φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



เที่ยวชมบริเวณปราสาทมิโตะด้วยเวลาที่เหลืออยู่เล็กน้อยก่อนจะเดินกลับสถานีมิโตะ
เขียนเมื่อ 2023/01/14 23:22
แก้ไขล่าสุด 2023/01/15 08:17
# เสาร์ 7 ม.ค. 2023

หลังจากที่ตอนที่แล้วได้ไปเดินเที่ยวตามรอยอนิเมะโมโมะคุริภายในเมืองมิโตะมาจนเดินไปถึงโรงเรียนมัธยมปลายมหาวิทยาลัยโทกิวะ https://phyblas.hinaboshi.com/20230113

เป้าหมายต่อไปที่เราจะแวะไปเที่ยวก็คือปราสาทมิโตะ (水戸城みとじょう) ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับสถานีมิโตะนั่นเอง

ปราสาทมิโตะเป็นปราสาทที่ครองโดยตระกูลมิโตะโทกุงาวะ (水戸徳川みととくがわ) ซึ่งปกครองมิโตะฮัง (水戸藩みとはん) ที่กินพื้นที่บริเวณจังหวัดอิบารากิในปัจจุบัน

พื้นที่บริเวณปราสาทนั้นโดยหลักๆแล้วแบ่งเป็น ๓ ส่วนไล่จากทางตะวันออกสุดคือฮมมารุ (本丸ほんまる) ตามมาด้วยนิโนะมารุ (まる) ตรงกลาง และซังโนะมารุ (さんまる) ซึ่งอยู่ทางตะวันตกสุด

ปัจจุบันส่วนประกอบต่างๆของตัวปราสาทได้ถูกทำลายไปเยอะแล้วจากสาเหตุต่างๆเช่นการทิ้งระเบิดในปี 1945 ปลายช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เหลืออยู่เพียงบางส่วน หรือบางส่วนก็ถูกสร้างจำลองขึ้นมาใหม่

ภายในบริเวณที่เคยเป็นตัวปราสาทมิโตะนั้นในปัจจุบันมีการสร้างสิ่งก่อสร้างสมัยใหม่เข้าไป เช่นโรงเรียนหรือที่ทำการต่างๆ และมีการตัดถนนผ่านภายในบริเวณด้วย

ในการเข้าชมครั้งนี้เราเริ่มชมจากทางฝั่งตะวันตกสุด คือส่วนของซังโนะมารุ แล้วก็ไล่ไปทางตะวันออกเรื่อยๆ

เพียงแต่ว่าเวลาเหลือค่อนข้างจำกัด จึงดูแบบรีบๆ ข้ามไปหลายอย่าง ดังนั้นครั้งนี้จึงได้แต่เล่าแบบคร่าวๆเท่านั้น ไม่สามารถเก็บรายละเอียดอะไรได้มากนัก



ต่อจากตอนที่แล้ว เราได้นั่งรถเมล์จากป้ายซากาเอะมาจินิโจวเมะ (栄町二丁目さかえまちにちょうめ) เพื่อย้อนกลับมายังแถวๆใกล้สถานี



นั่งมาลงรถเมล์ที่ป้ายอิโจวซากะ (銀杏坂いちょうざか)



จากนั้นก็เดินไปทางเหนืออีกหน่อย



ก็มาถึงบริเวณที่เป็นซังโนะมารุของปราสาทมิโตะ ที่นี่ยังเหลือซากร่องรอยของคูล้อมปราสาทซึ่งว่างเปล่าอยู่



ด้านในมีหอสมุดจังหวัดอิบารากิ (茨城県立図書館いばらきけんりつとしょかん) ตั้งอยู่



ข้างๆกันนั้นเป็นอาคารหนึ่งของที่ว่าการจังหวัดอิบารากิ (茨城県庁いばらきけんちょう) เรียกว่าอาคารที่ว่าการซังโนะมารุ (さんまる庁舎ちょうしゃ)





ข้างๆนั้นเป็นศาลเจ้าเล็กๆ ชื่อศาลเจ้าคาชิมะ (鹿島神社かしまじんじゃ)




อาคารเก่าที่เห็นอยู่ทางขวานี้คือโควโดวกัง (弘道館こうどうかん) เป็นโรงเรียนสมัยเอโดะ สร้างขึ้นในปี 1841 ส่วนบริเวณรอบๆอาคารนี้ซึ่งเรากำลังเดินอยู่นั้นเรียกว่าสวนสาธารณะโควโดวกัง (弘道館公園こうどうかんこうえん)



