φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ร่วมกิจกรรมดูดาวที่ตึกรปปงงิฮิลส์ 24 พฤษภาคม 2019
เขียนเมื่อ 2019/05/24 23:35
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
# ศุกร์ 24 พ.ค. 2019

วันนี้มีกิจกรรมทางดาราศาสตร์จัดขึ้นที่ตึกรปปงงิฮิลส์ (六本木ろっぽんぎヒルズ) โดยสมาคมดาราศาสตร์รปปงงิ (六本木天文ろっぽんぎてんもんクラブ)

ปกติงานนี้จะจัดขึ้นทุกสัปดาห์สุดท้ายของแต่ละเดือน

งานนี้แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือช่วงบรรยาย เวลา 19:00~20:00 ภายในอาคารชั้น ๔๙ หลังจากนั้น 20:00~22:00 จะให้ขึ้นไปบนยอดตึกรปปงงิฮิลส์เพื่อดูดาว

เนื่องจากสถานที่เป็นดาดฟ้าตึกรปปงงิฮิลส์ซึ่งสูงถึง ๒๓๘ เมตร จึงสามารถมองเห็นฟ้าได้รอบทิศ เหมาะแก่การดูดาว เพียงแต่อยู่กลางเมืองโตเกียวมลพิษทางแสงจึงมาก ยังไงก็ไม่อาจเห็นดาวได้ชัด

ผู้บรรยายในห้องคือ เซนซึย โทโมฮิโระ (泉水せんすい 朋寛ともひろ) เป็นซอเมอลีเยแห่งดวงดาว (ほしのソムリエ)

คำว่าซอเมอลีเย (sommelier, [sɔməlje]) มาจากภาษาฝรั่งเศส ปกติใช้เรียกผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องไวน์ ซอเมอลีเยแห่งดวงดาวจึงหมายถึงผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการดูดาว คือเมื่อมองไปบนท้องฟ้าจะรู้ว่าดาวดวงไหนคืออะไร และสามารถแนะนำคนอื่นว่าจะดูดาวยังไง

ส่วนคนที่ทำงานบรรยายที่ยอดตึกมีหลายคน มีคนนึงเป็นคนที่ทำงานที่หอดูดาวแห่งชาติ คนนี้เองที่เป็นคนชวนมางานนี้ และเป็นคนขับรถจากหอดูดาวแห่งชาติมาส่งถึงที่ เรามากับเพื่อนคนไทยที่ทำงานอยู่ด้วยกันอีกคน



เราออกจากหอดูดาวแห่งชาติตอนประมาณห้าโมงครึ่ง ระหว่างทางก็รถติดอยู่ กว่าจะถึงรปปงงิฮิลส์ก็เกือบทุ่มซึ่งเป็นเวลาเริ่มบรรยาย

ห้องบรรยายชั้น ๔๙



การบรรยายเริ่มขึ้น เริ่มจากให้ดูว่าคืนนี้จะเห็นดาวอะไรได้บ้างตอนสองทุ่มกว่า มีการเล่านิทานดาวที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มดาวที่เห็นด้วยส่วนหนึ่ง




กลุ่มดาวหลักๆที่เขาแนะนำในคืนนี้คือกลุ่มดาวหญิงสาว กลุ่มดาวผมเบเรนิซ กลุ่มดาวนกกา เป็นต้น

แล้วก็มีพูดถึงว่าเดือนหน้าเหมาะแก่การดูดาวพฤหัส เพราะตำแหน่งดาวพฤหัสจะอยู่ตรงข้ามดวงอาทิตย์เมื่อมองจากโลกพอดี



