φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



เต๊กอังลี่ หมู่บ้านเก่าแก่ในตำบลอั่งเอี๊ยของเมืองโผวเล้ง แวะกินหอยทอดและตือฮวนจุกบี้อาหารแต้จิ๋ว
เขียนเมื่อ 2024/10/21 22:59
แก้ไขล่าสุด 2024/10/22 18:17
# อังคาร 19 มี.ค. 2024

บันทึกการเที่ยวโผวเล้งต่อจาก https://phyblas.hinaboshi.com/20241015

หลังจากที่แวะไปพิพิธภัณฑ์ในเมืองมาแล้ว เป้าหมายต่อไปก็คือมาเที่ยวหมู่บ้านเก่าแก่ ชื่อว่า เต๊กอังลี่ (เต๋ออานหลี่, 德安里dé ān lǐ) ซึ่งอยู่ในตำบลอั่งเอี๊ย (หงหยาง, 洪阳hóng yáng) ทางเหนือของโผวเล้ง ที่นี่เป็นหมู่บ้านเล็กๆที่เต็มไปด้วยบ้านมีลานแบบแต้จิ๋วดั้งเดิมที่ถูกอนุรักษ์ไว้อย่างดี

กลุ่มอาคารบ้านขนาดใหญ่แบบมีลานตรงกลางที่พบได้ในภูมิภาคแต้จิ๋วนั้นมีเอกลักษณะเฉพาะตัว มีชื่อเรียกว่า ซี้แบ้ทัวเชีย (ซื่อหม่าทัวเชอ, 驷马拖车sì mǎ tuō chē) และ แป๊ะเจี้ยวเฉี่ยวฮ้วง (ไป๋เหนี่ยวเฉาหวง, 百鸟朝凰bǎi niǎo cháo huáng) ทั้ง ๒ แบบนี้พบได้ภายในหมู่บ้านเต๊กอังลี่นี้ และยังประกอบไปด้วยบ้านแบบเหี่ยซัวโฮ่ว (เซี่ยซานหู่, 下山虎xià shān hǔ), ซี้เตี๋ยมกิม (ซื่อเตี่ยนจิน, 四点金sì diǎn jīn) และ ซาจ่อเลาะ (ซานจั้วลั่ว, 三座落sān zuò luò)

เพียงแต่ว่าหมู่บ้านนี้ถูกทำเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอย่างจริงจัง ไม่ได้มีผู้อยู่อาศัยอยู่ตามปกติแล้ว นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงพวกของเก่าต่างๆเหมือนเป็นพิพิธภัณฑ์ไปในตัวด้วย



ทางเข้าหมู่บ้าน มีการสร้างประตูไว้แบบนี้ ดูสมเป็นสถานที่เที่ยว



ด้านในเป็นลานที่มีที่จอดรถ




แผนที่ของที่นี่




ทางเข้าตัวอาคารต่างๆที่เห็นได้จากลานด้านหน้า






มีทางเข้าไปยังตรอกซอกซอยภายในนี้







ภายในตรอก






ต่อมาเข้ามาดูภายในอาคารต่างๆ

















ภายในนอกจากจะมีพวกของแต่งบ้านทั่วไปแล้วก็ยังมีจัดแสดงพวกของเก่าไว้มากมายด้วย


















ตรงนี้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ช่วงสงครามปลายยุคราชวงศ์ชิง




รูปปั้นฟาง เย่า (方耀fāng yào) เป็นทหารเรือชาวตำบลอั่งเอี๊ยของโผวเล้ง



นอกจากนี้ก็มีแมวอยู่ด้วย




เดินชมข้างในเสร็จก็ออกมาด้านนอก เดินดูแถวนั้น แล้วก็หาอะไรกินไปด้วย เวลาตอนนั้นคือใกล้เที่ยงแล้ว บรรยากาศแถวนี้ก็เป็นย่านตึกแถวที่พบได้ตามท้องถิ่นของจีนทั่วไป





