φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas
ทวีต
เมืองบอรีโฮล์ม ซากปราสาทและเมืองเล็กๆบนเกาะเออลันด์
เขียนเมื่อ 2014/06/07 14:06
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#จันทร์ 5 พ.ค. 2014
หลังจากที่ไปแวะเมืองแว็กเครอมา
https://phyblas.hinaboshi.com/20140605
ในที่สุดก็มาถึงสถานีเมือง
คาลมาร์ (Kalmar)
เป้าหมายการมาที่เมืองนี้ไม่ใช่แค่การเที่ยวในตัวเมืองคาลมาร์ แต่ยังต้องมาขึ้นรถที่นี่เพื่อไปเที่ยวเมืองข้างๆด้วย
ก่อนที่จะไปเที่ยวในเมือง เป้าหมายแรกของเราคือเดินทางข้ามช่องแคบเพื่อไปยังเกาะ
เออลันด์ (Öland)
เกาะเออลันด์เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของสวีเดนรองจากเกาะ
ก็อตลันด์ (Gotland)
มีขนาด ๑๓๔๒ ตั้งอยู่ในทะเลบอลติก เกาะนี้เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดคาลมาร์ ตัวเกาะรูปร่างยาววางตามแนวเหนือใต้ยาว ๑๓๗ กม. ความกว้างสูงสุด ๑๖ กม.
พื้นที่ตอนใต้ประมาณหนึ่งในสี่ของเกาะนี้เป็นพื้นดินที่มีความเป็นด่างสูงจึงทำให้พืชตามปกติขึ้นน้อย และมีพืชแปลกๆขึ้นหลายชนิด เรียกว่า
สโตราอัลวาเรต (Stora Alvaret)
ซึ่งได้รับการตั้งให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมโดยองค์การยูเนสโก
ที่ได้รับการตั้งเป็นมรดกโลกก็เนื่องจากมีความหลากหลายทางชีวภาพและมีร่องรอยที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามของมนุษย์ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์
แต่เป้าหมายที่เราจะไปเที่ยวในครั้งนี้ไม่ใช่บริเวณตอนใต้ของเกาะ แต่เป็นปราสาทบอรีโฮล์ม (Borgholms) ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะ
ปราสาทบอรีโฮล์มเป็นปราสาทเก่าที่เชื่อว่ามีความเป็นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 แล้ว แต่ก็ถูกทำลายแล้วบูรณะใหม่หลายครั้ง ปี 1654 ได้เริ่มสร้างใหม่เป็นปราสาทแบบบารอก จนเสร็จในปี 1709 แต่แล้วปี 1806 ก็เจอเพลิงไหม้
จนปัจจุบันปราสาทบอรีโฮล์มเหลือแต่ซากซึ่งเปิดให้คนทั่วไปเข้าชมได้ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของเกาะเออลันด์
ตัวปราสาทตั้งอยู่ข้างๆเมือง
บอรีโฮล์ม (Borgholm)
เมืองที่ใหญ่ที่สุดบนเกาะเออลันด์ แต่ก็ไม่ใช่เมืองใหญ่อะไรมาก
