φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas
ทวีต
ย่านศิลปะ 798
เขียนเมื่อ 2015/04/05 19:33
แก้ไขล่าสุด 2024/02/04 06:37
#อาทิตย์ 29 มี.ค. 2015
ต่อจากตอนที่แล้วหลังจากที่เที่ยวที่
พิพิธภัณฑ์รถไฟจีน (中国铁道博物馆)
เสร็จ
https://phyblas.hinaboshi.com/20150403
พอจะไปเที่ยว
พิพิธภัณฑ์แบบจำลองยานบินและยานอวกาศปักกิ่ง (北京航空航天模型博物馆)
ต่อก็พบว่ามันปิด ก็เลยนั่งรถเมล์สาย 851 เพื่อย้อนกลับเข้าตัวเมือง
ที่ที่จะไปคราวนี้คือ
ย่านศิลปะ 798 (798艺术区)
หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า 798 ซึ่งในภาษาจีนอ่านว่า
ชีจิ่วปา (七九八)
นอกจากนี้ยังมีอีกชื่อคือ
ย่านศิลปะต้าซานจื่อ (大山子艺术区)
เพราะที่นี่ตั้งอยู่ในย่านที่มีชื่อว่าต้าซานจื่อ
ชีจิ่วปาเป็นสถานที่เที่ยวที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งของปักกิ่ง สำหรับคนที่ชอบศิลปะแล้วถือว่าเป็นที่ที่พลาดไม่ได้ที่จะต้องมา สำหรับคนทั่วไปอย่างพวกเราซึ่งไม่ได้มีความรู้ด้านศิลปะอะไรเท่าไหร่ก็มาเดินดูเล่นเพลินๆได้เหมือนกัน มีของอะไรสวยๆให้ดูอยู่เยอะ ดูได้เรื่อยๆ
ที่มาของที่นี่ย้อนไปตั้งแต่ช่วงหลังจากปฏิวัติก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ตอนนั้นที่นี่เป็นที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม ต่อมาโรงงานก็เลิกใช้ไป พอถึงปี 2002 ก็ถูกบรรดาเหล่าศิลปินต่างๆมาซื้อที่เพื่อนำมาทำเป็นที่จัดแสดงผลงานศิลปะเนื่องจากว่าค่าที่ตรงนี้ราคาถูก
ที่นี่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เพิ่งเปิดตัวได้ไม่นานนัก ไม่ได้มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน นับวันก็จะยิ่งมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักมากขึ้น
หากพูดถึงศิลปะของจีนแล้วคนคงจะนึกถึงพวกงานเขียนพู่กันหรือภาพวาดแบบโบราณมากกว่า แต่ว่าที่ชีจิ่วปานี้จะเป็นแนวศิลปะแบบสมัยใหม่ คนละแนว
ดังนั้นการเที่ยวของวันนี้จึงดูจะเป็นคนละบรรยากาศกันหากเทียบกับ
ถนนวัฒนธรรมหลิวหลีฉ่าง (琉璃厂文化街)
ที่เพิ่งไปมาเมื่อวานซึ่งเต็มไปด้วยศิลปะแบบโบราณ
https://phyblas.hinaboshi.com/20150401
ชื่อ 798 นี้มาจากการที่พื้นที่นี้ตั้งอยู่ในเขตที่เมื่อก่อนเป็นโรงงานหมายเลข 798 นั่นเอง แต่พื้นที่ยังขยายตัวไปถึงพื้นที่โรงงานรอบๆด้วย
การใช้ชื่อสถานที่เป็นหมายเลขแบบนี้ไม่รู้ว่าจะทำให้ชื่อจำยากขึ้นหรือง่ายลง แต่อย่างน้อยก็ทำให้เวลาพูดถึงตัวเลข 798 ผู้คนก็จะนึกถึงสถานที่นี้แทนที่จะนึกถึงว่าเป็นตัวเลขธรรมดาเลขหนึ่ง
