φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



[python] ใช้ชุดข้อมูลดอกไม้เป็นตัวอย่างเพื่อทดสอบการเรียนรู้ของเครื่อง
เขียนเมื่อ 2018/08/08 00:50
แก้ไขล่าสุด 2022/07/11 12:35
ชุดข้อมูลดอกไม้ของฟิชเชอร์ เป็นชุดข้อมูลหนึ่งที่นิยมนำมาใช้เป็นตัวอย่างเพื่อฝึกหรือทดสอบปัญหาการวิเคราะห์แบ่งกลุ่มในการเรียนรู้ของเครื่องกันอย่างกว้างขวาง

ชุดข้อมูลนี้เป็นข้อมูลของดอกไม้สกุล Iris ทั้งหมด ๑๕๐ ดอกซึ่งถูกเก็บรวบรวมจากคาบสมุทรกาสเป (Gaspé) ประเทศแคนาดา โดยเอดการ์ แอนเดอร์สัน (Edgar Anderson) นักพฤกษศาสตร์ (บางครั้งจึงเรียกว่าข้อมูลดอกไม้ของแอนเดอร์สัน)

ชุดข้อมูลนี้เริ่มถูกนำมาใช้ในปี 1936 โดยรอนัลด์ ฟิชเชอร์ (Ronald Fisher) นักสถิติ โดยใช้เป็นตัวอย่างในการอธิบายการวิเคราะห์การจำแนกประเภทเชิงเส้น (线性判别分析, linear discriminant analysis)

เรื่องการวิเคราะห์การจำแนกประเภทเชิงเส้นได้เคยแนะนำไปใน https://phyblas.hinaboshi.com/20180802

ข้อมูลดอกไม้ประกอบไปด้วย
0. ความยาวกลีบเลี้ยง
1. ความกว้างกลีบเลี้ยง
2. ความยาวกลีบดอก
3. ความกว้างกลีบดอก

ดอกไม้มี ๓ สายพันธุ์ ได้แก่
0. Iris setosa
1. Iris versicolor
2. Iris virginica

ใน sklearn ได้ใส่ชุดข้อมูลนี้ไว้อยู่ในมอดูลย่อย datasets แล้ว จึงนำมาใช้ได้ง่ายในทันที
from sklearn import datasets
ir = datasets.load_iris()
X = ir.data # ค่าตัวเลขแสดงความกว้างความยาวของกลีบเลี้ยงและกลีบดอก
z = ir.target # เลข 0,1,2 ที่บอกว่าเป็นดอกไม้สายพันธุ์ไหน
print(ir.target_names) # ชื่อสายพันธ์ทั้ง ๓ ของดอกไม้
print(ir.feature_names) # ชื่อลักษณะเฉพาะทั้ง ๔ ที่พิจารณา
print(X.mean(0))

ได้
['setosa' 'versicolor' 'virginica']
['sepal length (cm)', 'sepal width (cm)', 'petal length (cm)', 'petal width (cm)']
[5.84333333 3.054      3.75866667 1.19866667]

เนื่องจากข้อมูลเป็นสี่มิติ การแสดงภาพให้เห็นค่อนข้างยาก อาจลองดูการกระจายในสองมิติโดยจับคู่ดูทีละ ๒ ตัวแปร แบบนี้
import numpy as np
import matplotlib.pyplot as plt
plt.figure(figsize=[6,7])
for i in range(1,4):
    for j in range(i):
        plt.subplot2grid((3,3),(j,i-1),title='%s<>%s'%(i,j))
        plt.scatter(X[:,i],X[:,j],20,c=z,alpha=0.9,edgecolor='C2',cmap='spring')
plt.tight_layout()
plt.show()





ใช้การวิเคราะห์การจำแนกประเภทเชิงเส้น

ลองทำการวิเคราะห์ข้อมูลในสองมิติโดยการวิเคราะห์การจำแนกประเภทเชิงเส้น (LDA) เพื่อให้ได้ข้อมูลสองมิติที่มีการกระจายตัวดีที่สุด
from sklearn.discriminant_analysis import LinearDiscriminantAnalysis as LDA
lda = LDA(n_components=2)
Xi = lda.fit_transform(X,z)
plt.figure()
plt.scatter(Xi[:,0],Xi[:,1],c=z,alpha=0.9,edgecolor='C2',cmap='spring')
plt.show()



