φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



หมู่บ้านจิ้งจอกมิยางิซาโอว เดินเล่นในสวนที่มีจิ้งจอกอยู่เป็นร้อยตัว
เขียนเมื่อ 2022/11/21 06:24
แก้ไขล่าสุด 2023/03/30 12:10
#เสาร์ 19 พ.ย. 2022

บันทึกหน้านี้จะเล่าถึง หมู่บ้านจิ้งจอกมิยางิซาโอว (宮城蔵王みやぎざおうキツネむら) ซึ่งเราได้ไปเที่ยวมาหลังจากที่มาเที่ยวเมืองชิโรอิชิ (白石市しろいしし) ทางใต้ของจังหวัดมิยางิ ได้เที่ยวที่ปราสาทชิโรอิชิ (白石城しろいしじょう) เสร็จแล้ว https://phyblas.hinaboshi.com/20221120

หมู่บ้านจิ้งจอกมิยางิซาโอวนั้นเป็นสถานที่เที่ยวขึ้นชื่ออีกแห่งในเมืองชิโรอิชิ ที่นี่เป็นสถานที่ที่เลี้ยงจิ้งจอกไว้เป็นร้อยตัวซึ่งมากที่สุดในญี่ปุ่น และยังเป็นที่เดียวในญี่ปุ่นที่สามารถให้นักท่องเที่ยวเข้าชมแล้วสัมผัสกับจิ้งจอกอย่างใกล้ชิดได้

ในภาษาญี่ปุ่นเรียกจิ้งจอกว่า "คิตสึเนะ" (キツネ) หรือเขียนเป็นคันจิว่า

จิ้งจอกที่เลี้ยงไว้ที่นี่ส่วนใหญ่แล้วเป็นสายพันธุ์จิ้งจอกแดง ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า "อากางิตสึเนะ" (アカギツネ) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Vulpes vulpes ปกติแล้วเวลาพูดถึงสุนัขจิ้งจอกก็จะหมายถึงจิ้งจอกแดงเป็นหลัก เป็นจิ้งจอกที่พบได้ทั่วไปในพื้นที่ส่วนใหญ่บนโลก

จิ้งจอกแดงนั้นประกอบด้วยพันธุ์ย่อยมากมาย ที่ญี่ปุ่นมีจิ้งจอกแดงอยู่ ๒ สายพันธุ์หลักคือ

- จิ้งจอกแดงญี่ปุ่น (Vulpes vulpes japonica) ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า "ฮนโดะงิตสึเนะ" (ホンドギツネ) พบในเกาะหลักของญี่ปุ่น ยกเว้นฮกไกโดว
- จิ้งจอกแดงเอโซะ (Vulpes vulpes schrencki) ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า "คิตะกิตสึเนะ" (キタキツネ) พบในเกาะฮกไกโดว และยังพบได้ในเกาะซาฮาลินและหมู่เกาะคูริลของรัสเซียด้วย

แม้ว่าหมู่บ้านจิ้งจอกแห่งนี้จะไม่ได้อยู่ในฮกไกโดว แต่จิ้งจอกที่เลี้ยงไว้ที่นี่ส่วนใหญ่พามาจากฮกไกโดว จึงเป็นพันธุ์จิ้งจอกแดงเอโซะเป็นหลัก ไม่ใช่จิ้งจอกแดงญี่ปุ่นที่เป็นพันธุ์ท้องถิ่นบริเวณนี้ แต่ก็มีจิ้งจอกแดงญี่ปุ่นอยู่ด้วยเป็นส่วนน้อย

จิ้งจอกแดงเอโซะนั้นโดยทั่วไปจะเป็นสีน้ำตาลแดง แต่ก็ยังมีพันธุ์ทางที่มีสีต่างออกไปด้วย เช่นสีดำ เรียกว่า "จิ้งจอกเงิน" (ギンギツネ) สีขาวปนเทา เรียกว่า "จิ้งจอกทองคำขาว" (プラチナキツネ)

นอกจากนี้แล้วที่นี่ยังเลี้ยงจิ้งจอกอาร์กติก (ชื่อวิทยาศาสตร์ Vulpes lagopus, ชื่อญี่ปุ่น ホッキョクギツネ) ไว้ด้วย ซึ่งจริงๆเป็นสายพันธุ์ที่พบได้ในแถบขั้วโลกเหนือ ไม่ใช่สายพันธุ์ท้องถิ่นของญี่ปุ่น โดยส่วนใหญ่จะมีสีขาวโพลน แต่ก็มีสีเทาอยู่ด้วย

