φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ตามรอยเคย์องที่สถานีเดมาจิยานางิและทางรถไฟสายเอย์ซัง
เขียนเมื่อ 2013/03/11 01:25
แก้ไขล่าสุด 2022/11/20 13:43
#อังคาร 22 ม.ค. 2013

จากตอนที่แล้วเราไปเที่ยวศาลเจ้าคิตาโนะเทมมังงู (北野天満宮) มา https://phyblas.hinaboshi.com/20130309

ตอนนี้เรายังคงเที่ยวอยู่ในเกียวโต โดยเป้าหมายต่อไปที่จะไปเดินเที่ยวคราวนี้ไม่ใช่สถานที่ท่องเที่ยว เป็นแค่ย่านเมืองธรรมดา แต่มีความสำคัญเพราะเป็นฉากของอนิเมะเรื่องเคย์อง (けいおん!)



เคย์องนั้นถูกสร้างโดยสตูดิโอที่ชื่อว่าเกียวโตแอนิเมชัน (京都アニメーション) หรือที่มักเรียกกันย่อๆว่าเกียวอนิ (京アニ) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เกียวโต

ดังนั้นจะพบว่าอนิเมะแต่ละเรื่องของค่ายนี้จะมีฉากอยู่ในเกียวโตและจังหวัดใกล้ๆเป็นส่วนใหญ่

อย่างเช่นเรื่องสึซึมิยะ ฮารุฮิ (涼宮ハルヒ) ซึ่งเราไปเดินมาเป็นที่แรกนั้นอยู่ในเมืองนิชิโนมิยะ (西宮市) จังหวัดเฮียวโงะ (兵庫県) https://phyblas.hinaboshi.com/20130209

และอีกเรื่องซึ่งเราไปมาคือจูนิเบียว (中二病でも恋がしたい!) ใช้ฉากอยู่ในเมืองโอตสึ (大津市) จังหวัดชิงะ (滋賀県) https://phyblas.hinaboshi.com/20130303

นอกจากนี้ยังมีเรื่องทามาโกะมาร์เก็ต (たまこまーけっと) อีกเรื่องที่ใช้ฉากในเมืองเกียวโต

เรื่องเคย์องนี้เองก็ใช้ฉากอยู่ที่เมืองเกียวโต ยกเว้นส่วนของโรงเรียนที่พวกตัวเอกเรียนอยู่จะอยู่ที่เมืองโทโยซาโตะ (豊郷町) จังหวัดชิงะ ซึ่งเราก็ไปมาแล้ว https://phyblas.hinaboshi.com/20130223

และก็มีเรื่องตลกว่าในตอนที่ ๔ ของภาค ๒ พวกตัวเอกไปเที่ยวเกียวโตกัน ซึ่งต้องนั่งชิงกันเซงผ่านภูเขาไฟฟุจิไปด้วย ทำให้ชวนคิดว่าฉากของเรื่องจริงๆน่าจะอยู่ที่โตเกียวมากกว่า แต่ว่าฉากเมืองที่ปรากฏในเรื่องตลอดตอนอื่นนั้นมาจากเกียวโตทั้งหมดจริงๆ

ดังนั้นจึงดูเป็นข้อขัดแย้งในตัวเรื่อง ว่าที่จริงเรื่องนี้ก็เกิดในเกียวโตอยู่แล้วทำไมยังมีฉากนั่งชิงกันเซงไปเกียวโตอีก เหมือนว่าเรื่องนี้แม้จะใช้เกียวโตเป็นฉากในเนื้อเรื่อง แต่เนื้อเรื่องกลับถูกกำหนดให้อยู่แถวๆโตเกียว แม้ว่าจะไม่ได้กล่าวถึงโดยตรงก็ตาม

ด้วยเหตุนี้การเดินตามล่าฉากของเรื่องเคย์องในเกียวโตจึงแบ่งออกเป็นสองส่วน คือตามล่าฉากส่วนที่ใช้เป็นเมืองในเรื่อง ซึ่งเป็นพวกย่านเมืองธรรมดาไม่ใช่ย่านที่เที่ยว กับตามล่าฉากสถานที่ซึ่งพวกยุยมาเที่ยวในตอนที่ ๔ ของภาค ๒ อย่างเช่นคิตาโนะเทมมังงูที่ไปมาเมื่อตอนที่แล้วนั่นเอง