เกาะเออลันด์เป็นเกาะที่มีสะพานเชื่อมกับแผ่นดินใหญ่ การไปปราสาทบอรีโฮล์มสามารถนั่งรถเมล์จากสถานีรถไฟคาลมาร์ได้ ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๕๐ นาที ตอนที่เราไปถึงนั้นเห็นรถไฟกำลังจะออกพอดีก็เลยรีบก้าวขึ้นรถไฟไปทันที
แล้วก็เจอเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้น นั่นคือรถเมล์ที่นี่ไม่สามารถจ่ายเงินสดได้ และบัตรโดยสารที่เรามีอยู่ก็สามารถใช้ได้แค่ในเขตจังหวัดสโกเนเท่านั้น แต่ที่นี่อยู่ในจังหวัดคาลมาร์ แม้จะใช้บัตรนี้ซื้อตั๋วรถไฟมาถึงเมืองคาลมาร์ได้แต่ก็แค่นั้น ไม่สามารถใช้กับรถเมล์ในคาลมาร์ได้
ระหว่างที่เรากลุ้มไม่รู้จะทำยังไงถึงจะจ่ายเงินได้ดี คนขับก็ทำหน้ากลุ้มตามแล้วก็บอกว่าให้เข้าไปนั่งซะ นั่นคือเขาให้เราขึ้นรถได้ฟรี เรารู้สึกโล่งใจขึ้นมาทันที แต่ในขณะเดียวกันก็รู้สึกเกรงใจมากเลย เขาคงเข้าใจเราเป็นนักท่องเที่ยวที่เพิ่งมาใหม่และไม่ค่อยรู้เรื่องและไม่ได้มีเจตนาอะไรไม่ดี
บนรถเมล์
ระหว่างทางต้องผ่านตัวเมืองคาลมาร์ เห็น
ปราสาทคาลมาร์ (Kalmar slott)
ด้วย ปราสาทนี้เดี๋ยวจะกลับมาแวะเที่ยวอีกทีหลังเที่ยวบอรีโฮล์มเสร็จ
ทิวทัศน์ระหว่างทางในตัวเมือง
กำลังจะข้าม
สะพานเออลันด์ (Ölandsbron)
ซึ่งเป็นสะพานที่เชื่อมระหว่างแผ่นดินใหญ่กับเกาะเออลันด์
ทิวทัศน์ระหว่างทางบนเกาะเออลันด์
เรากดปุ่มให้รถเมล์จอดตรงป้ายซากปราสาทบอรีโฮล์ม ที่นี่ไม่มีคนอื่นกดลงด้วยเลย ดูเหมือนคนอื่นบนรถจะเป็นคนที่นี่ ไม่มีนักท่องเที่ยวคนอื่น
ตอนที่รถเมล์ไปถึงตรงนั้นเป็นเวลา 11:54 เราลองดูตารางเวลารถเมล์ตรงป้ายฝั่งตรงข้ามซึ่งเป็นขากลับมีรถรอบ 12:58 ไม่เช่นนั้นก็เป็น 13:58 เลย ดังนั้นถ้าจะกลับเร็วก็มีเวลาแค่ประมาณชั่วโมงเท่านั้น
ตามที่ดูเวลาแล้วต่อให้ไม่ทันรถรอบ 12:58 จะรอรอบต่อไปอีกชั่วโมงก็ยังไม่เสียหายมากนัก เวลายังเหลือเฟืออยู่ แค่จะทำให้กลับช้าลงสักหน่อยเท่านั้นเอง อย่างไรก็ตามก็พยายามรีบไว้ก่อนเผื่อจะทัน
บริเวณนี้ดูเปลี่ยวๆโล่งๆไม่ค่อยมีอะไร มีแค่รถวิ่งผ่านมาประปราย
เดินทางนี้เพื่อจะไปที่ปราสาท
ปราสาทอยู่ข้างหน้านี้แล้ว
ใกล้เข้าไปเรื่อยๆทางขวาเป็นที่จอดรถ ส่วนทางซ้ายเป็นทางไป
ปราสาทโซลลิเดน (Sollidens slott)
ปราสาทเล็กๆที่แค่ดูเหมือนเป็นคฤหาสน์ธรรมดา ไม่ใช่ปราสาทโบราณ ไม่ค่อยมีอะไรเท่าไหร่ ก็เลยไม่สนใจจะเข้าไปดู
ลานจอดรถ ก็เห็นรถจอดอยู่เล็กน้อย ที่เหลือก็โล่งๆ นี่ยังไม่ใช่ฤดูท่องเที่ยวเต็มที่คนเลยยังน้อย
ปราสาทอยู่ข้างหน้านี้แล้ว
