φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ปราสาทวาตาริและยูริกัง พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเมืองวาตาริ
เขียนเมื่อ 2023/11/13 14:43
แก้ไขล่าสุด 2023/11/19 15:35
# เสาร์ 11 พ.ย. 2023

หลังจากที่ตอนที่แล้วได้แวะไปเที่ยวปราสาทซากาโมโตะมา https://phyblas.hinaboshi.com/20231112

เราก็นั่งรถไฟไปตามสายโจวบังย้อนขึ้นมาทางเหนือ จนมาถึงเมืองวาตาริ (亘理町わたりちょう) ซึ่งเป็นเป้าหมายสุดท้ายของการเที่ยวในวันนี้

ตำแหน่งเมืองวาตาริ แสดงเป็นสีเหลืองเข้มเล็กๆด้านล่าง




เมืองวาตาริเป็นอีกเมืองที่เคยมีปราสาทตั้งอยู่ นั่นคือปราสาทวาตาริ (亘理城わたりじょう) หรือเรียกอีกชื่อว่า ปราสาทกางิว (臥牛城がぎゅうじょう) ผู้ครองปราสาทนี้เป็นสายย่อยของตระกูลดาเตะซึ่งปกครองเซนได

ปราสาทนี้ก็ถูกรื้อทิ้งในช่วงต้นยุคเมย์จิเช่นเดียวกับปราสาทอื่นส่วนใหญ่ และข้อมูลของรูปร่างเดิมเกี่ยวกับตัวปราสาทก็น้อยด้วย จึงไม่สามารถสร้างจำลองตัวปราสาทเดิมขึ้นมาใหม่ได้ ปัจจุบันบริเวณที่เคยเป็นหอหลักของตัวปราสาทนี้ได้กลายมาเป็นที่ตั้งศาลเจ้าวาตาริ (亘理神社わたりじんじゃ) และสวนสาธารณะคิวกัง (旧館公園きゅうかんこうえん)

นอกจากนี้แล้ว ยังได้มีการสร้างอาคาร ยูริกัง (悠里館ゆうりかん) ซึ่งทำเป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเมืองวาตาริ โดยตัวอาคารนั้นได้ถูกทำเป็นลักษณะเหมือนปราสาทญี่ปุ่น ตั้งอยู่ข้างๆสถานีรถไฟวาตาริ ถ้าใครนั่งรถไฟก็จะเห็นอาคารนี้ตั้งอยู่สวยเด่น กลายเป็นจุดสนใจของเมืองนี้

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอาคารถูกสร้างให้หน้าตาคล้ายปราสาท จึงอาจทำให้คนเข้าใจผิดว่ายูริกังเป็นปราสาทวาตาริได้ ถ้าเราค้นภาพด้วยชือปราสาทนี้ในกูเกิล ภาพส่วนใหญ่ที่ขึ้นมาก็คือตัวอาคารยูริกัง

ในการเที่ยวครั้งนี้เราเริ่มจากไปชมบริเวณที่เดิมเป็นปราสาทวาตาริ และก็ค่อยมาเข้าชมยูริกัง ก่อนจะขึ้นรถไฟเดินทางกลับ

รถไฟที่นั่งมานั้นถึงสถานีวาตาริเวลา 10:48 ส่วนรถไฟขากลับที่นั่งนั้นเป็นรอบ 12:52 (แต่รถไฟมาช้ากว่ากำหนด ออกจริงคือ 12:57) โดยรวมเวลาที่ใช้เที่ยวที่นี่คือประมาณ ๒ ชั่วโมง



หลังจากที่รถไฟออกจากสถานียามาชิตะแล้วก็เข้าสู่เขตเมืองวาตาริ ซึ่งอยู่ถัดมาทางตอนเหนือ มาจอดที่สถานีแรกคือสถานีฮามาโยชิดะ (浜吉田駅はまよしだえき) ซึ่งอยู่ตอนใต้ของเมือง



จากนั้นจึงมาจอดที่สถานีวาตาริซึ่งเป็นสถานีหลักของเมืองนี้





เดินออกมาทางฝั่งตะวันตกของสถานี



เดินห่างจากตัวอาคารสถานีมาหน่อยก็สามารถมองเห็นยูริกังตั้งอยู่หลังสถานี ดูสวยเด่น



จากตรงนี้เดินทางไปทางตะวันตก มุ่งหน้าสู่ปราสาทวาตาริ






ระหว่างทางผ่านโรงเรียนประถมวาตาริ (亘理小学校わたりしょうがっこう)