ค่าเช้าชมหมู่บ้านจิ้งจอกคือ ๑๐๐๐ เยน ภายในประกอบไปด้วยบริเวณที่เปิดเป็นพื้นที่สวนให้เข้าสัมผัสกับจิ้งจอกได้อย่างใกล้ชิด เพียงแต่ว่าห้ามสัมผัส เพราะอาจถูกกัดได้ และยังมีบางส่วนที่เลี้ยงไว้เพื่อเพาะพันธุ์ ซึ่งจะอยู่ในกรง

นอกจากนี้ก็มีส่วนที่ให้ลองอุ้มและลูบจิ้งจอกได้ แต่ต้องเสียค่าบริการเพิ่มอีก ๖๐๐ เยน และต้องอยู่ภายใต้การดูแลอย่างเข้มงวด

จิ้งจอกมีการเปลี่ยนขนต่างกันไปในฤดูร้อนกับฤดูหนาว โดยฤดูหนาวขนจะปกปุยฟูฟ่องดูน่ารักน่าลูบกว่า ดังนั้นถ้าจะมาเที่ยวที่นี่มาตอนฤดูหนาวจะดีกว่า

ปกติแล้วจิ้งจอกเป็นสัตว์ป่า ไม่ใช่สัตว์เลี้ยงที่คุ้นเคยกับมนุษย์เหมือนอย่างหมาหรือแมว จึงมีอันตราย อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิ Echinococcosis ซึ่งทำให้เกิดโรค แต่ว่าจิ้งจอกที่เลี้ยงอยู่ที่นี่ได้รับการดูแลอย่างดีให้ปราศจากเชื้อและคุ้นเคยกับมนุษย์ จึงไม่ต้องเป็นห่วง

โดยธรรมชาติแล้วจิ้งจอกเป็นสัตว์ที่หากินตอนกลางคืน ดังนั้นตอนช่วงกลางวันที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมที่นี่ได้นั้นมักจะเห็นจิ้งจอกนอนกันอยู่ซะมาก แต่ก็มีจำนวนมากที่เดินเล่นไปมาอยู่ในสวน

และที่นี่นอกจากจะมีจิ้งจอกแล้ว ก็ยังมีเลี้ยงสัตว์เล็กชนิดอื่นๆไว้ด้วยนิดหน่อย ได้แก่ กระต่าย แพะ ม้าตัวเล็ก สามาถเข้าชมได้เช่นกัน

ข้อมูลอื่นๆอ่านได้ที่เว็บหลักของที่นี่ http://zao-fox-village.com/



การเดินทางไปยังหมู่บ้านจิ้งจอกแห่งนี้ทำได้โดยนั่งรถเมล์สายมิยางิซาโอวซันโรกุแอ็กเซส (みやぎ蔵王山麓ざおうさんろくアクセス) โดยในวันนึงมีเที่ยวรถแค่ ๒ รอบเท่านั้น รายละเอียดเที่ยวรถเมล์นี้มีเขียนไว้ในเว็บ http://takeyakoutu.jp/miyagizao_sanroku_access.html

รถเมล์สายนี้เชื่อมต่อระหว่างสถานีชิโรอิชิซาโอว (白石蔵王駅しろいしざおうえき) กับอาโอเนะอนเซง (青根温泉あおねおんせん) ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวแช่อนเซงแห่งหนึ่งที่อยู่ในเมืองคาวาซากิ (川崎町かわさきまち) ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆที่อยู่ตอนตะวันตกของจังหวัดมิยางิ โดยระหว่างทางผ่านสถานีชิโรอิชิ (白石駅しろいしえき) และหมู่บ้านจิ้งจอกซาโอว ดังนั้นการเดินทางไปจะขึ้นจากสถานีชิโรอิชิซาโอวซึ่งเป็นต้นทางก็ได้ หรือจะขึ้นจากสถานีชิโรอิชิก็ได้ แล้วแต่สะดวก

ค่าโดยสารจากสถานีชิโรอิชิไปยังหมู่บ้านจิ้งจอกคือ ๗๐๐ เยน แต่ถ้าขึ้นจากสถานีชิโรอิชิซาโอวค่าโดยสารจะเป็น ๘๐๐ เยน

แม้ว่าสายนี้จะเดินทางผ่านสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง แต่ว่าคนเกือบทั้งหมดที่ขึ้นรถเมล์นี้ก็เพื่อเดินทางไปหมู่บ้านจิ้งจอกกันทั้งนั้น ส่วนที่อื่นนั้นมีแต่พวกอนเซง ซึ่งก็ไม่ได้มีอะไรโดดเด่น

