φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



นั่งรถไฟฟ้าสายใหม่เที่ยวซอยหนานหลัวกู่ในวันสุดท้ายของปี
เขียนเมื่อ 2013/01/02 22:16
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42



#31 ม.ค. 2012

ก่อนอื่นสวัสดีปีใหม่!

ขึ้นปีใหม่แล้วนะ ปีนี้จะได้กลับไทยแล้ว ปี 2012 เนี่ยใช้ชีวิตอยู่จีนตลอดโดยไม่ได้กลับเลย แต่ก็เป็นปีที่วิเศษมากทีเดียวได้ประสบการณ์อะไรมากมายน่าจดจำ




ปีใหม่นี้ที่ปักกิ่งมีการขยายรถไฟฟ้าสายใหม่เพิ่มเติม เป็นการขยายครั้งใหญ่ซึ่งสำคัญยิ่งนัก

สายที่ถูกเพิ่มขึ้นมาคือสาย 6 ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าสายที่วิ่งในแนวตะวันออกตก ผ่านใจกลางเมือง ดังนั้นจึงสำคัญมาก

นอกจากจะเปิดทำการสาย 6 แล้ว ยังขยายสายที่มีอยู่เดิมให้ยาวขึ้น นั่นคือสาย 8 สาย 9 สาย 10 โดยเฉพาะสาย 10 นั้นขยายเยอะมาก โดยลากผ่านบริเวณวงแหวนรอบเมือง นอกจากนี้การขยายของสาย 9 ก็ทำให้รถไฟฟ้าของปักกิ่งกลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จากที่เดิมทีส่วนทางตะวันตกเฉียงใต้นั้นแยกอยู่ต่างหาก

นี่คือภาพก่อนขยาย (คลิกเพื่อดูภาพใหญ่)



และนี่คือภาพหลังจากที่ขยายแล้ว (คลิกเพื่อดูภาพใหญ่) จะเห็นว่าต่างกันออกไปอย่างมาก ให้ความรู้สึกต่างออกไปจากเดิมเยอะเลยทีเดียว



รถไฟฟ้าสายใหม่และส่วนขยายต่อทั้งหมดนี้เปิดทำการวันที่ 30 ธ.ค. 2012 แต่เราได้มีโอกาสใช้จริงๆในวันถัดมา ก็ถือว่าไม่ช้าไป

สำหรับวันสิ้นปีนี้เราได้ไปเจอญาติซึ่งมาเที่ยวปักกิ่ง ในขณะที่เขาเที่ยวอยู่ที่วัดลามะยงเหอกง (雍和宫) หลังจากนั้นก็ถือโอกาสไปเที่ยวต่อโดยเลือกไปสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งรถไฟฟ้าสายใหม่ สาย 6 นี้ตัดผ่าน

สถานที่นั้นก็คือซอยหนานหลัวกู่ (南锣鼓巷, หนานหลัวกู่เซี่ยง) ซึ่งเป็นซอยเล็กๆยาวประมาณ ๘๐๐ เมตร ทอดตัวในแนวเหนือใต้ เป็นลักษณะย่านโบราณที่เก่าแก่อนุรักษ์มาตั้งแต่สมัยก่อน ตามทางเต็มไปด้วยร้านค้ามากมายเรียงราย

ย่านนี้ถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์หยวน (元朝) แล้ว เป็นย่านที่เก่าแก่มากที่สุดแห่งหนึ่งในปักกิ่ง แต่ปัจจุบันแม้จะยังคงบ้านเป็นรูปแบบโบราณอย่างนั้นอยู่ แต่ภายในก็ได้ปรับเปลี่ยนกลายเป็นร้านค้าแบบปัจจุบันเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว

นอกจากร้านค้าต่างๆแล้ว ก็ยังมีพวกฝับ บาร์ และโรงแรมที่พักอยู่ในบริเวณไม่น้อย

พูดถึงปักกิ่งแล้ว สถานที่ที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาดก็คือการมาเดินในย่านโบราณที่เรียกว่าหูท่ง (胡同) ซึ่งซอยหนานหลัวกู่นี้ก็เป็นย่านโบราณแห่งหนึ่งซึ่งมีชื่อเสียง แม้อาจจะไม่เป็นที่รุ้จักมากเท่าที่สือช่าไห่ (什刹海) หรือที่แถววัดลามะยงเหอกงก็ตาม

