φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



อนิเมะที่ดู 2010 ฤดูใบไม้ร่วง
เขียนเมื่อ 2010/10/18 08:19
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42

# แก้เพิ่มเติม 24 ต.ค. 2010

มาถึงช่วงนี้ได้ดูไปแล้วเรื่องละ ๓-๔ ตอน ก็พอจะบอกได้แล้วว่าเรื่องไหนน่าสนใจแค่ไหนและดึงดูดให้ดูต่อแค่ไหน ก่อนหน้านี้ที่เขียนเพิ่งดูไปแค่อย่างละ ๑ ตอน จึงยังไม่อาจตัดสินได้แน่ชัด

ก็จะเขียนพูดถึงสั้นๆ สำหรับเนื้อหาคร่าวๆที่ละเอียดขึ้นของแต่ละเรื่องที่พูดถึงจะใส่ไว้ข้างล่าง

 

อันดับเรื่องที่สนใจติดตามมากที่สุดในฤดูนี้ เรียงจากมากไปน้อย

1. 伝説の勇者の伝説 (densetsu no yuusha no densetsu, the legend of the legendary hero)
เป็นเรื่องที่คิดว่าน่าติดตามที่สุดในช่วงนี้ เนื่องจากเนื้อเรื่องดีมาก ไม่ได้เจอแบบนี้มานานแล้ว เป็นแฟนตาซีเวทมนตร์ที่สะท้อนถึงบรรยากาศในยามสงครามและความโศกเศร้าสูญเสียได้เป็นอย่างดี
2. えむえむっ! (MM! , ยายตัวแสบกับนายมาโซ)
ก็ติดใจมาตั้งแต่ในมังงะแล้ว แม้ว่าในนี้จะทำได้ไม่ดีเท่าในมังงะ แต่ก็ถือว่าทำได้ดีอยู่ คงจะหันมาดูในอนิเมะนี้ให้จบ ไม่ได้กลับไปอ่านมังงะแล้ว
3. FORTUNE ARTERIAL-フォーチュンアテリアル-赤い約束
ภาพสวยกว่าที่คิดไว้มากและผ่านมา ๓ ตอนก็ยังไม่ได้รู้สึกว่าเริ่มเผา (ผิดกับเรื่ององค์หญิงกะหล่ำ) เป็นเรื่องที่ภาพสวยที่สุดในฤดูนี้เลย แม้เนื้อเรื่องจะยังดูเรียบๆอยู่ แต่ก็ดูเข้มข้นขึ้นทีละน้อย
4. バクマン。 (bakuman, วัยซนคนการ์ตูน)
จากที่เคยจะลองอ่านมังงะก็ไม่มีโอกาสเสียที ก็มาติดตามเป็นอนิเมะแทน แม้ช่วงแรกๆนี้รู้สึกว่าเนื้อหาค่อยเป็นค่อยไปมาก ผ่านมา ๓ ตอนก็ยังไม่เดินไปมาก แต่แนวเรื่องยังไงก็ถือว่าน่าติดตาม
5. 神のみぞ知るセカイ (kami no mizo shiru sekai, the world god only know เซียนเกมรักขอเป็นเทพนักจีบ)
ตอนแรกก็หวังกับเรื่องนี้ไว้มาก แม้ว่าพอดูแล้วจะรู้สึกไม่ได้ติดใจมากอย่างที่คิด แต่ก็ถือว่าน่าติดตามต่อไป
6. とある魔術の禁書目録II (to aru majutsu no index 2)
เรื่องนี้ก็ดูแบบไม่ได้คิดอะไรมากอยู่แล้ว เพราะตั้งแต่ภาคแรกก็ไม่ได้ติดใจมากอะไร แต่ยังไงก็คงติดตามต่อไป ยังไงก็ถือว่าสนุก เพียงแต่ส่วนตัวแล้วสนใจน้อยกว่า ๕ เรื่องดังที่กล่าวมาข้างต้น

