φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



[python] การสร้างฟังก์ชัน softmax
เขียนเมื่อ 2016/12/06 18:07
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
หน้านี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นเนื้อหาเสริมให้กับบทความเรื่องการวิเคราะห์การถดถอยซอฟต์แม็กซ์ https://phyblas.hinaboshi.com/20161205

ฟังก์ชันซอฟต์แม็กซ์เขียนดังนี้


ซึ่งสามารถเขียนฟังก์ชันในไพธอนได้ง่ายๆดังนี้
def softmax(x):
    exp_x = np.exp(x)
    return (exp_x/exp_x.sum())

โดยที่ x ในที่นี้เป็นอาเรย์หนึ่งมิติซึ่งมีสมาชิกหลายตัว พอป้อนอาเรย์ x ลงไปก็จะได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นค่าที่แปลงเป็นความน่าจะเป็น
x = np.array([1,2,5,6])
print(softmax(x))

ได้
[ 0.00483724  0.01314897  0.26410418  0.71790961]

อย่างไรก็ตามมีข้อควรระวังอยู่ นั่นคือเวลาที่ใส่ค่าสูงมากๆลงไป เช่น
x = np.array([1000,1001,1002,1003])
print(softmax(x))

จะได้
[ nan  nan  nan  nan]

ที่เป็นแบบนี้เพราะว่า np.exp(1000) นั้นมีค่ามากเกินไปทำให้ถือว่าเป็นอนันต์

และเมื่อนำค่าอนันต์มาหารกันผลที่ได้ก็จะเป็น nan ซึ่งเป็นความผิดพลาดเนื่องจากข้อจำกัดของคอมพิวเตอร์

ลองใส่ตัวเลขคำนวณดูจริงๆก็จะเห็นปัญหา
print(np.exp(1000)) # ได้ inf
print(np.exp(1000)/np.exp(1000)) # ได้ nan

วิธีการรับมือกับปัญหานี้ก็คือตอนที่คำนวณให้นำค่าตัวที่สูงที่สุดในนั้นมาเป็นฐาน ลบออกจากค่าทุกตัวก่อนที่จะนำมาเข้า exp เท่านี้ค่าก็จะไม่มีวันสูงเกินไปแล้ว

ลองแก้เป็นแบบนี้
def softmax(x):
    exp_x = np.exp(x-x.max())
    return (exp_x/exp_x.sum())

x = np.array([1000,1001,1002,1003])
print(softmax(x))

ได้
[ 0.0320586   0.08714432  0.23688282  0.64391426]

พอเขียนแบบนี้ก็จะไม่มีปัญหาแล้ว

อีกเรื่องหนึ่งที่ต้องจัดการแก้ก็คือ โดยทั่วไปแล้วข้อมูลที่เรานำมาคำนวณซอฟต์แม็กซ์นั้นมักไม่ได้มีแค่มิติเดียวแต่เป็นสองมิติ

เพราะปกติเวลาที่คำนวณมักจะป้อนข้อมูลหลายแถวในเวลาเดียวกัน และข้อมูลแต่ละแถวก็แบ่งเป็นหลายหลัก โดยทั่วไปการคำนวณจะนำแต่ละหลักในแถวหนึ่งๆมาคำนวณซอฟต์แม็กซ์โดยแต่ละแถวแยกกันโดยไม่เกี่ยวกัน

ตัวอย่าง
x = np.array([[1,3,7,11],[9,1,7,2],[1,2,4,4]])

ถ้านำอาเรย์ x มาใช้กับฟังก์ชันซอฟต์แม็กซ์ที่เพิ่งสร้างขึ้นมาตอนนี้จะเกิดข้อผิดพลาด เนื่องจากถูกทำไว้ให้ใช้กับอาเรย์มิติเดียวเท่านั้น

การเขียนซอฟต์แม็กซ์สำหรับสองมิติจะซับซ้อนขึ้นมาหน่อย โดยเขียนแบบนี้
def softmax(x):
    exp_x = np.exp(x.T-x.max(1))
    return (exp_x/exp_x.sum(0)).T

เท่านี้ก็ใช้กับสองมิติได้แล้ว ลองนำมาใช้ดู
print(softmax(x))

ได้
[[  4.45666886e-05   3.29305762e-04   1.79794854e-02   9.81646642e-01]
 [  8.79830446e-01   2.95150233e-04   1.19072103e-01   8.02301516e-04]
 [  2.27845678e-02   6.19348766e-02   4.57640278e-01   4.57640278e-01]]

จะเห็นว่าผลที่ได้นั้นจะแยกคิดเป็นแถวๆ ดังนั้นหากรวมค่าทุกหลักในแต่ละแถวก็จะได้ 1
print(softmax(x).sum(1))

ได้
[ 1.  1.  1.]



เท่านี้ก็ได้ฟังก์ชันซอฟต์แม็กซ์สำหรับนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในการเขียนโปรแกรมสำหรับการเรียนรู้ของเครื่องแล้ว

วิธีการทั้งหมดดัดแปลงมาจากเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> ปัญญาประดิษฐ์
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> numpy

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文