ตรงนี้เป็นทางออกโควโดวกัง ไม่สามารถเข้าไปได้ หากจะเข้าชมต้องไปเข้าจากตรงทางเข้าซึ่งอยู่อีกด้าน และต้องจ่ายค่าเข้าชมด้วย



เดินมาเรื่อยๆจนถึงปากทางเข้าด้านตะวันออกของสวนสาธารณะโควโดวกัง




ส่วนทางเข้าอาคารโควโดวกังก็อยู่ตรงนี้เอง




จากตรงนี้จะเข้าไปได้ต้องจ่ายค่าเข้าชมก่อน ราคา ๔๐๐ เยน




แต่เนื่องจากเราไม่มีเวลาแล้วก็เลยไม่ได้เข้าไปชมด้านใน แต่เดินข้ามถนนไปยังส่วนของนิโนะมารุ ที่เห็นอยู่ข้างหน้านี้คือประตูโอเตะมง (大手門おおてもん) ทางเข้าฝั่งตะวันออกของนิโนะมารุ เพียงแต่ว่าที่เห็นอยู่นี้ไม่ใช่ของเก่าดั้งเดิม แต่เป็นของที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ในปี 2015 แทนของเดิมที่ถูกทำลายไปแล้ว



ส่วนสะพานหน้าประตูเรียกว่าสะพานโอเตะ (大手橋おおてばし)



จากบนสะพานนี้มองไปเห็นถนนที่อยู่ด้านล่าง ที่นี่ตั้งอยู่สูงไม่น้อยเหมือนกัน




เดินเข้ามาด้านในนิโนะมารุ



ทางซ้ายนี้เป็นหอจัดแสดงนิโนะมารุ (丸展示館まるてんじかん) เป็นพิพิธภัณฑ์เล็กๆที่เปิดให้เข้าชมได้ ไม่เสียค่าเข้าชม





แต่ว่าเราไม่มีเวลาจึงเดินผ่านไปเลย



เดินผ่านมาจนถึงตรงทางแยกที่เป็นทางลาด เรียกว่าทางลาดเขาสึงิยามะ (杉山坂すぎやまざか)



ส่วนข้างๆทางลาดนั้นเป็นประตูสึงิยามะมง (杉山門すぎやまもん)



เดินผ่านสึงิยามะมงต่อมาทางตะวันออก



ก็มาถึงทางเข้าไปยังส่วนฮมมารุซึ่งภายในนั้นมีประตูยากุอิมง (薬医門やくいもん) เป็นสิ่งก่อสร้างสำคัญที่ถูกอนุรักษ์ไว้ตั้งแต่สมัยดั้งเดิมไม่ได้ถูกทำลายและสร้างจำลองใหม่ เพียงแต่ว่าตอนที่ไปนั้นเขามีจัดสอบที่บริเวณด้านใน เลยไม่เปิดให้เข้าชมได้ ก็ได้เลยได้แต่เดินผ่านไปโดยไม่ได้เข้าไปดูประตูยากุอิมง



แล้วก็เดินต่อมาเลี้ยวขวาไปทางใต้ ผ่านประตูซากุมาจิซากะชิตะมง (柵町坂下門さくまちさかしたもん)



จนออกมาสู่ถนนใหญ่ที่เชื่อมไปสู่หน้าสถานีมิโตะ



เราเดินผ่านถนนนี้จนกลับมาถึงสถานีมิโตะในที่สุด




ตอนกลับมาที่สถานีแล้วมองกลับไปยังบริเวณปราสาทมิโตะจึงพบว่าจากตรงนี้ก็พอจะมองเห็นตัวอาคารปราสาทได้ส่วนหนึ่ง ที่เห็นอยู่นั้นเป็นส่วนของหอมุมตะวันตกเฉียงใต้ของนิโนะมารุ แต่ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนประถม จึงไม่ได้เดินเข้าไปชมในนั้น



การเที่ยวชมปราสาทมิโตะแบบรีบๆก็จบลงเท่านี้แล้ว หลังจากนั้นเราก็กลับมาถึงสถานีเพื่อนั่งรถไฟเดินทางกลับเซนได

เรื่องเล่าการเดินทางด้วยรถไฟขากลับนั้นจะเขียนถึงในตอนต่อไป ซึ่งจะเป็นตอนสุดท้ายของบันทึกการเที่ยวในครั้งนี้ https://phyblas.hinaboshi.com/20230115



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> อิบารากิ
-- ท่องเที่ยว >> ปราสาท☑ >> ปราสาทญี่ปุ่น

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文