φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas
ทวีต
งานเทศกาลย่างภูเขาวากากุสะที่นาระ
เขียนเมื่อ 2013/06/30 02:26
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#เสาร์ 26 ม.ค. 2013
หลังจากที่ไปชมพระพุทธรูปองค์ใหญ่ไดบุตสึในวัดโทวได แล้วก็เข้าไปนั่งทานมื้อเย็นเสร็จ
https://phyblas.hinaboshi.com/20130626
เวลาที่รอคอยก็ใกล้เข้ามา นั่นคือการเข้าชมงานเทศกาล
ย่างภูเขาวากากุสะ (若草山の山焼き, วากากุสะยามะโนะยามะยากิ)
เทศกาลนี้จัดขึ้นทุกวันเสาร์ที่สี่ของเดือนมกราคมทุกปี ตอนเวลาหกโมงเย็น ยกเว้นถ้าวันนั้นอากาศไม่ดีก็จะเลื่อนไปจัดในสัปดาห์ถัดไปแทน สำหรับปี 2013 นี้จัดขึ้นวันเสาร์ที่ ๒๖ ม.ค. ซึ่งตอนแรกเราเห็นเมฆเยอะเต็มฟ้าก็กังวลว่าจะมีหิมะตกหรือเปล่า แต่สุดท้ายก็ไม่เป็นไร คืนนั้นหิมะตกที่เกียวโตและอีกหลายที่ในภูมิภาคแต่กลับไม่ได้ตกที่นาระเลย ถือว่าโชคดี เทศกาลยังสามารถเริ่มได้ตามปกติ
ภูเขาวากากุสะนั้นตั้งอยู่ภายใน
สวนสาธารณะนาระ (奈良公園)
มีความสูง ๓๔๑.๘ เมตร
พิธีนี้เชื่อกันว่ามีมาตั้งแต่ยุคเอโดะ (1603–1868) แล้ว แต่มาจัดอย่างเป็นทางการเมื่อสมัยเมย์จิ (1868-1912) เดิมสันนิษฐานกันว่าแรกเริ่มมีที่มาจากการสงครามเพื่อแย่งอาณาเขตกันระหว่างสองวัดใหญ่ที่นี่คือ
วัดโทวได (東大寺)
และ
วัดโควฟุกุ (興福寺)
แต่ก็เริ่มจะมีคนแย้งข้อสันนิษฐานนี้ ก็เลยไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงเหมือนกันว่ามีที่มาจากไหน แต่พิธีนี้ก็จัดมาเรื่อยๆตลอดทุกปีจนถึงปัจจุบัน
การเผาภูเขานี้เป็นการเผาพวกหญ้าแห้งบนภูเขาซึ่งแห้งตายในฤดูหนาว มีข้อดีเพราะเป็นการไล่แมลงที่ซ่อนตัวอยู่ตามหญ้าด้วย
พิธีจะเริ่มต้นจากการจุดพลุก่อน แล้วสักพักการจุดไฟบนภูเขาจึงเริ่มขึ้น ไฟบนภูเขานี้สามารถเห็นได้จากที่ไกลไปจนถึงเมืองข้างเคียง แม้แต่เมืองที่ไกลออกไปอย่าง
เมืองคาชิฮาระ (橿原市)
หรือเมือง
โกเซะ (御所市)
ถ้าอยู่บนตึกสูงๆก็สามารถมองมาเห็นได้
ขอเล่าถึงตอนวางแผนเล็กน้อย คือที่จริงตอนที่เราวางแผนเที่ยวญี่ปุ่นนั้นทีแรกเรายังไม่รู้จักงานเทศกาลนี้เลย ไม่ได้ตั้งใจจะมาเลย แต่หลังจากวางแผนจนเป็นรูปเป็นร่างกำหนดวันไว้เรียบร้อยแล้ว ตอนนั้นก็ได้ไปลองปรึกษาเพื่อนคนนึงที่เคยเที่ยวญี่ปุ่นหลายครั้ง เขาก็แนะนำว่าให้ลองไปค้นดูว่าช่วงที่ไปนี่มีงานเทศกาลอะไรบ้าง ถ้าตรงพอดีก็ให้ลองไปดู ซึ่งเขาก็ค้นมาให้แล้วก็พบว่ามีงานเทศกาลอันนี้อยู่ พอลองดูรายละเอียดก็สนใจมาก แต่ปัญหาคือมันไม่ได้ลงตัวกับช่วงที่จะไปพอดี เพราะเดิมทีกำหนดจะกลับวันที่ 27 ซึ่งถ้ากลับวันนั้นละก็ ถ้าเราอยากจะเข้าร่วมงานนี้ก็จะไม่ได้เที่ยวในนาโงยะแล้ว หรือถ้าจะเที่ยวนาโงยะก็จะไม่ได้มาเข้าร่วมงานเทศกาลนี้ ในตอนนั้นเราได้กำหนดวันไปแล้ว และจองตั๋วเครื่องบินไปแล้ว แต่ก็ยังโชคดีตรงที่ยังไม่ได้จ่ายตัง เพราะกำลังจะไปจ่ายวันรุ่งขึ้นพอดี เลยทันเวลายังสามารถเปลี่ยนเวลาได้อยู่ ถ้าจ่ายไปแล้วก็เปลี่ยนอะไรไม่ได้แล้ว สรุปแล้วก็เลยเปลี่ยนเป็นเลื่อนวันให้อยู่ญี่ปุ่นนานขึ้น เป็นกลับวันที่ 28 แทน ทุกอย่างจึงดูลงตัวตามนี้
การที่เรามีโอกาสได้มาเข้าร่วมงานเทศกาลแบบนี้เป็นอะไรที่รู้สึกว่าโชคดีมากเลย เพราะอุตส่าห์มาทั้งที โอกาสแบบนี้คงไม่ได้มีบ่อยๆ งานพวกนี้เคยเห็นบ่อยๆตามอนิเมะก็ทำให้อยากรู้ว่าจะเป็นยังไงบ้าง ในที่สุดก็ได้มาเห็นจริงๆแล้ว
เมื่อเราทานมื้อเย็นเสร็จออกมานอกร้านก็พบว่าท้องฟ้ามืดแล้ว ผู้คนก็เยอะแน่นเต็มไปหมด เรารีบเดินไปหาที่สำหรับดูภูเขา แม้ว่าอยู่ที่ไหนก็สามารถเห็นได้แต่ก็อยากหาที่ที่เห็นได้ชัดๆไว้ก่อน ถ้าเป็นไปได้อยากได้ที่ใกล้ที่สุด
บริเวณภายในสวนสาธารณะที่มองเห็นภูเขาได้ ตรงนี้ก็มีคนมารอเยอะเหมือนกัน แต่ก็ยังไม่ใกล้ภูเขามากพอ สามารถเดินเข้าไปใกล้ได้อีก
เราเดินไปต่อเพื่อให้เข้าใกล้ภูเขามากขึ้น
แล้วเราก็มาถึงจุดที่ใกล้กับบริเวณที่จุดไฟมากที่สุด
จากตรงนี้ไม่สามารถเข้าไปใกล้ต่อได้แล้ว จะเห็นว่ามีรั้วเล็กๆกั้นเอาไว้ นั่นคือพื้นที่ที่เขาจะจุดไฟกัน
คนมายืนรอนั่งรอกันเต็มไปหมด
แต่ละภาพถ่ายแบบไม่ได้เปิดแฟลช ก็เลยไม่ชัดเลย ภาพนี้ถ่ายมืดๆแล้วมาเพิ่มแสงเอา
ถ่ายแบบเปิดแฟลชสักหน่อย
มองไปทางด้านล่างบ้าง
ทิวทัศน์สวยงามมาก
แล้วเวลาก็ผ่านไปเรื่อยๆ ฟ้าก็มืดลงเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาหกโมงเย็นพลุก็เริ่มถูกจุดขึ้น
พลุสีต่างๆสวยมาก
พอจุดพลุไปสักพักหนึ่ง ในที่สุดก็เริ่มมีการจุดไฟเผาภูเขา
คนอื่นเขาก็เอากล้องหรือมือถือมาถ่ายกันใหญ่ แต่ว่ามือถือถ่ายนี่คงไม่ไหว เราใช้กล้องธรรมดายังได้ไม่ค่อยชัดเลย ส่วนเพื่อนเรากล้องดีกว่าหน่อย ภาพเลยดีกว่าพอสมควร เสียดายที่เขาถ่ายมาไม่เยอะเท่าเรา
ไฟลุกแรงขึ้นเรื่อยๆ
หลังจากที่ไฟลุกไปสักพักผู้คนก็เริ่มทยอยเดินกลับ เราเองก็ได้เวลาเดินจากไปเช่นกัน ต้องรีบไปขึ้นรถไฟเพราะคนแน่นมากอาจต้องรอต่อคิวยาวก็เป็นได้ ภาพนี้หันกลับไปถ่ายหลังถอยออกมาระยะหนึ่งแล้ว
ผู้คนมหาศาลต่างกำลังพากันเดินกลับ
ภาพสุดท้ายก่อนถอยห่างจนเกินกว่าจะเห็นได้