การเดินทางมาที่ซอยหนานหลัวกู่นี้ถ้าเป็นเมื่อก่อนค่อนข้างลำบากเพราะว่าแม้จะอยู่กลางเมืองแต่กลับไม่มีรถไฟฟ้าเชื่อมถึง แต่ว่าตอนนี้ปัญหานั้นหมดไปแล้ว เมื่อรถไฟฟ้าสาย 6 เปิดใหม่ นั่นน่าจะทำให้ผู้คนหลั่งไหลมาเที่ยวที่นี่กันมากขึ้น

ตำแหน่งของซอยหนานหลัวกู่ตั้งอยู่ใกล้กับสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงอีกแห่งนั่นคือสวนสาธารณะเป่ย์ไห่ (北海公园) ซึ่งเคยเล่าถึงไปใน https://phyblas.hinaboshi.com/20111203

ตอนนี้เป๋ย์ไห่เองก็มีรถไฟฟ้าผ่านแล้วเช่นกัน เป็นสถานีติดกัน จะไปก็สะดวกกว่าเดิม

ความจริงแล้วนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เรามาที่นี่ ก่อนหน้านี้เคยมาแล้ว เมื่อครั้งที่จัดงานอำลาจบการศึกษาที่บ้านเพื่อน เพราะเพื่อนเช่าห้องพักอยู่ที่นี่ มีเล่าเอาไว้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20120611



เพื่อที่จะไปขึ้นสาย 6 เรานั่งสาย 2 ไปต่อรถที่สถานีเฉาหยางเหมิน (朝阳门站) เป็นสถานีจุดเชื่อมต่อระหว่างสาย 2 กับสาย 6 จะเห็นว่าตอนนี้ภายในมีทางเชื่อมต่อสู่สาย 6 จากที่เมื่อก่อนไม่เคยมี



พอทะลุเข้ามายังบริเวณส่วนของทางขึ้นรถไฟฟ้าสาย 6 แล้วก็พบว่ามันดูใหม่มาก เพราะเพิ่งสร้าง



ภายในรถไฟฟ้าสาย 6 จากที่ดูเห็นว่าคนไม่ค่อยหนาแน่นเท่าไหร่เมื่อเทียบกับสาย 2 ที่นั่งมาตอนแรก คงเพราะว่าเพิ่งเปิด บางคนอาจยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันเปิดแล้ว คนก็เลยยังน้อย แต่อีกหน่อยสายนี้คนต้องเยอะแน่ เพราะเป็นสายสำคัญ



ถึงสถานีเป้าหมายนั่นคือสถานีหนานหลัวกู่เซี่ยง (南锣鼓巷站) แล้ว ตรงจุดนี้เราพบว่าบรรไดเลื่อนเขายังสร้างไม่เสร็จ ต้องเดินเอา



ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะสร้างเสร็จ



บรรยากาศในบริเวณสถานี



ออกมาข้างนอกด้านหน้าสถานี สถานีนี้ตั้งอยู่ปลายด้านใต้ของซอยหนานหลัวกู่



พอออกมาแล้วก็ต้องตกใจเมื่อพบว่าแถวนี้กำลังก่อสร้างอยู่ แต่ยังดีที่มันไม่ได้เป็นปัญหามากนัก เพราะบริเวณในซอยยังปกติอยู่



ต้องเดินผ่านบริเวณก่อสร้างนี้ไปจึงจะถึงบริเวณตัวสถานที่เที่ยว



แล้วก็มาถึงย่านโบราณซึ่งคนไม่โบราณเลย เวลาขณะนั้นประมาณ ๕ โมงเย็น ตะวันกำลังตกดินพอดี ฟ้าเริ่มจะมืดหน่อยๆแล้ว



ซอยนี้อย่างที่เห็น เป็นถนนสายเล็กๆที่สองข้างทางเต็มไปด้วยร้านค้ามากมาย








ระหว่างตามทางก็มีพวกซอยย่อยแยกมากมาย แต่ส่วนใหญ่จะค่อนข้างเงียบเหงาเมื่อเทียบกับซอยหลัก จึงไม่ได้เข้าไปเลย