ดูแล้วมีร้านอาหารอยู่ไม่น้อย






ที่เราแวะกินก็คือร้านนี้



สั่งหอยทอด หรือในภาษาจีนเรียกว่า "เหาเล่า" (蚝烙háo lào) หรือเรียกแบบแต้จิ๋วว่า "อ่อลัวะ" แต่ว่าที่ไต้หวันจะเรียกว่า "เคอไจ่เจียน" (蚵仔煎kē zǎi jiān) และเราก็เคยอยู่ไต้หวันจึงคุ้นเคยกับคำนั้นมากว่า ตอนแรกเจอคำว่า "เหาเล่า"​ ก็ไม่รู้จักเหมือนกัน แล้วลองถามคนที่นี่ดูว่ารู้จัก "เคอไจ่เจียน" มั้ย เขาก็ไม่รู้เหมือนกัน หอยทอดเป็นอาหารของทั้งแต้จิ๋วและไต้หวัน ซึ่งก็มีเอกลักษณ์ต่างกันไป ชื่อเรียกก็เลยต่างกันด้วย แต่โดยรวมแล้วก็คล้ายกัน แบบไหนก็อร่อย



แล้วก็ก๋วยจั๊บ ซึ่งก็เป็นอาหารแต้จิ๋วอีกชนิดที่เป็นที่นิยมในไทย ถ้าเรียกให้ถูกต้องตามภาษาแต้จิ๋วจะเป็น "ก๋วยจับ" (พยางค์หลังเป็นเสียงเอก ไม่ใช่ตรี) หรือถ้าจีนกลางจะเรียกว่า "กั่วจือ" (粿汁guǒ zhī)



สุดท้ายคือ ตือฮวนจุกบี้ นี่ก็เป็นอาหารแต้จิ๋วที่พบได้ในไทยเหมือนกัน ถ้าออกเสียงแบบแต้จิ๋วจริงๆคือ "ตือฮวงจุกบี้" (猪番糯米) แต่ว่าชื่อเรียกนี้ใช้แค่ในหมู่ชาวแต้จิ๋วในไทยเท่านั้น คนแต้จิ๋วที่นี่เขาเรียกว่า "ตือตึ่งจุกบี้" (猪胀糯米) หรือจีนกลางเรียกว่า "จูฉางจ้างนั่วหมี่" (猪肠胀糯米zhū cháng zhàng nuò mǐ)



หลังจากกินเสร็จก็ไปเที่ยวแถวนี้ต่อ ที่จริงแล้วในตำบลอั่งเอี๊ยนอกจากเต๊กอังลี่แล้วก็ยังมีสถานที่เที่ยวอื่นอีก นั่นคือ เฉิงหวงเมี่ยวแห่งโผวเล้ง (普宁城隍庙pǔ níng chéng huáng miào) ก็เป็นวัดเก่าสวยๆอีกแห่งหนึ่ง ถือโอกาสแวะมาด้วย



ภายในวัด











อาคารที่ทำการของวัด อยู่ข้างๆ ดูสวยดี




ส่วนตรงนี้เรียกว่า บุ่งเชียงเกาะ (เหวินชางเก๋อ, 文昌阁wén chāng gé) ที่นี่เป็นบ้านเก่าที่หลิน เจ๋อสวี (林则徐, ปี 1785-1850) เคยอาศัยอยู่ แล้วเขาก็เสียชีวิตตอนอยู่ที่นี่ เขาเป็นบุคคลสำคัญในช่วงสงครามฝิ่น มีชื่อเสียงในการต่อต้านฝิ่นที่นำมาขายโดยชาวอังกฤษอย่างรุนแรง และกลายมาเป็นชนวนสำคัญของสงคราม



ที่นี่จริงๆแล้วเห็นว่าเปิดเป็นสถานที่เที่ยวให้เข้าชมได้ด้วย แต่ตอนที่ไปไม่รู้ว่าทำไมปิดอยู่ จึงไม่สามารถเข้าชมได้ น่าเสียดาย



ตรงลานจอดรถมีป้ายอธิบายถึงประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับหลิน เจ่อสวีและสงครามฝิ่นอยู่ด้วย



การเที่ยวในหมู่บ้านเก่าแก่เต๊กอังลี่และตำบลอั่งเอี๊ยก็จบลงเท่านี้ ตอนต่อไปยังจะไปเที่ยวหมู่บ้านเก่าแก่อีกแห่ง คือ หมู่บ้านหนี่เกา (หนีโกวชุน, 泥沟村ní gōu cūn)



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> กวางตุ้ง >> แต้จิ๋ว
-- ท่องเที่ยว >> แมว

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文