φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



งานบรรยายเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์เนื่องในโอกาสครบรอบ ๗๕ ปีสถาบันวิจัยคณิตศาสตร์สถิติ ที่หอประชุมฮิตตสึบาชิ ใกล้อากิฮาบาระ
เขียนเมื่อ 2019/06/05 22:52
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
# พุธ 5 มิ.ย. 2019

วันนี้มีงานบรรยายเกี่ยวกับเรื่องปัญญาประดิษฐ์ จัดโดยสถาบันวิจัยคณิตศาสตร์สถิติ (統計数理研究所とうけいすうりけんきゅうじょ) เนื่องในโอกาสที่มีอายุครบรอบ ๗๕ ปีในปีนี้

เราเคยแวะไปที่สถาบันวิจัยคณิตศาสตร์สถิติมาเมื่อจันทร์ที่แล้ว เล่าไว้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20190527

แต่ว่างานในครั้งนี้ไม่ได้จัดขึ้นที่ตัวสถาบันนั้น แต่มาจัดที่หอประชุมฮิตตสึบาชิ (一橋講堂ひとつばしこうどう) ของมหาวิทยาลัยฮิตตสึบาชิ (一橋大学ひとつばしだいがく) ในย่านฮิโตตสึบาชิ (ひとばし) ในเขตจิโยดะ กลางเมืองโตเกียว

งานเริ่มในเวลา 10:00 และสิ้นสุดตอน 18:00



ตอนเช้าเราออกจากหอดูดาวแห่งชาติที่พักอยู่ไป โดยนั่งรถเมล์ไปสถานีมิตากะ แล้วนั่งรถไฟไปต่อที่สถานีนากาโนะ แล้วไปลงที่สถานีคุดันชิตะ (九段下駅くだんしたえき)



จากนั้นก็เดินต่อไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ไกลนักก็ถึงที่หมาย



งานเริ่ม 10:00 แต่ตอนแรกสุดเป็นการกล่าวเปิด เริ่มการบรรยายจริงๆตอน 10:10 เรามาตอนเลยสิบโมงไปแล้ว แต่ยังทันก่อนเริ่มบรรยาย เลยไม่เป็นไร



10:10~11:00 เป็นการบรรยายเรื่องประวัติศาสตร์ของปัญญาประดิษฐ์ เขาเริ่มเล่าถึงว่ากลไกของสมอง ความคิดเกิดขึ้นมาได้ยังไง โดยไล่ตั้งแต่กำเนิดบิกแบง




จากนั้นพัก ๑๐ นาที ออกมาเดินดูหน้าห้องบรรยาย เห็นทีพวกหนังสือเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สถิติและข้อมูลวางขายมากมาย






แล้วก็มีบรรยายต่อ 11:10~11:50 บรรยายเรื่องการทำนายทางสถิติโดยการสร้างโมเดลการเรียนรู้เชิงลึก



มีการพูดถึงเรื่องของ GAN





11:50~12:30 บรรยายเรื่องการพยายามใช้ทฤษฎีเพื่อที่จะเข้าใจหลักการของการเรียนรู้เชิงลึก





หลังจากนั้นเป็นช่วงจัดแสดงโปสเตอร์ ตั้งแต่ 12:30~15:00 ไม่ได้มีการบรรยายอะไรเป็นพิเศษ



มีเรื่องของหลุมดำด้วย



จากนั้นเราก็ออกไปหาอะไรกิน แต่แถวนั้นดูแล้วไม่ก็ค่อยมีอะไรเท่าไหร่ เลยเดินไปเรื่อยๆ จนถึงแถวสถานีจิมโบวโจว (神保町駅じんぼちょうえき)

แวะกินอุดงที่ร้านข้างๆสถานี ราคา ๖๘๐ เยน




จากนั้นเหลือเวลากว่าจะถึงบรรยายตอนต่อไปเวลาบ่ายสาม จึงตัดสินใจไปหาที่เที่ยว

พอดีว่าที่นี่อยู่ใกล้ๆอากิฮาบาระ (秋葉原あきはばら) เลยคิดว่าเป็นโอกาสดีที่จะถือโอกาสแวะไป

การเดินทางไปแถวอากิฮาบาระจากตรงนี้ไปได้ง่ายโดยนั่งรถไฟใต้ดินจากสถานีจิมโบวโจว ไปลงสถานีอิวาโมโตะโจว (岩本町駅いわもとちょうえき)




จากนั้นต้องเดินขึ้นไปทางเหนืออีกหน่อย




แล้วก็มาถึงสถานีอากิฮาบาระ (秋葉原駅あきはばらえき)



เดินดูร้านแถวๆนั้นไป




เจอร้านอนิเมต เลยแวะเข้าไป ใช้เวลาเดินเล่นในนั้นพอสมควร





โกจิอุสะ



ชั้นบนสุดจัดแสดงของ re: zero อย่างเดียวเลย



พอเดินขึ้นไปถึงชั้นบนสุดก็ลงลิฟต์มา ในลิฟต์เห็นรูปอาซากุระ โมโมะ (麻倉あさくら もも) อยู่เต็มเลย ดูเหมือนกำลังโปรโมตเพลงใหม่ที่เพิ่งวางขายไป



หลังจากนั้นก็เดินดูตามร้านต่างๆในบริเวณ แต่ก็ไม่ได้มีเวลาที่จะดูละเอียดนัก เพราะเวลาน้อย







มีเวลาดูแค่ชั่วโมงเดียวเท่านั้น สุดท้ายสักสองโมงครึ่งก็ต้องรีบออกมาเพื่อกลับไปฟังบรรยาย



ขากลับใช้เดินไป เพราะพบว่าจริงๆจะเดินก็ใช้เวลาพอๆกัน เพราะหากนั่งรถไฟใต้ดินไปก็ต้องเสียเวลาเดินไปถึงสถานีเหมือนกัน แค่เดินไปทางตะวันตกเรื่อยๆสัก ๒๐ นาทีก็ถึง

ระหว่างทางกลับ





ช่วงบ่ายสาม เริ่มด้วยพิธีฉลองก่อตั้งครบ ๗๕ ปี โดยมีบุคคลต่างๆมาพูดกล่าว



แล้วตอนช่วงท้ายสุดเป็นการถกกันเรื่องแผนการในอนาคต สร้างไทม์แคปซูลสู่อีก ๒๕ ปีข้างหน้า ซึ่งสถาบันจะมีอายุครบ ๑๐๐ ปี



จากนั้นหกโมงทุกอย่างก็จบลง ได้เวลาเดินทางกลับ ขากลับเราไปขึ้นที่สถานีทาเกบาชิ (竹橋たけばし)

ซึ่งตรงก่อนทางเข้าสถานีมีร้านทงคัตสึมารุยะ (とんかつまるや)



สั่งโรสคัตสึ (ロースカツ) ๗๐๐ เยน



แล้วก็ไปขึ้นรถไฟใต้ดิน ไปเปลี่ยนรถที่สถานีนากาโนะ แล้วไปต่อถึงสถานีมิตากะ แล้วต่อไปสถานีมุซาชิซาไก แล้วนั่งรถเมล์กลับหอดูดาวแห่งชาติ




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> โตเกียว
-- คอมพิวเตอร์ >> ปัญญาประดิษฐ์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文