φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ชมศาลเจ้าอุเอสึงิในบริเวณซากปราสาทโยเนซาวะเมืองโยเนซาวะทางตอนใต้ของจังหวัดยามางาตะท่ามกลางหิมะหนา
เขียนเมื่อ 2023/01/29 23:08
แก้ไขล่าสุด 2024/02/04 18:50
# อาทิตย์ 29 ม.ค. 2023

วันนี้ได้เดินทางไปเที่ยวที่เมืองโยเนซาวะ (米沢市よねざわし) ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดยามางาตะ (山形県やまがたけん) มา

แผนที่จังหวัดยามางาตะ ช่องสีชมพูเข้มด้านล่างสุดแสดงตำแหน่งเมืองโยเนซาวะ




เมืองโยเนซาวะนั้นเป็นเมืองหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจในแถบนี้ ในอดีตเคยเป็นศูนย์กลางการปกครองของภูมิภาคโอกิตามะ (置賜地方おきたまちほう) ซึ่งหมายถึงบริเวณที่เป็นตอนใต้ของจังหวัดยามางาตะ

ที่เมืองนี้มีปราสาทโยเนซาวะ (米沢城よねざわじょう) เป็นปราสาทของผู้ปกครองภูมิภาคนี้ ช่วงยุคเซงโงกุถูกปกครองโดยตระกูลดาเตะ (伊達だて) เป็นฐานที่สำคัญของตระกูลดาเตะก่อนที่จะย้ายไปปกครองเซนได ดาเตะ มาซามุเนะ (伊達政宗, ปี 1567-1636) ผู้นำคนสำคัญของตระกูลดาเตะก็เกิดที่ปราสาทโยเนซาวะนี้ด้วย

แต่ต่อมาตระกูลดาเตะได้ย้ายไปยังปราสาทอิวาเดยามะ (岩出山城いわでやまじょう) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตเมืองโอซากิจังหวัดมิยางิ และหลังสิ้นสุดยุคเซงโงกุ เข้าสู่ยุคเอโดะ ก็จึงย้ายไปยังเซนได ส่วนตระกูลอุเอสึงิ (上杉うえすぎ) ซึ่งเมื่อก่อนเคยปกครองแคว้นเอจิโงะ (越後えちご) หรือก็คือบริเวณจังหวัดนีงาตะในปัจจุบันอยู่ ก็ได้ย้ายเข้ามาเป็นผู้ปกครองที่นี่แทน

ในยุคเอโดะที่นี่ถูกตั้งเป็นโยเนซาวะฮัง (米沢藩よねざわはん) ปกครองโดยตระกูอุเอสึงิตลอดมายาวนานจนสิ้นสุดยุคเอโดะ ดังนั้นภายในเมืองนี้จึงมีอะไรที่เกี่ยวข้องกับตระกูลอุเอสึงิอยู่มากมาย

น่าเสียดายว่าสิ่งก่อสร้างในปราสาทโยเนซาวะนั้นไม่ได้หลงเหลืออยู่จนถึงปัจจุบัน แล้วก็ไม่ได้ถูกสร้างจำลองขึ้นมาใหม่ด้วย อย่างไรก็ตามในบริเวณปราสาทนั้นมีศาลเจ้าอุเอสึงิ (上杉神社うえすぎじんじゃ)



การเดินทางจากเมืองเซนไดไปยังโยเนซาวะนั้นอาจไปได้ด้วยรถไฟหรือรถเมล์ หรืออาจจะนั่งรถเมล์แล้วต่อรถไฟก็ได้ แต่ทางที่สะดวกที่สุดก็คือนั่งรถบัส ซึ่งจะนั่งต่อเดียวถึง ไม่ต้องเปลี่ยนรถที่ไหน อีกทั้งยังเลือกจุดที่ลงรถได้หลายที่ด้วย โดยสามารถเลือกลงที่หน้าศาลเจ้าอุเอสึงิซึ่งเป็นสถานที่เที่ยวที่เป็นเป้าหมายหลักด้วย ครั้งนี้เราเดินทางไปด้วยวิธีนี้

การเดินทางใช้เวลาเดินทางนานประมาณ ๒ ชั่วโมง ค่าโดยสาร ๒๒๐๐ เยน

เริ่มต้นการเดินทางที่สถานีเซนไดยามเช้า ภาพนี้เป็นฝั่งตะวันตกของสถานีเซนได วันนี้ก็ยังเห็นหิมะที่หลงเหลืออยู่จากที่ตกไปเมื่อวันก่อน



