φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



maya python เบื้องต้น บทที่ ๒๓: การสร้างและเพิ่มโพลิกอนจากจุด
เขียนเมื่อ 2016/03/11 14:15
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
ในบทที่ผ่านๆมาเราสร้างโพลิกอนขึ้นมาโดยใช้ฟังก์ชันสร้างรูปทรงชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นการสร้างรูปทรงเริ่มต้นที่ง่าย

แต่ก็มีวิธีที่จะสร้างโพลิกอนขึ้นจากการกำหนดพิกัดจุด

ฟังก์ชันที่ใช้สร้างโพลิกอนขึ้นมาทีละหน้าจากเริ่มต้นก็คือ polyCreateFacet()

การสร้างให้ใส่ลิสต์ที่บรรจุลิสต์หรือทูเพิลของพิกัดของจุดยอดแต่ละจุดของหน้าโพลิกอนที่ต้องการสร้างลงในแฟล็ก p (point) ซึ่งอาจมีกี่อันก็ได้ ตั้งแต่ ๓ ขึ้นไป เช่น
mc.polyCreateFacet(p=[[0,0,0],[10,0,0],[10,10,0],[0,10,0]])





ในการสร้างหน้าโพลิกอนด้วยฟังก์ชันนี้สามารถเจาะรูลงไปได้ด้วย โดยการเติมลิสต์หรือทูเพิลว่าง () หรือ  [] ลงไป จากนั้นก็ต่อด้วยพิกัดของรูที่ต้องการ
mc.polyCreateFacet(p=[[0,0,0],[10,0,0],[10,10,0],[0,10,0],[],[2,2,0],[8,2,0],[8,8,0],[2,8,0]])



อาจมีรูหลายอันก็ได้ จะมีกี่กันก็แค่ใส่ [] คั่นไปทีละอัน
p = [[0,0,0],[10,0,0],[10,10,0],[0,10,0]]
ru1 = [[1,1,0],[4.5,1,0],[4.5,4.5,0],[1,4.5,0]]
ru2 = [[ru1[i][0],10-ru1[i][1],0] for i in range(4)]
ru3 = [[10-ru1[i][0],10-ru1[i][1],0] for i in range(4)]
ru4 = [[10-ru1[i][0],ru1[i][1],0] for i in range(4)]
mc.polyCreateFacet(p=p+[[]]+ru1+[[]]+ru2+[[]]+ru3+[[]]+ru4)



ในการสร้างโพลิกอนด้วยวิธีนี้ก็เช่นเดียวกับการสร้างโดยใช้คำสั่งสร้างรูปทรง จะมีโหนดที่เก็บประวัติศาสตร์ถูกสร้างขึ้นมาด้วย

ลองดูที่แอตทริบิวต์อีดิเตอร์จะเห็นโหนดชื่อ polyCreateFace1 กดเข้าไปดูจะเห็นแสดงตำแหน่งพิกัดของจุดแต่ละจุดที่ใส่เข้าไปตอนสร้าง รวมทั้งจุดที่เป็นรูด้วย ซึ่งก็สามารถปรับแต่งค่าได้

หากตอนที่สร้างใส่แฟล็ก ch (constructionHistory) ลงไปเป็น ch=0 ให้ไม่เก็บประวัติศาสตร์โหนดตรงนี้ก็จะไม่ปรากฏ



หากต้องการเพิ่มหน้าโพลิกอนใหักับโพลิกอนที่มีอยู่แล้วก็ทำได้โดยฟังก์ชัน polyAppend()

ฟังก์ชันนี้จะเพิ่มโพลิกอนให้กับวัตถุที่ถูกเลือกอยู่โดยให้ติดกับเส้นขอบที่มีอยู่ เดิม โดยใส่หมายเลขของเส้นขอบเส้นหนึ่งของโพลิกอน ตามด้วยพิกัดของจุดยอดของโพลิกอนที่ต้องการเพิ่ม หรืออาจใส่เป็นหมายเลขเส้นขอบทั้งหมดเลยก็ได้ ทั้งหมดนี้ใส่ในแฟล็ก a (append)

เช่นตัวอย่างนี้ สร้างหน้าโพลิกอนขึ้นมา จากนั้นก็เพิ่มโพลิกอนขึ้นมา โดยครั้งแรกเพิ่มจากด้านหนึ่งแล้วใส่พิกัดจุดใหม่ จากนั้นก็เพิ่มอีกด้านหนึ่งโดยใช้หมายเลขของเส้นขอบสองเส้น
mc.polyCreateFacet(p=[[0,0,0],[0,0,10],[10,0,10],[10,0,0]])
mc.polyAppend(a=[3,[0,10,0]])
mc.polyAppend(a=[0,5])





มีอีกฟังก์ชันที่ใช้เพิ่มโพลิกอน คือ polyAppendVertex()

ฟังก์ชันนี้ก็คล้ายกับ polyAppend แต่ว่าแทนที่จะต่อกับเส้นขอบที่มีอยู่เดิมก็เป็นต่อกับจุดยอดแทน เช่น
mc.polyCreateFacet(p=[[0,0,0],[0,0,10],[10,0,10],[10,0,0]])
mc.polyAppendVertex(a=[0,[0,0,-10],[-10,0,-10],[-10,0,0]])



นอกจากนี้อาจใช้สร้างโพลิกอนขึ้นใหม่โดยไม่ต้องต่อกับของเดิมเลยก็ได้ โดยใส่เป็นพิกัดของจุด เช่น
mc.polyCreateFacet(p=[[0,0,0],[0,0,10],[10,0,10],[10,0,0]])
for i in range(2,11,2):
    mc.polyAppendVertex(a=[[0,i,0],[0,i,10],[10,i,10],[10,i,0]])

จะได้ระนาบโพลิกอนเรียงซ้อนๆกัน





อ้างอิง

<< บทที่แล้ว      บทถัดไป >>
หน้าสารบัญ


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> mayapython
-- คอมพิวเตอร์ >> 3D >> maya

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

รวมร้านราเมงและบะหมี่ในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文