ว่าไปแล้วชีจิ่วปานี้ก็มีส่วนคล้ายกับหลิวหลีฉ่างอีกอย่างหนึ่งตรงที่เคยเป็นย่านอุตสาหกรรมมาก่อนและเหลือชื่อเอาไว้ให้คนเรียกมาจนถึงปัจจุบันแม้ว่าจะเปลี่ยนมากลายเป็นย่านศิลปะไปแล้วก็ตาม
การมาที่ชีจิ่วปานั้นไม่มีรถไฟฟ้ามาถึง ต้องต่อรถเมล์มา ที่นี่ค่อนข้างกว้างจึงมีป้ายรถเมล์อยู่หลายจุด ขึ้นกันว่ามาจากทางไหน ถ้าลงที่ป้าย
ต้าซานจื่อลู่โข่วหนาน (大山子路口南)
หรือป้าย
หวางเหยเฝิน (王爷坟)
จะใกล้กับประตูตะวันตก ถ้าลงที่ป้าย
ต้าซานจื่อลู่โข่วตง (大山子路口东)
หรือ
ไฉ่หงลู่ (彩虹路)
ก็จะใกล้กับประตูเหนือ
รถเมล์ที่เรานั่งมาจากชานเมืองนั้นมาลงที่ป้ายไฉ่หงลู่ซึ่งอยู่ฝั่งเหนือของชีจิ่วปา ความจริงแล้วป้ายนี้ลงแล้วยังต้องเดินอีกหน่อย จริงๆควรจะลงป้ายต้าซานจื่อลู่โข่วตงมากกว่าจะใกล้กว่าหน่อย
ประตูทางเข้าฝั่งเหนือ
เข้ามาถึงเห็นตึกนี้เป็นตึกแรก แต่ไม่ได้เข้าไป
ตึกถัดมา
มีแผนที่คร่าวๆของที่นี่อยู่ตรงนี้ มันแทบไม่ได้บอกรายละเอียดอะไรเลย แต่อย่างน้อยก็ทำให้พอเข้าใจโครงสร้างคร่าวๆของที่นี่
ตึกนี้ส่าวนแรกเป็นหอศิลเจิ้งเหริน (正仁美术馆) พอลองเข้าไปดูก็พบว่าปิดอยู่
เดินถัดมาก็มีร้านหรือหอศิลป์ให้เข้าเป็นจุดๆ
มีอาคารที่ดูเหมือนจะไม่ใช่ส่วนจัดแสดง แต่ก็ถูกตกแต่งซะสวย
ระหว่างทางเจอผลงานแปลกๆที่ดูแล้วก็ไม่เข้าใจว่าคืออะไรตั้งอยู่เรื่อยๆ แต่ก็สวยดี
มีร้านอาหารให้เข้าไปนั่งพักทานข้าวได้อยู่ประปราย
บรรยากาศโดยรวมแล้วครึกครื้นมากทีเดียว คงเพราะมาวันอาทิตย์ด้วย
ตรงนี้เป็นหอศิลป์ของคนที่ชื่อว่าเฉาหย่ง (曹勇)
เข้ามาชมด้านในได้ฟรี
ภาพวาดเต็มไปหมด สวยๆทั้งนั้น
มีชั้น ๒ ขึ้นไปได้ ชั้น ๒ มีสองฝั่ง
ฝั่งนึง
และอีกฝั่ง
ตึกนี้มีหอคอยบันไดเวียน สวยดี
หอศิลป์อีกแห่งหนึ่ง
เข้าไปแล้วเห็นว่ามีเก็บตังค์ค่าเข้า เลยไม่ได้เข้าต่อ
ด้านหน้ามีตัวอะไรวางอยู่ด้วย
นี่ก็อีกแห่งที่เก็บตังค์เลยไม่ได้เข้าไปเหมือนกัน
ป้ายบอกทางไปห้องน้ำ มีคนเอารูปอะไรมาแปะไว้ตรงตัวผู้หญิงด้วย นี่ก็เป็นศิลปะหรือเปล่านะ
เดินเลี้ยวไปตามซอยต่างๆก็เจอที่จัดแสดงผลงานอีกมากมาย
บ้างก็เจอคนกำลังนั่งดีดกีตาร์ร้องเพลง
ร้านหนังสือ
หอศิลป์ฟางหยวน (方圆美术馆) ที่นี่ใหญ่หน่อย มี ๓ ชั้น
ชั้น ๑
ขึ้นไปชั้น ๒
มองขึ้นไปตรงชั้น ๓ แต่ว่าชั้น ๓ ปิดอยู่ไม่ได้ขึ้นไป
ศูนย์ศิลปะเห่าลี่ (郝俪艺术中心)
ข้างใน
ห้องน้ำ ตัวอาคารดูโทรมๆ มีวาดอะไรไว้นิดหน่อย
เดินตามซอกซอยโน้นนี้ไปเรื่อย
มาโผล่ที่ลานกว้าง
เจอรถเข็นขายอาหารอยู่บ้าง
ร้านกาแฟ
