φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas
ทวีต
ชมหมู่เตียวโหลวในหมู่บ้านจื้อลี่
เขียนเมื่อ 2012/08/05 19:17
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#อาทิตย์ 29 ก.ค. 2012
หลังจากที่ได้ไปชม
เมืองโบราณชื่อข่าน (赤坎古镇)
พร้อมทั้ง
เตียวโหลวแห่งไคผิง (开平碉楼)
บางส่วนมาแล้ว
https://phyblas.hinaboshi.com/20120803
คราวนี้เราก็ได้มาต่อยังสถานที่ที่เรียกได้ว่ามีเตียวโหลวอยู่หนาแน่นที่สุด นั่นก็คือ
หมู่บ้านจื้อลี่ (自力村)
หมู่บ้านจื้อลี่อยู่ใน
ตำบลถังโข่ว (塘口)
อำเภอไคผิง จังหวัดเจียงเหมิน มณฑลกวางตุ้ง มีเตียวโหลวอยู่ทั้งหมด ๙ หลัง หรือถ้านับรวมอาคารทรงยุโรปเป็นเตียวโหลวด้วยก็จะเป็น ๑๕ หลัง
หลังที่เก่าแก่ที่สุดชื่อว่า
หลงเซิ่งโหลว (龙胜楼)
สร้างขึ้นเมื่อปี 1919 และหลังสุดท้ายคือ
จ้านหลู (湛庐)
สร้างขึ้นเมื่อปี 1948
การเข้าชมหมู่บ้านนี้ต้องเสียค่าบัตรผ่านประตูด้วย ซึ่งก็แพงมาก ถ้าซื้อบัตรเพื่อเข้าชมที่นี่ที่เดียวก็ราคา ๘๐ หยวน แต่ถ้าซื้อบัตรเหมาเข้าชมที่นี่พร้อมกับ
สวนลี่หยวน (立园)
ด้วยก็จะราคา ๑๕๐ ซึ่งเดิมค่าเข้าชมสวนลี่หยวนก็แพงถึง ๑๐๐ หยวน ดังนั้นจะประหยัดไปได้ ๓๐ หยวน โดยทั่วไปแล้วคนที่มาเที่ยวที่นี่ก็มักจะต้องแวะไปชมสวนลี่หยวนด้วยเพราะอยู่ใกล้กัน และสวนลี่หยวนก็เป็นสถานที่น่าเที่ยวไม่แพ้ที่นี่ ดังนั้นจึงควรซื้อคู่กันไป
และยังมีบัตรเหมารวมทั้ง ๔ สถานที่ ซึ่งก็บวกเพิ่ม
หมู่เตียวโหลวหม่าหลงเจี้ยง (马降龙碉楼群)
กับ
หมู่เตียวโหลวจิ่นเจียงหลี่ (锦江里碉楼群)
ขึ้นมาอีก ราคาจะเป็น ๑๘๐ หยวน แต่สองที่นี้อยู่ไกลออกไป ต้องใช้เวลาเดินทางอีก ดังนั้นหากไม่มีเวลาจะชมแค่หมู่บ้านจื้อลี่กับสวนลี่หยวนก็เพียงพอแล้ว
ทางเข้าชมหมู่บ้าน
ต้องซื้อบัตรก่อนตรงนี้
ร้านอาหารด้านหน้าทางเข้า เจ้าของร้านคนนี้หน้าตาเขาดูชาวบ้านๆ พูดจีนกลางก็ไม่ค่อยชัด แต่รู้อะไรเยอะดีเลยถามเขาเยอะเลยเกี่ยวกับเรื่องสถานที่เที่ยวที่นี่
ลานจอดรถหน้าทางเข้า แถวๆนี้ก็เห็นว่ามีพวกอาคารโบราณทรงยุโรปอยู่ประปรายแล้ว แต่ก็น้อยเมื่อเทียบกับด้านใน
บ่อน้ำหน้าทางเข้า
หลังจากตรวจตั๋วแล้วเข้ามาด้านในก็ต้องเดินต่อลึกเข้าไปนิดหน่อยจึงจะถึงบริเวณตัวหมู่บ้าน
ถึงตัวหมู่บ้านด้านในแล้ว
ในหมู่บ้านเต็มไปด้วยสระบัว
จากมุมนี้เราจะเห็นเตียวโหลวอยู่ด้านหลังของสระบัว สวยงาม
อาคารหลังนี้คือ
เย่เซิงจวีหลู (叶生居庐)
สูง ๔ ชั้น เป็นอาคารหลังหนึ่งที่เปิดให้ขึ้นไปชม
ด้านใน ชั้น ๑ ภายในมีพวกข้าวครองเครื่องใช้แบบพร้อมอยู่ได้เลย
ห้องครัว
ชั้นบนขึ้นมา
ห้องนอน
ถึงชั้นบนสุดแล้ว ส่วนดาดฟ้าเขาไม่ให้ขึ้น
จากด้านบนนี้มองออกไปเห็นทิวทัศน์สวยมาก
เห็นเตียวโหลวหลังหนึ่งโดดเดี่ยวกลางนา
ส่วนนี่คือ
หมิงสือโหลว (铭石楼)
เป็นอาคารที่สูงที่สุดที่เปิดให้ขึ้นไปชม สูง ๖ ชั้น สร้างขึ้นในปี 1925 โดยชาวจีนโพ้นทะเลที่อาศัยอยู่ในชิคาโก ชั้นบนสุดมีศาลาทรงหกเหลี่ยมสวย
กลับลงมาด้านล่าง ทางเข้าหมิงสือโหลว
ระเบียงด้านล่าง
ด้านใน
ชั้น ๕เป็นระเบียงด้านหนึ่ง
ชั้น ๖ ดาดฟ้าโล่งๆ ตรงกลางมีศาลารูปหกเหลี่ยม
บริเวณรั้วก็ประดับสวย