ใกล้เข้าไปเรื่อยๆ แต่ทางเข้าถูกปิดกั้นอยู่ ต้องจ่ายค่าเข้าจึงจะเข้าได้
ภาพที่ถ่ายจากบริเวณรอบๆปราสาทโดยที่ยังไม่เข้าไป
การจะเข้ามาต้องเข้ามาจ่ายเงินในนี้แล้วจึงจะเข้าไปได้ ตรงนี้เป็นร้านขายของที่ระลึกด้วย
มีแบบจำลองตัวปราสาทด้วย
ก่อนที่เราจะตัดสินใจว่าควรเข้าไปดีหรือเปล่ามีปัญหาหนึ่งที่จำเป็นจะต้องคิดก่อน นั่นคือควรจะทำยังไงกับรถเมล์ขากลับดี ในเมื่อตอนขามาได้ขึ้นรถมาฟรีๆ แต่ว่าตอนขากลับจะทำแบบนั้นอีกได้หรือ คงจะรู้สึกไม่ค่อยดี เราลองปรึกษาคนขายในร้านนี้ดูถึงเรื่องนี้ เขาก็บอกว่าเขาไม่รู้เหมือนกัน แนะนำว่าให้ลองเข้าเมืองไปถามคนในเมืองดู น่าจะหาที่สำหรับซื้อตั๋วได้ แล้วเขาก็ชี้ทางให้ว่าจากตรงนี้มีทางเดินตัดเข้าด้านหลังตัวเมือง
ถึงตรงนี้เราเลยตัดสินใจว่าคงจะไม่เข้าไปชมตัวปราสาทดีกว่า เพราะค่าเข้าชมก็แพงถึง ๗๐ โครน และการได้เห็นจากด้านนอกแบบนี้ก็รู้สึกว่าเพียงพอแล้ว อีกทั้งห่วงเรื่องเวลาด้วย เพราะยังอยากจะได้นั่งรถรอบที่กลับได้เร็วอยู่ จึงตัดสินใจเดินเข้าเมือง
ภาพปราสาทอีกภาพ ถ่ายก่อนจะจากไป
ข้างๆปราสาทมีอนุสาวรีย์หินตั้งที่เรียกว่ายักต์สเตเนน (jaktstenen) สร้างขึ้นเมื่อปี 1873 เพื่อถวายแด่พระเจ้าคอร์ลที่ ๑๕ แห่งสวีเดน
แล้วเราก็เจอช่องทางที่จะเดินลัดเข้าเมือง หน้าปากทางเห็นมีแผนที่อยู่ ถ้าไปตามนี้ก็ไม่น่าหลง
เส้นทางเป็นทางเดินในป่า
แต่มองออกไปก็เห็นทุ่งโล่งอยู่ด้านข้าง
ระหว่างทางเกิดไม่แน่ใจเส้นทางขึ้นมาบังเอิญเห็นเด็กผู้หญิงสามคนเดินสวนมา ดูแล้วอายุน้อยน่าจะอยู่แค่ประมาณ ม.ปลาย ก็เลยลองถามทางสักหน่อย แต่ทั้งสามคนกลับตอบกลับแบบตะกุกตะกัก ด้วยภาษาอังกฤษที่ดูจะไม่ค่อยคล่องเท่าไหร่ แถมยังถามเรากลับว่าพูดภาษาสวีเดนเป็นมั้ยอีกด้วย พอบอกว่าไม่เป็นเขาก็ทำท่าปรึกษากันสักพักแล้วก็ตอบมาว่าไม่รู้จะอธิบายยังไงดีเหมือนกัน แล้วก็ทำท่าชี้ๆ เราก็เออออตาม แต่ที่จริงก็ไม่แน่ใจอยู่ดี สุดท้ายก็เดินจากมาแบบงงๆ
สักพักก็เจอป้ายบอกทางอีกทีบอกว่าเดินอีก ๕๐๐ เมตรก็ถึงตัวเมืองแล้ว แต่ถ้ากลับไปปราสาทก็เดินย้อนกลับ ๕๐๐ เมตร นั่นแสดงว่าเดินมาได้สักครึ่งทางแล้ว
สักพักก็ออกจากป่า เราลองมองหันกลับไปตรงทางที่เราเดินจากมาก็ยังได้เห็นตัวปราสาทบอรีโฮล์มจากมุมนี้ด้วย
แล้วก็เดินมาถึงบริเวณด้านหลังของตัวเมืองซึ่งดูเหมือนเป็นหมู่บ้านเล็กๆ
เริ่มเข้าสู่ใจกลางเมือง
