φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas
ทวีต
ชมพระพุทธรูปองค์ใหญ่ในอาคารไม้ขนาดใหญ่ที่วัดโทวได
เขียนเมื่อ 2013/06/26 02:25
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#เสาร์ 26 ม.ค. 2013
จากตอนที่แล้วที่ไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์นินจาที่เมืองอิงะมาเสร็จ
https://phyblas.hinaboshi.com/20130622
ตอนนี้เรานั่งรถไฟมาที่
เมืองนาระ (奈良市)
จังหวัดนาระ (奈良県)
เมืองหลวงเก่าของญี่ปุ่น
เป้าหมายของการมานาระครั้งนี้มีอยู่สองอย่าง อย่างหนึ่งคือมาดูพระพุทธรูปขนาดใหญ่แห่งนาระ
นาระโนะไดบุตสึ (奈良の大仏)
ซึ่งอยู่ภายใน
วัดโทวได (東大寺, โทวไดจิ)
หนึ่งในวัดหลายแห่งในนาระซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
ส่วนอีกเป้าหมายนั้นคือเป้าหมายหลักจริงๆที่มาในวันนี้ คืองานเทศกาลตอนค่ำที่เรียกว่าเทศกาล
ย่างภูเขาวากากุสะ (若草山の山焼き)
เป็นงานเทศกาลที่จัดขึ้นปีละครั้งในวันเสาร์สุดท้ายของเดือนมกราคม ซึ่งก็คือวันนี้นี่เอง!
การมาดูไดบุตสึที่วัดโทวไดนี้จึงดูเหมือนเป็นผลพลอยได้ของการที่ตั้งใจจะมาดูงานเทศกาล ที่จริงอยากจะไปเยี่ยมเพื่อนซึ่งเรียนอยู่
มหาวิทยาลัยเทนริ (天理大学)
ที่
เมืองเทนริ (天理市)
ซึ่งก็อยู่ในจังหวัดนาระ ไม่ไกลจากเมืองนาระนัก แต่ว่าเขาไม่ว่างเพราะมีสอบสำคัญไม่สามารถปลีกเวลามาเจอได้ก็เลยไม่ได้ไปหา แผนการวันนี้เลยดูหลวมๆอย่างที่เห็น
สำหรับเรื่องเกี่ยวกับงานเทศกาลจะเล่าถึงในตอนต่อไป ตอนนี้จะเขียนถึงวัดโทวไดก่อน
นาระมีวัดที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกอยู่หลายแห่ง แต่ที่มีชื่อเสียงที่สุดเห็นจะเป็นวัดโทวไดนี่เอง เพราะตัวอาคารซึ่งบรรจุไดบุตสึซึ่งเรียกว่า
หอไดบุตสึ (大仏殿, ไดบุตสึเดง)
นั้นเรียกได้ว่าเป็นอาคารไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีความสวยงามมาก น่ามาเยี่ยมชมสักครั้ง
ตัวอาคารมีความยาว ๕๗.๐๑ เมตร กว้าง ๕๐.๔๘ สูง ๔๘.๗๔ เมตร แต่ตัวอาคารนี้ผ่านการพังทลายและถูกสร้างขึ้นใหม่หลายครั้ง โดยเชื่อว่าตัวอาคารเมื่อก่อนมีขนาดใหญ่กว่านี้เสียอีก
พระพุทธรูปใหญ่ไดบุตสึถูกเริ่มสร้างขึ้นเมื่อปี 745 ในช่วงยุคนาระ (ปี 710–794) ซึ่งสมัยนั้นเมืองนาระเป็นเมืองหลวง ใช้ชื่อว่า
เฮย์โจวเกียว (平城京)
ไดบุตสึมีความสูง ๑๔.๙๘ เมตร ส่วนหัวสูง ๕.๓๓ เมตร ดวงตากว้าง ๑.๐๒ เมตร หูยาว ๒.๕๔ เมตร เป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งในญี่ปุ่น