ที่จริงรถเมล์สายนี้ยังผ่านโทงัตตะอนเซง (遠刈田温泉とおがったおんせん) ในเมืองซาโอว (蔵王町ざおうまち) ซึ่งเป็นที่ที่มีรถเมล์เดินทางมาจากเซนไดด้วย ดังนั้นหมายความว่าหากมาจากเซนไดเราอาจเดินทางมาหมู่บ้านจิ้งจอกโดยเปลี่ยนรถที่โทงัตตะอนเซงได้ด้วย แต่ยังไงก็ไม่สะดวกเท่าเดินทางจากชิโรอิชิ ดังนั้นจึงไม่ได้ใช้เส้นทางนี้



ครั้งนี้เราเดินทางจากสถานีชิโรอิชิขึ้นรถรอบเวลา 10:14 จุดขึ้นรถเมล์อยู่ทางตะวันออกของสถานี ตัวรถมีวาดรูปจิ้งจอกน่ารักดี



เมื่อขึ้นรถเมล์มาก็พบว่ามีคนอยู่ในรถแล้วเต็มไปหมด แสดงว่าส่วนใหญ่นั่งมาจากสถานีชิโรอิชิซาโอวทั้งนั้น มีแค่ ๕ คนเท่านั้นที่ขึ้นจากสถานีชิโรอิชิ



ระหว่างทางผ่านคามาซากิอนเซง (鎌先温泉かまさきおんせん) ก็เป็นแหล่งท่องเที่ยวอนเซงอีกแห่งที่อยู่บนเส้นทางนี้ แต่ก็ดูแล้วเงียบเหงา ไม่มีใครลงตรงนี้ และก็ไม่เห็นมีใครขึ้น




แล้วในที่สุดก็มาถึงหมู่บ้านจิ้งจอกเวลา 10:42 แล้วทุกคนก็ลงที่นี่หมดเลย



จากนั้นก็เดินขึ้นมาทางนี้



ตรงนี้เป็นที่จอดรถ ถ้าใครขับรถมาก็มาจอดตรงนี้เพื่อเข้าชมได้



ที่หน้าทางเข้ามาลิงกอริลลาตัวใหญ่ เป็นเขียนบอกว่าเป็นเทพพิทักษ์ (まもがみ) ของที่นี่



ทางเข้าอยู่ตรงนี้



เมื่อเข้ามาก็เป็นที่ขายตั๋วเข้าชม พร้อมกันนั้นเขาก็อธิบายกฎระเบียบการปฏิบัติตัวระหว่างที่เข้าชมด้านในนั้นด้วย



ตั๋วเข้าชมราคา ๑๐๐๐ เยน



ด้านหลังตั๋ววาดแสดงแผนที่ภายในบริเวณนี้ แต่ไม่ได้แสดงรายละเอียดสักเท่าไหร่



เมื่อเข้ามาด้านในก็จะเจอจิ้งจอกแดงตัวแรกรอต้อนรับอยู่




ข้างๆมีจิ้งจอกอาร์กติกอยู่ด้วย แต่อยู่ในกรง เห็นมีเขียนบอกว่าตัวนี้มีตา ๒ สี แต่มันหลับอยู่ก็เลยไม่ได้เห็นว่าตาเป็นยังไง



ตรงนี้เห็นคนเข้าแถวรออะไรกันอยู่



พอมาดูก็รู้ว่าเป็นกิจกรรมให้ลองกอดจิ้งจอกได้ เริ่มตอน 11:00 ต้องจ่าย ๖๐๐ เยน มีคนสนใจอยากกอดจิ้งจอกมากมาย เราเองก็เข้ามาต่อแถวคิวรอเข้าร่วมด้วย



เมื่อถึงเวลา เขาก็ให้ทุกคนใส่ชุดคลุมป้องกัน ท่อนบนเป็นสีเหลือง ท่องล่างเป็นสีส้ม แล้วพนักงานก็อธิบายเกี่ยวกับวิธีกอดและข้อควรระวัง



จากนั้นเขาก็เริ่มแจกจิ้งจอกให้ทุกคนได้กอด โดยให้นั่งอยู่กับที่แล้วเขาจะเอาจิ้งจอกมาวาง สามารถใช้มือลูบได้ตามสบาย ระหว่างนั้นสามารถให้คนอื่นช่วยถ่ายรูประหว่างกอดไว้เป็นที่ระลึกให้ได้



