φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



สวนสาธารณะเมืองกำแพงเกาลูน ซากแห่งอดีตอันมืดมนของฮ่องกง
เขียนเมื่อ 2014/01/05 10:01
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
# พุธ 25 ธ.ค. 2013

หลังจากที่เดินผ่านย่านคนไทยมาแล้ว https://phyblas.hinaboshi.com/20140103

คราวนี้เราเดินมาถึงสถานที่ที่ตั้งใจมาแต่แรกก็คือสวนสาธารณะเมืองกำแพงเกาลูน (九龍寨城公園)

ที่นี่เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของฮ่องกง เรื่องราวของที่นี่ต้องเล่าย้อนไปถึงสมัยปี 1898 เมื่ออังกฤษได้เข้าครอบครองฮ่องกงโดยมีสัญญาจะคืนในอีก ๙๙ ปี

เมื่อก่อนนั้นบริเวณที่เป็นเมืองกำแพงเกาลูนนี้เป็นที่ตั้งของที่ทำการรัฐที่เรียกว่าหยาเหมิน (衙門) ในภาษาจีนกลาง เมื่ออังกฤษครอบครองฮ่องกง บริเวณนี้ได้ถูกยกเว้นไว้ให้เป็นพื้นที่เล็กๆที่ยังอยู่ภายใต้การปกครองของจีน เหมือนเป็นเกาะเล็กๆของจีนภายในเขตปกครองของอังกฤษอีกที

ช่วงสงครามโลกครั้งที่สองบริเวณนี้ได้ถูกทำลายโดยกองทัพญี่ปุ่น แต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองจบลงผู้คนก็ได้กลับเข้ามาอาศัยอยู่บริเวณนี้และเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว

เนื่องจากบริเวณนี้เป็นส่วนที่รัฐบาลของอังกฤษไม่สามารถเข้ามายุ่งได้ และทางรัฐบาลจีนก็ไม่ได้มาให้ความสนใจอะไร จึงกลายเป็นบริเวณที่อยู่นอกกฎหมาย กลายเป็นแหล่งรวมของอะไรผิดกฎหมายมากมาย รวมทั้งสาธารณสุขและความปลอดภัยก็แย่มากด้วยเนื่องจากคนอยู่กันอย่างหนาแน่นและต่อเติมบ้านกันเอาเอง

เมื่อนับวันสภาพของที่นี่จะยิ่งเกินเยียวยามากขึ้นทุกที ในที่สุดทั้งทางรัฐบาลจีนก็มีความเห็นว่าจะปล่อยให้มันอยู่ต่อไปไม่ได้แล้ว จึงมีแผนจะทำลายเมืองกำแพงเกาลูนลงในที่สุด โดยเริ่มประกาศแผนการในปี 1987 และเริ่มไล่ที่คนที่อยู่ภายในออกในปี 1991-1992 จากนั้นจึงเริ่มทำการรื้อเมืองกำแพงออกในช่วงปี 1993-1994

และในปี 1995 สวนสาธารณะแห่งใหม่ก็ได้ถูกสร้างขึ้นแทนที่เมืองกำแพงที่ถูกทำลายไป โดยภายในยังหลงเหลือซากบางส่วนจากในอดีตให้ได้เห็น เช่นซากประตูใต้ และอาคารที่ทำการหยาเหมิน นอกจากนั้นก็มีการสร้างสวนจีนขึ้นมาแทนที่กลายเป็นสวนสวยงาม



ถนนตรงนี้คือถนนคาร์เพ็นเตอร์ (賈炳達道) ทางทิศใต้ของสวนสาธารณะ



ทางเข้าสวนสาธารณะทางฝั่งทิศใต้




ตรงนี้ยังไม่ใช่ข้างในสวนสาธารณะเมืองกำแพงเกาลูน แต่เป็นสวนด้านนอกที่เรียกว่าสวนสาธารณะถนนคาร์เพ็นเตอร์ (賈炳達道公園) เป็นสวนสวยๆธรรมดา





ต้องผ่านกำแพงนี้เข้าไปจึงจะเป็นสวนสาธารณะเมืองกำแพงเกาลูนจริงๆ



ข้างในเป็นสวนจีนสวยงาม


'







ระเบียงทางเดินยาวที่มีเขียนอธิบายเกี่ยวกับที่นี่ตามทาง



ตรงนี้ดูเหมือนจะเป็นศาลาที่ใช้สำหรับจัดกิจกรรมต่างๆได้



นี่คือแบบจำลองของเมืองกำแพงเกาลูนสมัยที่มันยังอยู่ จะเห็นว่ามันถูกสร้างขึ้นสูงและแออัดมากโดยมีช่องโหว่ตรงกลางคือบริเวณหยาเหมิน




ภาพตรงนี้วาดภายในตึกของเมืองกำแพงเกาลูนให้ดูว่ามีการใช้สอยยังไงบ้าง น่าเสียดายว่ามันปิดกระจกอยู่ จึงไม่สามารถถ่ายให้เห็นชัดได้เลย



