φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



บันทึกความประทับใจ อาเตอลีเยของโทโทริ และอาเตอลีเยของอาช่า
เขียนเมื่อ 2017/01/19 18:27
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
หลังจากที่เขียนบันทึกการเล่นมาอาเตอลีเยของอาช่ามาจนจบแล้ว คราวนี้ก็เลยอยากเขียนเกี่ยวกับความรู้สึกที่มีต่อเกมสักหน่อย

เช่นเดียวกับที่เคยเขียนของภาคโรโรนาไปใน https://phyblas.hinaboshi.com/20140830

โดยคราวนี้จะเขียนรวมกับอาเตอลีเยของโทโทริซึ่งเล่นจบมาตั้งแต่ปี 2014 แล้วยังไม่ได้มีโอกาสเขียนถึง





ที่มาที่ไป

เดิมทีเราเริ่มรู้จักเกมตระกูลอาเตอลีเยนี้แบบผ่านๆมาตั้งนานแล้ว แต่เพิ่งมาสนใจจริงๆตอนปี 2014 ที่อนิเมะภาคเอสกา&โลจีฉายไป ตอนนั้นมีโอกาสได้เล่นภาคเอสกา&โลจีใน ps3 ที่บ้านเพื่อน แล้วก็ได้เล่นภาคอาช่าไปด้วย ทั้งสองภาคเล่นไปอย่างละนิด

ภาคอาช่าเป็นเนื้อเรื่องของภาคเอสกา&โลจี การที่อนิเมะเริ่มมาทำตั้งแต่ภาคเอสกา&โลจีจึงทำให้ไม่เข้าใจความเป็นมาของบางตัวละครที่ปรากฏมาก่อนและเหตุการณ์ที่เกี่ยวพันกัน

พอได้มาเล่นเกมก็เลยตั้งใจว่าอยากลองเล่นตั้งแต่ภาคอาช่าดู เพื่อจะได้เข้าใจสิ่งที่ปรากฏในอนิเมะมากขึ้น อีกทั้งหากมีเวลาก็จะกลับมาเล่นภาคเอสกา&โลจีดูอีก

สุดท้ายจึงตัดสินใจซื้อ ps vita มาเล่น ตอนนั้นภาคอาช่าเพิ่งจะถูกย้ายไปลงใน ps vita พอดีด้วย ดังนั้นทีแรกจึงตั้งใจว่าอยากเล่นภาคอาช่าก่อน แต่ไปๆมาๆพอหาข้อมูลไปเรื่อยๆก็กลับสนใจภาคโทโทริมากที่สุดจึงตัดสินใจจะเล่น

แต่ว่าเพื่อให้เรียงไปตามลำดับเนื้อเรื่อง ตอนแรกจึงตัดสินใจไปเล่นภาคโรโรนาซึ่งเป็นภาคแรกก่อน จากนั้นจึงมาเล่นภาคโทโทริต่ออีกที

ภาคโทโทรินี้ไม่ได้ซื้อเองแต่ยืมแผ่นเกมจากเพื่อนที่เชียงใหม่ซึ่งให้ฝากเพื่อนมาตอนที่ไปเที่ยวและจึงมีโอกาสได้เล่นตอนช่วงที่เที่ยวกัมพูชาอยู่เป็นเวลา ๔ วัน ในระหว่างที่เริ่มเล่นนั้นยังเล่นภาคโรโรนาค้างอยู่ยังไม่จบ และหลังจากที่กลับจากเที่ยวก็กลับมาเล่นภาคโรโรนาต่อ แล้วพอเล่นภาคโรโรนาจบจึงกลับมาเล่นโทโทริต่ออีกที

หลังจากนั้นช่วงปิดเทอมก็จบลง แล้วก็ไม่มีเวลาเล่นอีก ตอนแรกก็ยังไม่แน่ใจว่าจะได้กลับมาเล่นภาคอื่นต่อตามที่ตั้งใจไว้หรือเปล่า แต่สุดท้ายแล้วหลังจากผ่านไปปีหนึ่ง เดือนกรกฎาคมปี 2015 ก็ได้ตัดสินใจมาเล่นภาคอาช่าตอนที่ไปเที่ยวพม่า (บันทึกเขียนไว้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20150821)

เพียงแต่ว่าหลังจากนั้นก็เกิดยุ่งขึ้นมาแล้วก็ต้องหยุดเล่นไปดื้อๆหลังจากวันที่ 25 ตุลาคม 2015 ช่วงที่เขียนเนื้อเรื่องไปได้ถึงบทที่ ๑๑ (https://phyblas.hinaboshi.com/20151113)