แต่จุดขึ้นรถเมล์ที่จะไปโยเนซาวะนั้นอยู่ที่ฝั่งตะวันออกของสถานี เราจึงเดินข้ามมา



ด้านหน้าสถานีทางฝั่งตะวันออก จุดขึ้นรถเมล์อยู่ตรงนั้น



ป้ายรถเมล์ที่จะไปยังโยเนซาวะอยู่ตรงนี้



แล้วรถเมล์ก็มาตามเวลา ออกเดินทางเวลา 7:10



ทิวทัศน์ระหว่างทางก็ปกคลุมไปด้วยหิมะสวยงามตลอดทาง



เนื่องจากเป็นรถเมล์นั่งระยะไกล ก่อนที่จะเข้าสู่เมืองโยเนซาวะ รถเมล์ได้มาจอดพักที่จุดแวะพักคุนิมิ เมืองคุนิมิ (国見町くにみまち) ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆที่อยู่ทางตอนเหนือของจังหวัดฟุกุชิมะ (福島県ふくしまけん) เราก็เลยลงไปเดินเล่นในนี้ระหว่างรอรถออกเดินทางต่อ





ภายในนี้เป็นร้านอาหาร




มีตุ๊กตาโคเคชิวางประดับอยู่ด้วย




มุมนี้เป็นร้านขายของที่ระลึก



เสร็จแล้วรถเมล์ก็มุ่งหน้าไปต่อ เข้าสู่จังหวัดยามางาตะ



แล้วก็มาถึงเมืองโยเนซาวะ เริ่มแรกแวะจอดที่มิจิโนะเอกิโยเนซาวะ (みち駅米沢えきよねざわ)





แล้วก็เดินทางเข้าไปในตัวเมืองต่อ




ต่อมาก็มาจอดที่สถานีโยเนซาวะ (米沢駅よねざわえき) เป็นสถานีรถไฟที่สำคัญใจกลางเมือง เดี๋ยวขากลับเราก็จะมาขึ้นรถไฟจากสถานีนี้ แต่ว่าตอนนี้เรายังไม่ลงตรงนี้เพราะเป้าหมายของเราคือศาลเจ้าอุเอสึงิ ซึ่งเป็นป้ายถัดไป



จากนั้นก็นั่งรถมาต่อ



แล้วก็มาถึงป้ายด้านหน้าศาลเจ้าอุเอสึงิ เราก็ลงที่นี่ หลังจากนี้แล้วรถเมล์ยังมุ่งหน้าไปยังที่ว่าการเมืองโยเนซาวะ (米沢市役所よねざわしやくしょ) ซึ่งเป็นป้ายปลายทาง แต่ก็ไม่เกี่ยวอะไรกับเราแล้ว



เมื่อลงมาแล้วสภาพหิมะรอบข้างก็อย่างที่เห็นนี้ จากนี้ไปเราต้องเดินฝ่าหิมะไปเรื่อยๆอย่างนี้




ตรงนี้เป็นปากทางเข้าทางฝั่งตะวันออก ข้างๆนั้นเป็นพิพิธภัณฑ์อุเอสึงิเมืองโยเนซาวะ (米沢市上杉博物館よねざわしうえすぎはくぶつかん) ซึ่งก็เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญซึ่งเดี๋ยวจะแวะมาชมภายหลัง แต่ตอนนี้จะเริ่มจากเข้าชมในส่วนของศาลเจ้าซึ่งอยู่ในบริเวณปราสาทก่อน



ทางเดินเข้าก็ปกคลุมเต็มไปด้วยหิมะ



ระหว่างที่เดินเข้าไปนั้นเห็นคนควบคุมรถกวาดหิมะ



เดินเข้ามาจนถึงส่วนของคูล้อมปราสาท ตรงสะพานทางข้ามไปนั้นมีธงเขียนอักษร りゅう กับ ซึ่งเป็นอักษรสำคัญของตระกูอุเอสึงิ



ตรงนี้เป็นรูปปั้นของอุเอสึงิ คาเนกัตสึ (上杉うえすぎ景勝かげかつ, ปี 1556-1623) ผู้นำรุ่นแรกของโยเนซาวะฮังและเป็นคนที่พาตระกูลย้ายจากเอจิโงะมายังโยเนซาวะ และข้างๆกันนั้นเป็นนาโอเอะ คาเนตสึงุ (直江なおえ兼続かねつぐ, ปี 1620) คนสนิทคนสำคัญของเขา น่าเสียดายที่หิมะปกคลุมจนมองไม่เห็น