หลังจากบรรยายเสร็จเขาก็ปล่อยให้ผู้ร่วมงานเดินไปยังชั้นดาดฟ้าเพื่อดูดาว



เริ่มจากลงจากห้องบรรยายที่ชั้น ๔๙ แล้วขึ้นลิฟต์ไปชั้น ๓ ตรงอีกฝั่งตึก



จากชั้น ๓ เดินไปขึ้นลิฟต์ไปยังชั้น ๕๒




จากชั้น ๕๒ เดินไปที่ห้องที่มีตู้ล็อกเกอร์เพื่อฝากสัมภาระต่างๆซึ่งห้ามนำขึ้นดาดฟ้า แล้วก็ขึ้นลิฟต์ต่อไปยังชั้นดาดฟ้า




ถึงชั้นดาดฟ้า



ตรงกลางของดาดฟ้ามีคนบรรยายว่าดาวอะไรอยู่ตรงไหนบ้างให้ผู้เข้าร่วมได้เข้าใจ นอกจากนี้ก็มีตั้งกล้องสำหรับส่องดูวัตถุท้องฟ้าที่น่าสนใจ เช่นดาวพฤหัส และกระจุกดาว M44 เราก็ได้ลองส่องกล้องดูกระจุกดาว M44 ด้วย





ส่วนนี่เป็นทิวทัศน์ที่มองเห็นจากข้างบนนี้




ทางนี้เห็นย่านชินจุกุซึ่งเต็มไปด้วยตึกสูงๆเต็ม แต่ก็เห็นบริเวณมืดๆ ซึ่งเป็นสวนสาธารณะต่างๆเป็นหย่อมๆ




ที่โดดเด่นเมื่อมองจากตรงนี้ไปทางตะวันออกก็คือหอคอยโตเกียวและโตเกียวสถายทรี



หอคอยโตเกียวที่มองจากตรงนี้สวยงามทีเดียว




โตเกียวสกายทรีอยู่ไกลไปหน่อยเลยไม่เด่นมาก ต้องขยายเข้าไปจึงจะพอเห็น



หลังจากนั้นก็กลับลงมาตอนสามทุ่มกว่า



จากชั้น ๕๒ นี้มีทางเข้าไปยังพิพิธภัณฑ์ศิลปะชั้น ๕๓ แต่ว่าดึกแล้วอยากรีบกลับจึงไม่ได้เข้า



เดินผ่านร้านอาหารชั้น ๕๒ เป็นร้านอย่างแพง



มูมิน



จากนั้นก็กลับลงมาด้านล่าง แล้วเดินออกจากตึกไป ก่อนจะกลับก็ถ่ายตัวตึกสักหน่อย ตอนขามานั่งรถเข้ามาในตึกเลยทำให้ไม่ได้มีโอกาสถ่ายตัวตึก



เสร็จแล้วก็ได้เวลาเดินทางกลับ โดยไปขึ้นรถไฟไต้ดินสถานีรปปงงิ (六本木駅ろっぽんぎえき)



เวลานี้ในรถไฟคนแน่นตามคาด ไม่มีโอกาสได้นั่งแน่นอน



การเดินทางกลับต้องไปต่อรถไฟที่สถานีชินจุกุ แล้วนั่งไปลงสถานีโจวฟุ แล้วจึงนั่งรถเมล์จากสถานีโจวฟุกลับไปยังหอดูดาวแห่งชาติ



ลงจากรถเมล์ก็แวะลอว์สันเพื่อหาอะไรกินก่อนจะเดินกลับถึงที่พัก เพราะคืนนี้ไม่ได้กินมื้อเย็น ไม่มีเวลากินเลย

กว่าจะกลับถึงก็ประมาณสี่ทุ่มกว่า ดึกมากแล้ว กลับมาถึงก็รีบมาเขียนบันทึกนี้เสร็จตอนตีสอง

แล้วก็ได้เวลานอน วันรุ่งขึ้นยังต้องตื่นเช้าเพื่อเดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัดโดยขึ้นรถที่สถานีชินจุกุตอน 7:30



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ดาราศาสตร์
-- ประเทศญี่ปุ่น >> โตเกียว
-- ท่องเที่ยว >> ตึกระฟ้า

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文