ตัวนี้คือตัวที่เราได้กอด เป็นจิ้งจอกแดงตัวเมีย ขนนุ่มปกปุยหางฟูน่ารักดี



เวลากอดผ่านไปอย่างรวดเร็ว แค่แป๊บเดียวก็ต้องจากกันแล้ว พอเสร็จแล้วก็คืนชุดให้เขา แล้วก็เปลี่ยนเป็นให้คนอื่นมากอดต่อๆไปตามคิว



หลังจากนั้นก็ได้เวลาเข้าชมส่วนหลักของที่นี่ นั่นคือส่วนที่เป็นสวนเปิดให้จิ้งจอกอยู่อย่างอิสระไม่ได้ถูกล่ามหรือขังในกรงเล็กๆ และนักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปเดินเล่นชมจิ้งจอกอย่างใกล้ชิดได้ ทางเข้าอยู่ที่ประตูนี้ มีพนักงานคุมอย่างแน่นหน้าคอยเปิดปิดประตู



เมื่อเดินผ่านประตูเข้ามา ด้านในเป็นสวนกว้างพอสมควรเลยทีเดียว





นักท่องเที่ยวจะเดินได้แค่ตามทางเดินเท่านั้น ห้ามล้ำเส้นเข้าไปตรงพื้นหญ้า




แต่จิ้งจอกก็มีเดินแวะเข้ามาบนทางเดินเช่นกัน



จิ้งจอกที่มาเดินเล่นตรงทางเดินนี้นักท่องเที่ยวสามารถชมได้อย่างใกล้ชิด





แต่ยังไงก็ห้ามเข้าใกล้มากเกินไป และห้ามจับอย่างเด็ดขาดเพราะอาจถูกกัดได้ ทำได้แค่ดูเฉยๆเท่านั้น ตามทางจะมีป้ายเตือนแบบนี้อยู่เต็มไปหมด เพราะเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าฝ่าฝืนนอกจากจะได้รับบาดเจ็บแล้วยังอาจถูกไล่ออกจากสถานที่ทันทีด้วย



จิ้งจอกส่วนใหญ่นอนเล่นสบายๆอยู่




ส่วนใหญ่แล้วจะนอนขดเป็นก้อนกลมแบบนี้ ช่างน่ารักจริงๆ









นอกจากจิ้งจอกจริงๆแล้วก็ยังมีรูปสลักไม้เป็นจิ้งจอกอยู่ด้วย



บริเวณสวนทั้งหมดนี้เป็นอาณาเขตที่ถูกล้อมไปด้วยรั้วสีเขียว



เห็นจิ้งจอกสีขาวมาเดินเล่นที่ถนนริมรั้วด้วย



ตรงนี้เป็นทางเดินที่เต็มไปด้วยเสาโทริอิ เป็นทางไปสู่ศาลเจ้าโอกง (御金神社おこんじんじゃ) ที่อยู่ด้านบน




จิ้งจอกที่เจอระหว่างเดินผ่านเสาโทริอิขึ้นไป





เมื่อขึ้นมาถึงด้านบนสุดก็เจอศาลเจ้าเล็กๆที่บูชาจิ้งจอก




ตรงนี้มีจิ้งจอกสีดำนอนเอาหางแหย่ท่อ



ข้างๆศาลเจ้าเป็นกรงเพาะจิ้งจอก



จิ้งจอกที่อยู่ในนี้ได้แต่มองผ่านกรงเข้าไป



ส่วนตรงนี้เป็นที่สำหรับให้นักท่องเที่ยวได้ให้อาหารจิ้งจอก



คนที่จะให้อาหารจิ้งจอกให้เข้าไปในนี้



แล้วก็ยืนหย่อนอาหารจากในนั้น แล้วก็จะมีจิ้งจอกจำนวนมากมายแห่กันมากิน






ส่วนตรงริมรั้วทางนี้มีกรงเพาะเลี้ยงจิ้งจอกอีกส่วนหนึ่ง พวกนี้ก็ได้แต่มองผ่านกรงเข้าไป




จิ้งจอกกินน้ำอยู่ข้างรั้ว




ตารางเขียนแสดงเปรียบเทียบอายุของจิ้งจอกเทียบกับมนุษย์ จิ้งจอกนั้นโตเร็วกว่ามนุษย์มาก อายุแค่ ๑ ปีก็เทียบเท่ากับมนุษย์อายุ ๑๗ ปีแล้ว





หลังจากเดินเล่นในสวนที่เต็มไปด้วยจิ้งจอกจนพอและใกล้เวลาแล้ว เราก็ออกมาเพื่อเดินชมส่วนที่เหลือ ซึ่งก็ยังมีอยู่อีกเพียงเล็กน้อย