สำหรับตอนนี้จะเป็นการเดินดูฉากในย่านเมืองธรรมดา ซึ่งย่านที่ถูกใช้เป็นฉากในเรื่องมีอยู่กว้างมาก กระจายอยู่ทั่วเกียวโต แต่ที่ที่เราจะไปในวันนี้ก็คือแถวๆสถานีเดมาจิยานางิ (出町柳駅) ซึ่งเป็นสถานีที่ใกล้กับมหาวิทยาลัยเกียวโต และหอพักที่เรามาอาศัยอยู่ตอนนี้ เมื่อวันแรกที่มาถึงเกียวโตเราก็มาลงที่สถานีนี้เป็นที่แรกดังที่เล่าไป https://phyblas.hinaboshi.com/20130201



ก่อนที่จะถึงเนื้อหาตรงนั้น มีเรื่องหนึ่งที่เราเพิ่งมาค้นพบตอนที่กำลังจะเริ่มเขียนหน้านี้ขึ้น และทำให้เกิดความรู้สึกเสียดายเป็นอย่างยิ่ง นั่นคือป้ายรถเมล์ที่อยู่ใกล้หอพักเราซึ่งเราต้องมาขึ้นประจำทุกวันนั้นคือป้ายคิตะชิรากาวะเบตโตวโจว (北白川別当町) แท้จริงแล้วก็ถูกใช้เป็นฉากในเรื่องด้วยเช่นกัน แต่ตอนนั้นไม่รู้เลยแม้แต่นิดเดียวก็เลยไม่ได้สนใจเดินสำรวจถ่ายภาพตรงนี้เลย

แต่ก็มีความโชคดีในความโชคร้ายอยู่ นั่นคือเช้าวันที่ 18 ซึ่งเราไปเที่ยวโอกายามะนั้น หิมะตกตอนเช้า เราเลยได้ถ่ายรูปบรรยากาศระหว่างทางเดินไปป้ายรถเมล์ นั่นเป็นครั้งเดียวที่เราได้ถ่ายภาพบริเวณแถวนั้น ถ้าหิมะไม่ตกจนดูสวยงามก็คงไม่ถ่าย จะเสียดายก็แค่ภาพเป็นตอนกลางคืนก็เลยไม่ชัดเลย และก็เป็นการถ่ายแบบไม่ได้ตั้งใจว่าจะเอามาเทียบกับภาพในอนิเมะตั้งแต่แรกก็เลยไม่ได้ถ่ายเยอะให้เห็นมุมต่างๆ ดังนั้นภาพที่มีอยู่จึงคนละมุมกับที่ปรากฏในอนิเมะอย่างสิ้นเชิง

นี่คือภาพป้ายรถเมล์ซึ่งเรามายืนรอทุกเช้า สังเกตให้ดีกว่ามีเก้าอี้สี่ตัว มีตู้รูปทรงสี่เหลี่ยมซึ่งด้านบนเป็นสีน้ำเงินด้านล่างเป็นสีขาว ทางขวามีแผ่นป้ายบอกตารางรถเมล์ซึ่งเตี้ยกว่าบล็อกรูปทรงสี่เหลี่ยมเล็กน้อย และด้านบนมีหลังคาหน้าจั่ว



และนี่เป็นภาพที่ปรากฏในอนิเมะ ซึ่งปรากฏในภาค ๒ ตอนที่ ๑๗ เป็นตอนที่พวกยุยสูญเสียห้องดนตรีในโรงเรียนเลยต้องออกมาเดินหาที่เช่าห้องดนตรีในเมือง จะเห็นว่าลักษณะของจุดรอรถเมล์ตรงป้ายรถเมล์ทุกอย่างตรงกันหมด