เห็นมีร้านอาหารจีนอยู่ด้วย ตอนเดินผ่านก็คิดอยู่ว่าจะลองแวะเข้าไปดูว่าเจ้าของร้านเป็นคนจีนหรือเปล่า เราจะได้ถามเรื่องรถเมล์ เพราะคุยกับคนจีนใช้ภาษาจีนน่าจะคล่องกว่าใช้ภาษาอังกฤษเป็นไหนๆ แต่สุดท้ายก็ไม่ได้เข้าไปหรอกเพราะคิดว่าคงจะดูแปลกๆ
เดินไปเรื่อยๆก็มาถึงจตุรัสใจกลางเมือง
ที่กลางลานกว้างมีโบสถ์ของเมืองนี้อยู่ โบสถ์ของเมืองนี้ดูสวยดีนะ แม้จะแค่ขนาดเล็กๆ
จากเดินต่อไปอีกหน่อย
ก็จะไปโผล่ที่ท่ารถเมล์ประจำเมืองนี้ นี่เป็นจุดหนึ่งที่สามารถมารอรถเมล์เพื่อกลับได้ แถวนี้อยู่ใกล้ทะเล
ตอนที่มาถึงที่นี่ก็ลองหาคนถามว่าจะทำยังไงถึงจะจ่ายค่ารถเมล์ได้ดี ก็เห็นรถเมล์คันหนึ่งกำลังจอดอยู่ แต่ไม่ใช่รถเมล์ที่เราจะต้องขึ้น เห็นคนขับนั่งอยู่ก็เลยไปถามว่าถ้าจะขึ้นรถจะซื้อตั๋วรถเมล์ได้ที่ไหน เขาก็ชี้ว่าให้ไปซื้อที่เครื่องขายอัตโนมัติ
ปรากฏว่าพอลองไปกดเครื่องดูก็พบว่าเครื่องนี้ไม่รับเงินสด ต้องใช้บัตรเครดิตจ่ายเท่านั้น แต่ต้องมีรหัสบัตรด้วย ซึ่งเราไม่มี ปกติในไทยหรือในจีนเวลาใช้บัตรเครดิตก็ไม่เคยต้องใช้รหัสจึงไม่เคยรู้
จะกลับไปถามคนขับรถเมล์ต่อเขาก็ขับรถออกไปแล้ว จะหาคนถามแถวนั้นก็ช่างเปลี่ยวไม่ค่อยมีคนเลย
บริเวณรอบๆท่ารถเมล์ บรรยากาศดูเงียบๆ
ถามคนที่พอจะเจออยู่แถวนั้นก็ไม่มีใครให้คำตอบได้ เหมือนกับว่าแต่ละคนจะใช้บัตรเครดิตกันเป็นปกติจึงไม่เดือดร้อนที่รถเมล์ห้ามใช้เงินสด
สุดท้ายก็เห็นรถเมล์ขับเข้ามาจอดที่ท่ารถอีกคัน เราก็เลยเข้าไปถามคนขับว่ามีปัญหาแบบนี้ควรทำยังไงดี คนขับก็ลงจากรถแล้วก็บอกว่าขอคิดสักพักให้รอก่อน แล้วก็เข้าไปด้านในท่ารถ สงสัยเขาจะไปคุยกับใครด้านใน สักพักก็ออกมาพร้อมบอกว่าเขาจะบอกกับคนขับรถที่เราจะนั่งให้ว่าให้เราขึ้นฟรี ไม่ต้องจ่าย
ได้ยินดังนี้ก็ดีใจ แต่ก็ตอบไปแบบเกรงใจ เขาก็คุยตอบอย่างใจดี รู้สึกประทับใจ กลายเป็นว่าการที่เราไม่มีบัตรเครดิตจ่ายทำให้ได้ขึ้นรถฟรีซะอย่างนั้นเลย เรื่องร้ายกลับกลายเป็นเรื่องดี แต่ที่จริงก็ไม่ควรทำแบบนี้หรอก เพราะเสี่ยงออก ถ้าเขาไม่ใจดียอมให้ขึ้นมาจะทำยังไง คนสวีเดนใจดีก็จริงแต่ที่จริงเรื่องกฎระเบียบเขาก็เคร่งพอสมควร แต่คนนี้เขาคงเห็นว่าเราไม่ได้เจตนา เงินสดก็มีพกอยู่คงไม่ได้ตั้งใจจะขึ้นรถฟรี
แต่ว่ารถที่เราจะขึ้นนั้นต้องรออีกนานเลยเพราะว่านี่เลยเวลาออกรถมาแล้ว รถที่จะกลับคาลมาร์ออกจากที่นี่เวลา 12:55 แต่ตอนไปถึงเลยมาสิบกว่านาทีแล้ว เลยต้องรอรอบ 13:55 แทน
ระหว่างนั้นก็ไปเดินเล่นต่อ ดูบ้านเมืองแถวๆนั้น
