φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



เดินในมหาวิทยาลัยโตเกียวยามดึก และไล่ให้ทันรถไฟเที่ยวสุดท้าย
เขียนเมื่อ 2014/02/14 00:39
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#พฤหัส 14 พ.ย. 2013

หลังจากที่ตอนที่แล้วไปเดินอากิฮาบาระ https://phyblas.hinaboshi.com/20140212

คราวนี้จะไปเดินที่มหาวิทยาลัยโตเกียว (東京大学) ต่อ เพราะตอนที่แล้วแวะมาลงสถานีหน้ามหาวิทยาลัยแต่ยังไม่ได้เข้าไปเลย

มหาวิทยาลัยโตเกียวนั้นเป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ มีอยู่ทั้งหมดห้าวิทยาเขต วิทยาเขตหลักคือวิทยาเขตฮงโงว (本郷キャンパス) ซึ่งก็คือวิทยาเขตที่เรามานี้

ภายในวิทยาเขตฮงโงวก็ยังแบ่งย่อยเป็นส่วนๆคือวิทยาเขตฮงโงวส่วนหลัก และวิทยาเขตย่อยอีกสองแห่งคือวิทยาเขตยาโยย (弥生キャンパス) และวิทยาเขตอาซาโนะ (浅野キャンパス)

วิทยาเขตทั้งสามนี้ตั้งอยู่ในเขตบุงเกียว (文京区)
ของโตเกียว

แผนที่โตเกียว เขตบุงเกียวคือสีม่วงเข้มในภาพ




การเดินทางนั้นเราต้องนั่งรถไฟใต้ดินกลับมายังสถานีฮงโงวซันโจวเมะ (本郷三丁目駅) ซึ่งเป็นสถานีที่ขึ้นมาตอนแรก แต่ว่าการขึ้นจากสถานีอากิฮาบาระนั้นค่อนข้างยุ่งยากทีเดียว

เริ่มจากต้องนั่งสายฮันโซวมง (半蔵門線) มายังสถานีคายาบะโจว (茅場町駅) ซึ่งอยู่ในเขตจูโอว (中央区)



จากนั้นก็นั่งสายโทวไซ (東西線) เพื่อไปลงที่สถานีโอเตะมาจิ (大手町駅) ซึ่งอยู่ในเขตจิโยดะ (千代田区) เช่นเดียวกับสถานีอากิฮาบาระ



จากนั้นจึงค่อยนั่งสายมารุโนอุจิ (丸ノ内線) ซึ่งก็ต้องวิ่งผ่านสถานีอาวาจิโจว (淡路町駅) ที่เราลงเมื่อกี้ แล้วก็ไปลงที่สถานีฮงโงวซันโจวเมะได้สำเร็จ

จำเห็นว่าถ้าเรายอมเดินกลับมาขึ้นที่สถานีอาวาจิโจวจะประหยัดเวลาไปได้เยอะเลย แต่เนื่องจากว่าตอนนั้นเดินจนเหนื่อยมากแล้วก็เลยตัดสินใจนั่งรถไฟใต้ดินดีกว่า เก็บแรงไว้เดินในมหาวิทยาลัยดีกว่า

เมื่อมาถึงก็รีบเดินไปยังมหาวิทยาลัยโตเกียวทันที โดยเริ่มจากเดินเรียบทางฝั่งตะวันตกของมหาวิทยาลัย ซึ่งต้องเดินผ่านประตูแดง อากะมง (赤門) ซึ่งเป็นประตูที่มีชื่อเสียงมาก เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของมหาวิทยาลัยโตเกียว



แต่ว่าประตูแดงนี้ไม่ใช่ประตูที่เข้าออกได้ จึงต้องเดินต่อมาอีกหน่อยและเข้าในประตูที่อยู่ถัดไป นี่คือประตูหลักซึ่งเป็นทางเข้าทางฝั่งตะวันตก



เข้ามาเดินด้านในแล้ว เวลาดึกแบบนี้ก็เลยดูออกจะเงียบเหงา



แผนที่ภายในบริเวณ ดูแล้วกว้างมากทีเดียว



อาคารของคณะนิติศาสตร์



ตัวอาคารสร้างเป็นแบบตะวันตกแบบนี้ก็สวยดี



นี่คือสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยโตเกียว อาคารหอประชุมยาสึดะ (安田講堂) ตัวอาคารออกแบบมาอย่างสวยงาม มีความสูง ๓๙.๗ ม. เริ่มสร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี 1921 และสร้างเสร็จในปี 1925 และมีการปรับปรุงใหม่ในช่วงปี 1988 ถึง 1994



ระหว่างทางเดินผ่านอะไรบ้างก็ไม่ได้สังเกตให้ละเอียดนักเพราะว่าค่อนข้างมืดและเงียบ




เดินผ่านใต้อาคารของคณะนิติศาสตร์




ภายในบริเวณมีต้นแป๊ะก๊วยจำนวนมากซึ่งช่วงนี้กำลังเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและร่วงหล่นดูสวยงาม แป๊ะก๊วยถูกใช้เป็นตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ด้วย



ผ่านมาตรงนี้จะเป็นบริเวณคณะวิศวะ






ออกทางประตูยาโยย (弥生門) ซึ่งอยู่ด้านหลังคณะวิศวะ



เมื่อออกมาแล้วจะเป็นย่านชุมชน ต้องเดินทะลุต่อมานิดหน่อยจึงจะข้ามไปยังอีกวิทยาเขตย่อยอีกแห่งคือวิทยาเขตอาซาโนะ ซึ่งก็มีส่วนอาคารของคณะวิศวะอีกส่วนหนึ่งอยู่ ที่แวะมาที่นี่เพราะห้องทำงานของเพื่อนอยู่ตรงนี้ เขาเรียนวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์