หลังจากนั้นจึงกลับมาเล่นต่อตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2016 และเล่นจบทั้งหมดในวันที่ 3 มกราคม 2017 เรียกได้ว่าเป็นเกมที่เล่นข้ามเวลาถึง ๓ ปีเลยทีเดียว ซึ่งตรงกับระยะเวลาเนื้อเรื่องในเกมที่ยาว ๓ ปีพอดี





เที่ยวโบราณสถานไปกับเกม

จากการที่เราได้ถือ ps vita ไปเที่ยวโบราณสถานมาสองครั้ง พอลองคิดดูแล้วก็เลยกลายเป็นเหมือนว่า... ครั้งหนึ่งได้เที่ยวกัมพูชาไปพร้อมกับโทโทริ และครั้งหนึ่งได้เที่ยวพม่าไปพร้อมกับอาช่า

สิ่งที่เหมือนกันระหว่างการผจญภัยในเกมกับสถานที่เที่ยวก็คือ ได้เจอกับโบราณสถานมากมาย ต่างกันที่โบราณสถานในเกมออกแนวตะวันตกยุคกลาง แต่ก็เสริมจินตนาการของผู้แต่งไปจนดูเหนือกว่านั้นมาก

เกมตระกูลอาเตอลีเยนั้นเน้นเรื่องการเล่นแร่แปรธาตุเป็นหลัก แต่ก็มีส่วนไม่น้อยที่เกี่ยวพันกับโบราณสถานและอารยธรรมที่สูญหายไป คนแต่งเรื่องเองก็คงชอบเที่ยวโบราณสถานเช่นเดียวกับเราเป็นแน่

โบราณสถานเป็นอะไรที่ให้ความรู้สึกลึกลับน่าค้นหาดี แม้แต่ในโลกเรายุคปัจจุบันก็ยังมีปริศนาอีกมากมายหลงเหลือให้ค้นหา แม้เทคโนโลยีปัจจุบันจะพัฒนามาถึงขนาดนี้แล้วก็ตาม

แต่ในเกมนั้นเนื้อเรื่องเป็นยุคกลางซึ่งเทคโนโลยียังไปได้ไม่ถึงไหน ไม่มีเครื่องบิน ไม่มีกล้องถ่ายรูป ไม่มีเครื่องถ่ายเอกสาร ในยุคสมัยแบบนั้นการจะสำรวจค้นคว้าอะไรต่างๆดูจะยากลำบากมากมาย และปริศนาต่างๆก็ยิ่งดูลึกลับมีเสน่ห์น่าค้นหามากยิ่งกว่า

บางทีเราก็คิดเหมือนกันว่าหากปริศนาทุกอย่างบนโลกนี้ถูกคลี่คลายได้หมดแล้วจะมีอะไรเหลือให้น่าค้นหาอยู่อีก โลกนี้จะไม่ดูน่าเบื่อไปเลยหรือ? แต่ถึงอย่างนั้นนักวิทยาศาสตร์ก็ยังคงต้องมุ่งมั่นวิจัยค้นหาประวัติศาสตร์ต่อไปเรื่อยๆ





เปรียบเทียบภาคโทโทริกับภาคโรโรนา

ภาคโทโทรินี้หากเทียบกับภาคโรโรนาแล้วเนื้อเรื่องน่าสนใจกว่ามาก เพราะได้ออกผจญภัยไปตามที่ต่างๆมากกว่า ขอบเขตกว้างกว่ามาก มีการเดินในฉากแผนที่จริงๆ

โทโทรินั้นเป็นทั้งนักเล่นแร่แปรธาตุและก็เป็นนักผจญภัยด้วย ต่างจากโรโรนาที่เป็นนักเล่นแร่แปรธาตุอย่างเดียว จึงมีอะไรให้ทำหลากหลายกว่ามาก เนื้อเรื่องก็ดูจะยาวกว่า

ความหนักหน่วงของเนื้อหาก็ต่างกันพอสมควร โรโรนาเป็นนักเล่นแร่แปรธาตุเพื่อช่วยรักษาอาเตอลีเยของอาจารย์ที่เสี่ยงจะโดนปิด แต่โทโทริออกผจญภัยเพื่อตามหาแม่ จึงต้องเดินทางไกลและผ่านเหตุการณ์น่าลุ้นระทึกมากมาย

เทียบกับภาคโรโรนาแล้วภาคโทโทรินี้เล่นจบสมบูรณ์ได้ยากกว่ามาก เพราะเงื่อนไขเยอะ และเหตุการณ์บางอย่างมีข้อจำกัดเกิดได้เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขบางอย่างเท่านั้น เกมนี้มีอิสระในการดำเนินเรื่องเองเยอะเสียจนอาจทำให้พลาดบางอย่างไปได้ แต่นั่นก็เป็นความสนุกของภาคนี้

