φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



manim บทที่ ๑๖: การปรับแต่งตัวหนังสือ
เขียนเมื่อ 2021/03/12 00:16
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42

ต่อจาก บทที่ ๑๕

ในบทนี้จะพูดถึงออบเจ็กต์คลาส Text ซึ่งในบทที่ผ่านๆมาก็ได้ใช้มามากแล้วแต่ยังไม่ได้ลงลึกถึงรายละเอียดและการปรับแต่งต่างๆ




การปรับขนาดตัวหนังสือ

ตัวหนังสือที่สร้างจากคลาส Text นั้นสามารถกำหนดขนาดได้ตั้งแต่ตอนที่สร้างขึ้น โดยทั่วไปขนาดของอักษรถูกกำหนดโดยคีย์เวิร์ด ๒ ตัวคือ size และ font_size

ตัวอย่าง ลองเทียบขนาดอักษรที่ได้จากค่า size และ font_size ต่างๆกัน
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        lis_text = []
        for j in range(4):
            for i in range(3):
                s = i+1 # ค่า size
                fs = (j+1)*12 # ค่า font_size
                text = mnm.Text(f'{s},{fs}',size=s,font_size=fs)
                lis_text.append(text)
        vg = mnm.VGroup(*lis_text,buff=0)
        vg.arrange_in_grid(n_cols=3)
        self.play(
            mnm.Write(vg),
            run_time=1.5
        )



หากไม่ได้ใส่ ค่าตั้งต้นจะอยู่ที่ size=1 และ font_size=48

นอกจากนี้ยังมีอีกวิธีที่ใช้กำหนดขนาดของตัวหนังสือได้ ก็คือกำหนดความสูงของข้อความ โดยใช้คีย์เวิร์ด height

ตัวอย่าง
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        lis_text = []
        for i in range(9):
            h = (2+i)/5 # ความสูง
            text = mnm.Text(f'{h}',height=h)
            lis_text.append(text)
        vg = mnm.VGroup(*lis_text,buff=0)
        vg.arrange_in_grid(n_cols=3)
        self.play(
            mnm.Write(vg),
            run_time=1.5
        )



เพียงแต่ว่าความสูงในที่นี้คือความสูงรวมทั้งหมด ดังนั้นคำที่ควรจะสูงต่างกันก็จะกลายเป็นอักษรขนาดต่างกัน

เช่น
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        ss = ['ค','คี','คู','คี่','คู่']
        vg = mnm.VGroup(*[mnm.Text(s,height=3.5,color='#aaffdd') for s in ss])
        vg.arrange(mnm.RIGHT)
        self.play(
            mnm.FadeIn(vg),
            run_time=1
        )



หากมีการใส่คีย์เวิร์ด height แล้ว ทั้งคีย์เวิร์ด size และ font_size จะไม่มีผล เพราะขนาดของข้อความจะถูกกำหนดด้วยความสูงแทน




การปรับสีตัวหนังสือ

เรื่องการปรับสีนั้นได้เขียนถึงไปแล้วในบทที่ ๗ นั่นคือใช้คีย์เวิร์ด color หรือถ้าต้องการให้มีการไล่สีต่างไปในแต่ละตัวก็ใช้คีย์เวิร์ด gradient ได้

เช่น
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text = mnm.Text('ก'*12,gradient=['#dfb9de','#445ba4'])
        self.play(
            text.animate.set_height(1),
            run_time=1
        )



ตัวหนังสือสามารถทำให้มีขอบได้โดยกำหนดค่า stroke_width และเพื่อให้สีพื้นต่างจากสีขอบให้ใส่สีพื้นด้วยคีย์เวิร์ด fill_color แยกจากสีขอบที่กำหนดด้วยคีย์เวิร์ด color
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text = mnm.Text('มกร',color='#bfffb6',stroke_width=6,fill_color='#2e2c8b')
        self.play(
            text.animate.set_height(5),
            run_time=1
        )






การกำหนดฟอนต์

รูปแบบฟอนต์ของข้อความกำหนดได้โดยคีย์เวิร์ด font เช่น
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        abc = 'กขคงจabcde'
        text1 = mnm.Text(abc,font='Tahoma',size=3)
        text2 = mnm.Text(abc,font='Courier',size=3)
        text3 = mnm.Text(abc,size=3)
        vg = mnm.VGroup(text1,text2,text3)
        vg.arrange(mnm.DOWN)
        self.play(
            mnm.FadeIn(vg),
            run_time=0.5
        )
        self.wait(0.5)