 

ก็มี ๖ เรื่องเท่านี้สำหรับเรื่องที่ดูไปแล้วตั้งใจที่จะดูต่อ ที่จริงเรื่องที่ดูไปมีมากกว่านี้ แต่ดูแล้วไม่รู้สึกสนใจที่จะดูต่อ จึงไม่ยกมาเขียนถึง เพราะคงจะไม่รู้ว่าจะเขียนอะไร ที่สนใจจริงๆคงมีแค่ ๖ เรื่องเท่านี้

 

ーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーー

 

ต่อไปจะขอพูดถึงเกี่ยวกับเรื่องที่ดูไปคร่าวๆ เนื้อหาสั้นๆเท่าที่ดูไป อาจจะเน้นเรื่องนักพากย์สักหน่อย และก็มีบวกความเห็นส่วนตัวไปด้วย

ปกติไม่เคยจะเขียนถึงเลย แต่เนื่องจากในฤดูนี้มีอนิเมะที่น่าดูเยอะเป็นประวัติกาล โชคดีว่าเป็นตอนปิดเทอมและช่วงนี้แทบจะแตะวิชวลโนเวลน้อยลงมากแล้ว (แต่ก็ใกล้จะเปิดเทอมแล้วทำไงดี)

 

えむえむっ! (MM! , ยายตัวแสบกับนายมาโซ)



อนิเมะที่ทำมาจากนิยายและมังงะ เคยอ่านมังงะมันมาสองเล่ม ถือว่าสนุกใช้ได้พอมาเป็นอนิเมะจึงตัดสินใจมาดู

เกี่ยวกับพระเอก ซาโดะ ทาโรว (砂戸 太郎) ซึ่งมีโรคประจำตัวคือเป็นสาย M (masochism) เมื่อโดนผู้หญิงด่าหรือทำทารุณกรรมใส่จะรู้สึกมีความสุขอย่างประหลาด เจ้าตัวต้องการรักษาตัวเองจากโรคชอบความรุนแรงนี้ให้หายจึงได้ตั้งใจจะไปรับคำปรึกษาที่ชมรมอาสาแต่สิ่งที่รอเขาอยู่นั้นก็คือรุ่นพี่อิสึรุงิ มิโอะ (石動 美緒) ซึ่งดูเหมือนจะให้การต้อนรับเขาอย่างดี แต่บางอย่างที่น่ากลัวกำลังรอเขาอยู่...

ตัวละครในเรื่องนี้แต่ละคนมีลักษณะเป็นโรคที่ไม่ปกติทั้งนั้นเลย มีทั้งเพื่อนสาวที่เป็นโรคกลัวผู้ชาย เพื่อนชายที่เป็นโรคชอบแต่งหญิง

น่าแปลกที่คนพากย์พระเอกคือคุณฟุกุยามะ จุน (福山 潤) ซึ่งโดดเด่นมีผลงานพากย์หลากหลายเช่น ลูลูช ใน code geass ฟังเสียงพากย์แล้วก็รู้สึกแปลกๆนิดๆแต่ก็ได้อารมณ์ดีจริงๆ
นักพากย์ที่เหลือก็มีคุณซาโตว รินะ (佐藤 利奈) ซึ่งช่วงนี้มีบทเด่นคือพากย์เป็น มิซากะ มิโกโตะ (บิริบิริ) ใน index หรือ railgun แต่ในเรื่องนี้กลับพากย์บทเป็น ฮายามะ ทัทสึกิจิ (葉山 辰吉) เพื่อนชายของพระเอกคนที่ชอบแต่งหญิง... ก็เข้าใจหรอกนะว่าต้องใช้ผู้หญิงพากย์เพื่อไม่ให้รู้สึกขัดตอนแต่งหญิง แต่ว่าแบบนี้มันก็รู้สึกแปลกๆเหมือนกัน

