φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



โปเกมอนพลาทินา ตอนที่ ๑: เมืองฟุตาบะ > เมืองมาซาโงะ > เมืองโคโตบุกิ > เมืองคุโรงาเนะ
เขียนเมื่อ 2016/09/01 21:52
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42



ช่วงนี้ได้ลองกลับมาติดตามโปเกมอนใหม่หลังจากที่ไม่ได้เล่นไม่ได้ดูเลยมาเป็นเวลานาน ตอนนี้นอกจากลองไปหยิบอนิเมะมาย้อนดูแล้วก็ยังหยิบเกมภาคเก่ามาเล่นด้วย

เมื่อก่อนนานมาแล้วเคยเล่นโปเกมอนมาตั้งแต่รุ่นแรกสุดคือเรด กรีน บลู และไม่นานก็ได้เล่นรุ่นที่สองคือโกลด์ ซิลเวอร์ต่อ จากนั้นเว้นช่วงไปสักพักก็ได้เล่นรุ่นที่สามคือรูบีแซฟไฟร์ และนั่นก็เป็นครั้งสุดท้ายที่ได้เล่นโปเกมอน

หลังจากนั้นเวลาก็ได้ผ่านไปนานเป็นสิบปีแล้ว โปเกมอนก็ได้ออกรุ่นใหม่มาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จำนวนโปเกมอนก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้ถึงรุ่นที่หก มีโปเกมอนรวมแล้ว ๗๒๑ ตัว

หลังจากที่กระแสโปเกมอนโกเริ่มมาแรงแล้วเราก็ได้ไปลองเล่นมา ตอนนี้ไม่ได้เล่นต่อแล้วเพราะไม่ได้ถึงกับติดใจระบบเกมนัก แต่ก็กลับทำให้คิดถึงเกมภาคเก่าๆขึ้นมา

ในที่สุดก็ตัดสินใจลองหยิบเกมโปเกมอนรุ่นที่สี่มาลองเล่น หลังจากที่เวลาเราหยุดอยู่ที่รุ่นที่สามมาเป็นเวลานาน ไม่เคยมีโอกาสได้รู้จักโปเกมอนถัดจากตัวที่ ๓๘๖ มาก่อนเลย จนตอนนี้โปเกมอนเพิ่มขึ้นมาเกือบสองเท่า แถมรุ่นที่เจ็ดก็เตรียมจะออกมาเพิ่มอีก

รุ่นที่สี่ประกอบไปด้วย ๓ ภาคคือไดอามอนด์ (ダイヤモンド), เพิร์ล (パール) และพลาทินา (プラチナ)
แต่ภาคที่เราเลือกเล่นคือภาคพลาทินาภาคเดียว

ภาคไดอามอนด์และเพิร์ลนั้นออกเมื่อ 28 ก.ย. 2006 ส่วนพลาทินาออกหลังจากนั้นไป ๒ ปี คือ 13 ก.ย. 2008 โดยเนื้อเรื่องโดยรวมเหมือนกัน จำนวนโปเกมอนก็ไม่ต่างกัน แต่มีเพิ่มเนื้อเรื่องเข้ามา

ภาคพลาทินามีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปในแต่ละภาษา ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า platina แต่ในภาษาอังกฤษเรียกว่า platinum ภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า platine (ปลาตีน) เยอรมันเรียก platin (พลาทิน) อิตาลีและสเปนเรียก platino (ปลาตีโน)

ที่จริงชื่อภาคในภาษาญี่ปุ่นเวลาเขียนเป็นตัวโรมันก็เขียนว่า platinum แต่เพราะคาตาคานะเขียน プラチナ ดังนั้นในที่นี้ก็จะขอยึดตามนั้น เรียกชื่อเป็น platina ด้วย