ส่วนนี่เป็นภาพบริเวณทางด้านซ้าย (ทิศเหนือ) ของป้ายรถเมล์



นี่เป็นภาพในอนิเมะ เป็นตอนที่พวกยุยออกจากห้องดนตรีให้เช่าในเมืองแล้วเดินกลับ แล้วก็มาเจอคุณครูยามานากะที่ขับรถสวนมาพอดี ตึกที่รถจอดอยู่นั้นจะเห็นว่าเป็นตึกสี่ชั้นซึ่งมีระเบียงที่ชั้นสองถึงสี่ ชั้นละสองระเบียง ซึ่งก็ตรงกับตึกทางขวาของภาพที่เราถ่ายมา
และอีกอย่างลองสังเกตพื้นหญ้ากลางถนนจะพบว่ามันสุดทางที่ด้านหน้าตึกนี้พอดี และตำแหน่งของต้นไม้ทุกต้นก็ตรงกันหมดแม้ว่าในภาพถ่ายของเราจะไม่มีใบเพราะถ่ายตอนฤดูหนาวก็ตาม



และอีกภาพเพื่อให้เห็นอีกมุมหนึ่ง (สังเกตตำแหน่งของรถแล้วเทียบกับภาพที่แล้ว) ทางซ้ายมือของรูปจะเห็นตึกที่ชั้นล่างสุดเป็นกระจก และชั้นสองมีหน้าต่างหลายๆบาน



ก็มีแค่สองภาพนี้ที่พอจะเทียบได้ ที่เหลือก็ไม่มีแล้ว น่าเสียดาย แต่ก็ยังดีที่พอมีภาพถ่ายให้เปรียบเทียบได้บ้างไม่เช่นนั้นจะเสียดายยิ่งกว่านี้



กลับมาเข้าเรื่องของวันนี้ต่อดีกว่า หลังจากที่เราออกจากศาลเจ้าคิตาโนะเทมมังงูแล้ว เราก็นั่งรถเมล์ย้อนกลับมาที่หน้าสถานีรถไฟเดมาจิยานางิ



สถานีเดมาจิยานางิตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำคาโมะ (鴨川) ซึ่งลากผ่านใจกลางเมืองเกียวโต โดยคำว่าเดมาจิยานางินั้นมาจากคำว่าเดมาจิ (出町) ซึ่งเป็นชื่อเรียกย่านทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำในบริเวณระแวกใกล้กับสถานี และยานางิ (柳) เป็นชื่อเรียกบริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ ในบริเวณที่ตัวสถานีตั้งอยู่

ซึ่งบริเวณนี้เป็นจุดที่แม่น้ำสองสายไหลมาบรรจบกันนั่นคือแม่น้ำคาโมะ (賀茂川) ทางตะวันตกกับแม่น้ำทากาโนะ (高野川) ทางตะวันออก ไหลมาบันจบกันแล้วกลายเป็นแม่น้ำคาโมะซึ่งไหลลงใต้

ซึ่งชื่อแม่น้ำนี้แม้จะชื่อแม่น้ำคาโมะเหมือนกันแต่แม่น้ำคาโมะก่อนรวมกับแม่น้ำคากาโนะจะเขียนอักษรว่า 賀茂川 แต่หลังรวมแล้วจะเขียนว่า 鴨川

เป้าหมายแรกอยู่ที่สะพานข้ามแม่น้ำข้างหน้านี้



ตรงนี้เป็นทางเดินริมน้ำที่สวยงาม สามารถลงไปเดินด้านล่างได้



ลงมาก็เป็นทางเดินเลียบริมน้ำแถวริมสะพาน




จุดดึงดูดของที่นี่คือทางเดินเท้าข้ามไปฝั่งตรงข้ามซึ่งเป็นหินแผ่นต้องโดดข้ามไปเรื่อยๆ แต่ถึงตกก็ไม่อันตรายเพราะน้ำตรงนี้แค่ไหลตื้นๆ



หินบางก้อนก็ทำเป็นรูปเต่าสวย



ระหว่างที่เดินผ่านทางตรงนี้ก็เห็นทิวทัศน์สวยไม่น้อย

 

และก็มาถึงเกาะกลางระหว่างทางแยกของแม่น้ำ



ตรงนี้เองที่จะเห็นฉากอย่างที่ปรากฏในอนิเมะ นี่เป็นฉากที่อยู่ในเพลงเปิดของภาคแรก แต่ว่าดูแล้วยังไม่ตรงกันซะทีเดียว คิดว่าจริงๆแล้วน่าจะไม่ใช่มุมนี้