ข้างๆมีรถไฟจอดอยู่ด้วย วันนี้เห็นรถไฟมาเยอะแล้วที่พิพิธภัณฑ์รถไฟจีน ไม่คิดว่ามาที่นี่ยังจะได้เห็นรถไฟอีก
นี่เป็นโรงละคร ข้างล่างมีภัตตาคาร
ตัวอะไรอีก
พอเดินมาเรื่อยๆก็เริ่มออกนอกเขตที่จัดแสดงศิลปะ เห็นพวกโรงงาน เนื่องจากที่นี่เป็นโรงงานมาก่อน บางส่วนก็ยังเห็นร่องรอย
เริ่มหลงเข้ามาส่วนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องแล้ว
แต่เดินวนสักพักก็กลับมาถึงย่านที่จัดแสดงศิลปะได้
แต่ก็ไม่มีอะไรมากแล้ว จากนี้ไปก็ได้เวลาเดินกลับโดยออกไปทางประตูตะวันตกเฉียงใต้
ก็จะมาเจอป้ายรถเมล์หวางเหยเฝิน จากตรงนี้สามารถขึ้นรถเมล์สาย 401 เพื่อกลับไปยังรถไฟฟ้า
สถานีซานหยวนเฉียว (三元桥站)
ได้
ที่เดินชมไปทั้งหมดในนี้เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นเอง จะเดินดูให้ทั่วคงต้องใช้เวลาเยอะกว่านี้มากเพราะมันใหญ่มาก ยิ่งถ้าเป็นคนที่ชื่นชอบศิลปะอาจจะต้องเสียเวลาเดินทั้งวันเลยก็เป็นได้ ส่วนคนธรรมดาแบบเราก็มาเดินชมแบบผ่านๆก็เพลิดเพลินดีไม่ผิดหวัง
{{s.chue}}
〇
✖
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
ประเทศจีน
>>
จีนแผ่นดินใหญ่
>>
ปักกิ่ง
--
ท่องเที่ยว
>>
พิพิธภัณฑ์
>>
หอศิลป์
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ เกี่ยวกับเรา ~
สารบัญ
รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
ภาษา python
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ
บทความแบ่งตามหมวด
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
-ซางะ
-นางาซากิ
-คุมาโมโตะ
-โออิตะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
-ออสเตรเลีย
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-ภูเขาไฟ
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
-ราเมง
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
ค้นหาบทความ
บทความล่าสุด
เดินเล่นแถวย่านจายามะและทาจิมะในเขตโจวนังใจกลางเมืองฟุกุโอกะในวันบรรลุนิติภาวะ
วันที่หิมะแรกตกในฟุกุโอกะ 10 มกราคม 2025
รอต่อแถวยาว ๒ วันเพื่อกินราเมงร้านดัง เมนยะคาเนโตระ ในย่านเทนจิงใจกลางเมืองฟุกุโอกะ
เดินหาร้านไปทั่วย่านเมย์โนฮามะและอุจิฮามะที่เงียบเหงาในวันปีใหม่ เจอแต่ความว่างเปล่า
วันปีใหม่ไปฮัตสึโมวเดะที่ศาลเจ้าวาชิโอะอาตาโงะในเขตนิชิของเมืองฟุกุโอกะ
บทความแนะนำ
รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
บทความแต่ละเดือน
2025年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
ค้นบทความเก่ากว่านั้น
ไทย
日本語
中文