ในรุ่นนี้โปเกมอนเพิ่มขึ้นมาจากภาคก่อนอีก ๑๐๗ สายพันธุ์ รวมเป็น ๔๙๓ สายพันธุ์

เราได้ลองกลับไปค้นมังงะพ็อกเก็ตมอนสเตอร์สเปเชียล (ポケットモンスターSPECIAL) มาอ่านด้วยหลังจากที่ได้เล่นเกมจนจบไป ก่อนหน้านี้เคยอ่านมาจนถึงภาครูบีแซฟไฟร์ แต่ตอนนี้ข้ามมาอ่านภาคของไดอามอนด์ เพิร์ล พลาทินา ซึ่งอยู่ในเล่มที่ ๓๐ ถึง ๔๐



เนื้อเรื่องในมังงะมีการดัดแปลงพิศดารไปจากในเกมพอสมควร เพียงแต่ว่าก็ไม่ได้ต่างกันมากมายหากเทียบกับภาคแรกๆแล้วภาคนี้ถือว่ามังงะเดินไปตามเกมมาก ต่างกันแค่ในรายละเอียดหลายๆอย่าง

ในบันทึกการเล่นเกมที่จะเล่าถึงต่อไปนี้จะมีการเปรียบเทียบกับในมังงะไปด้วย เพื่ออรรถรส

ภาพหน้าปกมังงะเล่ม ๓๐ เป็นภาพตัวเอก ๓ ทั้งสามของภาคนี้ ด้านบนคือพลาทินา ซ้ายคือไดอามอนด์ ขวาคือเพิร์ล



เริ่มเปิดเกมมา นี่เป็นหน้าจอที่ชวนหวนระลึก ให้บรรยากาศไม่ต่างไปจากภาคเก่าที่เคยเล่น



ฉากของเรื่องราวต่อไปนี้เกิดขึ้นในภูมิภาคชินโอว (シンオウ) ซึ่งมีสภาพภูมิอากาศค่อนข้างหนาว ต้นแบบของที่นี่มีที่มาจากเกาะฮกไกโด

เปิดเกมมามีให้เลือกตัวละครแล้วก็ตั้งชื่อ ภาคนี้สามารถเลือกเล่นเป็นตัวละครชายหรือหญิงก็ได้เช่นเดียวกับภาครูบี แซฟไฟร์

สำหรับตัวเอกชายก็คือไดอามอนด์ในมังงะ เพียงแต่บุคลิกดูจะให้ความรู้สึกแตกต่างไปจากเกมพอสมควร



ส่วนตัวเอกหญิงคือพลาทินาในมังงะ



ดังนั้นในการเล่นครั้งนี้จึงตั้งชื่อตัวเอกเป็นพลาทินา



ส่วนตัวละครคู่แข่งก็สามารถตั้งชื่อได้เช่นกัน ซึ่งในมังงะนั้นคู่แข่งก็คือเพิร์ล ดังนั้นเราก็ตั้งชื่อคู่แข่งเป็นเพิร์ล



ถ้าเป็นในมังงะทั้ง ๓ คนจะร่วมออกเดินทางด้วยกัน แต่ในเกมถ้าเราเลือกตัวเอกชายก็จะไม่มีพลาทินา ถ้าเลือกตัวเอกหญิงก็จะไม่มีไดอามอนด์ แต่เพิร์ลยังไงก็เป็นตัวละครคู่แข่ง อยู่ตลอดอยู่แล้ว

เรื่องราวเริ่มต้นในเมืองฟุตาบะ (フタバタウン) พลาทินากำลังดูโทรทัศน์อยู่ในบ้าน ดร. นานากามาโดะ (ナナカマド博士) นักวิจัยเรื่องโปเกมอนกำลังออกรายการอยู่



เมื่อดูจบเพิร์ลก็เข้ามาหาพลาทินาที่ห้องบอกว่าได้ดูรายการนี้แล้วอยากได้โปเกมอนแล้วออกเดินทางบ้าง จึงชวนไปหา ดร. นานากามาโดะ ด้วยกัน สถาบันวิจัยของเขาอยู่ที่เมืองมาซาโงะ (マサゴタウン) ซึ่งเป็นเมืองข้างๆนี้เอง