เดินสักพักเราก็ออกจากบริเวณสวนสาธารณะ จากนั้นก็เดินย้อนกลับมาตามทางที่นั่งรถเมล์มาตอนแรกเพื่อกลับไปยังสถานีรถไฟ ครั้งนี้ต้องเดินเพราะรถเมล์คงจะแน่นจนรอไม่ไหวแน่นอน อีกอย่างระยะทางไม่ได้ไกลมากเกินไป แล้วสถานีรถไฟที่จะไปขึ้นตอนขากลับนี้เป็นคนละแห่งกับตอนขามา เพราะตอนขามานั่ง JR แต่ขากลับนี้จะนั่งรถไฟของบริษัทรถไฟเอกชนท้องถิ่น
คินเท็ตสึ (近鉄)
ชื่อสถานีก็ต่างกัน คือใช้ชื่อว่า
สถานีคินเท็ตสึนาระ (近鉄奈良駅)
สถานีนี้อยู่ใกล้กว่าสถานีนาระของ JR พอสมควร
แล้วก็มาถึง ตัวสถานีอยู่ในอาคารข้างหน้านี้ แต่อยู่ใต้ดิน
ทางขึ้นรถไฟอยู่ใต้ดิน
คนเดินลงกันมาอย่างมหาศาล
บรรยากาศในห้องขายตั๋ว ช่างแออัด
จะซื้อตั๋วต้องต่อแถวคิวยาวพอสมควร เราใช้บัตร Kansai thru pass ก็เลยไม่ต้องไปซื้อบัตร แต่ก็ต้องรอเพื่อนซื้อบัตรอยู่ดี รอนานจนมีเวลาเดินเล่นแถมไปเข้าห้องน้ำด้วย
แผนที่รถไฟของคินเท็ตสึ เป็นบริษัทรถไฟท้องถิ่นที่มีขอบเขตใหญ่ที่สุดถ้าไม่นับ JR เส้นทางเชื่อมโยงนาโงยะเข้ากับเกียวโต โอซากะ นาระ
แล้วก็ลงมาขึ้นรถไฟ คนแน่นจนแทบไม่สามารถเดินได้ แต่ก็ยังดีที่ได้ขึ้นทันทีไม่ต้องรอ แล้วก็ไม่ได้แน่นจนถึงขนาดอัดกันเป็นปลากระป๋องจนต้องให้พนักงานมาดันเพื่อเบียดเข้าไปแบบที่เคยได้ยินมา
แล้วเราก็นั่งรถไฟกลับมาจนถึงสถานีเกียวโต ที่นี่เราได้ซื้อตั๋วรถไฟสำหรับที่จะนั่งไปนาโงยะตอนเช้าวันพรุ่งนี้เตรียมเอาไว้เลย เพราะเป็นตั๋วรถด่วนแบบบังคับต้องจองที่นั่ง และเวลาค่อนข้างฉุกละหุก
จากนั้นนั่งรถเมล์กลับไปยังหอพักของเพื่อน ก็ได้ใช้ Kansai thru pass อีกครั้ง
สรุปค่าใช้จ่ายที่ประหยัดไปได้จากการใช้ Kansai thru pass ในวันนี้
นั่งรถเมล์จากสถานีเกียวโตกลับหอพัก 220 เยน
นั่งรถเมล์จากหอพักไปสถานีเกียวโตอีกที 220 เยน
ขากลับนั่งรถไฟของคินเท็ตสึจากนาระกลับเกียวโต 610 เยน
นั่งรถเมล์จากสถานีเกียวโตกลับหอพัก 220 เยน
รวมแล้วเป็น 1270 เยน
เนื่องจากวันนี้รถไฟที่นั่งจากเกียวโตไปอิงะกับที่นั่งจากอิงะไปนาระล้วนไม่สามารถใช้พาสจึงต้องจ่ายเอง มีแต่รถไฟขากลับจากนาระที่นั่งของคินเท็ตสึเลยใช้พาสได้ เลยถือว่าวันนี้เป็นวันที่ใช้พาสได้ไม่คุ้มเลย แต่ก็ไม่มีวันอื่นให้ใช้แล้วเลยต้องรีบใช้วันนี้
แต่ก็ไม่เป็นไรเพราะวันอื่นได้ใช้ไปอย่างคุ้มมากแล้ว โดยเมื่อ
วันที่ 17
ได้ใช้ไปเท่ากับ 4750 เยน ส่วน
วันที่ 22
ใช้ไปอีกเท่ากับ 3070 เยน รวมกับวันที่ 26 คือวันนี้อีก 1270 เยน ทั้งสามวันรวมแล้วก็เป็น 9090 เยน บัตรนี้ซื้อมาในราคา 5000 เยน ดังนั้นประหยัดเงินไป 4090 เยน สรุปแล้วถือว่าใช้ไปได้อย่างคุ้มมาก
ที่เกียวโตตอนนี้หิมะตกอยู่ เพื่อนดีใจมากบอกว่าตั้งแต่อยู่มายังไม่เคยเห็นหิมะกองทับถมในเกียวโตหนาขนาดนี้เลย ก็เลยดีใจจนถ่ายรูปเก็บไว้ ภาพหิมะที่กองทับถมบนจักรยานตัวเอง จากที่เห็น ถ้าเทียบกับที่อื่นแล้วหิมะที่เกียวโตยังไงก็ถือว่าบางมากอยู่ดี