ดูผ่านไปสองตอนแล้วก็รู้สึกไม่ผิดหวังเลยแม้เนื้อเรื่องจะออกดูรวบรัดไปหน่อยก็ตาม เนื้อเรื่องทำได้ดี ภาพก็สวยด้วย ดังนั้นคาดว่าคงจะดูไปจนจบ

 

神のみぞ知るセカイ (kami no mizo shiru sekai, the world god only know เซียนเกมรักขอเป็นเทพนักจีบ)



เรื่องนี้มาจากมังงะ เคยได้ยินคนพูดถึงกันบ่อยมากเหมือนกัน

เรื่องเกี่ยวกับพระเอก คัทสึรางิ เคย์มะ (桂木 桂馬) ซึ่งเป็นคนที่บ้าเล่นเกมจีบสาวมาก เล่นมาแล้วเป็นพันเกม และยังสามารถเล่นได้ถึงหกเกมในเวลาเดียวกัน

วันหนึ่งเขาได้รับจดหมายเชิญลึกลับให้ช่วยเรื่องจีบสาวให้ ซึ่งเขาก็นึกว่าหมายถึงสาวในเกมจึงตกลงไป แต่ปรากฏว่าสาวที่เขาต้องจีบนั้นคือสาวจริง และเนื่องจากรับคำไปแล้วจึงต้องตกกระไดพลอยโจน จากวันนั้นเขาก็ต้องคอยจีบสาวตามคำขอไปเรื่อยๆ โดยเมื่อเขาจีบเสร็จความทรงจำในช่วงที่อยู่กับเขาก็จะถูกลบไปจากสาวเหล่านั้นด้วยเพื่อไม่ให้เกิดเรื่องยุ่งภายหลัง

คนที่เชิญเคย์มะให้ทำงานนี้ก็คือปีศาจสาวน้อยคนหนึ่ง วันหนึ่งเธอก็มาปรากฏและบอกว่าเป็นน้องสาวของเขา ชื่อ เอลชี (エルシィ) มาขออาศัยอยู่บ้านเดียวกับเขา และเรียกเขาว่า ท่านพี่เทพ (神にーさま)

เรื่องนี้ไม่มีนักพากย์ที่รู้จักเป็นพิเศษ แต่ว่าฟังเสียงนักพากย์ที่พากย์เอลชี คุณอิโตว คานาเอะ (伊藤 かな恵) แล้วรู้สึกติดใจเหมือนกัน ไม่แน่ว่าอาจติดตามผลงานต่อไป

สำหรับเรื่องนี้ได้ยินคำร่ำลือมามาก แต่พอดูจริงๆก็รู้สึกไม่ได้ดีมากอย่างที่คิดเหมือนกัน แต่ยังไงก็คงจะดูต่อไปจนจบ

 

とある魔術の禁書目録II (to aru majutsu no index 2)



ภาคต่อจาก とある魔術の禁書目録 ภาคแรกที่ฉายไปเมื่อนานมาแล้ว ขอข้ามที่จะอธิบายเนื้อเรื่อง
อันที่จริงภาคแรกเนี่ยเพิ่งจะดูจบไปเอง แบบว่าพอรู้ว่าภาค ๒ จะออก ก็เลยรีบเอาภาคแรกออกจากไหที่ดองไว้มาดู รวมทั้งเรื่อง とある科学の超電磁砲 (to aru majutsu no railgun) ซึ่งเป็นภาคเสริมด้วย

เรื่องนี้อย่างที่กล่าวถึงไปตอนแรกว่ามีนักพากย์เด่นอยู่คือคุณซาโตว รินะ (佐藤 利奈) ซึ่งพากย์เป็นมิซากะ มิโกโตะ เธอมีผลงานเด่นๆก่อนหน้านี้เช่น เนกิมะ ในเรื่องเนกิมะ

