φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



manim บทที่ ๑๕: การใส่ลูกศร
เขียนเมื่อ 2021/03/12 00:15
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42

ต่อจาก บทที่ ๑๔

บทนี้จะเป็นเรื่องของการสร้างรูปลูกศรขึ้นมาในภาพ




การวาดลูกศร

ลูกศรสามารถสร้างขึ้นได้จากคลาส Arrow โดยวิธีการใช้จะคล้ายกับคลาส Line ที่ใช้วาดเส้น(ในบทที่ ๑๒) คือให้ใส่ตำแหน่งจุดต้นและจุดปลาย

ตัวอย่าง ลองกำหนดจุดหัวและหางลูกศรขึ้นมาแล้ววาดลูกศรขึ้นที่จุดหัวและหางที่กำหนดนั้น
import manimlib as mnm
import numpy as np

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        p1 = np.array([-6,2,0]) # หางลูกศร
        p2 = np.array([6,-2,0]) # หัวลูกศร
        lukson = mnm.Arrow(p1,p2,fill_color='#efa5c4')
        self.add(mnm.Dot(p1),
                 mnm.Dot(p2))
        self.play(
            mnm.Write(lukson),
            run_time=1
        )
        self.wait(0.5)



จะเห็นว่าโดยค่าตั้งต้นแล้วลูกศรจะถูกวาดให้ทั้งหัวและหางไม่ลากไปจนถึงจุดที่กำหนด ซึ่งระยะตรงนี้กำหนดได้โดยคีย์เวิร์ด buff หากต้องการให้หัวและหางลูกศรอยู่ที่จุดพอดีให้ใช้ buff=0

ตัวอย่างลองเปรียบเทียบลูกศรที่ค่า buff ต่างกัน
import manimlib as mnm
import numpy as np

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        p1 = np.array([-6,0,0])
        p2 = np.array([6,0,0])
        lukson = mnm.VGroup(*[mnm.Arrow(p1,p2,buff=i*0.25,fill_color='#a76fe0') for i in range(11)])
        lukson.arrange(mnm.UP)
        self.play(
            mnm.Write(lukson),
            run_time=1.5
        )






การปรับความโค้งของลูกศร

ลูกศรสามารถสร้างให้เป็นเส้นโค้งส่วนของวงกลมได้ด้วยการใส่ค่าความโค้ง (หน่วยเรเดียน) ที่คีย์เวิร์ด path_arc

ตัวอย่าง ลองสร้างลูกศรที่ความโค้งต่างๆกันขึ้นมา
import manimlib as mnm
import numpy as np

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        p1 = np.array([-6,3,0])
        p2 = np.array([6,-3,0])
        lukson = mnm.VGroup(*[mnm.Arrow(p1,p2,
                                        buff=0,
                                        color='#a5c1ef',
                                        fill_opacity=0,
                                        stroke_width=5,
                                        path_arc=np.radians(-90+i*30))
                                        for i in range(7)])
        self.add(mnm.Dot(p1),
                 mnm.Dot(p2))
        self.play(
            mnm.Write(lukson),
            run_time=1.5
        )





การปรับตำแหน่งจุดปลายลูกศร

จุดปลายลูกศรทั้งหัวลูกศรและหางลูกศรสามารถเปลี่ยนแปลงภายหลังได้โดยใช้เมธอด .set_points_by_ends() ซึ่งสามารถใช้กับ .animate เพื่อทำเป็นภาพเคลื่อนไหวได้

ตัวอย่าง ลองทำภาพเคลื่อนไหวที่ย้ายตำแหน่งหัวลูกศร
import manimlib as mnm
import numpy as np

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        p1 = np.array([-5,-2,0]) # จุดหางลูกศร
        p2 = np.array([5,3,0]) # จุดหัวลูกศร
        p3 = np.array([3,-3,0]) # จุดหัวลูกศรจุดใหม่
        lukson = mnm.Arrow(p1,p2,buff=0,fill_color='#c4efa5')
        # วาดจุด
        self.add(mnm.Dot(p1),
                 mnm.Dot(p2),
                 mnm.Dot(p3))
        self.play(
            lukson.animate.set_points_by_ends(p1,p3),
            run_time=1.5
        )






การปรับความหนาของลูกศร

ความหนาของลูกศรกำหนดได้โดยคีย์เวิร์ด thickness และสามารถปรับค่าภายหลังได้ด้วยเมธอด .set_thickness() ซึ่งใช้กับ .animate ทำให้เคลื่อนไหวได้

ตัวอย่าง ลองกำหนดความหนาให้เริ่มจาก 0.01 แล้วค่อยๆเพิ่มขึ้น
import manimlib as mnm
import numpy as np

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        p1 = np.array([-6,3,0]) # จุดหางลูกศร
        p2 = np.array([5,-2,0]) # จุดหัวลูกศร
        lukson = mnm.Arrow(p1,p2,buff=0,fill_color='#efa5b1',thickness=0.01)
        self.play(
            lukson.animate.set_thickness(1),
            run_time=1.5
        )



จะเห็นว่าการปรับความหนาของลูกศรนั้นจะทำให้ขนาดหัวลูกศรเปลี่ยนตามไปด้วย เพราะสัดส่วนความกว้างหัวลูกศรกับความหนาถูกกำหนดตายตัวด้วยอีกค่าหนึ่ง




การปรับหัวลูกศร

สัดส่วนความกว้างหัวลูกศรต่อความหนาของลูกศรกำหนดได้ที่คีย์เวิร์ด tip_width_ratio

ตัวอย่าง ลองสร้างลูกศรที่ค่า tip_width_ratio ต่างๆเปรียบเทียบกัน
import manimlib as mnm
import numpy as np

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        p1 = np.array([-6,0,0]) # จุดหางลูกศร
        p2 = np.array([6,0,0]) # จุดหัวลูกศร
        lukson = mnm.VGroup(*[mnm.Arrow(p1,p2,buff=0,tip_width_ratio=i*2+1,fill_color='#9eb2c8') for i in range(10)])
        lukson.arrange(mnm.DOWN)
        self.play(
            mnm.Write(lukson),
            run_time=1
        )
        self.wait(0.5)



อีกค่าหนึ่งของหัวลูกศรที่ปรับได้ก็คือขนาดมุมหัวลูกศร กำหนดได้โดยคีย์เวิร์ด tip_angle

ตัวอย่าง สร้างลูกศรที่ tip_angle ค่าต่างๆเปรียบเทียบกัน
import manimlib as mnm
import numpy as np

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        p1 = np.array([-6,0,0]) # จุดหางลูกศร
        p2 = np.array([6,0,0]) # จุดหัวลูกศร
        lukson = mnm.VGroup(*[mnm.Arrow(p1,p2,
                                        buff=0,
                                        tip_angle=np.radians(5+i*10),
                                        fill_color='#c89eb8')
                              for i in range(14)])
        lukson.arrange(mnm.DOWN)
        self.play(
            mnm.Write(lukson),
            run_time=1
        )
        self.wait(0.5)





อ่านบทถัดไป >> บทที่ ๑๖




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> manim

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文