φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas
ทวีต
เดินลอดผ่านเสาโทริอินับพันต้นในศาลเจ้าฟุชิมิอินาริ
เขียนเมื่อ 2013/03/05 01:17
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#จันทร์ 21 ม.ค. 2013
จากตอนที่แล้วที่เราไปเที่ยวเรื่อยเปื่อยใน
จังหวัดชิงะ (滋賀県)
มา
https://phyblas.hinaboshi.com/20130303
ได้เวลานั่งรถไฟกลับมาเที่ยวในเกียวโต แต่เนื่องจากตอน ๔ โมงเรามีนัดเจอเพื่อนคนญี่ปุ่นที่โอซากะ ดังนั้นเวลาจึงบีบพอสมควร มีเวลาเที่ยวในเกียวโตได้เพียงที่เดียวเท่านั้น
สถานที่ที่เราเลือกไปก็คือ
ศาลเจ้าฟุชิมิอินาริ (伏見稲荷大社, ฟุชิมิอินาริไทชะ)
ซึ่งเป็นสถานที่หนึ่งที่คนมาเที่ยวเกียวโตทุกคนไม่ควรพลาด
ศาลเจ้าฟุชิมิอินาริเป็นศาลเจ้าที่บูชา
เทพอินาริ (稲荷神, อินาริโนะคามิ)
ซึ่งเป็นเทพแห่งการเพาะปลูก
ศาลเจ้าที่บูชาเทพอินารินั้นเรียกว่า
ศาลเจ้าอินาริ (稲荷神社, อินาริจินจะ)
มีอยู่มากมายทั่วญี่ปุ่น แต่ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดก็คือศาลเจ้าฟุชิมิอินาริแห่งนี้ ถือเป็นศาลเจ้าอินาริแห่งหลักของทั่วประเทศ
ภายในบริเวณเต็มไปด้วยรูปปั้นจิ้งจอกขาวซึ่งเป็นสัตว์รับใช้ของเทพอินาริ
ที่ทำให้ศาลเจ้าแห่งนี้มีชื่อเสียงมากที่สุดก็คือ
เสาโทริอิ (鳥居)
เป็นพันๆต้นซึ่งเรียงต่อๆกันยาวเป็นเส้นทางจนดูคล้ายเป็นถ้ำ ซึ่งทางเดินยาวถึง ๔ กิโลเมตร ลึกเข้าไปในภูเขา
เสาโทริอิเป็นเสาซุ้มประตูสีแดงหรือส้มซึ่งมักพบตามวัดหรือศาลเจ้าต่างๆในญี่ปุ่น ในทางลัทธิชินโตเชื่อว่าเสาโทริอิเป็นทางเข้าสู่แดนศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า คำว่าโทริอินี้แปลตรงตัวว่าที่สำหรับนก ที่มาของการเรียกชื่อแบบนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัด
เสาโทริอิลักษณะอย่างนี้ยังพบว่ามีปรากฏในมังงะหรืออนิเมะต่างๆด้วย เช่นเรื่องเนกิมะ
ในอนิเมะเรื่องอาเรียเองก็มีสถานที่ที่เหมือนกันปรากฏด้วย โดยปรากฏในภาค ๒ ตอนที่ ๕ ในเรื่องใช้เป็นฉากของศาลเจ้าที่อยู่ในหมู่บ้านวัฒนธรรมญี่ปุ่น
แต่จะว่าไปแล้วก็เป็นเพียงแค่จับเอาส่วนประกอบกอบต่างๆของศาลเจ้าฟุชิมิอินาริมาใส่ในฉากเท่านั้น การจัดวางตำแหน่งอาคารต่างๆและเสาโทริอิถูกสลับกันต่างไปหมด
ภาพส่วนหนึ่งที่ปรากฏในอนิเมะเรื่องอาเรีย
พูดถึงเทพอินาริแล้วก็ทำให้นึกถึงอนิเมะเรื่องหนึ่ง คือเรื่อง
我が家のお稲荷さま。(wagaya no oinari-sama)
แปลชื่อตรงๆว่าท่านเทพอินาริของบ้านเรา หรือชื่อเรื่องในฉบับแปลไทยเรียกว่า
เทพจิ้งจอกจอมยุ่ง (ประจำบ้าน)
เป็นเรื่องเกี่ยวกับเทพจิ้งจอกที่ถูกปิดผนึกกักขังไว้เป็นเวลานานแล้วได้รับการปลดปล่อยให้ออกมาใช้ชีวิตในยุคปัจจุบัน เทพจิ้งจอกสามารถแปลงร่างเป็นคนได้แต่เนื่องจากลืมไปแล้วว่าเป็นเพศอะไรก็เลยมีอยู่สองร่างแปลงกลับไปกลับมาระหว่างเพศชายและเพศหญิง