ตรงนีคือส่วนที่เลี้ยงพวกสัตว์อื่นๆนอกจากจิ้งจอก เช่นกระต่าย



เดินเข้ามาเจอกระต่าย



ถัดมาเป็นกรงที่เลี้ยงจิ้งจอกอาร์กติก มีสีขาวและสีเทาอยู่ด้วยกัน




ส่วนตรงนี้เป็นที่เข้าชมแพะและม้าเล็ก




แพะ




ม้าเล็ก



การชมภายในก็หมดลงเท่านี้ ตอนนี้ก็ใกล้เวลารถเมล์แล้ว เราเดินออกไป ทางออกอยู่ตรงนี้



ที่ทางออกมีร้านขายของที่ระลึกอยู่ด้วย แต่ว่าเขาห้ามถ่ายรูปข้างใน จึงไม่ได้เก็บรูปในร้านมา เราได้ซื้อโดนัตราคา ๗๐๐ เยน กลับไปเป็นที่ระลึก



โดนัตนี้ทำเป็นรูปร่างเหมือนอึจิ้งจอก แต่รสชาติก็เหมือนกับโดนัตทั่วไปนั่นแหละ



การเที่ยวภายในนี้ก็เสร็จเพียงเท่านี้ เดินออกมาข้างนอก



เดินกลับลงมายังป้ายรถเมล์เพื่อนั่งรถเมล์กลับ



ที่ป้ายรถเมล์มีคนไม่น้อยกำลังรอรถเมล์อยู่เช่นกัน



แล้วรถเมล์ก็มาถึงในเวลา 12:03 ซึ่งก่อนเวลาที่กำหนดคือ 12:05 ไปเล็กน้อย



แล้วรถก็กลับมาส่งถึงสถานีชิโรอิชิเวลา 12:33 ซึ่งถึงก่อนเวลาตามกำหนดจริงๆคือ 12:35 คนที่ลงที่สถานีนี้ก็มี ๕ คนเหมือนตอนขาที่ขึ้นมา ส่วนที่เหลือส่วนใหญ่ก็ไปลงที่สถานีชิโรอิชิซาโอวเพื่อขึ้นชิงกันเซงกัน



ตอนที่กลับมาถึงนั้นเป็นเวลาอาหารเที่ยงแล้ว เลยแวะหาอะไรกินสักหน่อย ไหนๆก็มาเที่ยวชิโรอิชิแล้ว ก็ต้องลองชิมอูเมง (温麺うーめん) ของขึ้นชื่อของที่นี่สักหน่อย



เมนูของร้านนี้ หน้านี้แสดงอูเมงแบบต่างๆ



เราสั่งอูเมงใส่เห็ดนาเมโกะ (なめこうーめん) ราคา ๗๗๐ เยน



เมื่อกินเสร็จก็กลับมายังสถานีชิโรอิชิ



ขึ้นรถไฟกลับเซนไดรอบ 13:16 ค่าโดยสาร ๗๗๐ เยน



ลาก่อนชิโรอิชิ



ระหว่างทางรถไฟยังผ่านสถานีฮิงาชิชิโรอิชิ (東白石駅ひがししろいしえき) ซึ่งเป็นอีกสถานีในเมืองชิโรอิชิ



แล้วก็ตามด้วยสถานีคิตะชิรากาวะ (北白川駅きたしらかわえき) ซึ่งเป็นสถานีที่อยู่ทางตอนเหนือสุดของเมืองชิโรอิชิ



จากนั้นรถไฟก็เข้าสู่เขตเมืองโองาวาระ (大河原町おおがわらまち) ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆที่อยู่ทางเหนือของเมืองชิโรอิชิ ผ่านสถานีโองาวาระ (大河原駅おおがわらえき)



แล้วก็เข้าสู่เมืองเมืองชิบาตะ (柴田町しばたまち) ผ่านสถานีฟุนาโอกะ (船岡駅ふなおかえき) และสถานีทสึกิโนกิ (槻木駅つきのきえき) ซึ่งเราได้เคยแวะมาเที่ยวแล้ว เล่าถึงไว้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20221022




หลังจากนั้นรถไฟก็กลับถึงสถานีเซนไดเวลา 14:04 เป็นอันจบการเที่ยวชิโรอิชิในวันนี้



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> มิยางิ
-- ท่องเที่ยว >> รถไฟ
-- ท่องเที่ยว >> ศาสนสถาน >> ศาลเจ้า

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文