เนื่องจากไดบุตสึมีขนาดใหญ่กว่าประตูของตัวอาคาร การสร้างจึงต้องสร้างตัวไดบุตสึไปก่อนแล้วค่อยสร้างอาคารครอบภายหลัง โดยตัวอาคารสมัยแรกสุดสร้างเสร็จเมื่อปี 758
ตัวอาคารที่เห็นในปัจจุบันนี้ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 1691 หลังจากที่อาคารเดิมก่อนหน้านั้นถูกเผาทำลายไปในสงครามกลางเมืองเมื่อปี 1567
พระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงนอกจากที่นี่แล้วยังมีที่
วัดโควโตกุอิง (高徳院)
ใน
เมืองคามากุระ (鎌倉市) จังหวัดคานางาวะ (神奈川県)
ซึ่งก็เป็นสถานที่เที่ยวที่มีชื่อเสียงรองๆลงมา พระพุทธรูปที่นั่นมีขนาด ๑๓.๓๕ เมตร แต่ที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัดคือไม่มีตัวอาคารห่อหุ้ม เนื่องจากตัวอาคารถูกทำลายลงไปแล้วไม่ได้สร้างขึ้นใหม่ทดแทน
แผนที่จังหวัดนาระ สีชมพูเข้มคือเขตเมืองนาระ อยู่ส่วนเหนือสุดของจังหวัด ส่วนทางใต้ๆของจังหวัดส่วนใหญ่เป็นป่าเขา ไม่ค่อยมีคนอาศัยอยู่
เรามาถึงสถานีนาระตอนเวลา 15:54
การมาถึงเวลานี้ทำให้ให้ต้องรีบเต็มที่ เวลาเรียกได้ว่าค่อนข้างฉุกระหุกเพราะว่าวัดโทวไดนั้นเปิดจนถึงห้าโมงเย็นเท่านั้น แต่ว่าสามารถเข้าได้จนถึงสี่โมงครึ่งเท่านั้น หมายความว่าเราต้องเดินทางไปให้ถึงภายในครึ่งชั่วโมง นับว่าต้องรีบพอดู
ภาพสถานี ใหญ่มากเหมือนกัน
แต่ก่อนอื่นเนื่องจากหิวมาก มาถึงเรารีบซื้อของรองท้องเป็นซาลาเปาไส้พิซซ่า ซึ่งเรียกว่า
พิซซ่ามัง (ピザまん)
ราคา ๑๐๕ เยน และ
ไก่คาราอาเงะ (唐揚げ)
๑๐๕ เยน ในร้าน 7-11 ที่สถานี เอาไว้กินบนรถเมล์
อันนี้เป็นรูปพิซซ่ามัง ส่วนไก่คาราอาเงะไม่ได้ถ่ายไว้
แล้วก็วิ่งไปขึ้นรถเมล์ซึ่งอยู่หน้าสถานีรถไฟ รีบจนไม่ทันได้ถ่ายรูปอะไรเลย ตอนที่ไปขึ้นนั้นคนแน่นพอดู นาระวันนี้คนเยอะเป็นพิเศษก็ไม่แปลกเพราะผู้คนต่างมาเพื่อชมงานเทศกาลสำคัญตอนค่ำนี้ ที่จริงถ้ามีเวลาจะเดินไปก็เดินได้นะ แต่ก็ไกลพอสมควร ถ้าค่อยๆเดินละก็ไม่ทันการแน่
รถเมล์มาจอดบริเวณป้ายที่ใกล้ที่สุด แต่ก็ยังคงต้องเดินเท้าต่อไป เวลาขณะนั้นประมาณ 16:20 หมายความว่าเราเหลือเวลาอีกประมาณ ๑๐ นาทีในการเดินไปให้ถึงวัดโทวได ถ้าหลงทางทีก็จบแห่
แต่ระหว่างที่เดินเราก็ยังมีกะใจถ่ายรูปไปเรื่อยๆ แต่เห็นแบบนี้ก็รีบพอสมควรนะ ไม่ได้เดินช้าๆถ่ายเรื่อยเปื่อย