ในการเดินทางต้องเดินผ่านป่าขึ้นไปทางตะวันออก ในโลกนี้การเดินทางผ่านป่าโดยไม่มีโปเกมอนเป็นเรื่องอันตราย พอทั้งสองคนกำลังจะเดินเข้าป่าก็มีคนห้ามไว้ทันที

เขาคนนั้นก็คือ ดร. นานากามาโดะ ที่เพิร์ลกำลังตามหาตัวอยู่นั่นเอง หลังจากคุยกันอยู่สักพักเขาก็เห็นถึงความตั้งใจของทั้งคู่ที่จะเป็นเทรนเนอร์จึงตัดสินใจยกโปเกมอนให้



ดร. นานากามาโดะในมังงะ



โปเกมอนมีให้เลือก ๓​ ตัว คือโปเกมอนพืช นาเอเทิล (ナエトル, Naetle, #387) โปเกมอนไฟฮิโกะซารุ (ヒコザル, Hikozaru, #390) และโปเกมอนน้ำ พจจามะ (ポッチャマ, Pochama, #393)



ที่เลือกไปคือโปเกมอนพืช นาเอเทิล

ในมังงะคนที่เลือกนาเอเทิลคือไดอามอนด์ ส่วนพลาทินาใช้พจจามะ เพิร์ลใช้ฮิโกะซารุ



พอเลือกแล้วคู่แข่งก็จะเลือกตัวที่ชนะทางเราไปเสมอ เมื่อเราเลือกพืชเขาก็จะเลือกไฟ แล้วการต่อสู้ครั้งแรกก็เริ่มขึ้นตรงนี้ ทุกอย่างไม่ต่างจากภาคก่อนๆเลย



หลังสู้เสร็จ ดร. นานากามาโดะ ก็ขอตัวกลับเมืองมาซาโงะ การเดินทางของพลาทินาและเพิร์ลก็เริ่มต้นขึ้นจากตรงนี้

เพิร์ลชวนไปจับโปเกมอนหายากที่ทะเลสาบชินจิ (シンジこ) ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของเมืองฟุตาบะ พอไปถึงก็เจอชายคนหนึ่งท่าทางลึกลับเดินสวนออกไป



พอเพิร์ลจะลองจับโปเกมอนก็นึกได้ว่าเขายังไม่มีบอล และยังไม่ได้เรียนวิธีการจับโปเกมอนด้วย จึงบอกว่าจะปหา ดร. นานากามาโดะ ที่เมืองมาซาโงะ แล้วก็รีบเดินล่วงหน้าไปก่อน

ตอนนี้มีโปเกมอนแล้วจึงสามารถเดินผ่านป่าได้แล้ว ระหว่างทางเจอโปเกมอนป่าอย่างบิปปา (ビッパ, Bippa, #399) แต่ตอนนี้ยังไม่สามารถจับได้เพราะยังไม่มีบอล



บิปปาเป็นโปเกมอนพื้นฐานที่พบได้ทั่วไปของภูมิภาคนี้ ในมังงะก็ปรากฏตัวมาตั้งแต่ตอนต้นๆ



เมื่อเดินมาถึงเมืองมาซาโงะ ที่หน้าสถาบันวิจัยของ ดร. นานากามาโดะ จะเจอกับโควกิ (コウキ) เขาเป็นผู้ช่วยของ ดร. นานากามาโดะ



ความจริงแล้วตัวละครโควกินี้จะมีหน้าตาเหมือนกับตัวเอกชาย (ไดอามอนด์ในมังงะ) เพียงแต่ว่าแค่หน้าตาเหมือนเท่านั้น บทบาทของเขามีน้อยไม่ได้โดดเด่น เป็นแค่ผู้คอยให้การสนับสนุนอยู่ห่างๆ ต่างจากตัวเอกและคู่แข่งมากพอสมควร

