φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ภาษามองโกลเบื้องต้น บทที่ ๑๓: จำนวนตัวเลข
เขียนเมื่อ 2022/03/12 15:41
แก้ไขล่าสุด 2022/09/06 22:00
ต่อจาก บทที่ ๑๒

ในบทนี้จะพูดถึงเรื่องของการอ่านตัวเลขในภาษามองโกล รวมถึงวิธีการนำมาใช้บอกจำนวนภายในประโยค



ตัวเลขตั้งแต่ 1 ถึง 10

ในภาษามองโกลนั้นไม่มีลักษณนาม จึงแค่เอาตัวเลขมาวางหน้าคำนามได้เลย

แต่ตัวเลขเวลาอยู่โดดๆกับเวลาที่นำไปนำหน้าคำนามจะต่างกันไป ยกเว้นเลข 0 และ 2 เท่านั้นที่จะไม่เปลี่ยน ดังนั้นต้องจำแยก ดังนี้

จำนวน
รูปโดด
เมื่อนำหน้าคำนาม
0
тэгเท็ก
(เหมือนเดิม)
1
нэгเน็ก
нэг
нэгэн เนเก็ง
2
хоёрฮอยอร์
(เหมือนเดิม)
3
гуравโกโรว
гурван โกร์วัง
4
дөрөвโดรูว
дөрвөн โดร์วง
5
тавเทา
таван ทาวัง
6
зургааโซร์กา
зургаан โซร์กาง
7
долооดอลอ
долоон ดอลอง
8
наймไนม์
найман ไนมัง
9
есยุส
есөн ยุซง
10
аравอาโรว
арван อาร์วัง

โดยรวมแล้วก็คือเติมหางที่มีสระตามด้วย н เพิ่มเข้ามา แต่สำหรับ 3 และ 10 นั้นมีการตัดสระออกจากรูปโดดด้วย ส่วน 6 กับ 7 นั้นลงท้ายด้วยสระเสียงยาวอยู่แล้วจึงแค่เติม н

สำหรับเสียงอ่านของ 3, 4, 9 และ 10 นั้นค่อนข้างพิเศษ ไม่ตรงรูปที่เขียน ต้องจำเป็นพิเศษ

ส่วนเลข 1 นั้นมีทั้งกรณีที่เติม эн และไม่เติม โดยจะเติม эн เมื่อใช้ต่อจากหลักสิบ ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป แต่ถ้าใช้เป็นเลข 1 โดดๆจะไม่เติม เช่นเดียวกับเลข 2

нэг хүүхэдเน็ก ฮูเฮ็ด = เด็กหนึ่งคน
хоёр хоньฮอยอร์ ฮ็อน = แกะสองตัว

แต่สำหรับเลข 3 ขึ้นไปจะใช้เป็นรูปที่เติม н ต่อท้าย

гурван номโกร์วัน น็อม = หนังสือสามเล่ม
таван хүнทาวัง ฮุง = คนห้าคน
долоон шувууดอลอน โชโว = นกเจ็ดตัว
шувууโชโว = นก



ตัวเลขตั้งแต่ 20 ถึง 90

สำหรับหลักสิบนั้นมีรูปแยกต่างหากให้ต้องจำ ซึ่งก็มีส่วนคล้ายกับหลักหน่วย แต่ก็ต่างออกไป

จำนวน
รูปโดด
เมื่อนำหน้าคำนาม
20
хорьฮอร์
хорин ฮอริง
30
гучกช
гучин โกชิง
40
дөчดช
дөчин โดชิง
50
тавьเทา
тавин ทาวิง
60
жарจาร์
жаран จารัง
70
далดัล
далан ดาลัง
80
наяนาอี
наян นาอิง
90
ерโยร์
ерэн โยเร็ง

เช่น

жаран барจารัม บาร์ = เสือหกสิบตัว
далан морьดาลัม มอร์ = ม้าเจ็ดสิบตัว



ตัวเลขตั้งแต่ 11 ถึง 99

การสร้างเลขสองหลักนั้นทำได้โดยการเอาเลขหลักสิบในรูปนำหน้านาม มาวางต่อด้วยเลขหลักหน่วย เช่นเลขที่มีหลักหน่วยเป็น 2 จะได้ว่า

12
араван хоёр
22
хорин хоёр
32
гучин хоёр
42
дөчин хоёр
52
тавин хоёр
62
жаран хоёр
72
далан хоёр
82
наян хоёр
92
ерэн хоёр

เช่น

гучин хоёр хоньโกชิง ฮอยอร์ ฮ็อน = แกะสามสิบสองตัว



แต่กรณีของเลข 1 นั้นถ้ามีหลักสิบอยู่ด้วยเมื่อนำหน้าคำนามจึงจะเติม эн ต่อไปด้วย ต่างจากกรณีที่มีแค่หลักหน่วยซึ่งจะไม่ต้องเติม эн