อีกคนหนึ่งก็คุณ โอกาโมโตะ โนบุฮิโกะ (岡本信彦) ซึ่งพากย์เป็นแอคเซเลอเรเตอร์ บทพากย์ก็มีบทเด่นๆมากมาย เช่น โยริโตะ ใน sola เรฟอน ในเรกิออส (鋼殻のレギオス)

สำหรับเรื่องนี้ต้องยอมรับว่าดูตามกระแส โดยส่วนตัวแล้วไม่ได้ติดใจในเรื่องนี้มากอย่างแท้จริง แต่ยังไงก็คงจะดูไปจนจบ

 

FORTUNE ARTERIAL-フォーチュンアテリアル-赤い約束



เป็นอนิเมะที่มาจากวิชวลโนเวล โดยเป็นเกมของค่าย august ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีเรื่อง 夜明け前より瑠璃色な ซึ่งเคยได้เป็นอนิเมะมาแล้ว (มีชื่อเสียงมากในเรื่องกะหล่ำ)

เกี่ยวกับพระเอก ฮาเซกุระ โควเฮย์ (支倉 孝平) ซึ่งเป็นคนที่ย้ายโรงเรียนบ่อยมากเนื่องจากงานของพ่อแม่ ทำให้แทบจะจำชื่อและหน้าตาของเพื่อนในโรงเรียนที่ผ่านมาได้เลย แต่แล้วเขาก็ได้เจอกับโรงเรียนที่กะจะปักหลักอยู่ไปจนจบ เขาได้เจอเพื่อนใหม่มากมายอย่างรวดเร็ว
เขาได้เจอกับเซนโดว เอริกะ (千堂 瑛里華) ซึ่งเป็นรองประธานนักเรียน เธอทำท่าจะอ่อนโยนต่อเขาตั้งแต่ทีแรก แต่ก็กลับเปลี่ยนท่าทีเป็นหนีเขาไปทันที ในตอนเย็นนั้นเขาได้เข้าไปในโบสถ์และได้เจอกับพี่ชายของเอริกะ คือ เซนโดว อิโอริ (千堂 伊織) ซึ่งเป็นประธานนักเรียน กำลังดูดเลือดสาวอยู่...

นักพากย์เด่นๆในเรื่องนี้ส่วนใหญ่เป็นนักพากย์ที่ดังในวงการเกม เช่นคุณทางุจิ ฮิโรโกะ (田口 宏子) ซึ่งพากย์เป็นฮารุนะ และ นาบาตาเมะ ฮิโตมิ (生天目 仁美) ซึ่งพากย์เป็นคานาเดะ ผลงานพากย์เด่นของเธอก่อนหน้านี้ก็คือเป็นองค์หญิงฟีนา ในเรื่อง yoake (夜明け前より瑠璃色な) นั่นเอง

พูดถึงตัวนักพากย์พระเอกนั้นยิ่งดังใหญ่เลย เพราะคือคุณโอโนะ ไดสึเกะ (小野 大輔) ซึ่งเด่นในวงการอนิเมะอย่างมากอยู่แล้ว ผลงานเด่นๆเช่นพากย์เป็น ยุกิโตะ ใน air และพากย์เป็นแบตเลอร์ ในแว่วเสียงแมวน้ำ (うみねこのなく頃に)

ไม่เคยได้เล่นวิชวลโนเวลเกมนี้มาก่อน เนื่องจากเหตุผลบางอย่าง แต่ในอนิเมะนี้ถือว่าดึงดูดให้ดูเป็นอย่างมาก ภาพทำออกมาได้สวยมาก เห็นแล้วติดใจมากจริงๆ ถือเป็นเรื่องที่ภาพสวยที่สุดในฤดูกาลนี้เลย ชวนให้ดูต่อไป และหากติดใจเนื้อเรื่องจริงๆอาจหยิบเกมมาลองเปิดดูก็ได้