ส่วนชื่อก็ถูกกำหนดให้โดยอัตโนมัติ ไม่สามารถตั้งได้ ไม่งั้นคงจะตั้งชื่อเป็นไดอามอนด์ไปแล้วเพื่อให้สัมพันธ์กับในมังงะ

ในทางกลับกันถ้าเราเลือกตัวเอกเป็นชายโควกิก็จะกลายเป็นมีหน้าตาเหมือนตัวเอกหญิง และชื่อว่าฮิการิ (ヒカリ) แทน

จากนั้นเข้ามาในสถาบันวิจัยของ ดร. นานากามาโดะ เขาได้มอบสมุดภาพโปเกมอน (ポケモンずかん) ให้และฝากฝังให้ช่วยรวบรวมมันให้ครบระหว่างออกเดินทาง



สมุดภาพในภาคพลาทินานี้เริ่มต้นมาจะมีโปเกมอนจำกัดแค่ ๒๑๐ ตัวเท่านั้น (ถ้าเป็นภาคไดอามอนด์ เพิร์ลจะมีแค่ ๑๕๐ ตัว) ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นโปเกมอนที่เพิ่งเพิ่มเข้ามาในภาคนี้ และก็มีโปเกมอนจากภาคเก่ารวมอยู่ส่วนหนึ่งด้วย เป้าหมายในระยะแรกคือพบเจอโปเกมอนทั้ง ๒๑๐ ชนิดนี้ให้ครบ แต่ไม่จำเป็นต้องจับก็ได้ ซึ่งก็ไม่ยากเพราะแค่เล่นตามเรื่องแล้วสู้กับเทรนเนอร์ทุกคนที่เจอก็ได้เกือบครบแล้ว

ภายในสถาบันวิจัยนี้นอกจาก ดร. นานากามาโดะ แล้วก็ยังมีผู้ช่วยวิจัยอยู่อีก ๒​ คนเป็นชายหญิงใส่แว่น ในเกมพวกเขาเป็นแค่ตัวประกอบ แต่ว่าในมังงะมีบทพอสมควร



คนผู้ชายชื่อแบร์ลิตซ์ (ベルリッツ) เป็นพ่อของพลาทินา มีฐานะร่ำรวยมั่งคั่ง



ส่วนคนผู้หญิงชื่อฮามานะ (ハマナ) เป็นผู้ช่วยอีกคนที่เข้ามาตอนหลัง



หลังได้สมุดภาพโปเกมอนมา โควกิช่วยแนะนำสถานที่ต่างๆในเมืองให้ เสร็จแล้วก็บอกให้พลาทินากลับไปบอกแม่ที่เมืองฟุตาบะก่อน เรื่องที่ตัดสินใจจะออกเดินทาง หลังจากนั้นพอเราเดินขึ้นเหนือไปสู่ทางเดินที่จะไปเมืองต่อไปโควกิก็จะมาคอยขวางทาง บอกว่าให้กลับไปหาแม่ก่อน



พลาทินากลับมาหาแม่ที่บ้านเพื่อบอกแม่และเตรียมตัวสำหรับการออกเดินทาง



แม่ของตัวเอกในเกมนี้ชื่ออายาโกะ (アヤコ) ถ้าเป็นในมังงะคือแม่ของไดอามอนด์ แต่ในมังงะเนื้อเรื่องไม่ได้เริ่มที่เมืองนี้ คุณแม่กว่าจะปรากฏตัวออกมาจึงเป็นช่วงกลางเรื่องซึ่งไดอามอนด์กลับมาบ้านอีกครั้ง



สักพักแม่ของเพิร์ลก็เข้ามาหาที่บ้านแล้วบอกว่าเพิร์ลรีบเดินทางมุ่งหน้าสู่เมืองโคโตบุกิ (コトブキシティ) แล้ว แต่ลืมของไว้จึงอยากให้พลาทินารีบตามแล้วเอาของไปส่งให้หน่อย

