φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



หอข้อมูลประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัยโทวโฮกุ ติดตามประวัติของหลู่ซวิ่นสมัยเรียนแพทย์ในเซนได
เขียนเมื่อ 2024/03/12 07:39
แก้ไขล่าสุด 2024/03/27 23:05
# ศุกร์ 8 มี.ค. 2024

ที่เซนไดนั้นแม้ถึงเดือนมีนาคมแล้วก็ยังคงมีหิมะตกอยู่บ่อยๆ ทำให้ทิวทัศน์ขาวโพลนนั้นเป็นสิ่งชินตาแล้ว แต่ว่าหลังจากนี้คงมีโอกาสได้ดูอีกไม่มาก เพราะได้งานใหม่ที่ฟุกุโอกะและกำลังจะต้องย้ายออกไป ก่อนที่จะจากที่นี่ไปก็เลยได้หาเรื่องไปเที่ยวที่ไหนมามากมายภายในจังหวัดมิยางิและที่ใกล้เคียง

ที่ผ่านมาเราพักอยู่ที่หอพักของวิทยาเขตคาตาฮิระ (片平かたひら) ของมหาวิทยาลัยโทวโฮกุมาเป็นเวลานาน แต่ก็ยังไม่ได้มีโอกาสชมภายในอย่างละเอียด ไม่ได้รู้เลยว่าที่นี่มีสถานที่เที่ยวน่าสนใจอยู่แห่งหนึ่ง ครั้งนี้ก็เลยถือโอกาสแวะไป

สถานที่น่าสนใจที่ว่านั้นก็คือหอข้อมูลประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัยโทวโฮกุ (東北大学史料館とうほくだいがくしりょうかん) เป็นพิพิธภัณฑ์เล็กๆที่อธิบายถึงประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งนี้

และที่สำคัญก็คือ มีการจัดแสดงเกี่ยวกับหลู่ซวิ่น (魯迅lǔ xùn) กวีชื่อดังชาวจีนซึ่งได้เคยมาเรียนต่อที่นี่

เดิมทีวิทยาเขตคาตาฮิระของมหาวิทยาลัยโทวโฮกุนั้นเป็นที่ตั้งของโรงเรียนเฉพาะทางแพทยศาสตร์เซนได (仙台医学専門学校せんだいいがくせんもんがっこう) ก่อนที่จะรวมเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยหลวงโทวโฮกุ (東北帝国大学とうほくていこくだいがく) แล้วก็กลายมาเป็นมหาวิทยาลัยโทวโฮกุในปัจจุบัน ดังนั้นจึงถือได้ว่าหลู่ซวิ่นก็เป็นศิษย์เก่าของที่นี่ไปด้วย

หลู่ซวิ่น ชื่อจริงว่าโจวซู่เหริน (周樹人zhōu shù rén, ปี 1881-1936) ได้มาเรียนต่อที่เซนไดตั้งแต่ปี 1904 ถือเป็นนักศึกษาชาวต่างชาติรุ่นแรกของที่นี่ โดยตอนแรกเรียนแพทย์ แต่ก็เกิดสนใจในวรรณกรรมขึ้นมา ภายหลังจึงเปลี่ยนเส้นทางชีวิต มุ่งมั่นจะเปลี่ยนโลกด้วยวรรณกรรม เขาเดินทางกลับจีนในปี 1909 แล้วก็ได้สร้างผลงานวรรณกรรมขึ้นชื่อมากมายจนเป็นที่รู้จักไปทั่ว

เกี่ยวกับหลู่ซวิ่นนั้นเราได้เคยเขียนถึงไว้ในบทความที่เล่าเรื่องการไปเที่ยวบ้านเกิดของเขาที่เมืองเซ่าซิง https://phyblas.hinaboshi.com/20120720 และที่พิพิธภัณฑ์หลู่ซวิ่นที่ปักกิ่ง https://phyblas.hinaboshi.com/20150616