แถวนี้เป็นบริเวณที่เรียกว่า
สวนสาธารณะนาระ (奈良公園)
ร้านค้าเต็มไปหมด คนก็พลุกพล่าน น่าจะคนเยอะกว่าปกติเพราะงานเทศกาล
มีกวางอยู่มากมายจนเรียกได้ว่ากวางกลายเป็นสัญลักษณ์ของเมืองนาระไปเลย
นี่พวกเขามาทำอะไรกันก็ไม่รู้เหมือนกัน
มีขายเซมเบ้สำหรับให้กวางด้วย ๑๕๐ เยน ไม่รู้ซื้อไว้ทานเองได้มั้ยนะ
ทางเข้าวัดอยู่ตรงหน้านี้แล้ว
ประตูนันไดมง (南大門) หมายถึงประตูใหญ่ทางใต้
เห็นตัวหอไดบุตสึอยู่ตรงหน้าแล้ว
นี่ประตูจูมง (中門) หมายถึงประตูตรงกลาง เป็นป้อมประตูขนาดใหญ่หน้าวัดแต่ว่าปกติจะไม่เปิดให้ผ่าน ต้องเลี้ยวซ้ายเพื่อไปเข้าจากประตูเล็กด้านข้าง
เรามาถึงตรงนี้เวลาสี่โมงครึ่งพอดี เห็นประตูทางเข้ายังเปิดอยู่ก็รีบเดินเข้าไปเลย
แล้วก็พบว่าเขายังให้เข้าไปได้อยู่
แต่พอเราซื้อตั๋วและผ่านเข้าไปแล้วเขาก็ประกาศว่าประตูกำลังจะปิดแล้ว เท่ากับว่าเราเป็นกลุ่มท้ายๆที่เดินเข้าทัน ช่างเฉียดฉิว
นี่คือตั๋วเข้าชมที่นี่ ราคา ๕๐๐ เยน ไม่สามารถใช้ kansai thru pass ลดราคาได้ ในตั๋วมีบอกขนาดของตัวหอไดบุตสึ และขนาดของตัวไดบุตสึด้วย
เมื่อเข้ามาแล้วก็ได้เห็นตัวหอไดบุตสึ สวยงามใหญ่โตมาก
บริเวณรอบๆก็สวย
เห็นประตูปิดเกือบหมดเหลือแค่นิดเดียว เคยเห็นรูปที่คนอื่นไปเที่ยวตัวอาคารเปิดประตูอ้าซ่ากว่านี้เยอะ นี่คงเพราะใกล้เวลาปิดแล้ว ต้องรีบเดินเข้าไปก่อนที่เขาจะปิด
เข้าไปถึงก็เห็นไดบุตสึอยู่ตรงหน้าทันที ช่างมีขนาดใหญ่จริงๆ ดูจากภาพถ่ายอย่างนี้อาจไม่รู้สึกอะไรนัก ต้องไปดูให้เห็นกับตา
ถ่ายเฉียงจากด้านข้างบ้าง
ยักษ์ที่เฝ้าที่นี่
แบบจำลองของที่นี่
ส่วนนี่เป็นแบบจำลองของอาคารนี้ในยุคก่อนซึ่งเชื่อกันว่าใหญ่กว่านี้มากนัก
หัวยักษ์
เสาที่มีรูให้ลอด มีคนมาต่อแถวคิวเพื่อรอลอดเต็มเลย เขาว่ากันว่าถ้าลอดได้คำอธิษฐานจะเป็นจริง แต่รูเล็กพอสมควร
ตรงมุมนี้ที่กั้นไว้เป็นบริเวณขายของ
ของก็มีพวกเครื่องรางต่างๆและอะไรอีกหลายอย่างแบบที่วัดทั่วไปมักจะขาย
ได้เวลาออกมา
เวลานี้ก็ใกล้ห้าโมงเย็นเต็มทีแล้ว
ภาพหอไดบุตสึภาพสุดท้ายก่อนจาก จะเห็นว่าประตูเหลือเปิดอยู่แคบๆบานเดียวแล้ว นั่นเป็นประตูออก ส่วนประตูเข้าปิดสนิทแล้ว ผู้คนต่างก็ทยอยเดินออกกัน
ก่อนทางออกก็มีร้านขายของที่ระลึกอีก
เสร็จแล้วก็เดินออกมาจากตัววัด มาเดินบริเวณสวนสาธารณะต่อ
เดินฝ่าฝูงกวางมากมาย
เดินกลับมาถึงบริเวณย่านร้านค้าที่คนพลุกพล่านเพื่อหาอะไรทาน