ส่วนตรงนี้เป็นรูปปั้นของอุเอสึงิ โยวซัง (上杉うえすぎ鷹山ようざん, ปี 1751-1822) ผู้นำคนสำคัญคนหนึ่งซึ่งปกครองโยเนซาวะฮังในช่วงปี 1767-1785



ส่วนตรงนี้ที่จริงมีรูปปั้นของอุเอสึงิ เคนชิง (上杉うえすぎ謙信けんしん, ปี 1530-1578) ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของตระกูลในช่วงยุคเซงโงกุตั้งแต่สมัยที่ตระกูลอุเอสึงิยังอยู่ที่เอจิโงะก่อนที่จะย้ายมาอยู่โยเนซาวะ แม้ว่าเขาจะไม่เคยปครองโยเนซาวะ แต่ก็ถือเป็นผู้นำตระกูลคนสำคัญ จึงถูกบูชาในศาลเจ้าแห่งนี้ด้วย



แต่น่าเสียดายที่หิมะปกคลุมเสียจนมองแทบไม่เห็น แม้แต่จะเดินเข้าใกล้ก็ยังทำไม่ได้เพราะทางถูกหิมะปิดเอาไว้ จึงได้แต่มองห่างๆเท่านั้น



เดินเข้าไปยังอาคารหลักของศาลเจ้า



ศาลาน้ำล้างมือหน้าศาลเจ้า



ร้านขายพวกเครื่องราง



เข้าไปด้านในนี้ก็ถึงตัวอาคารหลักของศาลเจ้า



ที่นี่เป็นแค่อาคารเล็กๆ




รอบๆนั้นหิมะปกคลุมหน้ามาก แต่ส่วนบริเวณทางเดินด้านหน้าอาคารมีการโกยหิมะไว้ ไม่งั้นก็คงเข้ามาไม่ได้



แผ่นป้ายเชียนคำอธิษฐาน เอมะ (絵馬えま) หน้าศาลเจ้า



จากนั้นเดินต่อมาทางเหนือ




ตรงนี้มีอาคารเคย์โชวเดง (稽照殿けいしょうでん) เป็นพิพิธภัณฑ์เล็กๆที่จัดแสดงสมบัติของตระกูลอุเอสึงิ ค่าเข้าชมแพงถึง ๗๐๐ เยน



แต่ว่าช่วงนี้ปิดอยู่ เพราะว่าที่นี่ไม่เปิดในฤดูหนาว ดังนั้นจึงไม่ได้เข้าชม



ส่วนข้างๆนั้นมีศาลเจ้าฟุกุโตกุอินาริ (福徳稲荷神社ふくとくいなりじんじゃ) เป็นศาลเจ้าอินาริเล็กๆในบริเวณนี้



ในบริเวณนี้ยังมีศูนย์บริการการท่องเที่ยวตั้งอยู่ด้วย




ภายใน



ส่วนด้านหน้าอาคารนั้นมีรูปปั้นนาโอเอะ คาเนตสึงุอยู่



จากนั้นเดินออกจากบริเวณปราสาทโยเนซาวะ ข้ามกลับมาทางตะวันออก ตรงนี้ยังมีศาลเจ้าเล็กๆอีกแห่งคือศาลเจ้ามัตสึงาซากิ (松岬神社まつがさきじんじゃ)





ส่วนด้านหลังศาลเจ้านี้มีโรงเรียนอนุบาลไมซึรุ (まいづる幼稚園ようちえん)



ตรงหน้าศาลเจ้านี้เห็นหิมะโล่งๆเราเลยขีดเล่นลงไปสักหน่อย เขียนเป็นภาษาไทยว่า "โยเนซาวะ" แต่น่าเสียดายว่าถ่ายแล้วเห็นไม่ชัดสักเท่าไหร่



หลังจากเสร็จตรงนี้แล้วต่อไปเราก็ไปเข้าชมพิพิธภัณฑ์อุเอสึงิซึ่งอยู่ข้างๆต่อในตอนต่อไป https://phyblas.hinaboshi.com/20230130



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> มิยางิ
-- ประเทศญี่ปุ่น >> ฟุกุชิมะ
-- ประเทศญี่ปุ่น >> ยามางาตะ
-- ท่องเที่ยว >> ศาสนสถาน >> ศาลเจ้า
-- ท่องเที่ยว >> ปราสาท☑ >> ปราสาทญี่ปุ่น
-- ท่องเที่ยว >> หิมะ

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文