เมื่อมีบุคคลยิ่งใหญ่ขนาดนี้เป็นศิษย์เก่า ทางมหาวิทยาลัยโทวโฮกุจึงได้ใช้เป็นจุดขายไปด้วย โดยภายในหอข้อมูลประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่เราไปชมมานี้ได้เตรียมมุมหนึ่งไว้บอกเล่าเรื่องราวของหลู่ซวิ่นโดยเฉพาะ นอกจากนี้บนสนามใกล้ๆอาคารนั้นก็ได้ตั้งรูปปั้นครึ่งตัวของหลู่ซวิ่นไว้ด้วย



ภาพที่มองจากหอพักชั้น ๖ ของวิทยาเขตคาตาฮิระในวันที่มีหิมะ ทางซ้ายคืออาคารหนึ่งของมหาวิทยาลัย



เดินลงจากหอพักมานิดเดียวก็ถึงหน้าประตูทางเข้า



แล้วเดินเข้ามาเลี้ยวขวาก็มองเห็นหอข้อมูลประวัติศาสตร์ที่เป็นเป้าหมาย



ที่ข้างๆอาคารนั้นก็พบรูปปั้นของหลู่ซวิ่นทันที



นอกจากนี้ก็ยังมีรูปปั้นคนอื่นอยู่ใกล้ๆกันในบริเวณด้วย



นี่เป็นรูปปั้นมาชิมะ โทชิยุกิ (眞島ましま 利行としゆき, ปี 1874-1962) นักเคมีอินทรีย์ เคยเป็นศาสตราจารย์อยู่ที่นี่



ระหว่างที่เราเดินเล่นอยู่ในนี้เห็นคนจีนเดินมาถ่ายรูปคู่กับรูปปั้นหลู่ซวิ่นด้วย



จากนั้นก็เดินมาที่ทางเข้าตัวอาคารหอข้อมูล



หน้าทางเข้าเขียนบอกเวลาเปิด 10:00-17:00 โดยเปิดแค่วันธรรมดาเท่านั้น



เข้ามาด้านใน



ส่วนจัดแสดงอยู่ด้านบน




ตรงมุมทางโน้นจัดแสดงประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยโทวโฮกุและของที่เกี่ยวข้องมากมาย









ส่วนมุมนี้ว่าด้วยเรื่องของผู้มาเยือนจากต่างชาติ ซึ่งก็รวมถึงนักศึกษา แล้วก็มีรูปอัลแบร์ท ไอน์ชไตน์อยู่ด้วย ที่จริงแล้วเขาเคยมาญี่ปุ่นแล้วก็เคยแวะมาที่เซนไดด้วย ในวันที่ 2 ธ.ค. 1922



ส่วนตรงนี้จัดแสดงประวัติของหลู่ซวิ่นและความเกี่ยวพันกับที่นี่








แผนที่แสดงสถานที่ที่มีความเกี่ยวข้องกับหลู่ซวิ่นและเส้นทางการเดินทางของเขา



ในนี้ยังจัดแสดงหนังสือที่ทำจำลองขึ้นจากสมุดโน้ตที่หลู่ซวิ่นจดสมัยเรียนแพทย์อยู่ที่นี่ด้วย




ส่วนตรงนี้เกี่ยวกับนักศึกษาชาวจีนคนอื่น ซึ่งก็ไม่ได้จัดแสดงอะไรมากเท่าไหร่ พื้นที่ส่วนใหญ่ยังเต็มไปด้วยเรื่องของหลู่ซวิ่น



หลังจากเสร็จแล้วเราก็ยังมีเดินดูในบริเวณมหาวิทยาลัยต่ออีกนิดหน่อย ทิวทัศน์ช่วงนั้นหิมะปกคลุมสวยดี แต่ในไม่ช้าก็ค่อยๆละลายลง




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ท่องเที่ยว >> หิมะ
-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์
-- ประเทศญี่ปุ่น >> มิยางิ
-- ท่องเที่ยว >> มหาวิทยาลัย

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文