมณีโดยไล่จากแถวบนไปแถวล่าง ซ้ายไปขวา
kedma = 'ภถคตจขชฎพฑธรณนยญบฐลฃฅฟหฆกฏดฌษสศวซงผปฉอฮทมฒฬฝ'
a = ['ก','ข','ค','ฆ','ง','จ','ฉ','ช','ซ']
print(sorted(a,key=kedma.index))

ได้
['ค', 'จ', 'ข', 'ช', 'ก', 'ซ', 'ง', 'ฉ']



สรุปเนื้อหา

ในบทนี้ได้พูดถึงกระบวนการจัดการกับสมาชิกภายในลิสต์แบบต่างๆทั้งแบบใช้ฟังก์ชันหรือเมธอดช่วยและแบบที่ไม่ใช้

การใช้ฟังก์ชันหรือเมธอดช่วยนั้นจะง่ายกว่า แต่เพื่อให้เข้าใจหลักการคิดและกระบวนการที่ซ่อนอยู่ภายในจึงอธิบายวิธีที่เห็นภาพชัดก่อน

เรื่องของลิสต์นั้นยังมีรายละเอียดอีกมาก ที่แนะนำมาจนถึงตอนนี้เป็นแค่พื้นฐานส่วนหนึ่ง ที่เหลือต้องนำไปต่อยอดกันต่อไป



อ้างอิง




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文