ร้านค้าต่างๆเยอะจริงๆ แต่ว่าแต่ละอย่างก็แพงมาก แล้วส่วนใหญ่เป็นร้านที่ขายแล้วยืนกินเอาก็เลยไม่ได้แวะเลยเพราะเราต้องการหาที่นั่งพักเหนื่อยกัน
ร้านขายของฝากก็เยอะ
พวกร้านที่มีที่นั่งทุกร้านคนแน่นเต็ม ต้องรอคิวถึงจะได้ทาน
สุดท้ายก็เลือกแวะร้านนี้ ดูแล้วคิวไม่ยาวเกินไป รอสักพักก็สามารถเข้าไปทานได้
บรรยากาศภายในร้าน
เราสั่งอุดงปลานิชิง (ニシン) ราคา ๘๐๐ เยน ถือว่าแพงมากสมกับเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ที่จริงนี่เป็นปลาที่ไม่รู้จักไม่เคยได้ยินชื่อมาก่อน เห็นดูแล้วหน้าตาคล้ายปลาซาบะ พอลองทานดูก็พบว่าคล้ายจริงๆด้วย อร่อยดี
เมื่อทานเสร็จก็ได้เวลาออกจากร้านแล้วไปยังที่จัดงาน เวลาที่รอคอยใกล้จะมาถึงแล้ว
ตอนต่อไป ชมงานเทศกาลย่างภูเขาวากากุสะ ติดตามชมกันต่อได้
https://phyblas.hinaboshi.com/20130630
{{s.chue}}
〇
✖
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
ท่องเที่ยว
>>
ศาสนสถาน
>>
วัด
--
ประเทศญี่ปุ่น
>>
นาระ
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ เกี่ยวกับเรา ~
สารบัญ
รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
ภาษา python
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ
บทความแบ่งตามหมวด
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
-ซางะ
-นางาซากิ
-คุมาโมโตะ
-โออิตะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
-ออสเตรเลีย
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-ภูเขาไฟ
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
ค้นหาบทความ
บทความล่าสุด
เดินเที่ยวในเมืองทาเกโอะ ชมสวนมิฟุเนะยามะรากุเองใบไม้เริ่มเปลี่ยนสีทั้งตอนกลางวันและค่ำคืน
นั่งรถไฟจากชิมาบาระไปตามชายฝั่งทะเล เปลี่ยนชิงกันเซงที่อิซาฮายะ ไปลงที่สถานีทาเกโอะอนเซงจังหวัดซางะ
เดินย่านบ้านซามุไรและแหล่งน้ำพุในเมืองชิมาบาระ แวะกินอาหารพื้นบ้าน
ปราสาทชิมาบาระ ปราสาทสวยใหญ่ล้อมด้วยคูบัวในเมืองที่อยู่ระหว่างภูเขากับทะเล
นั่งเรือข้ามทะเลอาริอาเกะจากคุมาโมโตะไปยังเมืองชิมาบาระจังหวัดนางาซากิ
บทความแนะนำ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
บทความแต่ละเดือน
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2020年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
ค้นบทความเก่ากว่านั้น
ไทย
日本語
中文