ถัดไปทางนี้จะเห็นหลุมที่ด้านใต้มีซากของประตูเมืองสมัยโบราณอยู่



มองลงไปดูซากประตูใต้ที่อนุรักษ์เอาไว้



ประตูใต้นี้เป็นประตูหลักของเมืองกำแพงนี้ ตั้งแต่ปี 1920 มันได้เน่าเปื่อยผุพังลง แล้วตอนที่ญี่ปุ่นยึดที่นี่กำแพงเมืองตรงนี้ได้ถูกรื้อออกเพื่อเอาวัตถุดิบไปสร้างสนามบินไขตั๊ก (啟德機場) ซึ่งเป็นสนามบินนานาชาติแห่งเก่าของฮ่องกง

หลังจากที่เมืองกำแพงถูกรื้อออกไปแล้ว ซากประตูใด้ถูกค้นพบ ดังนั้นจึงถูกอนุรักษ์เอาไว้ให้เห็นจนถึงปัจจุบันที่กลายเป็นสวนสาธารณะแล้วเพื่อเป็นที่ระลึกถึงประวัติศาสตร์ของที่นี่

นี่คือหยาเหมิน ที่ทำการสมัยก่อน



เข้ามาดูภายในได้





ก็เป็นสวนสวยเหมือนกัน





นี่เป็นประตูเหนือของสวนสาธารณะ ถ้าออกไปตรงนี้จะไปยังสถานีรถไฟฟ้าที่ใกล้ที่สุดคือสถานีหล็อกฟู (樂富) ได้



แต่เรายังไม่ได้ออกตรงนี้เพราะทางซีกตะวันออกของสวนสาธารณะยังไม่ได้เดิน ซึ่งที่จริงทางฝั่งนี้ก็ไม่มีอะไรมากแล้ว เป็นสวนธรรมดา




เราเดินจนมาออกประตูตะวันออกแทน เราต้องออกไปทางประตูนี้เพื่อไปยังเป้าหมายต่อไปซึ่งอยู่ไม่ไกลกันนักคือวัดหว่องต่ายซิ้น (黃大仙祠) ซึ่งสามารถเดินจากตรงนี้ไปได้ แม้ว่าจะไกลนิดหน่อย

แต่ตอนแรกลืมนึกไปว่ามันอยู่ใกล้พอที่จะเดินไปได้ แล้วก็สับสนทิศทางนิดหน่อยจึงถามยามที่เฝ้าอยู่หน้าประตูนั้นโดยลองถามเป็นภาษากวางตุ้งล้วนๆดูว่า "เฉ็งหมั่น เต่ย์ถิดไหปิ๊นโต่ว" (請問,地鐵喺邊度) แปลว่า ขอถามหน่อยรถไฟฟ้าไปทางไหนดี เขาก็แนะนำให้ไปสถานีหล็อกฟูแล้วก็ออกมาชี้ทางให้ดูเลย

เราเลยพยายามจะถามเขาต่อว่าถ้าจะไปสถานีนั้นแล้วค่อยนั่งรถไฟฟ้าไปหว่องต่ายซิ้นดีกว่าหรือว่าจะเดินจากตรงนี้ไปหว่องต่ายซิ้นเลยดีกว่า แต่เนื่องจากพูดเป็นกวางตุ้งอยู่เลยนึกคำไม่ออกว่าจะถามยังไงดี เลยได้แต่พูดไปว่า "หล็อกฟูจ่ามถ่งหว่องต่ายซิ้นจ่ามปิ๊นกอเป๋ย์กาวกั่น" (樂富站同黃大仙站邊個比較近) แปลว่า "สถานีหล็อกฟูกับสถานีหว่องต่ายซิ้นอันไหนใกล้กว่า"

เขาก็ยังตอบมาว่าหล็อกฟูยังไงก็ใกล้กว่า แต่เราก็ตอบกลับเขาไปว่าจะไปหว่องต่ายซิ้นอยู่ดี เขาคงจะงงว่าถ้าอย่างนั้นแล้วจะถามทำไม เราก็งงตัวเองเหมือนกัน สรุปแล้วเราก็ขอบคุณเขาแล้วเดินออกจากประตูไปเพื่อจะไปวัดหว่องต่ายซิ้นเป็นเป้าหมายต่อไป

ครั้งนี้รู้สึกว่าโชคดีที่ได้เจอคนที่คุยดี ขนาดคุยแปลกๆเขายังไม่ได้มีทีท่าจะรำคาญ แถมยังช่วยชี้บอกทางให้อย่างดี ต่างจากบางคนที่ดูไม่เป็นมิตรอย่างแรง บ้านเมืองไหนก็มีทั้งคนดีและไม่ดีปนกันไปแล้วแต่โชคจริงๆ https://phyblas.hinaboshi.com/20140107



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> ฮ่องกง
-- ประวัติศาสตร์ >> ประวัติศาสตร์จีน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文