แล้วก็มาถึง



บันไดขึ้นไปยังศาลเจ้าวาตาริ



ภายในบริเวณศาลเจ้า







ตรงนี้มีแผ่นป้ายที่อธิบายเกี่ยวักบปราสาทวาตาริ



แผนที่ปราสาทวาตาริในอดีต



พอเดินลึกเข้าไปด้านในก็พบว่าเต็มไปด้วยแผ่นป้ายหินที่สลักข้อความต่างๆอยู่เต็มไปหมด







จากบนศาลเจ้า เดินลงบันไดไปทางนี้เป็นส่วนของสวนสาธารณะ




ในบริเวณนี้มีคูน้ำซึ่งเคยเป็นคู่ของปราสาทวาตาริ แต่ก็เป็นแค่ส่วนเล็กๆในด้านหนึ่งเท่านั้น




ป้ายอธิบายเกี่ยวกับซากคูน้ำ



จากนั้นเดินออกจากสวนสาธารณะ ภาพนี้ถ่ายจากด้านนอกหน้าทางเข้าสวนสาธารณะหลังเดินออกมาแล้ว



จากตรงนี้เดินต่อไปอีกหน่อย มีเป้าหมายอีกแห่งที่อยู่ใกล้ๆและมีความเกี่ยวข้องกัน



แล้วก็มาถึงวัดเซนเนง (専念寺せんねんじ) ซึ่งประตูซัมมง (山門さんもん) ของวัดนี้เดิมทีเป็นประตูของปราสาทวาตาริแล้วถูกย้ายมาสร้างใหม่ที่วัดนี้ซึ่งอยู่ไม่ไกลกันมาก



ส่วนด้านในวัดนั้นกำลังก่อสร้างอยู่จึงไม่สามารถเข้าไปชมได้ แต่ก็ยังดีที่ได้มาเห็นตัวประตูซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญ แค่นี้ก็พอแล้ว



จากนั้นที่เหลือก็ไม่มีอะไรแล้ว จึงเดินย้อนกลับไปยังสถานีวาตาริ




เดินกลับมาถึงแล้ว เห็นตัวยูริกังเด่นมาแต่ไกล



จากด้านนอกสถานี มองเข้าไปเห็นบริเวณชานชลา และสะพานข้ามไปยังฝั่งตรงข้ามซึ่งมียูริกังอยู่



เดินขึ้นสะพานข้ามจากตรงนี้ไป



บนสะพานข้าม



เมื่อข้ามมาก็จะโผล่ชั้น ๒ ของยูริกังโดยตรง ทางด้านโน้นเป็นห้องสมุด



และตรงนี้ยังมีร้านอาหารอยู่ด้วย ตอนนี้เป็นเวลาเที่ยง ที่จริงก็อยากแวะกิน แต่ดูแล้วไม่มีเวลาพอจงไม่ได้แวะ



มองลงไปข้างล่าง



จากนั้นก็เดินลงมาด้านล่าง ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ ส่วนจัดแสดงในนี้เข้าชมได้ไม่มีค่าเข้า



เมื่อเข้ามาก็จะเจอที่นั่งให้ชมวิดีโออธิบายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเมืองนี้ ดูแล้วทำออกมาได้ดีทีเดียว เรานั่งฟังอยู่ตรงนี้จนจบแล้วจึงเดินเข้าไปชมด้านในต่อ




ภายในส่วนจัดแสดงนี้เป็นห้องใหญ่ห้องเดียว มีของจัดแสดงเยอะมาก มีทั้งวัตถุโบราณ และแบบจำลองต่างๆที่เกี่ยวข้อง ดูแล้วทำออกมาได้ดีมากยิ่งกว่าพวกพิพิธภัณฑ์ที่เก็บค่าเข้าเสียอีก ไม่น่าเชื่อว่าที่แบบนี้จะไม่เก็บค่าเข้าชม















ตรงนี้เป็นห้องที่ให้นั่งชมวิดีโออีก ฉายเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้านที่นี่ แต่ดูแล้วก็ไม่มีอะไรมาก