เราเดินไปถึงริมฝั่งทะเล ตรงนี้เป็นชายฝ่งที่สวยงาม
ใกล้ริมทะเลตรงนี้มีสวนสุสานอยู่
เราเข้ามาเดินเล่นในสวนค่าเวลา สวนสวยดี
เห็นที่นั่งอยู่ก็เลยนั่งพักสักหน่อย ระหว่างนั้นก็เอาขนมปังที่เตรียมไว้สำหรับเป็นมื้อเที่ยงมาทาน เที่ยวนี้เพื่อประหยัดค่าอาหารก็เลยเตรียมทำมาจากที่พักเพราะถ้าไม่จำเป็นไม่แวะร้านอาหารกินอยู่แล้วมันแพง
นี่ดูแล้วน่าจะเป็นอาคารของผู้ดูแลสวนสุสาน แต่มีห้องน้ำให้เข้าฟรีด้วย ถือว่าดีเลยเพราะห้องน้ำฟรีในสวีเดนบางที่ก็หายาก
เรื่อยเปื่อยมาสักพัก ในที่สุดก็ได้เวลารถเมล์ใกล้ออก เราเดินย้อนกลับมา เห็นคนอื่นก็มีมารอขึ้นรถเมล์อยู่เช่นกัน
แล้วรถเมล์ก็ออกเพื่อเดินทางกลับคาลมาร์ ระหว่างทางก็เห็นทุ่งดอกนาโนฮานะสวยงามเช่นเคย
ตอนต่อไปจะเป็นเรื่องในเมืองคาลมาร์แล้ว หลังจากที่กล่าวถึงมาตั้งสองตอนแต่กลับไม่ได้พูดถึงโดยละเอียดเลย
https://phyblas.hinaboshi.com/20140609
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
ต่างแดน
>>
ยุโรป
>>
สวีเดน
--
ท่องเที่ยว
>>
ปราสาท☑
>>
ปราสาทยุโรป
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ เกี่ยวกับเรา ~
สารบัญ
รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
ภาษา python
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ
บทความแบ่งตามหมวด
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
-ซางะ
-นางาซากิ
-คุมาโมโตะ
-โออิตะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
-ออสเตรเลีย
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-ภูเขาไฟ
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
ค้นหาบทความ
บทความล่าสุด
เดินย่านบ้านซามุไรและแหล่งน้ำพุในเมืองชิมาบาระ แวะกินอาหารพื้นบ้าน
ปราสาทชิมาบาระ ปราสาทสวยใหญ่ล้อมด้วยคูบัวในเมืองที่อยู่ระหว่างภูเขากับทะเล
นั่งเรือข้ามทะเลอาริอาเกะจากคุมาโมโตะไปยังเมืองชิมาบาระจังหวัดนางาซากิ
ซากุระโนะบาบะ โจวไซเอง ย่านร้านค้าชิโมโตริ ซากุระมาจิคุมาโมโตะ
ชมปราสาทคุมาโมโตะที่ยังเต็มไปด้วยรอยแผลจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่
บทความแนะนำ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
บทความแต่ละเดือน
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2020年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
ค้นบทความเก่ากว่านั้น
ไทย
日本語
中文