ทิวทัศน์อันสวยงามจากบนตึก
มองกลับไปยังอาคารเย่เซิงจวีหลู มุมมองจากระเบียงชั้น ๕ จะเห็นมีต้นไม้บัง แต่ก็สวยดี
มุมมองจากดาดฟ้าชั้น ๖ ไม่มีอะไรมาบาง
อาคารที่อยู่ข้างๆของหมิงสือโหลวชื่อ
อี้หนงโหลว (逸农楼)
ทางซ้ายของภาพคืออาคารอีกแห่งที่สามารถขึ้นไปได้ ชื่อว่า
หยวินฮว่านโหลว (云幻楼)
สร้างในปี 1921 โดยชาวจีนโพ้นทะเลในมาเลเซีย จะเห็นว่ารอบๆหอนี้มีรั้วเล็กๆล้อมรอบอยูู่
ทางเข้าไปชมหยวินฮว่านโหลว
มองชัดๆจากด้านล่าง
ภายในก็คล้ายๆกับ ๒ ตึกที่ดูมาแล้ว
ระเบียงที่ชั้น ๕
ทิวทัศน์จากด้านบน สวยงามมาก
อาคารที่อยู่คู่กันนี้ชื่อว่า
จวีอานโหลว (居安楼)
สร้างขึ้นในปี 1922 โดยชาวจีนโพ้นทะเลในฟิจิ และ
อานหลู (安庐)
สร้างขึ้นในปี 1926
เตียวโหลวอีกหลังที่ตั้งอยู่โดดเดี่ยวกลางทุ่งนา หลังนี้ไม่สามารถขึ้นไปได้
เข้ามาด้านในลึกพอสมควรก็เห็นเป็นทุ่งนา
บรรยากาศภายในหมู่บ้าน
กลางหมู่บ้านมีพวกร้านขายของที่ระลึก
อันนี้คือแบบจำลองของเตียวโหลว แต่ไม่ใช่เตียวโหลวที่อยู่ที่หมู่บ้านนี้ อันนี้คือเตียวโหลวที่สูงและสวยที่สุด สูง ๙ ชั้น อยู่ในหมู่เตียวโหลวจิ่นเจียงหลี่ เรียกว่า
รุ่ยสือโหลว (瑞石楼)
เราไม่มีโอกาสได้ไปที่นั่นเลยขอแค่ถ่ายรูปแบบจำลองกลับมา สำหรับแบบจำลองอันนี้ราคา ๙๐ หยวน แต่ใหญ่ไปหน่อยซื้อกลับมาก็คงเก็บไม่ไหวก็เลยไม่ได้ซื้อ
แล้วก็เที่ยวจบไปอีกที่ หลังจากนั้นเราก็ไปเที่ยวที่สุดท้ายต่อนั่นคือ
สวนลี่หยวน (立园)
สถานที่จัดแสดงวัฒนธรรมเตียวโหลวและมรดกโลก
https://phyblas.hinaboshi.com/20120807
{{s.chue}}
〇
✖
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
ประเทศจีน
>>
จีนแผ่นดินใหญ่
>>
กวางตุ้ง
--
ประวัติศาสตร์
>>
ประวัติศาสตร์จีน
--
ท่องเที่ยว
>>
มรดกโลก
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ เกี่ยวกับเรา ~
สารบัญ
รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
ภาษา python
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ
บทความแบ่งตามหมวด
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
-ซางะ
-นางาซากิ
-คุมาโมโตะ
-โออิตะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
-ออสเตรเลีย
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-ภูเขาไฟ
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
-ราเมง
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
ค้นหาบทความ
บทความล่าสุด
เดินเล่นแถวย่านจายามะและทาจิมะในเขตโจวนังใจกลางเมืองฟุกุโอกะในวันบรรลุนิติภาวะ
วันที่หิมะแรกตกในฟุกุโอกะ 10 มกราคม 2025
รอต่อแถวยาว ๒ วันเพื่อกินราเมงร้านดัง เมนยะคาเนโตระ ในย่านเทนจิงใจกลางเมืองฟุกุโอกะ
เดินหาร้านไปทั่วย่านเมย์โนฮามะและอุจิฮามะที่เงียบเหงาในวันปีใหม่ เจอแต่ความว่างเปล่า
วันปีใหม่ไปฮัตสึโมวเดะที่ศาลเจ้าวาชิโอะอาตาโงะในเขตนิชิของเมืองฟุกุโอกะ
บทความแนะนำ
รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
บทความแต่ละเดือน
2025年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
ค้นบทความเก่ากว่านั้น
ไทย
日本語
中文