φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ภาษามองโกลเบื้องต้น บทที่ ๔๗: การบอกวันเวลา
เขียนเมื่อ 2022/03/18 12:15
แก้ไขล่าสุด 2022/09/06 22:58
ต่อจาก บทที่ ๔๖

บทนี้จะว่าด้วยเรื่องของการแสดงเวลา



ศัพท์ที่ใช้บอกระยะเวลาและจุดเวลา

ในภาษามองโกล การบอกจุดเวลามักจะใช้คำเดียวกันกับการบอกระยะเวลา ยกเว้นปีกับเดือนจะใช้ต่างกัน

อาจแบ่งได้ดังนี้

  ระยะเวลา จุดเวลา
ปี жилจิล онอ็อง
เดือน сарซาร์
วัน хоногฮอน็อก өдөрโอโดร์
ชั่วโมง цагชัก
นาที минутมินท
วินาที секундเซคนด์



การบอกระยะเวลา

ตัวอย่างการบอกระยะเวลา

5 жил  = 5 ปี
хагас жил = ครึ่งปี
4 сар = 4 เดือน
38 хоног =   38 วัน
24 цаг =   24 ชั่วโมง
22 минут = 22 นาที
6 секунд =   6 วินาที

ถ้าเป็น 1 อาจจะละตัวเลข 1 ได้

жилийн дотор = ภายในหนึ่งปี
сарын дараа = หนึ่งเดือนหลังจากนี้
цагийн өмнө = หนึ่งชั่วโมงก่อนหน้านี้

แต่ละหน่วยเวลาถ้าจะใช้ร่วมกันก็เอามาต่อกันได้เลย

2 жил 6 сар = 2 ปี 6 เดือน
4 цаг 26 минут  = 4 ชั่วโมง 26 นาที

อาจใช้กับคำสรรพนามแสดงคำถาม เวลาจะถามระยะเวลา

хэдэн жил = กี่ปี
хэдэн минут = กี่นาที

กริยาที่ใช้กับระยะเวลาก็เช่น

ผ่านเวลาไป өнгөрөхองก์โรฮ์
เร็วไป түрүүлэхทุรูเลฮ์
ช้าไป хоцрохฮ็อชรอฮ์

เป็นต้น

ตัวอย่างการใช้

Түүнээс хойш 20 жил өнгөрчээ.
= ตั้งแต่นั้นผ่านมา 20 ปี
Миний цаг 5 минут түрүүлж байна.
หรือ
Миний цаг 5 минутаар түрүүлж байна.
= นาฬิกาของฉันเร็วไป 5 นาที



การบอกวันที่

การบอกว่าปีอะไรนั้นจะใช้ он ต่างจากระยะเวลาเป็นปีที่จะใช้ жил เช่น

1272 он  = ปี 1272
2022 он = ปี 2022

ส่วนการบอกว่าเดือนอะไรนั้นใช้คำว่า сар เช่นเดียวกับการบอกว่ากี่เดือน อาจพูดในรูปการบอกลำดับ (บทที่ ๔๖) เป็น เดือนที่...

เช่นเดือนมีนาคม = เดือน 3 = เดือนที่ 3 อาจใช้

3 сар
หรือ
3-р сар

ส่วนวันที่นั้นจะใช้คำว่า өдөр แต่ในส่วนของค่าตัวเลขจะเรียกต่างไปจากเวลานับจำนวนวันหรือตอนเป็นตัวเลขโดดธรรมดา

  เลขโดด วันที่
1 нэг нэгний өдөр
2 хоёр хоёрны өдөр
3 гурав гуравны өдөр
4 дөрөв дөрөвний өдөр
5 тав тавны өдөр
6 зургаа зургааны өдөр
7 долоо долооны өдөр
8 найм наймны өдөр
9 ес есний өдөр
10 арав аравны өдөр
20 хорь хорины өдөр
30 гуч гучны өдөр

เช่น

долооны өдөр = 7-ний өдөр = วันที่ 7
хорин нэгний өдөр = 21-ний өдөр = วันที่ 21

หรืออาจจะเขียนเป็นรูปที่เติม н ต่อท้าย ซึ่งจะเหมือนรูปเขียนเวลาไปวางหน้าคำนามก็ได้ แต่ว่าเลข 1 และ 2 ก็เปลี่ยนไปด้วย

  เรียกว่า เขียนย่อ
วันที่ 1 нэгэн 1-н
วันที่ 2 хоёрон 2-н
วันที่ 3 гурван 3-н
วันที่ 4 дөрвөн 4-н
วันที่ 5 таван 5-н
วันที่ 6 зургаан 6-н
วันที่ 7 долоон 7-н
วันที่ 8 найман 8-н
วันที่ 9 есөн 9-н
วันที่ 10 арван 10-н
วันที่ 20 хорин 20-н
วันที่ 30 гучин 30-н

เมื่อจะบอกวันเดือนปีก็เขียนต่อกัน โดยเรียงจากปีแล้วตามด้วยเดือนแล้วก็วัน โดยที่ส่วนปีจะลงท้ายด้วย оныออนี และเดือนจะลงท้ายด้วย сарынซารีง

1945 оны 8 сарын 9-н
= วันที่ 9 สิงหาคม ปี 1945
1974 оны 5 сарын 2-ны өдөр
= วันที่ 2 พฤษภาคม 1974

ส่วนการถามวันเดือนปีใช้คำดังนี้

хэдэн он
= ปีอะไร
хэддүгээр сар
= хэдэн сар
= เดือนอะไร
хэдний өдөр
= хэдэн
= วันอะไร



การบอกเวลาในนาฬิกา

การบอกเวลาเป็นชั่วโมง, นาที, วินาที ใช้ цагชัก, минутมินท, секундเซคนด์

20 цаг
= 20:00
= 2 ทุ่ม
31 минут
= 31 นาที
2 секунд
= 2 วินาที



การบอกเวลาก็เขียนต่อกันไปได้เลย

17 цаг 55 минут = 17:55 = 5 โมง 55 นาที

แต่ว่านาทีอาจจะละได้

3 цаг 45 = 3:45 = ตี 3 45

เมื่อจะถามเวลา

хэдэн цагเฮเด็น ชัก = กี่โมง
хэдэн минутเฮเด็ม มินท = กี่นาที



เวลาครึ่งชั่วโมงอาจใช้ хагасฮากัส เช่น

10 цаг хагас = 10 โมงครึ่ง

หรืออาจพูดแค่

10 хагас

กริยาที่บอกว่าเป็นเวลาเท่าไหร่แล้วอาจใช้ болноบ็อลน์

10 цаг 40 минут боллоо.
= 10 โมง 40 นาทีแล้ว
одоо 2 хагас болж байна.
= ตอนนี้ตี 2 ครึ่ง

หากจะบอกว่าเวลาเลยไปหรือเร็วไปเท่าไหร่ก็อาจใช้คำว่า өнгөрөхองก์โรฮ์ (ผันเป็น өнгөрч) หรือ дутууโดโท (= ไม่พอ) เช่น

1 цагаас 10 минут өнгөрч байна.
= เลยตี 1 มา 10 นาทีแล้ว
1 цагт 10 минут дутуу байна.
= อีก 10 นาทีจะตี 1



อ่านต่อ บทที่ ๔๘


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ภาษาศาสตร์ >> เรียนภาษา
-- ภาษาศาสตร์ >> ภาษามองโกล

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文