バクマン。 (bakuman, วัยซนคนการ์ตูน)



อนิเมะที่มาจากมังงะ เกี่ยวกับพระเอก มาชิโระ โมริตากะ (真城最高) กับเพื่อนอีกคนคือ ทากางิ อากิโตะ (高木 秋人) ซึ่งตัดสินใจจะเป็นนักวาดการ์ตูนด้วยกัน โมริตากะหลงรักเพื่อนสาวคนหนึ่งคือ อาซึกิ มิโฮะ (亜豆 美保) ซึ่งเธอมีความฝันจะเป็นนักพากย์ ทั้งสองคนได้สัญญากันไว้ว่าถ้ามังงะของอากิฮิโระเกิดดังจนได้กลายเป็นอนิเมะ แล้วมิโฮะก็จะต้องได้เป็นคนพากย์นางเอกเรื่องนั้น ถึงตอนนั้นทั้งคู่จะแต่งงานกัน

สำหรับนักพากย์ที่พากย์ในเรื่องนี้ดูจะไม่มีที่เด่นๆ สำหรับคนพากย์โมริตากะ นั้นพอจะรู้จัก คือคุณ อาเบะ อัทสึชิ (阿部 敦) ซึ่งพากย์เป็นโทวมะ พระเอกในเรื่อง index นั่นเอง

ที่สนใจเพราะเกี่ยวกับนักวาดการ์ตูน ดูไปแล้วน่าจะเป็นความรู้พอควร ผลงานคนเขียนมังงะคนนี้ติดตามมาเยอะตั้งแต่ ฮิคารุ แล้วก็เดธโน้ต พอมาเป็นเรื่องนี้ก็สนใจอีกเช่นเคย ตัวมังงะนั้นเคยคิดจะอ่านแต่สุดท้ายก็ไม่ได้อ่าน พอรู้ว่าเป็นอนิเมะแล้วแบบนี้ก็ยิ่งดีจะได้ดูเอาไม่ต้องอ่านเลย ยังไงก็คงตามอนิเมะต่อไปเรื่อยๆ

 

伝説の勇者の伝説 (densetsu no yuusha no densetsu, the legend of the legendary hero)



เรื่องนี้ต่อเนื่องจากฤดูที่แล้ว แต่เพิ่งจะมาเริ่มดูเอาตอนนี้เอง แรกๆคงต้องไล่ดูให้ทันก่อน

เนื้อเรื่องเป็นแนวแฟนตาซี ออกเป็นแนวตลกพอควรด้วย เนื้อเรื่องก็ค่อนข้างหนักพอควร เกี่ยวกับสงคราม การปกครอง การเดินทาง ดูแล้วให้ข้อคิดเกี่ยวกับชีวิตพอสมควรเลย

ดูเหมือนเรื่องนี้จะเป็นแหล่งรวมของนักพากย์ชายที่โดดเด่นทั้งหลายเลย มีทั้งคุณ โอโนะ ไดสึเกะ, ฟุกุยามะ จุน พากย์เป็นตัวละครหลัก และตัวละครรองก็มีคุณ โอกาโมโตะ โนบุฮิโกะ, อาเบะ อัทสึชิ ดังที่ได้กล่าวไปข้างบนทั้งหมดแล้ว และยังมีคุณสึงิตะ โทโมกาซึ (杉田 智和) ซึ่งโดดเด่นมากอีกคน ผลงานเด่นเช่นพากย์ ยูอิจิ ใน kanon พากย์เป็น เคียวน์ ในเรื่องฮารุฮิ (涼宮ハルヒの憂鬱)

เรื่องนี้คิดว่าเป็นเรื่องหนึ่งที่เนื้อเรื่องดีมาก ดังนั้นยังไงก็น่าติดตามต่อไปจนจบแน่นอน

 

 

      ปล. sumisora บันไซ~!



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- บันเทิง >> อนิเมะ

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文