แม้ภายนอกจากเห็นเป็นบ้านแบบโบราณ แต่พอเข้าไปก็เห็นชัดว่าเป็นสมัยใหม่ทั้งนั้น



เนื้อเสียบไม้ อันนี้เป็นอาหารอาหรับ ขาย ๓ ไม้ ๑๐ หยวน เห็นคนซื้อไปกินกันมากมาย



เสร็จแล้วก็ทิ้งกันจนถังขยะล้น ไม่น่าดู



ร้านอาหารไทยก็มี แต่ไม่รู้ว่าเจ้าของร้านเป็นคนไทยหรือเปล่านะ



อันนี้เขาเขียนว่า "เทียนหอมไทยแท้" ก็ไม่รู้ว่าแท้จริงหรือเปล่านะ ความเป็นไทยกลายเป็นจุดขายของที่นี่ไปแล้วหรือ?



ร้านนี้ขายทาโกยากิแบบโอซากะ ในภาษาจีนคำว่าทาโกยากิเรียกว่า จางหยวีเซา (章鱼烧) ส่วนโอซากะเขาจะเรียกว่าต้าปั่น (大阪) เราก็คิดว่าอีกไม่นานก็จะได้ไปเที่ยวโอซากะแล้วลองซื้อมาทานหน่อยก็ดี



ซื้อมาลองกิน ๓ ชิ้น ราคา ๑๕ หยวน ก็ตกลูกละ ๕ หยวน แพงไม่ใช่เล่น แต่ถ้ายิ่งซื้อจำนวนมากราคาต่อลูกก็จะยิ่งลดลง กินดูแล้วก็อร่อยดี แต่จะเหมือนของแท้หรือเปล่าต้องรอไปโอซากะแล้วชิมที่นั่นดูอีกที



ยิ่งเดินไปเรื่อยๆก็ยิ่งเข้าเวลาค่ำ ร้านค้าต่างๆก็พากันเปิดไฟ








ที่นี่มีผับด้วยนะ



แผงขายลองมีขายจิ๊กซอว์มีรูปโคนันกับวันพีซเต็มเลย



ร้านนี้เห็นป้ายติด มีขายพระเครื่องไทยด้วยนะ คำว่าฝัวไผ (佛牌) แปลว่าพระเครื่อง เพิ่งรู้ศัพท์คำนี้เหมือนกัน



หลังจากเดินไปกินไปถ่ายรูปไปเรื่อยๆสักพักเราก็มาโผล่สุดปลายฝั่งเหนือของซอย เป็นอันจบการเดินทางแต่เพียงเท่านี้ เวลาขณะนั้นคือ ๕ โมงครึ่ง ฟ้าใกล้จะมืดสนิทแล้ว แม้ซอยจะยาวเพียง ๘๐๐ เมตร แต่เดินช้าๆไปเรื่อยๆก็กินเวลาถึงครึ่งชั่วโมงทีเดียว





ก็เป็นสถานที่ที่น่าเดินอีกแห่งทีเดียว สัมผัสบรรยากาศโบราณ (แต่เพียงเปลือกนอก) ไปพร้อมๆกับเดินซื้อของ เดินกินอาหารตามทาง หากใครไปเที่ยวปักกิ่งหากเหลือเวลาก็แนะนำให้ลองแวะดูเช่นกัน

นอกจากที่นี่แล้วย่านโบราณที่น่าแนะนำก็มีอีกหลายแห่ง เช่น
ทะเลสาบซีไห่
https://phyblas.hinaboshi.com/20111126
ต้าจ้าหลาน
https://phyblas.hinaboshi.com/20120410



สุดท้ายคืนนั้นเราก็นั่งอยู่ในห้องพักในหอคนเดียวจนถึงปีใหม่ รูมเมตเขาออกไปฉลองกับเพื่อนข้างนอกแต่เราไม่อยากออกเพราะมีอะไรยุ่งๆต้องทำมากมาย แต่ก็ได้สวัสดีปีใหม่กับเพื่อนๆในเฟสบุ๊กและที่อื่นๆ

สุดท้ายนี้สวัสดีปีใหม่ทุกคน

 



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> ปักกิ่ง
-- ประวัติศาสตร์ >> ประวัติศาสตร์จีน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文