สำหรับภาษาไทยแล้วบางฟอนต์อาจใช้แล้วมีปัญหา สำหรับในตอนนี้ที่มีปัญหาน้อยที่สุดคือฟอนต์ Tahoma ในที่นี้ก็จะยกตัวอย่างโดยใช้ฟอนต์นี้เป็นหลัก




การทำตัวเอียงตัวหนา

การทำตัวหนาทำได้โดยใส่คีย์เวิร์ด weight='BOLD' ส่วนตัวเอียงทำได้โดยใส่ slant='ITALIC'

เพียงแต่ว่าสำหรับภาษาไทยนั้นฟอนต์ส่วนใหญ่จะยังมีปัญหาในการทำตัวหนาและตัวเอียง ฟอนต์ที่แสดงผลได้โดยไม่มีปัญหาคือ Tahoma

ตัวอย่าง
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text1 = mnm.Text('ไม่เอียงไม่หนา',font='Tahoma')
        text2 = mnm.Text('ไม่เอียงแต่หนา',weight='BOLD',font='Tahoma')
        text3 = mnm.Text('เอียงแต่ไม่หนา',slant='ITALIC',font='Tahoma')
        text4 = mnm.Text('ทั้งเอียงทั้งหนา',slant='ITALIC',weight='BOLD',font='Tahoma')
        vg = mnm.VGroup(text1,text2,text3,text4)
        vg.arrange(mnm.DOWN)
        vg.set_height(7)
        self.play(
            vg.animate.set_color('#63e9ce'),
            run_time=1
        )






การปรับสีเฉพาะบางส่วน

สามารถเลือกปรับสีเฉพาะบางส่วนของข้อความได้โดยใส่คีย์เวิร์ด t2c โดยใส่ดิกชันนารีของตัวอักษรคู่กับสีที่ต้องการ

สำหรับภาษาไทยอาจมีปัญหาเวลาใช้งานในส่วนนี้ แต่ถ้าใช้ฟอนต์ Tahoma จะไม่มีปัญหา

ตัวอย่าง
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text = mnm.Text('ฉันเป็นศิษย์\n\nจอมปราชญ์\n\nจริงๆนะ',
                        font='Tahoma',
                        t2c={"น":'#ffaaaa',"ปราชญ์":'#aaaaff'})
        self.play(
            text.animate.set_height(7),
            run_time=1
        )



สามรถใช้เมธอด .set_color_by_t2c เพื่อตั้ง t2c ภายหลังได้ ซึ่งสามารถใช้กับ .animate เพื่อทำเป็นภาพเคลื่อนไหวได้

ตัวอย่าง
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        t2c = {'เกิดใหม่':'#c163e9','สไลม์':'#63c5e9'}
        text = mnm.Text('เกิดใหม่ทั้งที\n\nก็เป็นสไลม์ไปซะแล้ว',font='Tahoma')
        text.set_width(12)
        self.play(
            text.animate.set_color_by_t2c(t2c),
            run_time=1
        )



นอกจากนี้ยังอาจเปลี่ยนสีแค่บางส่วนได้โดยการระบุตำแหน่งที่ต้องการเปลี่ยนสี

ตัวอย่าง
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text = mnm.Text('การล้างแค้นของ\n\nผู้กล้าโล่ผงาด',font='Tahoma')
        text.set_width(12)
        self.add(text)
        self.play(
            text[3:7].animate.set_color('#63d8e9'),
            text[-4:].animate.set_color('#e9d863'),
            run_time=1
        )



การเปลี่ยนสีเฉพาะคำยังทำแบบไล่สีได้ด้วย โดยใช้คีย์เวิร์ด t2g แทน t2c ส่วนการตั้งสีภายหลังก็ทำได้โดยเมธอด .set_color_by_t2g ซึ่งวิธีใช้คล้ายกับเมธอด .set_color_by_t2c แค่จะได้เป็นตัวหนังสือไล่สี

ตัวอย่าง
import manimlib as mnm

    class Manimala(mnm.Scene):
        def construct(self):
            t2g = {"ข้องใจเหรอ":['#ff9ad5','#a4ff9a']}
            text = mnm.Text('ผู้กล้าโล่ผงาดแล้วไง\n\nข้องใจเหรอครับ?',font='Tahoma')
            text.set_width(13)
            self.play(
                text.animate.set_color_by_t2g(t2g),
                run_time=0.7
            )
            self.wait(0.3)





อ่านบทถัดไป >> บทที่ ๑๗




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> manim

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文