เรื่องนี้เดิมทีมาจากนิยาย และได้เขียนเป็นเป็นมังงะด้วย และได้ฉายเป็นอนิเมะตอนปี 2008 ความยาว ๒๔ ตอน เป็นเรื่องที่สนุกใช้ได้ ที่สำคัญคือเพลงจบเพราะมาก คือเพลง 風がなにかを言おうとしてる (kaze ga nanika o iou toshiteiru) แปลว่า "ลมกำลังพยายามจะบอกอะไรบางอย่าง" ร้องโดย ฮายามิ ซาโอริ (早見沙織)
เนื้อเพลงพร้อมคำแปลเขียนไว้ใน
https://phyblas.hinaboshi.com/20181011
เราเดินทางจากจังหวัดชิงะกลับมาถึงสถานีเกียวโตตอน 14:28 เมื่อมาถึงชานชลาก็พบว่ามีรถไฟรอบที่กำลังจะออกอยู่ ๒ ขบวน ซึ่งต่างก็จอดรออยู่แล้ว
ต่างกันตรงที่ขบวนสีขาวทางซ้ายซึ่งออกเวลา 14:34 นั้นเป็นรถเร็ว (快速) ส่วนขบวนสีเขียวทางขวาซึ่งออกเวลา 14:37 เป็นรถธรรมดา (普通)
รถเร็วจะจอดเฉพาะสถานีหลักๆที่สำคัญๆเท่านั้น ซึ่งศาลเจ้าฟุชิมิอินารินั้นอยู่ที่
สถานีอินาริ (稲荷駅)
ซึ่งไม่ใช่สถานีหลัก รถเร็วไม่จอด ดังนั้นถ้าเรานั่งขบวนสีขาวทางซ้ายไปมันจะผ่านเลยสถานีอินาริไปเลย
แต่ว่าทั้งสองคันต่างก็ไปจอดที่
สถานีโทวฟุกุจิ (東福寺駅)
เช่นกัน ดังนั้นเราจึงตัดสินใจทำในสิ่งที่ไม่จำเป็นและอาจจะไม่ค่อยมีใครทำ นั่นก็คือนั่งขบวนสีขาวไปลงที่สถานีโทวฟุกุจิก่อน แล้วไปรอขึ้นขบวนสีเขียวที่นั่นอีกทีเพื่อไปยังสถานีอินาริ แน่นอนว่าจะรอขึ้นที่นี่ตอนนี้หรือจะไปรอขึ้นที่โทวฟุกุจิก็ไม่ต่างกัน
รถออก 14:34 ใช้เวลาแค่ ๓ นาที ถึงสถานีโทวฟุกุจิตอน 14:37
จากนั้นรออีก ๓ นาที พอถึงเวลา 14:40 รถขบวนสีเขียวก็ตามมา
จากนั้นเราก็ถึงสถานีอินาริตอน 14:42
สถานีนี้เป็นสถานีเล็กๆ ตัวสถานีหน้าตาแบบนี้ สีสันออกแบบมาคล้ายกับศาลเจ้าเลย คนมาเที่ยวที่นี่กันเยอะมาก
ออกจากสถานีมาก็เห็นทางเข้าอยู่ตรงหน้าทันที อยู่ตรงข้ามกันนี่เอง หน้าทางเข้ามีเสาโทริอิต้นใหญ่เด่น
ด้านหน้าทางเข้ามีรูปปั้นจิ้งจอกสีดำอยู่ด้วย
เข้ามาภายในบริเวณแล้ว
ก่อนเข้าต้องล้างมือด้วยน้ำที่ใต้ศาลานี้ด้วยเป็นธรรมเนียมเวลาเข้าศาลเจ้า
ภายในบริเวณขายของเต็มไปหมด
ผู้คนต่างมาอธิษฐานกันที่นี่
มีเซียมซีด้วย ในภาษาญี่ปุ่นเรียกเซียมซีว่า
โอมิกุจิ (お神籤)
อาคารนี้ปรากฏในอาเรียด้วย แม้จะเห็นเพียงเสี้ยวด้านหนึ่ง
ภาพในอาเรีย นอกจากตัวอาคารและรั้วที่ล้อมแล้วส่วนประกอบอื่นๆรอบๆถูกเปลี่ยนหมด
แล้วก็อะไรอีกหลายๆอย่างในบริเวณ ที่นี่ค่อนข้างกว้างมากทีเดียว
ทางเข้าสู่บริเวณที่มีเสาโทริอิพันต้นต้องไปทางนี้
แผนที่บริเวณที่มีเสาโทริอิ จะเห็นว่าเส้นทางดูแล้วช่างยาวไกลมาก เราก็ไม่ได้กะจะเดินไปให้สุดเพราะขาตอนนี้กำลังไม่ไหว และก็ไม่ค่อยมีเวลาแล้วเพราะต้องรีบไปหาเพื่อนต่อ
ในอาเรียมีภาพมุมมองจากด้านบนด้วย ดูแล้วจะเห็นว่าไม่เหมือนกันซะทีเดียว
เส้นทางเดินอันแสนยาวไกลเริ่มต้นจากที่นี่
เสาโทริอิมากมายเรียงรายตามทาง
ภาพส่วนหนึ่งในอาเรีย
ถึงตรงนี้เป็นทางแยก โดยขาไปต้องแยกไปทางซ้ายตามที่ชี้นี้
เทียบกับภาพในอาเรีย
สวยมาก
หนทางจะยังยาวไกลต่อไป
ในอาเรียตรงนี้ดูคล้ายกับฉากบริเวณด้านหน้าสุดตรงทางเข้าศาลเจ้าเลย