เขาพาเข้าไปดูภายในห้องทำงาน ตอนแรกว่าจะไม่ถ่าย แต่เขาบอกว่าถ่ายได้ ไม่ได้มีความลับอะไรอยู่ในนี้หรอก




ถึงตอนนั้นเวลาห้าทุ่มกว่าแล้ว จึงเป็นห่วงกลัวว่าจะไล่ทันรถไฟเที่ยวสุดท้ายหรือเปล่า ถึงจะรู้ว่ารถไฟในโตเกียวมีอยู่ถึงดึก แต่ก็ไม่อยากเสี่ยง จึงให้เพื่อนลองช่วยดูเวลารถไฟให้แน่ เท่าที่ลองตรวจสอบดูก็พบว่าต่อให้เริ่มออกตอนเที่ยงคืนก็ยังทัน เท่ากับว่าเวลายังพอมีไม่ถึงขั้นรีบนัก ยังสามารถไปแวะบ้านเพื่อนได้อยู่ แต่ก็ไม่อยากจะเสี่ยงจึงรีบออกเร็วเผื่อไว้ดีกว่า


ดังนั้นก็เลยรีบเดินออกมาเพื่อไปยังบ้านเช่าที่เพื่อนอยู่ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากตรงนี้

ระหว่างทาง






ถึงแล้ว บ้านหลังนี้เอง ที่นี่ดูแล้วน่าอยู่มากทีเดียว



เราเข้าไปนั่งพักสักครู่แค่ไม่กี่นาทีก็ต้องออกมาแล้ว ไม่อยากเสี่ยงกับรถไฟเที่ยวสุดท้าย เพื่อนเล่าว่าเมื่อก่อนเคยไปสังสรรค์กับเพื่อนแล้วกลับดึกมากจนพลาดรถเที่ยวสุดท้าย ผลคือต้องนั่งรถแท็กซีกลับเท่านั้น ซึ่งแท็กซีที่ญี่ปุ่นแพงมาก ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรนั่งอย่างเด็ดขาด





เพื่อนพามาส่งที่สถานีเซนดางิ (千駄木駅) ซึ่งอยู่ใกล้กับหอพักมากที่สุด



จากนั้นก็ได้เวลาบอกลากัน การเดินเล่นในมหาวิทยาลัยโตเกียวของเราก็จบลงแต่เพียงเท่านี้ ที่จริงยังเพิ่งเดินได้แค่บริเวณเล็กๆเท่านั้นเอง แต่แค่นี้ก็เพียงพอ

การมาเดินในเวลากลางคืนแบบนี้ก็ได้บรรยากาศที่แปลกดีไปอีกแบบ เหมือนที่ครั้งก่อนที่ไปพักที่เกียวโตก็ได้มีโอกาสเดินเล่นในมหวิทยาลัยเกียวโตตอนกลางคืนแบบนี้ https://phyblas.hinaboshi.com/20130201



ยามดึกแบบนี้บนรถไฟเงียบเหงาทีเดียว



นั่งสายจิโยดะ (千代田線) ไปลงที่สถานีชินโอจาโนมิซึ (新御茶ノ水駅) เพื่อต่อรถ




เนื่องจากไม่ใช่สถานีที่ต่อโดยตรงต้องออกมาด้านนอกก่อน



เปลี่ยนไปขึ้นสถานีโอจาโนมิซึ (御茶ノ水駅) ซึ่งอยู่ข้างๆ สถานีนี้เป็นจุดเปลี่ยนของรถไฟหลายสาย รวมถึงสายจูโอว (中央線) ที่เราต้องนั่งเพื่อกลับไปยังสถานีมุซาชิซาไกที่โรงแรมอยู่



แล้วก็ได้ขึ้นรถไฟรอบ 23:55 ซึ่งเป็นรถเร็วที่จะไปสุดทางที่สถานีโคกุบุนจิ (国分寺駅) ซึ่งอยู่ห่างจากสถานีมุซาชิซาไกไป ๓ สถานี รถคันนี้จะไปถึงสถานีมุซาชิซาไกเวลา 00:27



แต่ถ้ามาช้าไปอีกหน่อยยังสามารถขึ้นอีกคันรอบ 00:01 ที่ขึ้นในจอนั่นได้ นั่นเป็นรถช้าซึ่งจะวิ่งไปสุดไกลกว่า คือไปจนถึงสถานีโทโยดะ (豊田駅) ซึ่งอยู่ที่เมืองฮิโนะ (日野市) ซึ่งก็จะไปถึงสถานีมุซาชิซาไกตอน 00:41

แต่นั่นก็ยังไม่ใช่รถไฟเที่ยวสุดท้าย ที่จริงแล้วยังเหลือรถไฟอีกหลายขบวน เที่ยวสุดท้ายจริงๆคือรอบ 00:32 ถ้าขึ้นรอบนั้นจะไปถึงตอนเวลา 01:12

รถไฟมาถึงสถานีมุซาชิซาไกตามเวลา



เมื่อถึงแล้วก็รีบกลับเข้าโรงแรมไปอาบน้ำแล้วนอนอย่างไวเลย

และแล้วค่ายโซวเคนไดก็กำลังจะเข้าสู่วันสุดท้ายแล้ว เนื่องจากคืนนี้กลับดึกและนอนดึกดังนั้นพรุ่งนี้เช้าก็กะจะตื่นช้าสักหน่อย อยู่สบายๆไม่คิดจะไปไหนตอนเช้า https://phyblas.hinaboshi.com/20140216



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ท่องเที่ยว >> มหาวิทยาลัย
-- ประเทศญี่ปุ่น >> โตเกียว
-- ท่องเที่ยว >> รถไฟ

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文