φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ทำความเข้าใจสีเคลือบ (coat) ของ standardSurface ใน arnold ใน maya
เขียนเมื่อ 2021/09/21 00:37
แก้ไขล่าสุด 2021/10/23 19:11

หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้เขียนถึงเรื่องสีพื้นฐาน, สีสเป็กคิวลาร์, แสงส่องผ่าน และ แสงสะท้อนใต้ผิว ไปแล้ว

ตัวปรับแต่งในส่วนต่อมาที่จะมาทดองในที่นี้นั่นคือ coat (コート) ซึ่งใช้จำลองวัสดุที่มีพื้นผิวมันๆบางๆมาห่อหุ้มหรือเคลือบอยู่ อาจเหมาะที่จะใช้กับพวกสีทารถ



สำหรับตัวอย่างในคราวนี้จะขอใช้โมเดลจิโยดะ (千代田ちよだ) (ที่มา https://3d.nicovideo.jp/works/td22439)




ความเปลี่ยนแปลงไปตามค่าน้ำหนักสีห่อหุ้ม

coat คือสารที่มาเคลือบคลุมอยู่ที่ผิวของวัตถุ มีความมันวาวสะท้อนแสงได้เหมือนกับสีสเป็กคิวลาร์ของตัววัตถุนั้นเอง

ผิวเคลือบสามารถใช้ร่วมกับสีสเป็กคิวลาร์ได้ มีลักษณะคล้ายกันอยู่ แต่ว่าแยกเป็นคนละส่วนกัน การปรับแต่งค่า specular นั้นจะเป็นการปรับการสะท้อนที่ตัววัตถุเอง ส่วนการปรับแต่งค่า coat นั้นจะเป็นการปรับการสะท้อนแสงของสารที่มาเคลือบอีกที ซึ่งคิดแยกกัน

ลองทดสอบการใช้ผิวเคลือบดูโดยใช้ค่าตั้งต้น เริ่มปรับค่าน้ำหนักตั้งแต่ 0 ไปจนถึง 1 นั่นเพิ่มผลของผิวเคลือบขึ้นเรื่อยๆ


จะเห็นว่าเมื่อผิวเคลือบทำให้วัตถุดูแวววาวระยิบระยับขึ้นมา




เมื่อกำหนดให้ผิวเคลือบมีสี

โดยค่าตั้งต้นแล้วผิวเคลือบเป็นสีขาว แต่ก็สามารถใส่สีได้ ซึ่งจะทำให้เห็นเป็นสีนั้นเคลือบอยู่

ลองให้สีผิวเคลือบเป็นสีแดง แล้วไล่ค่าน้ำหนักตั้งแต่ 0 ไปจนถึง 1 เช่นเดียวกับตัวอย่างที่แล้ว


คราวนี้ผิวเคลือบทำให้วัตถุกลายเป็นสีแดงขึ้นมา




ความเปลี่ยนแปลงไปตามความหยาบของผิวเคลือบ

ค่า coatRoughness คือความหยาบของผิวเคลือบ คล้ายกับค่า specularRoughness ที่เป็นความหยาบของสีสเป็กคิวลาร์ตัววัตถุเอง

ลองดูให้ผิวเคลือบเป็นสีฟ้า (=เขียว+น้ำเงิน) แล้วปรับค่าความหยาบตั้งแต่ 0 ไปจนถึง 1





ความเปลี่ยนแปลงไปตามดัชนีหักเหแสงของผิวเคลือบ

coatIOR คือดัชนีหักเหแสงของผิวเคลือบ เช่นเดียวกับ specularIOR ซึ่งเป็นของสีสเป็กคิวลาร์ตัววัตถุ แต่ว่าเป็นดัชนีหักเหของผิวส่วนที่มาเคลือบห่อหุ้มอยู่

คราวนี้ลองใช้ผิวเคลือบเป็นสีม่วง (=แดง+น้ำเงิน) ให้ค่า specularRoughness คงที่ที่ 0.1 แล้วปรับค่าดัชนีหักเหแสงไปเรื่อยๆ ดูความเปลี่ยนแปลง


เช่นเดียวกับกรณีของสีสเป็กคิวลาร์ หากดัชนีหักเหน้อยกว่า 1 ก็จะเกิดการสะท้อนกลับหมดขึ้นมา




เมื่อใช้สีผิวเคลือบเป็นสีเดียวกับสีพื้นฐาน

สีเคลือบก็สามารถใช้เท็กซ์เจอร์ได้เช่นเดียวกับสีพื้นฐาน คราวนี้ลองใช้สีเคลือบเป็นสีเดียวกับสีพื้นฐานดู

ลองปรับเทียบค่าความหยาบ coatRoughness ค่าต่างๆโดยให้ดัชนีหักเหแสง coatIOR อยู่ที่ 1.5


ลองให้ coatRoughness=0.2 แล้วเทียบผลของดัชนีหักเหแสง coatIOR







-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> 3D >> maya

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文