จากตรงนี้เราจะเดินต่อเพื่อข้ามไปฝั่งตรงข้าม



ทิวทัศน์แม่น้ำที่มองจากตรงนี้ชอบจริงๆ




แล้วก็ข้ามมาถึงฝั่งเดมาจิ




มองกลับไปฝั่งสถานีรถไฟฟ้า



บรรยากาศย่านเมืองฝั่งเดมาจิ





ฉากนี้ปรากฏในอนิเมะภาค ๒ ตอนที่ ๑๕ ซึ่งเป็นตอนที่มีการแข่งวิ่งมาราธอน ยุยมาซื้อรองเท้าแถวนี้




จากนั้นเราก็เดินข้ามสะพานกลับมาฝั่งยานางิ แล้วเดินไปตามถนนคาวาบาตะ (川端通り) ไปทางใต้




ฉากนี้ปรากฏในอนิเมะภาค ๒ ตอน ๒ ยุยเดินแบกกีตาร์เก่าของคุณครูยามานากะเพื่อไปขายที่ร้าน ตำแหน่งนี้อยู่ใกล้สี่แยกของถนนคาวาบาตะกับถนนอิมาเดกาวะ




ใกล้ๆกันนั้นก็มีร้านขายเครื่องใช้ต่างๆซึ่งปรากฏในตอนเดียวกัน



พวกยุยมาซื้อของจากร้านนี้ไป




ภายในร้านเป็นแบบนี้ แต่ว่าลองเทียบภาพกับในอนิเมะแล้วไม่ตรงกันเลย




เสร็จแล้วก็เดินกลับมายังสถานีเดมาจิยานางิเพื่อจะขึ้นรถไฟต่อ โดยจะขึ้นทางรถไฟสายหลักเอย์ซัง (叡山本線) ซึ่งเป็นสายรถไฟทางตอนเหนือของเมืองเกียวโต บริหารโดยรถไฟเอกชนท้องถิ่นเอย์ซังเดนเทตสึ (叡山電鉄)



ทางรถไฟสายเอย์ซังต่างจากของเคย์ฮังตรงที่วิ่งบนดินตลอดสาย ต่างจากเคย์ฮังที่อยู่ใต้ดินตอนอยู่ในเขตเมือง

ที่ตรวจตั๋ว



เข้าไปถึงด้านในมีรถไฟจอดรออยู่แล้ว



และนี่ก็คือฉากที่ปรากฏในอนิเมะภาค ๑ ตอน ๑๓ นี่เป็นสถานีที่มุงิมารอรถไฟอยู่ แต่มุมที่ถ่ายรู้สึกว่าจะไม่ถูกต้องภาพเลยต่างกันพอสมควร




แล้วเราก็เดินขึ้นรถไฟไป รถไฟสายนี้จะเห็นว่ามีแค่ตู้เดียว



รถไฟขบวนนี้มีลายเป็นรูปอนิเมะฮิดามาริสเก็ตช์ (ひだまりスケッチ)



บรรยากาศภายในรถไฟ จะเห็นว่าป้ายด้านบนก็มีรูปฮิดามาริสเก็ตช์อยู่ด้วย



เส้นทางของรถไฟสายนี้วิ่งผ่านย่านชุมชนที่ค่อนข้างหนาแน่น ก็เลยไม่เห็นทิวทัศน์อะไรนอกจากบ้านคน แต่ก็ได้เห็นบรรยากาศบ้านเมืองแบบเก่าๆสวยดี แต่ตอนรถวิ่งอยู่ถ่ายยากเพราะมันอยู่ใกล้มาก เลยได้แต่ถ่ายตอนรถหยุดที่สถานี

สถานีแรกที่จอดคือสถานีโมโตตานากะ (元田中駅) ตามด้วยสถานีจายามะ (茶山駅)



หลังจากนั้นรถไฟก็ผ่านอีกสถานีคือสถานีอิจิโจวจิ (一乗寺駅) ซึ่งสถานีนี้ก็มีใช้เป็นฉากของเคย์องเหมือนกัน แต่เราไม่ได้แวะ ที่เราลงคือสถานีถัดไป คือสถานีชูงากุอิง (修学院駅)