ชมห้องจัดแสดงหลักเสร็จก็เดินต่อมามีห้องเล็กๆอยู่ตรงนี้ ซึ่งจัดแสดงพวกรูปต่างๆ



นี่เป็นภาพแสดงความเสียหายจากเหตุการณ์คลื่นทสึนามิปี 2011 โดยเปรียบเทียบให้เห็นภาพก่อนและหลังเหตุการณ์ และภาพปัจจุบันหลังจากที่ฟื้นฟูบ้านเมืองจากความเสียหายแล้ว



ชมเสร็จก็ออกมาเดินดูบริเวณรอบๆอาคาร



ตรงนี้เป็นทางเข้าสู่สถานีวาตาริอีกทาง



ข้างๆนั้นเป็นสะพานชื่อว่า ยูกิวโนะฮาชิ (悠久ゆうきゅうはし) แปลว่า "สะพานแห่งนิรันดร์"



ทิวทัศน์จากบนสะพาน ที่เห็นนี้เป็นคลองเล็กๆที่ลากผ่านกลางเมืองวาตาริลงสู่ทะเล



ตัวอาคารจากบนสะพานฝั่งตรงข้ามคลอง



จากนั้นเดินเลียบคลองไปทางนี้



ภาพอาคารที่ถ่ายจากฝั่งตรงข้ามคลอง




เดินมานิดหน่อยก็ข้ามสะพานนั้นกลับเข้าไปฝั่งเดิม



ทิวทัศน์จากบนสะพาน




จากนั้นก็เดินกลับเข้ามายังตัวอาคาร



แล้วก็ขึ้นไปยังชั้น ๕ ซึ่งเป็นชั้นบนสุด ที่นี่เป็นจุดชมทิวทัศน์



เดินออกมาที่ระเบียง จากตรงนี้ชมทิวทัศน์รอบๆได้ จังหวะนั้นเห็นฝูงนกกำลังบินอยู่พอดี



มองลงไปเห็นตัวสถานีรถไฟและทางรถไฟ




ตัวเมืองทางฝั่งตะวันออกซึ่งมีบ้านอยู่แค่เบาบาง




การเที่ยวที่นี่ก็จบลงเท่านี้ จากนั้นก็กลับมาที่สถานีวาตาริเพื่อขึ้นรถไฟ ตอนที่ไปถึงนั้นดูหน้าจอแสดงเวลารถไฟแล้วก็พบว่ารถไฟฝั่งทิศตรงข้ามคือที่ออกจากเซนไดไปยังทางฟุกุชิมะนั้นเกิดช้ากว่าเวลาไปถึง ๓๖ นาที ซึ่งช้าไปมาก ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น แต่โชคดีรถไฟที่เราจะนั่งไปนั้นเป็นฝั่งตรงข้าม คือฝั่งที่กับเซนไดไป ซึ่งตอนหลังก็พบว่ามาช้ากว่ากำหนดเช่นกัน แต่ช้าไป ๕ นาที ซึ่งก็ไม่ถือว่าเป็นปัญหามาก



ในอาคารสถานีมีตู้ขายพวกกาแฟและเครื่องดื่มร้อนๆอัตโนมัติ เห็นมีซุปข้าวโพดด้วย ราคา ๑๓๐ เยน เลยกดมาดื่มระหว่างรอรถไฟ



จากนั้นรถไฟก็มาถึงและออกเวลา 12:57 เราก็ขึ้นรถไฟขบวนนี้เพื่อเดินทางกลับเซนได



ระหว่างทางผ่านสถานีโอกุมะ (逢隈駅おおくまえき) ซึ่งเป็นอีกสถานีบนสายโจวบังซึ่งอยู่ในเมืองวาตาริ เป็นสถานีทางเหนือสุดก่อนที่จะไปรวมกับสายหลักโทวโฮกุที่สถานีอิวานุมะ



การเที่ยวชมปราสาทตามทางรถไฟสายโจวบังในวันนี้ก็จบลงเท่านี้ ได้ไปเที่ยว ๓ เมือง ชมปราสาทถึง ๓ แห่ง นับว่าเป็นอีกวันที่ได้เที่ยวอย่างคุ้มค่าเลยทีเดียว



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> มิยางิ
-- ท่องเที่ยว >> ปราสาท☑ >> ปราสาทญี่ปุ่น
-- ท่องเที่ยว >> ศาสนสถาน >> ศาลเจ้า
-- ท่องเที่ยว >> รถไฟ
-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文