พลาทินารีบออกเดินทางไป ระหว่างทางผ่านเมืองมาซาโงะอีกรอบ คราวนี้เจอโควกิแล้วเขาก็สอนการจับโปเกมอนให้โดยสู้กับโปเกมอนให้เลือดใกล้หมดแล้วใช้มอนสเตอร์บอลปาใส่



ในฉากนี้เราจึงได้เห็นภาพเต็มตัวของโควกิ ซึ่งก็เห็นได้ว่าหน้าตาเหมือนตัวเอกชาย (ไดอามอนด์) ส่วนโปเมอนที่ใช้ก็คือพจจามะ ซึ่งเป็นโปเกมอนที่พลาทินาและเพิร์ลไม่ได้เลือก



หลังจากรู้วิธีจับโปเกมอนแล้ว ระหว่างทางเดินในป่าจากเมืองมาซาโงะไปเมืองโคโตบุกิพลาทินาก็จับโปเกมอนตัวแรกได้ นั่นคือโคลิงก์ (コリンク, Kolink, #403) เป็นโปเกมอนชนิดไฟฟ้า นอกจากนั้นก็ยังจับโปเกมอนอื่นๆตามทางที่เจอมาได้ด้วย



โคลิงก์ตัวนี้เองจะกลายเป็นพวกพ้องผู้ร่วมเดินทางตั้งแต่ตอนนี้ไปจนถึงปลายทาง

จากนั้นก็เดินทางมาถึงเมืองโคโตบุกิ โควกิมารออยู่ก่อนแล้ว

เมืองโคโตบุกินี้ในมังงะเป็นเมืองจุดเริ่มต้น เรื่องเริ่มต้นจากการที่ไดอามอนด์กับเพิร์ลมาแสดงตลกที่เมืองนี้และจึงได้พบกับพลาทินาการเดินทางจึงเริ่มขึ้น

โควกิสังเกตเห็นคนน่าสงสัย พอเข้าไปทักเขาก็ตกใจแล้เปิดเผยว่าตัวเองเป็นตำรวจนานาชาติ โค้ดเนมว่าฮันซามุ (ハンサム) ชื่อจริงไม่เปิดเผย



ฮันซามุคนนี้เป็นตัวละครที่เริ่มปรากฏตัวแค่ในภาคพลาทินา ยังไม่มีในภาคไดอามอนด์และเพิร์ล ในมังงะเองก็ไม่ได้ปรากฏตัวในช่วงต้นๆแต่เป็นคนตามพลาทินาตอนสู่ที่แบทเทิลโซน

ฮันซามุในมังงะ



จากนั้นเมื่อเข้าไปที่โรงเรียนเทรนเนอร์ (トレーナーズ スクール) ซึ่งอยู่ในเมืองก็เจอเพิร์ล พลาทินาเอาของที่แม่ของเพิร์ลฝากเอาไว้ให้เพิร์ล พอเปิดดูก็พบว่าเป็นแผนที่เมือง (タウンマップ) แต่มีสองอันเลยยกให้อันนึง จากนี้ไปสามารถกดดูแผนที่เพื่อดูว่าอยู่ตรงไหนและมีเมืองอะไรบ้างได้



เสร็จแล้วเพิร์ลก็ออกเดินทางต่อไป ส่วนพลาทินาระหว่างเดินอยู่ในเมืองก็เจอกับคุณลุงคนหนึ่งเข้า เขาเข้ามาถามถึงว่าไม่มีโปเกชเหรอ?



โปเกช (ポケッチ) นั้นย่อมาจากคำว่าโปเกมอนวอช (ポケモン ウォッチ) หมายถึงนาฬิกาข้อมือโปเกมอน ย่อได้โหดมาก

เขาบอกว่าให้ตามหาปิเอโร ๓​ คนที่อยู่ในจุดต่างๆของเมืองนี้แล้วตอบคำถามให้ได้แล้วรับตั๋วแลกของรางวัล (ひきかえけん) ก็จะสามารถเอามาแลกโปเกชได้ฟรี