จำนวน
รูปโดด
เมื่อนำหน้าคำนาม
1
нэг нэг
11
араван нэг араван нэгэн
21
хорин нэг хорин нэгэн
31
гучин нэг
гучин нэгэн
41
дөчин нэг
дөчин нэгэн
51
тавин нэг
тавин нэгэн
61
жаран нэг
жаран нэгэн
71
далан нэг
далан нэгэн
81
наян нэг
наян нэгэн
91
ерэн нэг
ерэн нэгэн

เช่น

тавин нэгэн хүүхэдทาวิน เนเก็ง ฮูเฮ็ด = เด็กห้าสิบเอ็ดคน

ส่วนเลขที่เหลือตั้งแต่ _3 ถึง _9 นั้นก็เช่นเดียวกัน โดยจะใช้รูปเดียวกับ 3 ถึง 9 เมื่อวางหน้านาม

จำนวน
รูปโดด
เมื่อนำหน้าคำนาม
33
гучин гурав
гучин гурван
44
дөчин дөрөв
дөчин дөрвөн
55
тавин тав
тавин таван
66
жаран зургаа
жаран зургаан
77
далан долоо
далан далоон
88
наян найм
наян найман
99
ерэн ес
ерэн есэн

เช่น

далан найман чулууดาลัน ไนมัน โชโล = หินเจ็ดสิบแปดก้อน
чулууโชโล = ก้อนหิน



เลขหลักร้อยขึ้นไป

ภาษามองโกลมีเลขหลักร้อยและหลักพัน แต่ไม่มีหลักหมื่น แต่จะใช้หลักพันเป็นฐาน เรียกเป็นสิบพัน ร้อยพัน นอกจากนี้ก็มีหลักล้านและพันล้านด้วย เช่นเดียวกับพวกภาษาทางยุโรป

จำนวน
รูปโดด
เมื่อนำหน้าคำนาม
100
зууโซ
зуун โซง
1,000
мянгаมยังก์
мянган มยังกัง
10,000
арван мянгаอาร์วัม มยังก์
арван мянган อาร์วัม มยังกัง
100,000
зуун мянгаโซม มยังก์
зуун мянган โซม มยังกัง
1,000,000
саяซาอี
(เหมือนเดิม)
1,000,000,000
тэрбумเทร์บม (เหมือนเดิม)

200, 300, ..., 900 สร้างได้ง่ายโดยแค่ใช้ 2, 3, ... 9, ตามด้วย зуу หลักพันและหลักล้านก็เช่นเดียวกัน

เช่น

гурван зууโกร์วัน โซ = สามร้อย
найман мянгаไนมัม มยังก์ = แปดพัน
таван зуун ерэн зургааทาวัน โซน โยเร็น โซร์กา
= ห้าร้อยเก้าสิบหก

เมื่อใช้นำหน้าคำนามเพื่อบอกจำนวน ก็เปลี่ยนตัวท้ายสุดเป็นรูปเติม н (ยกเว้นที่ลงท้ายด้วยเลข 2 จะเหมือนเดิม)

хоёр зуун арсланฮอยอร์ โซ นาร์สลัง
= สิงโตสองร้อยตัว
найман зуун арван нэгэн хүүхэдไนมัน โซ นาร์วัน เนเก็ง ฮูเฮ็ด
= เด็กแปดร้อยสิบเอ็ดคน
арсланอาร์สลัง = สิงโต



สำหรับการนับเลขหลักพันถึงหลักแสนก็จะใช้พัน (мянга) เป็นฐาน

336,800 = гурван зуунโกร์วัน โซง гучин зургаан мянгаโกชิน โซร์กาม มยังก์ найман зууไนมัน โซ

ถ้าหลักล้านขึ้นไปจนถึงร้อยล้านก็ใช้ล้าน (сая) เป็นฐาน

2,564,032 = хоёр саяฮอยอร์ ซาอี таван зуун ทาวัน โซน жаран дөрвөн мянгаจารัน โดร์วม มยังก์ гучин хоёрโกชิง ฮอยอร์

หลักพันล้านขึ้นไปก็ใช้พันล้าน (тэрбум)

476,000,000,000 = дөрвөн зуунโดร์วน โซน далан зургаан тэрбумดาลัน โซร์กาน เทร์บม



สรุปตัวเลข

จากที่กล่าวมาทั้งหมด สรุปการนับเลขโดยทั่วไปตั้งแต่ 0 ไปจนถึงพันล้านได้ดังนี้

0 тэг  
1 нэг 10 эуу 100 мянга
2 хоёр 20 хорь 200 хоёр зуу
3 гурав 30 гуч 300 гуравөн зуу
4 дөрөв 40 дөч 400 дөрөвөн зуу
5 тав 50 тавь 500 таван зуу
6 зургаа 60 жар 600 зургаан зуу
7 долоо 70 дал 700 долоон зуу
8 найм 80 ная 800 найман зуу
9 ес 90 ер 900 ерэн зуу
1,000 мянга
10,000 арван мянга
100,000 зуун мянга
1,000,000 сая
10,000,000 арван сая
100,000,000 зуун сая
1,000,000,000 тэрбум



อ่านต่อ บทที่ ๑๔


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ภาษาศาสตร์ >> เรียนภาษา
-- ภาษาศาสตร์ >> ภาษามองโกล

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文