จากนั้นลองทำการลากเส้นแบ่งโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องวิธีต่างๆดู
- การถดถอยโลจิสติก (逻辑回归, logistic regression)
- วิธีการเพื่อนบ้านใกล้สุด k ตัว (K-近邻算法, k-nearest neighbor, KNN)
- เครื่องเวกเตอร์ค้ำยัน (支持向量机, support vector machine, SVM)
- ป่าสุ่ม (随机森林, random forest)
from sklearn.linear_model import LogisticRegression as Lori
from sklearn.neighbors import KNeighborsClassifier as Knn
from sklearn.svm import SVC
from sklearn.ensemble import RandomForestClassifier as Rafo

x,y = Xi.T
model = [Lori(),Knn(),SVC(),Rafo()]
withi = [u'การถดถอยโลจิสติก',u'เพื่อนบ้านใกล้สุด k ตัว',u'SVM',u'ป่าสุ่ม']
mx,my = np.meshgrid(np.linspace(x.min(),x.max(),200),np.linspace(y.min(),y.max(),200))
mX = np.array([mx.ravel(),my.ravel()]).T
plt.figure(figsize=[7,7])
for i,m in enumerate(model):
    m.fit(Xi,z)
    mz = m.predict(mX).reshape(200,200)
    plt.subplot(221+i,xlim=[x.min(),x.max()],ylim=[y.min(),y.max()])
    plt.scatter(x,y,c=z,edgecolor='C2',cmap='spring')
    plt.contourf(mx,my,mz,alpha=0.1,cmap='spring')
    plt.title(withi[i],family='Tahoma')
plt.tight_layout()
plt.show()





ทดสอบความแม่นยำของเทคนิคต่างๆ

ลองเปรียบเทียบความแม่นยำในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การตรวจสอบแบบไขว้ k-fold (รายละเอียด https://phyblas.hinaboshi.com/20171018)
from sklearn.model_selection import StratifiedKFold
ir = datasets.load_iris()
X,z = ir.data,ir.target
model = [Lori,Knn,SVC,Rafo]
khanaen = [[],[],[],[]]
for f,t in StratifiedKFold(n_splits=6).split(X,z):
    for i,m in enumerate(model):
        khanaen[i].append(m().fit(X[f],z[f]).score(X[t],z[t])*100)
khanaen_chalia = np.mean(khanaen,1)
for i in range(4):
    print('%s: %.1f%%'%(withi[i],khanaen_chalia[i]))

ได้
การถดถอยโลจิสติก: 95.2%
เพื่อนบ้านใกล้สุด k ตัว: 96.6%
SVM: 98.0%
ป่าสุ่ม: 95.9%

จะเห็นว่าแต่ละวิธีสามารถทำการทำนายข้อมูลได้แม่น 90% ขึ้นไป



ใช้ SOM

สุดท้ายลองทำแผนที่โยงก่อร่างตัวเอง (自组织映射, self-organizing maps) หรือ SOM (รายละเอียด https://phyblas.hinaboshi.com/20180805)

ในที่นี้จะใช้คลาส SOM ที่แนะนำไปในบทความนั้น ส่วนนิยามคลาสเอาจากในนี้ได้ https://github.com/phyblas/rianrupython/blob/master/kanrianrukhongkhrueang/som.py
from sklearn import datasets
ir = datasets.load_iris()
X,z = ir.data,ir.target
Xsom = SOM([100,100],eta=0.1).rianru_plaeng(X,100) # ใช้ SOM
plt.axes(aspect=1)
plt.scatter(Xsom[:,0],Xsom[:,1],c=z,alpha=0.9,edgecolor='C2',cmap='spring')
plt.show()



เมื่อใช้ SOM แล้วจะเห็นว่าดอกไม้แต่ละชนิดถูกกระจายลงบนโครงข่ายโดยแต่ละชนิดแยกเขตกันอยู่

จากนั้นลองเอามาทำการแบ่งด้วยเทคนิคต่างๆก็จะได้ออกมาแบบนี้



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> ปัญญาประดิษฐ์
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> sklearn
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> matplotlib
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> numpy

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文