φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



maya python เบื้องต้น บทที่ ๒๒: การรวมและแยกโพลิกอน
เขียนเมื่อ 2016/03/11 14:03
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
ในบทที่ ๑๘ ได้พูดถึงการรวมโพลิกอนเป็นกลุ่มไปแล้ว แต่การรวมเป็นกลุ่มแบบนั้นเป็นแค่การรวมกันแบบหลวมๆ ในบทนี้จะแนะนำการรวมโพลิกอนหลายชิ้นเป็นโพลิกอนชิ้นเดียวกัน

คำสั่งที่ใช้รวมโพลิกอนคือฟังก์ชัน polyUnite() โดยใส่วัตถุโพลิกอนที่ต้องการรวมทั้งหมดเป็นอาร์กิวเมนต์ จากนั้นวัตถุจะรวมกันโดยเกิดเป็นวัตถุใหม่ขึ้นมา สามารถตั้งชื่อวัตถุใหม่ที่เกิดขึ้นได้

ตัวอย่าง ลองสร้างทรงกลมหลายๆอันมาเรียงซ้อนกันจนรูปร่างคล้ายครัวซ็องแล้วนำมารวมเป็นโพลิกอนเดียวกัน
for i in range(-5,6):
    mc.polySphere(r=8-abs(i),n='thon%d'%(i+6))
    mc.move(0,0,-15+1.5*abs(i))
    mc.rotate(0,25*i,0,p=[0,0,0])
mc.polyUnite(['thon%d'%i for i in range(1,12)],n='croissant')



เมื่อใช้คำสั่งนี้รวมวัตถุไปแล้ว พอไปดูที่ outliner จะเห็นว่าวัตถุเดิมกลายมาเป็นโหนดใหม่ซึ่งเมื่อเปิดเข้าไปดูจะเห็นโหนดที่ ชื่อขึ้นต้นด้วย transform ในนั้นจะเก็บค่ารูปร่างของวัตถุตั้งแต่ก่อนที่มันจะมารวมกันไว้ทั้งหมด สามารถปรับแก้จากตรงนี้เพื่อให้วัตถุมีการเปลี่ยนแปลงได้ไม่ต่างจากตอนก่อน ที่จะรวม

เวลาคลิกเลือกวัตถุที่หน้าจอโดยตรงไม่ว่าจะคลิกตรงส่วนไหน ก็จะกลายเป็นการเลือกทั้งหมดไป หากจะควบคุมแยกส่วนก็ต้องไปกดที่โหนดใน outliner เอาเท่านั้น

หากปล่อยโหนดเอาไว้เช่นนี้ outliner จะดูรก หากคิดว่าไม่จำเป็นจำต้องกลับไปแก้แต่ละส่วนแบบแยกกันอีกแล้วก็สามารถลบโหนดนี้ทิ้งได้ตอนที่รวม โดยเพิ่มแฟล็ก ch (constructionHistory) เป็น ch=0 วัตถุที่รวมก็จะกลายเป็นชิ้นเดียวกันโดยไม่เหลือประวัติศาสตร์เดิมตอนก่อน แยก

แต่ก็ไม่ใช่ว่าวัตถุจะรวมกันโดยสมบูรณ์จนแยกไม่ออกแล้ว จะเห็นว่ามันยังดูเหมือนแยกกันเป็นสองชิ้นอยู่ดี หากไม่มีจุดยอดสักจุดเชื่อมต่อกันแม้จะอยู่ในโพลิกอนเดียวกันแต่ก็ยังถือว่า อยู่กันคนละเชล

เชล (シェル, shell) หมายถึงชิ้นของโพลิกอน กลุ่มของหน้าโพลิกอนที่มีจุดหรือเส้นขอบติดกันจะเรียกว่าเป็นเชลเดียวกัน แต่ถ้าไม่มีการเชือมต่อกันเลยจะถือว่าเป็นคนละเชล

การหาจำนวนเชลสามารถใช้ฟังก์ชัน polyEvaluate() โดยใส่แฟล็ก s (shell)
mc.polyEvaluate(s=1)

พื้นผิวต่อให้ซ้อนทับกันก็ไม่ถือว่าเป็นเชลเดียวกัน หรือแม้แต่ต่อให้มีจุดซ้อนทับในตำแหน่งเดียวกันก็ยังไม่ถือว่าเป็นเชล เดียวกันอยู่ดี เพราะยังถือว่าเป็นจุดสองจุด แม้จะทับกันก็ตาม

แต่หากนำจุดนั้นมาหลอมรวมเป็นจุดเดียวกันแล้วมันก็จะกลายเป็นเชลเดียวกันทันที

การหลอมรวมจุดที่ซ้อนทับกันสามารถทำได้โดยใช้ฟังก์ชัน polyMergeVertex() โดยใส่แฟล็กที่ต้องใส่คือ d (distance) คือระยะสูงสุดของจุดที่ต้องการให้หลมรวมกัน จะกำหนดแคบแค่ไหนก็ได้ แต่ต้องให้แคบพอที่จะไม่กระทบต่อจุดยอดที่แค่อยู่ใกล้กันมากแต่ไม่ได้ตั้งใจจะรวม

หลังจากที่หลอมรวมกันแล้วก็จะพบว่าจำนวนเชลลดลง เช่นตัวอย่างนี้ ลองหาจำนวนเชลก่อนรวมกับหลังรวม
for i in range(5):
    mc.polyPlane(w=10,h=10,sx=2,sy=2,n='phaen%d'%(i+1))
    mc.move(i*10,0,i*10)
mc.polyUnite(['phaen%d'%(i+1) for i in range(5)],n='phaentonueang')
print('จำนวนเชลก่อนรวม:%d'%mc.polyEvaluate('phaentonueang',s=1))
mc.polyMergeVertex(d=0.001)
print('จำนวนเชลหลังรวม:%d'%mc.polyEvaluate('phaentonueang',s=1))



หากต้องการแยกเชลออกเป็นโพลิกอนคนละชิ้นกันก็สามารถทำได้โดยใช้ฟังก์ชัน polySeparate() แต่ละเชลจะถูกแยกออกมาเป็นส่วนๆโดยยังถูกรวมอยู่ในกลุ่มเดียวกัน

ลองสร้างโพลิกอนแบบตัวอย่างที่แล้วอีกทีเสร็จแล้วก็รวมกันโดยไม่ใช้ polyMergeVertex() เสร็จแล้วก็แยกกันกลับออกมาทันที
for i in range(5):
    mc.polyPlane(w=10,h=10,sx=2,sy=2,n='phaen%d'%(i+1))
    mc.move(i*10,0,i*10)
mc.polyUnite(['phaen%d'%(i+1) for i in range(5)],n='phaentonueang')
mc.polySeparate()



ชื่อวัตถุตอนที่รวมจะกลายมาเป็นชื่อกลุ่ม ส่วนแผ่นที่แยกออกมาจะไม่ได้คืนชื่อเดิมแต่จะถูกตั้งชื่อใหม่ให้อัตโนมัติ แต่ก็สามารถตั้งชื่อใหม่ได้โดยเติมแฟล็ก n (name)



อ้างอิง

<< บทที่แล้ว      บทถัดไป >>
หน้าสารบัญ


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> mayapython
-- คอมพิวเตอร์ >> 3D >> maya

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文