ทุกอย่างจบลงอย่างสมบูรณ์ด้วยการเล่นแค่รอบเดียวถือว่าน่ายินดีมาก ตอนแรกก็กังวลมากทีเดียวว่าจะไม่สำเร็จ การจะทำแบบนี้ได้แน่นอนว่าต้องวางแผนมาอย่างดี ต้องไม่พลาดอะไรเลย ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ บางช่วงต้องย้อนเล่นใหม่ไปมาซ้ำๆหลายครั้งกว่าจะลงตัว

ที่จริงแล้วถ้าเล่นแบบสบายๆไม่ต้องคิดมากไปเรื่อยๆก็สามารถสนุกได้อีกแบบ แต่แบบนั้นก็จะไม่สามารถจบแบบสมบูรณ์ได้และอาจต้องมาเล่นซ้ำใหม่ถ้าต้องการเห็นฉากจบแบบแท้จริง แต่เราไม่กะจะเล่นมากกว่าหนึ่งรอบเพราะไม่ได้มีเวลามากขนาดนั้น จึงพยายามทำทุกอย่างให้ดีที่สุดในรอบเดียว

ถึงอย่างนั้นสุดท้ายแล้วก็ทำได้สำเร็จ และโทรฟีก็ได้มาครบทั้งหมด ในขณะที่ภาคโรโรนายังได้มาไม่หมดเลย ภาคนี้โทรฟีได้ครบง่ายกว่าภาคโรโรนาเพราะไม่ต้องปราบมอนสเตอร์โหดๆ แค่เล่นตามเนื้อเรื่องจนจบทุกแบบก็พอ



เปรียบเทียบเนื้อเรื่องในแดนสายัณห์กับอาร์แลนด์

เนื้อเรื่องภาคอาช่าและเอสกา&โลจีนั้นเกิดขึ้นในแดนสายัณห์ ซึ่งเป็นคนละโลกกันกับภาคโรโรนาและโทโทริ เนื้อเรื่องไม่ได้เกี่ยวข้องกัน แต่ฉากก็มีความคล้ายคลึงกันอยู่

โลกที่โรโรนาและโทโทริอยู่นั้นไม่ได้พูดถึงปริศนาอะไรต่างๆมากมาย พล็อตดูเรื่อยเปื่อยสบายๆเหมือนใช้ชีวิตไปเรื่อยๆ แต่แดนสายัณห์โลกของอาช่านั้นเต็มไปด้วยปริศนาซึ่งเหลือทิ้งไว้โดยอารยธรรมโบราณ ดังนั้นจึงดูมีอะไรน่าค้นหากว่า

เป้าหมายในเนื้อเรื่องของอาช่านั้นคล้ายกับภาคโทโทริ คือออกผจญภัยไปเรื่อยๆไม่ได้วุ่นกับการทำภารกิจโดยมีเวลากำหนดแน่นอน เพียงแต่พอเป็นภาคเอสกา&โลจี ก็จะกลับไปเป็นแบบทำภารกิจคล้ายๆกับภาคโรโรนา ดูจะสลับกันไป

อาช่าออกเดินทางเพื่อตามหาน้องสาวที่หายตัวไป ดูแล้วก็คล้ายกับโทโทริ ขอบเขตการผจญภัยก็กว้างเหมือนกันด้วย แต่ต่างตรงที่อาช่ามีอาเตอลีเยตั้งอยู่ตามจุดต่างๆทั่วแผนที่ถึง ๔ แห่ง ส่วนโทโทริมีแค่ ๒ แห่ง แล้วก็เนื้อเรื่องอาช่าดูมีความเป็นอิสระมากกว่า เพราะอาช่าออกผจญภัยด้วยตัวเองไม่ได้เข้าสังกัดอะไรกับใคร

ส่วนระบบเกมนั้นไม่ว่าภาคไหนก็ต้องวุ่นวายกับเรื่องการผสมไอเท็มซึ่งต้องคำนึงถึงอะไรหลายๆอย่าง เทียบแล้วภาคอาช่าอาจซับซ้อนกว่าตรงที่ต้องคำนึงถึงธาตุของไอเท็มด้วย แต่ก็มีบางส่วนที่ลดความซับซ้อนลงไปอยู่ด้วย รวมๆแล้วเวลาผสมของทีก็สนุกเหมือนกัน ต้องหัวปั่นพอสมควรเหมือนกัน นี่เป็นจุดเด่นของอาเตอลีเยไม่ว่าภาคไหนก็ตาม



โดยรวมแล้วเรื่องระบบเกมและเนื้อเรื่องก็ชอบทั้ง ๒ ภาคนี้พอๆกัน แต่เรื่องตัวละครก็ยังรู้สึกชอบภาคโทโทริมากกว่า