แต่ก็ไม่ได้มีแค่เสาโทริอิ มีพวกสถานที่ต่างๆให้ไหว้อยู่ตามข้างทางประปราย
เราเดินมาเรื่อยๆจนถึงบริเวณที่เรียกว่า
ศาลคุมาทากะ (熊鷹社)
จากนั้นก็ไม่ได้ไปต่อแล้วเพราะเวลาบีบเข้ามา ขณะนั้นเป็นเวลาบ่ายสามโมงกว่าแล้ว ถ้าไม่รีบเราจะไปถึงโอซากะไม่ทันสี่โมง
หากดูแผนที่จะพบว่าเราเดินมาได้ยังไม่ทันถึงครึ่งทาง ยังไงก็ไม่มีทางเดินได้จนสุดอยู่แล้ว น่าเสียดายแต่ก็ช่วยไม่ได้
ภาพหนทางเบื้องหน้าซึ่งยังคงยาวไกลต่อไปแต่เราไม่ได้เดินไปตรงนั้นแล้ว
แล้วเราก็เดินย้อนกลับไปออกจากศาลเจ้าแล้วไปยังสถานี ถึงสถานีตอนเวลา 15:14 รถเที่ยวต่อไปที่จะกลับไปทางสถานีเกียวโตคือรอบ 15:19
ภายในสถานีเต็มไปด้วยผู้คน พวกชาวต่างชาติก็ไม่น้อย เราได้ยินเสียงคนไทยด้วย แต่ไม่ได้ทักไป
รอสักพักรถไฟก็มาตามเวลาเพื่อพาเรากลับไปยังสถานีเกียวโตเพื่อไปต่อรถเพื่อไปโอซากะอีกที
ตอนหน้าเป็นการเที่ยวในโอซากะกับเพื่อนชาวญี่ปุ่น ติดตามกันต่อได้
https://phyblas.hinaboshi.com/20130307
น่าเสียดายไม่มีโอกาสเดินตามเสาโทริอิไปถึงสุดเพราะเวลาบังคับ แต่ถึงไม่ได้นัดเพื่อนเอาไว้ก็ไม่แน่ใจอยู่ดีว่าจะเดินไปถึงสุดไหวมั้ย เพราะเท้าเจ็บแบบนั้น ก็ไม่เป็นไรแค่ได้มาเห็นก็พอ ไว้โอกาสหน้าถ้าได้มาอีกจะลองพยายามเดินดูอีกครั้ง ต้องเอาให้สุดให้ได้!
เราได้มีถ่ายภาพตอนที่เดินผ่านเสาโทริอิช่วงหนึ่งไว้ด้วย ลองดูกันได้ในยูทูบ
http://www.youtube.com/watch?v=bMBUAUFmXXA
ในบทความนี้มีการนำภาพจากอนิเมะ "ARIA" มาใช้อ้างอิงเพื่อการวิจัยศึกษาภาพเปรียบเทียบ ลิขสิทธิ์ทั้งหมดเป็นของผู้จัดทำ "ARIA"
この記事では、比較研究を目的としてアニメ「ARIA」の画像を引用しています。画像の著作権はすべて「ARIA」の製作者に帰属します。
{{s.chue}}
〇
✖
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
ประเทศญี่ปุ่น
>>
เกียวโต
--
ท่องเที่ยว
>>
ตามรอย
--
ท่องเที่ยว
>>
ศาสนสถาน
>>
ศาลเจ้า
--
ท่องเที่ยว
>>
รถไฟ
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ เกี่ยวกับเรา ~
สารบัญ
รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
ภาษา python
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ
บทความแบ่งตามหมวด
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
ค้นหาบทความ
บทความล่าสุด
ปราสาทฟุกุโอกะกับศาลเจ้าโกโกกุและหอจัดแสดงโควโระกัง
สวนสาธารณะโอโฮริล้อมรอบทะเลสาบกลางเมืองฟุกุโอกะ
วันสุดท้าย นั่งรถไฟความเร็วสูงจากเซินเจิ้นสุ่กว่างโจวเพื่อขึ้นเครื่องบินกลับ
เดินเล่นที่สถานีเซินเจิ้นและด่านหลัวหูผ่านสู่ฮ่องกงในยามค่ำคืน
เดินซื้อของที่ย่านร้านค้าถนนคนเดินตงเหมินของเซินเจิ้น
บทความแนะนำ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
บทความแต่ละเดือน
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2020年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
ค้นบทความเก่ากว่านั้น
ไทย
日本語
中文