ตัวสถานีรถไฟเล็กๆอย่างที่เห็น



ที่กั้นทางรถไฟข้างๆสถานี



เห็นรางรถไฟเปิดๆแบบนี้อยากลองไปเดินเล่น แต่ไม่เสี่ยงดีกว่า ถึงจะมีสัญญาณเตือนจากที่กั้นทางรถไฟคอยบอกว่าเมื่อไหร่รถไฟจะมาก็ตาม



ตัวสถานีนี้เองที่ถูกใช้ในฉากเพลงเปิดของภาค ๒ เสียดายรถไฟที่มาเทียบชานชลาตอนนั้นเป็นคนละสีกับในรูป ที่เป็นสีเดียวกันก็มี




ถนนตรงหน้าสถานีนี้เรียกว่าถนนคิตายามะ (北山通) และเส้นที่ตัดกับถนนเส้นนี้อยู่ในรูปก็คือถนนฮิงาชิโอจิ (東大路通)



เดินไปตามถนนคิตายามะไปเรื่อยๆจะไปเจอแม่น้ำ ซึ่งแม่น้ำนี้ก็คือแม่น้ำทากาโนะซึ่งไหลไปรวมกับแม่น้ำคาโมะที่เดมาจิยานางิ ก็ถือว่าเป็นแม่น้ำสายเดียวกัน



ถนนที่เลียบริมทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำนี้คือถนนคาวาบาตะ เส้นเดียวกับที่ผ่านสถานีเดมาจิยานางิ



ทิวทัศน์ริมแม่น้ำที่นี่ก็สวยเช่นกัน




และฉากตรงนี้ก็คือที่ถูกใช้ในฉากเพลงเปิดของภาค ๑ ภาพลองเทียบดูภาพดูจะต่างกันอยู่ แต่ดูจากบ้านที่เป็นฉากหลังแล้วน่าจะไม่ผิด




ย้อนกลับไปแถวบริเวณใกล้ๆสถานีรถไฟแล้วเดินต่อไปทางตะวันออกก็จะเจอร้านที่ปรากฏในภาค ๒ ตอน ๑๓ ซึ่งเป็นตอนที่พวกอาซึสะไปเที่ยวกันแล้วก็บังเอิญเจอพวกยุยเข้าตรงนี้พอดี




แล้วก็ยังเจอกับร้านที่ปรากฏในภาค ๒ ตอน ๑๔ ที่ริตสึกับมุงิมาเจอกันโดยบังเอิญแถวนั้นก่อนที่จะไปเที่ยวด้วยกันทั้งวัน



เทียบภาพ




และในบริเวณนั้นก็ยังมีย่านร้านค้าซึ่งปรากฏในภาค ๒ ตอน ๙ ที่ยุยมาเดินซื้อของลดราคาตอนช่วงก่อนสอบ แตว่าบรรยากาศในภาพที่ถ่ายได้เงียบมากเหมือนร้านจะปิดกันเกือบหมดเลย




จบแล้ว ภาพที่ถ่ายได้ก็มีอยู่เท่านี้ ที่จริงในบริเวณย่านนี้ยังมีฉากให้ถ่ายอีกเพียบเลย แต่ว่าด้วยสภาพขาตอนนั้นจะเดินไกลก็ไม่ไหวเลยเอาเฉพาะที่ใกล้ๆสถานีรถไฟก็พอ

เสร็จแล้วเราก็กลับไปที่สถานีเพื่อนั่งรถไฟกลับและไปยังที่อื่นต่อ

ตอนหน้าจะพักยกการตามรอยเคย์องสักตอน ไปเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของเกียวโต ติดตามต่อได้ https://phyblas.hinaboshi.com/20130313



ในบทความนี้มีการนำภาพจากอนิเมะ "k-on!" และ "k-on!!" มาใช้อ้างอิงเพื่อการวิจัยศึกษาภาพเปรียบเทียบ ลิขสิทธิ์ทั้งหมดเป็นของผู้จัดทำ "k-on!" และ "k-on!!"
この記事では、比較研究を目的としてアニメ「けいおん!」と「
けいおん!!」の画像を引用しています。画像の著作権はすべて「けいおん!」とけいおん!!の製作者に帰属します。



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> เกียวโต
-- ท่องเที่ยว >> ตามรอย

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文