ตัวเลือกปรับแต่งในส่วนของ
thin film (薄膜) ในอาร์โนลด์นั้นใช้จำลองวัตถุที่มีเยื่อบางๆมาคลุมหุ้มอยู่ ทำให้เกิดการสะท้อนแสงเป็นสีสันสวยงาม
สำหรับโมเดลที่จะใช้ในตัวอย่างในคราวนี้คือชิรัตสึยุ (
白露) (ที่มา
https://3d.nicovideo.jp/works/td27680)
ความเปลี่ยนแปลงไปตามความหนาของเยื่อ
สำหรับแผ่นเยื่อบางนี้ตัวเลือกที่สามารถปรับได้ก็มีแค่ค่าดัชนีหักเหของเยื่อ (thinFilmIOR) กับความหนา ของเยื่อ (thinFilmThickness) นั่นเอง โดยหน่วยของความหนาคือนาโนเมตร (nm) ปกติแล้วค่าจะใส่อยู่ในช่วงหลักร้อย
ผลที่ได้นั้นจะขึ้นอยู่กับดัชนีหักเหแสงของตัววัตถุเอง (specularIOR) และตัวเยื่อ และความหนาของเยื่อ
ในที่นี้ลองให้ specularIOR=1.5 ให้ thinFilmIOR=1.1 แล้วเปลี่ยนค่าความหนาไปเรื่่อยๆตั้งแต่ 0 จนถึง 1000
ความเปลี่ยนแปลงไปตามดัชนีหักเหแสงของแผ่นฟิล์ม
นอกจากความหนาแล้ว ดัชนีหักเหแสงของตัวฟิลม์เองก็เป็นอีกตัวแปรที่มีผลต่อการสะท้อนผ่านเยื่อบาง
ในที่นี้ลองให้ specularIOR=1.5 คงที่แล้วปรับ thinFilmIOR ไปเรื่อยๆ เทียบความเปลี่ยนแปลงดู
ความเปลี่ยนแปลงไปตามดัชนีหักเหแสงของตัววัตถุ
นอกจากดัชนีหักเหแสงของตัวฟิลม์แล้ว การปรับดัชนีหักเหแสงของตัววัตถุเองก็มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปมากเช่นกัน
ในที่นี้ลองให้ thinFilmIOR=1.5 คงที่แล้วปรับ specularIOR ไปเรื่อยๆ เทียบความเปลี่ยนแปลงดู
ความเปลี่ยนแปลงไปตามมุมของแสง
ลองให้ค่าต่างๆคงที่ แต่เปลี่ยนมุมที่แสงส่องเข้ามาไปเรื่อยๆ ดูความเปลี่ยนแปลง ในที่นี้ให้ thinFilmThickness=555
ความเปลี่ยนแปลงไปตามมุมที่มอง
ลองให้แสงส่องจากที่เดิมแล้วมองดูวัตถุที่มีเยือกหุ้มในมุมต่างๆกันไป ในที่นี้ให้ thinFilmThickness=444
เมื่อให้วัตถุโปร่งใสเหมือนฟองสบู่
ฟองสบู่อาจสามารถจำลองได้โดยทำวัตถุโปร่งใสที่มีแผ่นเยื่อบางล้อม
ลองให้วัตถุโปร่งใสทั้งหมด transmission=1, specularIOR=1.0, thinFilmThickness=270 แล้วปรับ thinFilmIOR ไปเรื่อยๆ