พอกลับขึ้นหอเราก็พักผ่อนสักพักแล้วก็ไปอาบน้ำแล้วมาจัดของสำหรับเดินทางวันพรุ่งนี้ ได้เวลาลาจากหอนี้แล้ว เพราะจะเดินทางไปนาโงยะ จะไม่ได้กลับมาแล้ว คงบอกลาเกียวโตแต่เพียงเท่านี้ อยู่มาตั้ง ๗ วัน แม้จะไม่มีวันไหนที่อยู่ในเกียวโตเต็มวันเลยก็ตาม แต่ก็รู้สึกผูกพัน คงจะคิดถึงเกียวโตมากทีเดียว
ตอนจัดของอยู่เพื่อนเอาตุ๊กตาที่คีบมาจากตู้ตุ๊กตาได้ตลอดเวลาที่เขาอยู่ที่ญี่ปุ่นนี่มาอวดให้ดู เราเลยถ่ายรูปเก็บไว้ ช่างเยอะจริงๆ สมเป็นเซียนนักคีบตุ๊กตา จนเจ้าตัวบอกว่าคงมีปัญหามากเวลาจะขนกลับไทย ไม่รู้จะทำยังไงดีเหมือนกัน สุดท้ายก็ต้องขนส่งทางไปรษณีย์
จบการเที่ยววันที่ ๑๐ ในญี่ปุ่นแต่เพียงเท่านี้ การเที่ยวในแถบตะวันตกของญี่ปุ่นจบลงแล้ว เหลืออีก ๒ วันจะไปต่อกันที่ภาคกลาง ติดตามอ่านกันต่อได้
https://phyblas.hinaboshi.com/20130704
ปิดท้ายด้วยคลิปที่ถ่ายตอนที่ไฟกำลังลุกไหม้ ชมกันได้
http://www.youtube.com/watch?v=I97SsclMH3g
{{s.chue}}
〇
✖
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
ประเทศญี่ปุ่น
>>
นาระ
--
ท่องเที่ยว
>>
งานเทศกาล
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ เกี่ยวกับเรา ~
สารบัญ
รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
ภาษา python
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ
บทความแบ่งตามหมวด
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
-ซางะ
-นางาซากิ
-คุมาโมโตะ
-โออิตะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
-ออสเตรเลีย
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-ภูเขาไฟ
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
ค้นหาบทความ
บทความล่าสุด
เดินย่านบ้านซามุไรและแหล่งน้ำพุในเมืองชิมาบาระ แวะกินอาหารพื้นบ้าน
ปราสาทชิมาบาระ ปราสาทสวยใหญ่ล้อมด้วยคูบัวในเมืองที่อยู่ระหว่างภูเขากับทะเล
นั่งเรือข้ามทะเลอาริอาเกะจากคุมาโมโตะไปยังเมืองชิมาบาระจังหวัดนางาซากิ
ซากุระโนะบาบะ โจวไซเอง ย่านร้านค้าชิโมโตริ ซากุระมาจิคุมาโมโตะ
ชมปราสาทคุมาโมโตะที่ยังเต็มไปด้วยรอยแผลจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่
บทความแนะนำ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
บทความแต่ละเดือน
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2020年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
ค้นบทความเก่ากว่านั้น
ไทย
日本語
中文