φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



maya python เบื้องต้น บทที่ ๕ : การสร้างโค้ดให้ทำงานเมื่อเริ่มโปรแกรม
เขียนเมื่อ 2016/03/10 16:28
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
ในบทแรกสุดได้มีการอธิบายถึงคำสั่ง import ไป ว่าทุกครั้งที่เริ่มโปรแกรมมายาขึ้นมาจะต้องพิมพ์ import maya.cmds as mc ตลอดทุกครั้ง ไม่เช่นนั้นก็จะไม่สามารถทำอย่างอื่นต่อได้

อย่างไรก็ตาม เพื่อความสะดวกและประหยัดเวลา มีวิธีที่ทำให้ไม่จำเป็นจะต้องคอยมาพิมพ์ใหม่ทุกครั้งอยู่ ซึ่งวิธีการก็ไม่ยาก นั่นคือการทำให้มีการรันโค้ดนี้ขึ้นมาโดยอัตโนมัติทุกครั้่งที่มีการเปิดโปรแกรม



ให้ไปที่โฟลเดอร์ scripts ซึ่งอยู่ภายในเครื่อง โดยตำแหน่งของโฟลเดอร์นี้จะแตกต่างกันออกไปตามรุ่นของโปรแกรมมายา และระบบปฏิบัติการที่ใช้

สำหรับ windows ภาษาอังกฤษ
<ไดรฟ์>:\Documents and Settings\<ชื่อผู้ใช้>\My Documents\maya\<เวอร์ชัน>\scripts

สำหรับ windows ภาษาญี่ปุ่น
<ไดรฟ์>:\Documents and Settings\<ชื่อผู้ใช้>\My Documents\maya\<เวอร์ชัน>\ja_JP\scripts

สำหรับ mac ภาษาอังกฤษ
~/Library/Preferences/Autodesk/maya/<เวอร์ชัน>/scripts

สำหรับ mac ภาษาญี่ปุ่น
~/Library/Preferences/Autodesk/maya/<เวอร์ชัน>/ja_JP/scripts

สำหรับ linux
~/maya/<เวอร์ชัน>/scripts

อาจต้องระวังว่าในโฟลเดอร์ maya ก็มีโฟลเดอร์ที่ชื่อ scripts อยู่ ไม่ใช่โฟลเดอร์นั้น ต้องเข้าไปในโฟลเดอร์ที่เป็นชื่อเวอร์ชันก่อน

เมื่อเข้าไปในโฟลเดอร์ข้างต้นนั้นแล้วให้ดูว่ามีไฟล์ที่ชื่อ userSetup.py อยู่แล้วหรือเปล่า (โดยทั่วไปแล้วถ้าเพิ่งลงโปรแกรมมาใหม่จะไม่มีอยู่)



หากยังไม่มีก็ให้ทำการสร้างขึ้นมาใหม่ด้วยการใช้ notepad หรือโปรแกรมอะไรก็ได้ที่คล้ายๆกัน พิมพ์
import maya.cmds as mc
ลงไปแล้วก็เซฟไฟล์

หลังจากนั้นก็เปิดโปรแกรมมายาขึ้นมาใหม่ โค้ดนี้ก็จะถูกรันขึ้นมาทันทีโดยที่ไม่ต้องพิมพ์ใหม่อีกแล้ว ลองทดสอบโดยการใช้ดูได้

นอกจากจะ import maya.cmds แล้ว ยังอาจจะ import มอดูลอื่นๆที่จำเป็นอีกด้วย เช่น
import math
import random
import time
import os
import sys

ซึ่งก็เป็นมอดูลสำคัญที่อาจมีโอกาสได้ใช้ ซึ่งจะมีการกล่าวถึงในบทถัดๆไป

นอกจากนี้ก็อาจลองใส่
import pymel.core as pm
import maya.mel as mm

ซึ่งเป็นชุดคำสั่งของโปรแกรมมายาซึ่งอาจได้ใช้ แม้ว่าจะไม่บ่อยเท่า cmds ที่จะใช้เป็นหลัก

โฟลเดอร์ scripts นี้ยังถูกใช้งานอีกหลายอย่าง ไม่เพียงแค่เก็บ userSetup.py เท่านั้น ถ้าใครเขียนมอดูลขึ้นมาใหม่ก็ต้องนำมาเก็บไว้ในโฟลเดอร์นี้ หรือถ้าโหลดชุดคำสั่งอื่นๆเพิ่มเติมมาจากเว็บก็ต้องนำมาลงในนี้เช่นกัน



อ้างอิง

<< บทที่แล้ว      บทถัดไป >>
หน้าสารบัญ


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> mayapython
-- คอมพิวเตอร์ >> 3D >> maya

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文