เรื่องฉากจบนั้นภาคอาช่าเป็นระบบที่ว่าหากกางธงจบไว้หลายๆแบบแล้วสามารถเลือกฉากจบแบบไหนก็ได้ ตรงนี้ต่างจากภาคโทโทริที่เลือกไม่ได้จึงต้องควบคุมเงื่อนไขต่างๆให้ดี ส่วนภาคโรโรนานั้นฉบับดั้งเดิมจะเลือกไม่ได้ แต่พอเป็นฉบับใหม่ที่ออกใน ps vita นี้จะสามารถเลือกได้ทำให้สบายหน่อย

แต่สุดท้ายแล้วภาคที่สามารถเช่นจบเก็บฉากจบได้ครบทั้งหมดก็กลับมีแต่ภาคโทโทริ ส่วนภาคอาช่ากับโรโรนายังขาดส่วนที่ทำยากไป โทรฟีก็เลยได้ไม่ครบด้วย





โลกแห่งการผจญภัย

ฉากของเรื่องดูคล้ายกับโลกในยุคกลาง ซึ่งเป็นสมัยที่ผู้คนยังรู้อะไรเกี่ยวกับโลกน้อยมาก มีดินแดนที่ยังไม่ได้สำรวจอีกมากมาย ทำให้การผจญภัยดูจะเป็นอะไรที่น่าหลงใหล

อาช่าเองในขณะที่เดินทางตามหาน้องสาวก็ได้ค้นพบทำความเข้าใจเกี่ยวกับโลกที่ตัวเองอยู่ไปทีละนิด

ในตอนจบแบบคีธกริฟแบบอาช่าได้ตัดสินใจออกเดินทางเพื่อค้นหาความลับของโลกนี้ โดยส่วนตัวแล้วมองว่านี่เป็นฉากจบที่ชอบที่สุด เพราะโลกนี้มีอะไรน่าค้นหามากมาย หากอยากค้นพบอะไรต่างๆก็ต้องออกเดินทาง



ในโลกนั้นการเดินทางไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะไม่มีเครื่องบินทำให้กว่าจะเดินทางข้ามดินแดนได้ต้องใช้เวลานานและไม่ได้สุขสบาย ไม่รู้ว่าจะได้กลับมาอีกเมื่อไหร่ การจะตัดสินใจออกเดินทางต้องอาศัยความเด็ดเดี่ยวมากทีเดียว

การเดินทางในโลกแฟนตาซีแบบนี้ที่จริงคงเต็มไปด้วยอันตรายมากมาย แต่ในเกมหรืออนิเมะส่วนใหญ่มักจะไม่ได้พูดถึงความลำบากมากนัก มักจะแสดงให้เห็นถึงแต่สิ่งดีๆมากกว่า ดังนั้นพอดูไปเรื่อยๆเราก็หลงใหลโลกแบบนี้ขึ้นมาเรื่อยๆโดยไม่รู้ตัว

พวกเราเล่นเกมคงชอบเนื้อเรื่องที่มีการผจญภัย แต่หากให้ตัวเองไปอยู่ในนั้นแล้วผจญภัยจริงๆก็คงไม่ไหวเหมือนกัน จึงได้แต่ชื่นชมหลงใหลและจินตนาการถึงจากตรงนี้




ต่อจากนี้ไป

ในขณะที่เขียนอยู่นี่เกมตระกูลอาเตอลีเยก็ออกต่อมาอีกหลายภาคแล้ว แต่ตอนนี้ยังไม่มีแผนที่จะเล่นต่อ เพราะการเล่นภาคนึงต้องใช้เวลานาน อีกทั้งดูเหมือนจะเริ่มถึงจุดอิ่มตัวขึ้นมา

ภาคเอสกา&โลจีนั้นรู้เนื้อเรื่องจากในอนิเมะแล้ว และได้เคยเล่นไปบางส่วนที่บ้านเพื่อนแล้ว ดังนั้นก็อาจไม่ได้เล่นอีก แม้จะรู้ว่าเนื้อเรื่องสนุกก็ตาม

ภาคเมรุรุซึ่งเป็นเนื้อเรื่องต่อจากโทโทรินั้นไม่น่าจะมีโอกาสได้เล่น เท่าที่รู้มาเนื้อเรื่องไม่มีอะไร สู้ภาคอื่นไม่ได้เลย

หากคิดจะเล่นต่ออีกจริงๆอาจจะเป็นภาคชาลี ซึ่งเป็นภาคต่อจากเอสกา แต่ก็ต้องดูอะไรๆต่อไปก่อน

ไม่ว่าจะได้เล่นต่อหรือเปล่า ประสบการณ์และความประทับใจที่ได้เล่นจบมาทั้ง ๓ ภาคก็จะตราตรึงอยู่ในใจ ไม่รู้สึกเสียดายที่ได้เล่น


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- บันเทิง >> เกม >> อาเตอลีเย

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文