จากนั้นลองเดินตามหาปิเอโรครบ ๓ คนแล้วก็เอามาแลกโปเกชได้สำเร็จ โปเกชมีประโยชน์คือมีฟังก์ชันการใช้งานหลายอย่าง เช่นมีแผนที่ให้เปิดทิ้งเอาไว้ดูได้ตลอด แล้วก็มีนาฬิกา ซึ่งเวลาในนี้จะเดินตามโลกความเป็นจริง วันเวลาก็เดินไปตามนั้น



ภาพโปเกชจากในมังงะ โปเกชในมังงะเป็นอุปกรณ์ที่พวกพลาทินาได้มาตั้งแต่ต้นในเล่ม ๓๐ พร้อมกับสมุดภาพโปเกมอน แต่กว่าจะมีอธิบายถึงละเอียดก็เล่ม ๓๕



ทางตะวันตกของเมืองเป็นริมน้ำ มีคนมอบเบ็ดเก่าๆ (ボロのつりざお) มาให้ พอลองใช้ตกดูก็เจอโคยคิง (コイキング, Koiking, #129)



เมื่อแลกโปเกชมาได้แล้วพลาทินาก็เดินทางมุ่งหน้าต่อไป เป้าหมายต่อไปอยู่ทางตะวันออก คือเมืองคุโรงาเนะ (クロガネシティ) ระหว่างทางก็เจอกับเพิร์ลและได้ดวลโปเกมอนกัน ต่างฝ่ายต่างเก่งขึ้นพอสมควรแล้ว




เมื่อสู้ชนะแล้วก็เดินต่อมาจนถึงเมืองคุโรงาเนะ เมืองนี้เป็นที่ตั้งของยิมแห่งหนึ่ง คุโรงาเนะยิม (クロガネジム) สำหรับโปเกมอนเทรนเนอร์แล้วเป้าหมายสำคัญอย่างหนึ่งในการเดินทางก็คือการสู้ยิมให้ครบทั้งหมด ๘ แห่งที่อยู่ในภูมิภาคเพื่อจะเข้าร่วมโปเกมอนลีก

แต่พอมาถึงยิมก็เจอเพิร์ลยืนอยู่หน้ายิมแล้วบอกว่าหัวหน้ายิมดูเหมือนจะไม่อยู่แต่ไปที่เหมืองแร่ เมืองนี้มีชื่อเสียงเรื่องการทำเหมืองแร่ มีการขุดฟอสซิลด้วย



เมื่อไปที่เหมืองแร่ก็เจอหัวหน้ายิม เฮียวตะ (ヒョウタ) พอเข้าไปคุยเขาก็เดินกลับยิมไป



เฮียวตะในมังงะ



จากนั้นก็ตามเฮียวตะกลับมาถึงยิมเพื่อท้าสู้ยิม โปเกมอนในคุโรงาเนะยิมเป็นชนิดหินเป็นหลัก ซึ่งพลาทินาใช้นาเอเทิลตัวเดียวก็สู้ชนะได้สบายๆ



ภาพยิมนี้จากในมังงะ สำหรับในมังงะนั้นแม้ว่าทั้งสามคนจะออกเดินทางด้วยกันแต่คนที่สู้ยิมมีแค่พลาทินา ส่วนไดอามอนด์กับเพิร์ลทำหน้าที่ช่วยสนับสนุนอยู่ข้างๆ



ในที่สุดก็สู้ชนะและได้เหรียญตราโคลแบดจ์ (コールバッジ) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการพิชิตยิมได้มาเป็นเหรียญแรก




เหรียญตราแห่งแรกเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี การเดินทางของพลาทินาในฐานะ
โปเกมอนเทรนเนอร์เพิ่งจะเริ่มต้นขึ้น จากนี้ไปก็ยังจะต้องเดินทางต่อไป จับโปเกมอนมากขึ้น สู้ยิมต่อๆไป และเก่งขึ้นเรื่อยๆ



>> อ่านตอนต่อไป


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- บันเทิง >> เกม >> โปเกมอน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文